แนวข้อสอบกฎหมายประกันสังคม
1. กฎหมายประกันสังคม เป็นกฎหมายที่มีลักษณะอย่างไร
ก. เป็นกฎหมายที่กำหนดการให้หลักประกันแก่บุคคลในสังคมที่มีปัญหาเนื่องจากการประสบเคราะห์ภัย
ข. เป็นกฎหมายที่กำหนดการให้หลักประกันแก่บุคคลที่มีเหตุการณ์อันทำให้เกิดปัญหาในการดำรงชีพ ซึ่งต้องการได้รับความช่วยเหลือ
ค. เป็นกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองเฉพาะแก่บุคคลโดยการรวบรวมเงินเข้าเป็นกองทุนและจ่ายเงินช่วยเหลือ
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
2. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับลูกจ้างซึ่งมีฐานะเป็นผู้ประกันตน
ก. บุคคลที่สมัครเข้าทำงานในสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป
ข. บุคคลที่สมัครเข้าทำงานในสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป
ค. บุคคลที่สมัครเข้าทำงานในสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่ 20 คนขึ้นไป
ง. บุคคลที่สมัครเข้าทำงานในสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่กี่คนขึ้นไปก็ได้
ตอบ ค. บุคคลที่สมัครเข้าทำงานในสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่ 20 คนขึ้นไป
3. เมื่อพ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง ลูกจ้างยังคงมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในการรับบริการทางการแพทย์ต่อไปได้อีกกี่เดือน นับจากวันสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
ก. 3 เดือน ค. 8 เดือน
ข. 6 เดือน ง. 10 เดือน
ตอบ ข. 6 เดือน
4. กฎหมายประกันสังคมไม่ใช้บังคับแก่ใคร
ก. ข้าราชการ และลูกจ้างประจำของหน่วยราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น
ข. ลูกจ้างของรัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ
ค. ลูกจ้างงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
5. ลูกจ้างจะไม่เป็นผู้ประกันตนอีกต่อไปในกรณีใด
ก. ตาย ค. ลาออก
ข. สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง ง. ถูกทั้ง ก และ ข
ตอบ ง. ถูกทั้ง ก และ ข
6. ข้อใดคือหน้าที่ของนายจ้าง
ก. ยื่นแบบรายการแสดงรายชื่อลูกจ้าง อัตราค่าจ้าง
ข. จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมร่วมกับผู้ประกันตนหรือลูกจ้างและรัฐบาลฝ่ายละเท่าๆกัน
ค. หักค่าจ้างของผู้ประกันตนที่เป็นลูกจ้างตามจำนวนที่จะต้องเป็นเงินสมทบ
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
7. นายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมสำหรับการประกันกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยนอกงาน คลอดบุตร ทุพพลภาพ และตาย ไม่เกินร้อยละเท่าใด ของค่าจ้าง
ก. ร้อยละ 1 ค. ร้อยละ 3
ข. ร้อยละ 1.5 ง. ร้อยละ 5
ตอบ ข. ร้อยละ 1.5
8. นายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมสำหรับการประกันกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ ไม่เกินร้อยละเท่าใด ของค่าจ้าง
ก. ร้อยละ 1 ค. ร้อยละ 3
ข. ร้อยละ 1.5 ง. ร้อยละ 5
ตอบ ค. ร้อยละ 3
9. นายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมสำหรับกรณีประกันการว่างงาน ไม่เกินร้อยละเท่าใด ของค่าจ้าง
ก. ร้อยละ 1 ค. ร้อยละ 3
ข. ร้อยละ 1.5 ง. ร้อยละ 5
ตอบ ง. ร้อยละ 5
10. นายจ้างจะต้องหักค่าจ้างของผู้ประกันตนที่เป็นลูกจ้างตามจำนวนที่จะต้องเป็นเงินสมทบในส่วนของลูกจ้างและนำส่งสำนักงานประกันสังคมภายในวันที่เท่าใด ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการหักเงินสมทบ
ก. 1 ค. 30
ข. 15 ง. 10
ตอบ ข. 15
11. ข้อใดหมายถึง เงินสมทบ
ก. เงินที่นายจ้างจ่ายสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม
ข. เงินที่ลูกจ้างจ่ายสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม
ค. เงินที่รัฐบาลจ่ายสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม
ง. เงินที่นายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาล หรือเงินที่ผู้ประกันตนและรัฐบาลร่วมกันจ่ายสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม
ตอบ ง. เงินที่นายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาล หรือเงินที่ผู้ประกันตนและรัฐบาลร่วมกันจ่ายสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม
12. ประโยชน์ทดแทน หมายถึง
ก. ความช่วยเหลือที่ให้แก่นายจ้าง เมื่อนายจ้างประสบเคราะห์ภัยหรือเดือดร้อน
ข. ความช่วยเหลือที่ให้แก่ประชาชนทั่วไปเมื่อประสบเคราะห์ภัยหรือเดือดร้อน
ค. ความช่วยเหลือที่ให้แก่ผู้ประกันตน หรือผู้มีสิทธิ เมื่อผู้ประกันตนประสบเคราะห์ภัยหรือเดือดร้อน
ง. ไม่มีข้อถูก
ตอบ ค. ความช่วยเหลือที่ให้แก่ผู้ประกันตน หรือผู้มีสิทธิ เมื่อผู้ประกันตนประสบเคราะห์ภัยหรือเดือดร้อน
13. รูปแบบของประโยชน์ทดแทนมีกี่รูปแบบ
ก. รูปแบบเดียว ค. 3 รูปแบบ
ข. 2 รูปแบบ ง. 4 รูปแบบ
ตอบ ง. 4 รูปแบบ
14. การได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณี สงเคราะห์บุตร ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่ากี่ปี
ก. 1 ปี ค. 3 ปี
ข. 2 ปี ง. 4 ปี
ตอบ ก. 1 ปี
15. การได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณี ชราภาพ ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า กี่ปี ไม่ว่าระยะเวลานั้นจะติดต่อกันหรือไม่
ก. 5 ปี ค. 10 ปี
ข. 15 ปี ง. 20 ปี
ตอบ ข. 15 ปี
ข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ในการคุ้มครองสิทธิแรงงานนอกระบบ
ด้วยความเติบโตของระบบเศรษฐกิจในทุกวันนี้ เป็นผลมาจากการสร้างสรรค์การผลิตของผู้ใช้แรงงานในระบบและนอกระบบ ซึ่งในประเทศไทยแรงงานนอกระบบประกอบด้วยแรงงานในภาคเกษตร ผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้รับงานไปทำที่บ้าน ผู้ใช้แรงงานในภาคบริการต่างๆ หาบเร่แผงลอย และผู้ประกอบอาชีพอิสระอื่นๆ มีจำนวนรวมมากกว่า 20 ล้านคน แรงงานนอกระบบในประเทศไทยต้องเผชิญกับการถูกละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของแรงงานในหลายประการ อันได้แก่ งานที่ทำขาดความมั่นคง ไม่ได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรม งานที่ทำมีความเสี่ยงสูง และมีอันตรายต่อสุขภาพ อีกทั้งเข้าไม่ถึงการบริการทางด้านสาธารณสุขของสำนักงานประกันสังคม และบริการอื่นๆของรัฐ และที่สำคัญไม่สามารถใช้สิทธิในการรวมตัวต่อรองได้ ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ไม่ได้ให้ความคุ้มครองครอบคลุมแรงงานนอกระบบ ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้มีกฎหมายเฉพาะที่จะคุ้มครองแรงงานนอกระบบอย่างเหมาะสมและเพียงพอ ซึ่งสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นสามารถแยกออกเป็นกรณีต่างๆ ของเจ้าของปัญหาได้แก่
กรณี “ผู้รับงานไปทำที่บ้าน”
เนื่องจากกฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ในงานรับไปทำที่บ้าน พ.ศ.2547 มีข้อจำกัดหลายประการ ได้แก่
1. การคุ้มครองค่าแรงขั้นต่ำของผู้รับงานไปทำที่บ้าน
2. การไม่คุ้มครองต้นทุนการผลิต ในส่วนของผู้รับงานไปทำที่บ้าน เช่น สถานที่ เครื่องจักร เครื่องมือ ค่าไฟฟ้า ค่าขนส่ง ฯลฯ
3. การไม่สามารถใช้สิทธิทางกฎหมายต่อผู้ว่าจ้างหรือเจ้าของงานที่แท้จริงได้
4. การที่กระทรวงแรงงานไม่บังคับใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ แม้จะประกาศในราชกิจจานุเบกษามานานกว่า 2 ปี แล้ว
ข้อเสนอ “การคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน”
1. ให้กระทรวงแรงงานจัดตั้งคณะทำงานร่วม ซึ่งมีองค์ประกอบของผู้รับงานไปทำที่บ้าน นักกฎหมายแรงงาน นักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน และนำเอาร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมคุ้มครองและพัฒนาแรงงานในงานรับไปทำที่บ้าน พ.ศ.... ซึ่งเป็นร่างฉบับผู้ใช้แรงงานจัดทำขึ้น มาบูรณาการกับร่างกฎหมายฉบับกระทรวงแรงงาน
2. ให้กระทรวงแรงงานมีการจัดกระบวนการประชาพิจารณ์ เพื่อให้ผู้รับงานไปทำที่บ้าน และประชาชนทั่วไปได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ก่อนที่จะนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
กรณี “แรงงานเกษตรในระบบพันธะสัญญา”
แรงงานเกษตรในระบบพันธะสัญญา เป็นแรงงานนอกระบบกลุ่มใหญ่ที่ขาดการคุ้มครองในฐานะที่เป็นแรงงาน บริษัทผู้จ้างงานได้ใช้ประโยชน์จากช่องว่างของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานฉบับอื่นๆ และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับเกษตรกร ในรูปแบบของการซื้อขายหรือการจ้างทำของ หรือสัญญาอื่นๆแทน ทำให้แรงงานเกษตรในระบบพันธะสัญญาถูกละเมิดและเข้าไม่ถึงสิทธิแรงงานขั้นพื้นฐานใดๆเลย
ข้อเสนอ “การคุ้มครองแรงงานเกษตรในระบบพันธะสัญญา”
1. ให้กระทรวงแรงงานจัดทำการศึกษา เพื่อทำความเข้าใจต่อปัญหาของการถูกละเมิดสิทธิแรงงานของเกษตรพันธะสัญญา และศึกษาเพื่อหาความเป็นไปได้ในการออกกฎหมายคุ้มครองสิทธิแรงงานเกษตรในระบบพันธะสัญญา
2. ให้กระทรวงแรงงานจัดตั้งคณะทำงานร่วม ซึ่งมีองค์ประกอบของแรงงานภาคเกษตร นักกฎหมายแรงงาน นักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน ยกร่างกฎหมายเพื่อการคุ้มครองแรงงานเกษตรในระบบพันธสัญญา
กรณี “การคุ้มครองประกันสังคมสู่แรงงานนอกระบบ”
ตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา สำนักงานประกันสังคมมีการเตรียมการที่จะขยายความคุ้มครองประกันสังคมสู่แรงงานที่อยู่นอกระบบประกันสังคม และได้มีการตั้งอนุกรรมการขึ้นมา 2 ชุด คือ คณะอนุกรรมการศึกษาความเป็นไปได้ในการขยายการคุ้มครองประกันสังคมสู่แรงงานนอกระบบ และคณะอนุกรรมการยกร่างการขยายความคุ้มครองประกันสังคมสู่แรงงานนอกระบบ ซึ่งคณะกรรมการได้มีการดำเนินงานมาถึงขั้นยกร่างชุดสิทธิประโยชน์และอัตราการจ่ายเงินสมทบของแรงงานนอกระบบที่จะเข้าสู่กองทุน โดยรับฟังความคิดเห็นบางส่วนจากเครือข่ายแรงงานนอกระบบ แต่ด้วยปัจจัยหลายประการก็ยังไม่มีความคืบหน้าไปมากกว่านั้น
ข้อเสนอกรณี “การคุ้มครองประกันสังคมสู่แรงงานนอกระบบ”
1. ต้องมีหลักการในการเฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข แรงงานนอกระบบทุกกลุ่มอาชีพ ทุกคนให้เข้าสู่กองทุน มีการจ่ายเงินสมทบตามฐานของรายได้ และได้รับการดูแลเมื่อประสบความยากลำบากในการดำเนินชีวิต
2. รัฐและผู้ว่าจ้าง / เจ้าของงาน ต้องร่วมรับผิดชอบจ่ายเงินสมทบเข้าสู่กองทุน
3. ต้องอยู่บนหลักการความเสมอภาคเท่าเทียม และไม่เลือกปฏิบัติต่อแรงงาน นั่นคือแรงงานนอกระบบจะต้องได้รับสิทธิประโยชน์คุ้มครองที่เท่าเทียมกันกับประกันสังคมของแรงงานในระบบ คือ 7 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพลภาพ สงเคราะห์บุตร ตาย ชราภาพ และว่างงาน รวมทั้งกรณีของอุบัติเหตุและการเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการทำงานซึ่งแรงงานนอกระบบจะต้องได้รับการคุ้มครองจากกองทุนเงินทดแทน และการเก็บเงินสมทบจากแรงงานนอกระบบต้องอยู่ในอัตราไม่เกินร้อยละ 5 ของรายได้
4. สำนักงานประกันสังคมต้องออกแบบการบริหารกองทุน ที่จะจัดตั้งขึ้นนี้ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของแรงงานนอกระบบ ในฐานะที่ร่วมเป็นเจ้าของเงินกองทุน
5. สำนักงานประกันสังคม กระทรวงการคลัง และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ต้องให้การสนับสนุนการจัดระบบสวัสดิการของชุมชน ในฐานะที่เป็นหลักประกันทางสังคมอีกประการหนึ่งของแรงงานนอกระบบ และประชาชน
กรณี “หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและการบริการสาธารณสุข ในระดับปฐมภูมิ กับการบริการด้านสุขภาพความปลอดภัยของแรงงานนอกระบบ”
เนื่องจากแรงงานนอกระบบถูกระบุเป็น 1 ใน 8 ของเครือข่ายภาคประชาชน ที่มีฐานะเป็นทั้งกลุ่มเป้าหมายและภาคีการมีส่วนร่วมของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) แม้ในปัจจุบัน สปสช. จะมีการดำเนินการและความพยายามในบางส่วน เพื่อการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของแรงงานนอกระบบบ้างแล้ว แต่ส่วนใหญ่ยังอยู่ในรูปของโครงการนำร่อง โครงการทดลอง
ข้อเสนอกรณี “หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและการบริการสาธารณสุข ในระดับปฐมภูมิ กับการบริการด้านสุขภาพความปลอดภัยของแรงงานนอกระบบ”
1. ให้สถานีอนามัยและหน่วยบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ (PCU) มีการทำงานด้านอาชีว อนามัย : ระบบฐานข้อมูลกลุ่มอาชีพ/ความเจ็บป่วยจากการทำงานและการให้บริการกลุ่มแรงงานนอกระบบ
2. ให้ สปสช. เพิ่มงานอาชีวอนามัยในเกณฑ์มาตรฐานของ PCU เพื่อที่งานด้านอาชีวอนามัยและการให้บริการแก่กลุ่มแรงงานนอกระบบจะมีฐานะที่เป็นงานปกติของ PCU
3. ให้ สปสช. จัดให้มีการตรวจสุขภาพตามความเสี่ยงแก่แรงงานนอกระบบประจำปี และมีการจัดทำสมุดบันทึกสุขภาพของแรงงานนอกระบบ และให้กองทุนส่งเสริมสุขภาพของ อบต. ที่ สปสช. ให้การสนับสนุนมีการทำงานด้านอาชีวอนามัยของกลุ่มแรงงานนอกระบบ
4. ให้ สปสช. สนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ประสานงานภาคประชาชน ในประเด็นเกี่ยวกับแรงงานนอกระบบ
กรณี “นโยบายท้องถิ่นกับการสนับสนุน ส่งเสริม พัฒนาและคุ้มครองแรงงานนอกระบบ”
เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อันได้แก่ เทศบาล อบต. นับว่าเป็นหน่วยงานที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด และนับวันจะมีบทบาทเพิ่มขึ้นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน จึงควรมีส่วนร่วมในการส่งเสริมและพัฒนากระบวนการคุ้มครองแรงงานนอกระบบ
ข้อเสนอกรณี “นโยบายท้องถิ่นกับการสนับสนุน ส่งเสริม พัฒนาและคุ้มครองแรงงานนอกระบบ”
1. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการบูรณาการส่งเสริม พัฒนา และคุ้มครองแรงงานนอกระบบ เข้ามาอยู่ในแผนงาน แผนงบประมาณ และการข้อบัญญัติท้องถิ่น
2. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีบทบาทแทนหน่วยงานภาครัฐ ที่ไม่มีสำนักงานในระดับท้องถิ่น เช่น ทำหน้าที่เป็นพนักงานตรวจแรงงาน แทนสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด ทำหน้าที่เก็บเงินสมทบ และจ่ายเงินตามสิทธิประโยชน์คุ้มครองแก่แรงงานนอกระบบ
สั่งซื้อที่
ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724 Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3 ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2
ธ.กสิกรไทย ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay
ผลงานการสอบได้ของลูกค้า
ติดตามข่าวการสอบราชการที่ https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่ www.ข้อสอบงานราชการไทย.com