101. การจัดทำบัญชีหนังสือส่งเก็บ จะต้องมีรายละเอียดใดบ้าง
ก. ลำดับที่, ที่
ข. ลงวันที่ของหนังสือแต่ละฉบับ
ค. อายุการเก็บรักษา
ง. ถูกทุกข้อตอบ ง. ถูกทุกข้อ
ระเบียบฯ ข้อ 54 การเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว คือ
หนังสือที่ปฏิบัติเสร็จเรียบร้อยแล้ว
และไม่มีอะไรที่จะต้องปฏิบัติต่อไปอีก
ให้เจ้าหน้าที่ของเจ้าของเรื่องปฏิบัติดังนี้
54.1 จัดทำบัญชีหนังสือส่งเก็บตามแนบแบบที่ 19
ท้ายระเบียบ
อย่างน้อยให้มีต้นฉบับและสำเนาคู่ฉบับสำหรับเจ้าของเรื่องและหน่วยเก็บ เก็บไว้อย่างละฉบับ โดยกรอกรายละเอียดดังนี้
54.1.1 ลำดับที่ ให้ลงเลขลำดับเรื่องของหนังสือที่เก็บ
54.1.2 ที่ให้ลงเลขที่ของหนังสือแต่ละฉบับ
54.1.3 ลงวันที่ ให้ลงวันเดือน ปีของหนังสือแต่ละฉบับ
54.1.4เรื่องให้ลงชื่อเรื่องของหนังสือแต่ละฉบับในกรณีที่ไม่มีชื่อเรื่องให้ลงสรุปเรื่องย่อ
54.1.5 อายุการเก็บหนังสือ ให้ลงวันเดือน ปีที่จะเก็บถึง ในกรณีให้เก็บไว้ตลอดไปให้ลงคำว่า ห้ามทำลาย
54.1.6 หมายเหตุ ให้บันทึกข้อความอื่นใด (ถ้ามี)54.2 ส่งหนังสือและเรื่องปฏิบัติทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับหนังสือนั้น พร้อมทั้งบัญชี
หนังสือส่งเก็บให้หน่วยเก็บที่ส่วนราชการนั้น ๆ กำหนด
102. เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการเก็บหนังสือเมื่อได้รับการจัดทำบัญชีหนังสือส่งเก็บพร้อมรายละเอียดแล้ว จะปฏิเสธอย่างไรก. ประทับตรากำหนดเก็บหนังสือ
ข. ประทับตรากำหนดเก็บหนังสือ, ลงทะเบียนหนังสือเก็บ
ค. ประทับตรากำหนดเก็บหนังสือ, ลงทะเบียนหนังสือเก็บ
ง. ประทับตรากำหนดเก็บหนังสือ, วันเดือนปีที่เก็บ ตอบ ข. ประทับตรากำหนดเก็บหนังสือ, ลงทะเบียนหนังสือเก็บ
ระเบียบฯ ข้อ 55 เมื่อได้รับเรื่องจากเจ้าของเรื่องตามข้อ 54
แล้ว ให้เจ้าหน้าที่
ผู้รับผิดชอบในการเก็บหนังสือปฏิบัติดังนี้
55.1 ประทับตรากำหนดเก็บหนังสือตามข้อ 73
ไว้ที่มุมล่างด้านขวาของกระดาษ
แผ่นแรกของหนังสือฉบับนั้น และลงลายมือชื่อย่อกำกับตรา
55.1.1 หนังสือที่ต้องเก็บไว้ตลอดไป ให้ประทับตราคำว่า ห้ามลำลายด้วย
หมึกสีแดง
55.1.2 หนังสือที่เก็บโดยมีกำหนดเวลา ให้ประทับตราคำว่า เก็บถึงพ.ศ. ....
ด้วยหมึกสีน้ำเงิน และลงเลขของปีพุทธศักราชที่ให้เก็บถึง
55.2 ลงทะเบียนหนังสือเก็บไว้เป็นหลักฐานตามแบบที่ 20
ท้ายระเบียบ โดยกรอก
รายละเอียดดังนี้
55.2.1 ลำดับที่ ให้ลงเลขลำดับเรื่องของหนังสือที่เก็บ
55.2.2 วันเก็บ ให้ลงวัน
เดือน
ปีที่นำหนังสือนั้นเข้าทะเบียนเก็บ
55.2.3 เลขทะเบียนรับ ให้ลงเลขทะเบียนรับของหนังสือแต่ละฉบับ
55.2.4 ที่ ให้ลงเลขที่เลขของหนังสือแต่ละฉบับ
55.2.5 เรื่อง ให้ลงชื่อเรื่องของหนังสือแต่ละฉบับ ในกรณีที่ไม่มีชื่อเรื่องให้
ลงสรุปเรื่องย่อ
55.2.6 รหัสแฟ้ม ให้ลงหมายเลขลำดับหมู่ของการจัดแฟ้มเก็บหนังสือ
55.2.7 กำหนดเวลาเก็บ ให้ลงระยะเวลาการเก็บตามที่กำหนดในตรากำหนด
เก็บหนังสือตามข้อ 55.1
55.2.8 หมายเหตุ ให้บันทึกข้อความอื่นใด (ถ้ามี)
103. การประทับตราเก็บหนังสือ ให้ประทับตราอย่างไร
ก. มุมล่างขวาของกระดาษแผ่นแรก
ข. มุมล่างซ้ายของกระดาษแผ่นแรก
ค. มุมล่างขวาของกระดาษแผ่นแรก, ลงลายมือชื่อย่อกำกับตรา
ง. มุมล่างขวาของกระดาษแผ่นแรก, ลงลายมือชื่อย่อกำกับตรา
ตอบ ค.
มุมล่างขวาของกระดาษแผ่นแรก,
ลงลายมือชื่อย่อกำกับตรา
คำอธิบายดังข้อข้างต้น
104. หนังสือที่ต้องเก็บไว้ตลอดไป ให้ประทับตราคำว่าอะไร
ก. ห้ามทำลาย,
หมึกน้ำเงิน
ข. ห้ามทำลาย,
หมึกแดง
ค. เก็บรักษา,
หมึกน้ำเงิน
ง. เก็บรักษา,
หมึกแดง
ตอบ ข. ห้ามทำลาย, หมึกแดง
คำอธิบายดังข้อข้างต้น
105. หนังสือที่เก็บโดยมีกำหนดเวลา ให้ประทับตราคำว่าอะไรอย่างไร
ก. เก็บถึง
พ.ศ. .... ,
หมึกน้ำเงิน
ข. เก็บถึง
พ.ศ. .... ,
หมึกแดง
ค. เก็บถึง
พ.ศ. .... ,
หมึกน้ำเงิน, ลงชื่อของปี พ.ศ.
ที่ให้เก็บถึง
ง. เก็บถึง
พ.ศ. .... ,
หมึกแดง, ลงชื่อของปี พ.ศ.
ที่ให้เก็บถึง
ตอบ ค. เก็บถึง พ.ศ. ....
, หมึกน้ำเงิน, ลงชื่อของปี
พ.ศ. ที่ให้เก็บถึง
คำอธิบายดังข้อข้างต้น
106. อายุการเก็บหนังสือ
โดยปกติแล้วมีอายุการเก็บกี่ปี
ก. ไม่น้อยกว่า 5
ปี ข. ไม่น้อยกว่า
7 ปี
ค. ไม่น้อยกว่า 10 ปี ง. ไม่น้อยกว่า
20 ปี
ตอบ ค. ไม่น้อยกว่า
10 ปี
ระเบียบฯ ข้อ 57 อายุการเก็บหนังสือ
โดยปกติให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่า 10 ปี เว้นแต่หนังสือดังต่อไปนี้
57.1 หนังสือที่ต้องสงวนเป็นความลับ ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ หรือระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ
57.2 หนังสือที่เป็นหลักฐานทางอรรถคดี
สำนวนของศาลหรือของพนักงานสอบสวนหรือหนังสืออื่นใดที่ได้มีกฎหมายหรือระเบียบแบบแผนกำหนดไว้เป็นพิเศษแล้ว การเก็บให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนว่าด้วยการนั้น
57.3หนังสือที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ทุกสาขาวิชา และมีคุณค่าต่อการศึกษาค้นคว้าวิจัย
ให้เก็บไว้เป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติตลอดไป หรือตามที่สำนักหอจดหมายเหตุ แห่งชาติ กรมศิลปากร กำหนด
57.4 หนังสือที่ได้ปฏิบัติงานเสร็จสิ้นแล้ว และเป็นคู่สำเนาที่มีต้นเรื่องจะค้นได้จากที่อื่นให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี
57.5 หนังสือที่เป็นเรื่องธรรมดาสามัญซึ่งไม่มีความสำคัญ และเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นประจำ เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่า 1 ปี
57.6 หนังสือหรือเอกสารเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน
หรือการก่อหนี้ผูกพันทางการเงินที่ไม่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง
โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิในทางการเงินรวมถึงหนังสือหรือเอกสารเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน
หรือการก่อหนี้ผูกพันทางการเงินที่หมดความจำเป็นในการใช้เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง
โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิในทางการเงินเพราะได้มีหนังสือหรือเอกสารอื่นที่สามารถนำมาใช้อ้างอิงหรือทดแทนหนังสือหรือเอกสารดังกล่าว แล้วเมื่อสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบแล้วไม่มีปัญหา
และไม่มีความจำเป็นต้องใช้ประกอบการตรวจสอบหรือเพื่อการใด ๆ อีก
ให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี หนังสือเกี่ยวกับการเงิน ซึ่งเห็นว่าไม่มีความจำเป็นต้องเก็บไว้ถึง 10
ปี หรือ 5 ปี แล้วแต่กรณี ให้ทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง
107. หนังสือที่ต้องสงวนเป็นความลับให้ปฏิบัติตามกฎหมายใดก. ระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
ข. ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ
ค. พรบ. ว่าด้วยข่าวสารของทางราชการ
ง. ถูกเฉพาะข้อ
ก. และ ข้อ ข.
ตอบ ง.
ถูกเฉพาะข้อ ก. และ
ข้อ ข.่อ
คำอธิบายดังข้อข้างต้น
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบนักวิชาการเงินและบัญชี ใหม่ล่าสุด
รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ
- แนวข้อสอบ พรบ. วิธีการงบประมาณ
- แนวข้อสอบ ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- แนวข้อสอบ กฎหมาย ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ.2547
- แนวข้อสอบกฎหมายควรรู้และระเบียบงานสารบัญ
- แนวข้อสอบเรื่องการเงิน
- แนวข้อสอบเรื่องการบัญชี ชุด 1
- แนวข้อสอบเรื่องการบัญชี ชุด 2
- แนวข้อสอบเรื่องการบัญชี ชุด 3
- ข้อสอบเรื่องความรู้ทั่วไป
สั่งซื้อที่
ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724 Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3 ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2
ธ.กสิกรไทย ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay
ผลงานการสอบได้ของลูกค้า
ติดตามข่าวการสอบราชการที่ https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่ www.ข้อสอบงานราชการไทย.com