ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : พระราชบัญญัติกีฬามวยพ.ศ.2542
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

พระราชบัญญัติกีฬามวยพ.ศ.2542

แชร์กระทู้นี้

พระราชบัญญัติ
กีฬามวย
พ.ศ. ๒๕๔๒
                       
 
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒
เป็นปีที่ ๕๔ ในรัชกาลปัจจุบัน
 
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
 
โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยกีฬามวย
 
พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
 
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
 
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. ๒๕๔๒”
 
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่บทบัญญัติหมวด ๒ และหมวด ๓ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
 
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
“กีฬามวย” หมายความว่า การแข่งขันชกมวยตามกติกาของศิลปะมวยไทยหรือกีฬามวยสากล
“นักมวย” หมายความว่า ผู้ซึ่งเข้าแข่งขันกีฬามวย
“สนามมวย” หมายความว่า อาคาร สถานที่ หรือบริเวณอื่นใด สำหรับใช้ในการแข่งขันกีฬามวยเป็นปกติ
“นายสนามมวย” หมายความว่า ผู้ทำหน้าที่จัดการหรือดำเนินกิจการสนามมวย
“ผู้จัดการนักมวย” หมายความว่า ผู้ทำหน้าที่เป็นผู้แทนและจัดการดูแลผลประโยชน์ของนักมวยโดยได้รับค่าตอบแทน
“ผู้จัดรายการแข่งขันมวย” หมายความว่า ผู้จัดให้มีการแข่งขันกีฬามวย
“หัวหน้าค่ายมวย” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของค่ายมวย
“ผู้ตัดสิน” หมายความว่า ผู้ห้ามมวยบนเวทีและผู้ให้คะแนนในการแข่งขันกีฬามวย
“ผู้ฝึกสอน” หมายความว่า ผู้ซึ่งทำหน้าที่ฝึกสอนศิลปะมวยไทยหรือมวยสากล
“การล้มมวย” หมายความว่า การเข้าแข่งขันกีฬามวยโดยแสร้งชกแพ้ และให้หมายรวมถึงการเข้าแข่งขันกีฬามวยโดยได้มีการกำหนดผลการแข่งขันไว้เป็นการล่วงหน้า หรือมีเจตนาเพื่อให้ผลการแข่งขันกีฬามวยเป็นไปตามที่กำหนดผลล่วงหน้า
“เงินรางวัล” หมายความว่า เงินที่ให้เป็นค่าตอบแทนแก่นักมวยในการแข่งขันกีฬามวยแต่ละครั้งตามที่ได้ทำความตกลงไว้
“บุคคลในวงการกีฬามวย” หมายความว่า นักมวย ผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสิน ผู้จัดการ นักมวย หัวหน้าค่ายมวย นายสนามมวย และผู้จัดรายการแข่งขันมวย
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกีฬามวย
“การกีฬาแห่งประเทศไทย” หมายความว่า การกีฬาแห่งประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยการกีฬาแห่งประเทศไทย
“นายทะเบียน” หมายความว่า ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการกีฬามวย และผู้ซึ่งผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการกีฬามวยมอบหมาย
“ผู้รับใบอนุญาต” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทยแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
 
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา*รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ ยกเว้นค่าธรรมเนียมกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติหน้าที่และจรรยาบรรณของบุคคลในวงการกีฬามวย และกำหนดกิจการอื่น ๆ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
 
คณะกรรมการกีฬามวย
                  
 
มาตรา ๕ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการกีฬามวย” ประกอบด้วย รัฐมนตรีซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา*มอบหมายเป็นประธานกรรมการ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ผู้แทนการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา* ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนกระทรวงแรงงาน* นายกสมาคมกีฬามวยอาชีพแห่งประเทศไทย และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกินเจ็ดคน และให้ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการกีฬามวยเป็นกรรมการและเลขานุการ
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา*โดยคำแนะนำของประธานกรรมการและกรรมการโดยตำแหน่งตามวรรคหนึ่งแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากผู้ซึ่งมีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับกีฬามวย ในจำนวนนี้ให้แต่งตั้งจากผู้ซึ่งมีภูมิลำเนาในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศอย่างน้อยสี่คน
 
มาตรา ๖ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ หรือในกรณีมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนหรือเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มขึ้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
เมื่อครบกำหนดตามวาระดังกล่าวในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้  ทั้งนี้ ไม่เกินสองวาระติดต่อกัน
 
มาตรา ๗ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๖ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา*ให้พ้นจากตำแหน่งตามคำแนะนำของประธานกรรมการและกรรมการซึ่งมีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมด
(๔) เป็นบุคคลล้มละลาย
(๕) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๖) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
 
มาตรา ๘ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
 
มาตรา ๙ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) ส่งเสริม สนับสนุน อนุรักษ์ และเผยแพร่กีฬามวย
(๒) วางแผนและกำหนดมาตรการต่าง ๆ เกี่ยวกับกีฬามวย เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยและสวัสดิภาพของนักมวย
(๓) พิจารณาเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับการออกกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติหน้าที่และจรรยาบรรณของบุคคลในวงการกีฬามวย
(๔) พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้
(๕) ออกข้อบังคับ ระเบียบ หรือประกาศเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้ ตลอดจนออกข้อบังคับว่าด้วยการประชุมและการดำเนินงานของคณะกรรมการ
(๖) ปฏิบัติการอื่นตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
(๗) ปฏิบัติการอื่นตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย
 
มาตรา ๑๐ ให้คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งภายในขอบเขตแห่งอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
ให้นำมาตรา ๘ มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม
 
มาตรา ๑๑ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๙ และมาตรา ๑๐ คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการมีอำนาจเรียกบุคคลในวงการกีฬามวยมาให้ข้อเท็จจริง คำอธิบาย คำแนะนำ หรือความเห็น หรือให้บุคคลดังกล่าวส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาเพื่อประกอบการพิจารณาได้ตามที่เห็นสมควร
 
การส่งเสริมและการคุ้มครอง
                  
 
มาตรา ๑๒ คณะกรรมการมีอำนาจให้ทุน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด เพื่อส่งเสริมสวัสดิการแก่นักมวย ผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสิน และหัวหน้าค่ายมวยที่เป็นบุคคลธรรมดาในกรณีที่ประสบอุบัติเหตุเจ็บป่วยจากการแข่งขันกีฬามวยหรือกรณีอื่นอันควรแก่การสงเคราะห์
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ทุน ทรัพย์สิน และประโยชน์อื่นใดตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
 
มาตรา ๑๓ คณะกรรมการมีอำนาจให้ทุน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดเพื่อส่งเสริม สนับสนุน อนุรักษ์ และเผยแพร่กิจกรรมกีฬามวย
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ทุน ทรัพย์สิน และประโยชน์อื่นใดตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
 
มาตรา ๑๔ ในการจัดการแข่งขันกีฬามวยแต่ละครั้ง นายสนามมวยและผู้จัดรายการแข่งขันมวยต้องจัดให้มีมาตรการเพื่อความปลอดภัยสำหรับนักมวย อย่างน้อยตามมาตรฐานดังต่อไปนี้
(๑) จัดให้แพทย์แผนปัจจุบันตรวจสุขภาพของนักมวยแต่ละคนก่อนการแข่งขันกีฬามวยเพื่อรับรองว่านักมวยมีสุขภาพสมบูรณ์พร้อมทำการแข่งขัน
(๒) จัดให้มีแพทย์แผนปัจจุบันหรือพยาบาลวิชาชีพ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ประจำสนามมวยในขณะที่มีการแข่งขัน
(๓) จัดให้มีการประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลอันเนื่องมาจากการแข่งขันกีฬามวยสำหรับนักมวย
การจัดให้มีมาตรการเพื่อความปลอดภัยตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
 
มาตรา ๑๕ ในการแข่งขันกีฬามวยแต่ละครั้ง ผู้จัดรายการแข่งขันมวย หัวหน้าค่ายมวย หรือผู้จัดการนักมวยตามที่ได้ตกลงกัน แล้วแต่กรณี ต้องจ่ายเงินรางวัลให้แก่นักมวย ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของค่าตอบแทนรวมกันทั้งหมดที่ผู้จัดรายการแข่งขันมวยตกลงจ่ายให้แก่นักมวย หัวหน้าค่ายมวย และผู้จัดการนักมวย
ความตกลงเกี่ยวกับส่วนแบ่งค่าตอบแทนตามวรรคหนึ่ง ต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อนักมวย หัวหน้าค่ายมวย ผู้จัดการนักมวย และผู้จัดรายการแข่งขันมวยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกำหนดค่าตอบแทน แล้วแต่กรณี และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขการแบ่งและการจ่ายเงินรางวัลตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
บรรดาทรัพย์สินที่มีผู้มอบให้แก่นักมวยโดยตรงในการแข่งขันกีฬามวย ให้ตกเป็นของนักมวยทั้งหมด ข้อตกลงใด ๆ เพื่อแบ่งปันทรัพย์สินดังกล่าวจากนักมวยให้ตกเป็นโมฆะ
บทบัญญัติวรรคหนึ่งและวรรคสอง มิให้ใช้บังคับแก่การแข่งขันกีฬามวยบางประเภทตามที่กำหนดในกฎกระทรวงตามมาตรา ๒๖ กฎกระทรวงดังกล่าวให้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินรางวัลไว้ด้วย
 
มาตรา ๑๖ ให้คณะกรรมการจัดให้มีระเบียบและกติกามาตรฐานสำหรับการแข่งขันกีฬามวย เพื่อใช้ในการจัดการแข่งขันกีฬามวย  ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงอายุ เพศ ความปลอดภัยของนักมวย และจารีตประเพณีในการแข่งขันกีฬามวย
 
การควบคุม
                  
 
มาตรา ๑๗ ให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการกีฬามวยขึ้นมีฐานะเป็นหน่วยงานของการกีฬาแห่งประเทศไทย
 
มาตรา ๑๘ ให้ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทยด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการ แต่งตั้งพนักงานของการกีฬาแห่งประเทศไทยคนหนึ่งระดับไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการกองเป็นผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการกีฬามวย
ให้ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการกีฬามวยมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานและลูกจ้างในสำนักงานคณะกรรมการกีฬามวย
 
มาตรา ๑๙ สำนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทยสาขาจังหวัด มีหน้าที่ช่วยนายทะเบียนในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่นายทะเบียนมอบหมาย โดยความเห็นชอบของผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย
 
มาตรา ๒๐ ให้นายทะเบียนจัดทำทะเบียนประวัติบุคคลในวงการกีฬามวยและออกบัตรประจำตัวนักมวย ผู้ฝึกสอน และหัวหน้าค่ายมวย
ทะเบียนประวัติบุคคลในวงการกีฬามวยและแบบบัตรประจำตัวนักมวย ผู้ฝึกสอน และหัวหน้าค่ายมวยตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
 
มาตรา ๒๑ ในการควบคุมกีฬามวยให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่นายทะเบียนมอบหมาย มีอำนาจดังต่อไปนี้
(๑) เข้าไปในสนามมวยในระหว่างเวลาที่ทำการอยู่เพื่อตรวจสอบใบอนุญาต สภาพ และลักษณะของสถานที่ทำการ เครื่องมือเครื่องใช้และยานพาหนะเพื่อการพยาบาลที่ใช้ในการจัดการแข่งขันกีฬามวย ตลอดจนเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกีฬามวย
(๒) เรียกบุคคลในวงการกีฬามวยหรือตัวแทนมาให้ถ้อยคำ หรือชี้แจงหรือให้ส่งเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกีฬามวยเพื่อตรวจสอบ
 
มาตรา ๒๒ การมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๒๑ ให้นายทะเบียนมอบหมายเป็นหนังสือ
 
มาตรา ๒๓ ในการปฏิบัติหน้าที่ นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวนายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
 
มาตรา ๒๔ เมื่อนายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่นายทะเบียนมอบหมายพบว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นายทะเบียนพิจารณาดำเนินการตามมาตรา ๓๙ หรือมาตรา ๔๐ แล้วแต่กรณี แล้วรายงานให้คณะกรรมการทราบ
 
มาตรา ๒๕ ในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
 
มาตรา ๒๖ ห้ามมิให้ผู้ใดจัดแข่งขันกีฬามวย โดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน เว้นแต่ในกรณีการจัดการแข่งขันกีฬามวยบางประเภทตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่กำหนดในกฎกระทรวง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้จัดการแข่งขันกีฬามวยสำหรับนักมวยที่มีอายุต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์จะกำหนดได้เฉพาะเมื่อมีอุปกรณ์ในการป้องกันความปลอดภัยในการแข่งขัน
ในการออกใบอนุญาต นอกจากต้องปฏิบัติตามวรรคสองแล้ว นายทะเบียนอาจกำหนดเงื่อนไขอื่น ๆ ได้เท่าที่จำเป็นเพื่อให้การจัดการแข่งขันกีฬามวยเป็นไปตามระเบียบและกติกาที่คณะกรรมการกำหนด
การจัดการแข่งขันกีฬามวยที่ไม่ต้องขออนุญาตตามวรรคหนึ่ง ต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบก่อนและต้องปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดตามมาตรา ๑๖
 
มาตรา ๒๗ ห้ามมิให้ผู้ใดจัดตั้งสนามมวยโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน
การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง  ทั้งนี้ ให้นำมาตรา ๒๖ วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม
 
มาตรา ๒๘ ผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งสนามมวยมีสิทธิที่จะจัดการแข่งขันกีฬามวยได้ทุกประเภท โดยไม่ต้องขออนุญาตจัดการแข่งขันกีฬามวยตามมาตรา ๒๖
ห้ามมิให้ผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งสนามมวย ดำเนินกิจการอื่นในสนามมวย เว้นแต่เป็นกิจการตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด หรือได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนเป็นการเฉพาะ
 
มาตรา ๒๙  นักมวยที่จะจดทะเบียนได้ต้อง
(๑) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์
(๒) ไม่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง หรือติดยาเสพติดให้โทษ หรือเป็นโรคที่คณะกรรมการกำหนด
(๓) ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
(๔) ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสียหาย ซึ่งคณะกรรมการเห็นว่าจะนำมาซึ่งความเสียหายแก่วงการกีฬามวย
ผู้เยาว์ที่จดทะเบียนเป็นนักมวยแล้ว อาจทำนิติกรรมอันเกี่ยวกับการเข้าแข่งขันกีฬามวยได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมอีก
 
มาตรา ๓๐ นักมวยที่จดทะเบียนแล้วต้องสังกัดค่ายมวยใดค่ายมวยหนึ่งในการชกแต่ละครั้งแต่เพียงค่ายมวยเดียว และต้องปฏิบัติตามระเบียบของค่ายมวยที่ได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการโดยเคร่งครัด
ข้อตกลงจำกัดไม่ให้นักมวยย้ายสังกัดค่ายมวยเป็นโมฆะ เว้นแต่จะเป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
 
มาตรา ๓๑ ผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสิน และหัวหน้าค่ายมวยต้อง
(๑) ไม่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง หรือติดยาเสพติดให้โทษ หรือเป็นโรคที่คณะกรรมการกำหนด
(๒) ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
(๓) ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสียหาย ซึ่งคณะกรรมการเห็นว่าจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียแก่วงการกีฬามวย
 
มาตรา ๓๒ ให้นักมวย ผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสิน และหัวหน้าค่ายมวยมาจดทะเบียนต่อนายทะเบียนและขอมีบัตรประจำตัวนักมวย ผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสิน หรือหัวหน้าค่ายมวย แล้วแต่กรณี ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
ผู้ที่จดทะเบียนเป็นนักมวยด้านศิลปะมวยไทย นักมวยด้านมวยสากล ผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสิน และหัวหน้าค่ายมวย ต้องมีสัญชาติไทย และมีคุณสมบัติตามที่คณะกรรมการกำหนด
การจดทะเบียนผู้เยาว์เป็นนักมวย ต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน
 
มาตรา ๓๓ ผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นนักมวยด้านศิลปะมวยไทยจะเข้าแข่งขันกีฬามวยด้านมวยสากลไม่ได้ เว้นแต่จะได้จดทะเบียนเป็นนักมวยสากลด้วย
 
มาตรา ๓๔ นักมวย ผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสิน หรือหัวหน้าค่ายมวยที่จดทะเบียนไว้แล้วตามมาตรา ๓๒ หากภายหลังปรากฏว่าบุคคลดังกล่าวขาดคุณสมบัติข้อหนึ่งข้อใดตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๒๙ หรือมาตรา ๓๑ แล้วแต่กรณี ให้นายทะเบียนเพิกถอนทะเบียนดังกล่าว
 
มาตรา ๓๕ ห้ามมิให้ผู้ใดเป็นผู้จัดการนักมวย นายสนามมวย และผู้จัดรายการแข่งขันมวย เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน
การขอรับใบอนุญาต คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต และแบบใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
 
มาตรา ๓๖ ให้นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งการอนุญาตหรือไม่อนุญาตตามมาตรา ๒๖ มาตรา ๒๗ และมาตรา ๓๕ ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่นายทะเบียนได้รับคำขอรับใบอนุญาต
ในกรณีที่นายทะเบียนไม่อนุญาต ให้แสดงเหตุผลที่ไม่อนุญาตไว้ในหนังสือ แจ้งให้ผู้ขอรับใบอนุญาตทราบด้วย
 
มาตรา ๓๗ ใบอนุญาตตามมาตรา ๒๗ ให้มีอายุห้าปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และใบอนุญาตตามมาตรา ๓๕ ให้มีอายุสามปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
ผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๒๗ และมาตรา ๓๕ ซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ และเมื่อได้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตแล้ว ให้กระทำการในเรื่องที่ได้รับอนุญาตต่อไปได้จนกว่าจะได้รับแจ้งการไม่อนุญาตจากนายทะเบียน
การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
 
มาตรา ๓๘ ในกรณีที่นายทะเบียนมีคำสั่งไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่ต่ออายุใบอนุญาต ผู้ขอรับใบอนุญาตหรือผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนต่อคณะกรรมการ โดยยื่นเป็นหนังสือต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการไม่ออกใบอนุญาตหรือการไม่ต่ออายุใบอนุญาตจากนายทะเบียน และให้นายทะเบียนเสนอหนังสืออุทธรณ์ต่อคณะกรรมการภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสืออุทธรณ์ดังกล่าว
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด
 
มาตรา ๓๙ ในกรณีที่ปรากฏต่อนายทะเบียนว่า ผู้ได้รับจดทะเบียนตามมาตรา ๓๒ หรือผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๒๗ หรือมาตรา ๓๕
(๑) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎกระทรวงระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ หรือ
(๒) ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งการตามพระราชบัญญัตินี้
ให้นายทะเบียนมีอำนาจเพิกถอนทะเบียนเป็นการชั่วคราว หรือสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้โดยมีกำหนดระยะเวลาตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกินครั้งละหกเดือน
ผู้ได้รับจดทะเบียนหรือผู้รับใบอนุญาตซึ่งถูกเพิกถอนทะเบียนเป็นการชั่วคราวหรือถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต จะกระทำการใด ๆ ตามที่ได้รับจดทะเบียนหรือได้รับอนุญาตในระหว่างนั้นไม่ได้
 
มาตรา ๔๐ เมื่อความปรากฏต่อนายทะเบียนว่าผู้ได้รับจดทะเบียนตามมาตรา ๓๒ หรือผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๒๗ หรือมาตรา ๓๕ ผู้ใดเคยถูกเพิกถอนทะเบียนเป็นการชั่วคราว หรือถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตามมาตรา ๓๙ มาแล้ว และฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๙ (๑) หรือ (๒) อีก ให้นายทะเบียนมีอำนาจเพิกถอนทะเบียนหรือสั่งเพิกถอนใบอนุญาต สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตนั้นให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ส่งคืนใบอนุญาตภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้ทราบคำสั่งดังกล่าว
 
มาตรา ๔๑ ผู้ได้รับจดทะเบียนตามมาตรา ๓๒ หรือผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๒๗ หรือมาตรา ๓๕ ซึ่งถูกเพิกถอนทะเบียนเป็นการชั่วคราว ถูกเพิกถอนทะเบียน ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต แล้วแต่กรณี มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการได้ โดยยื่นเป็นหนังสือต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้ทราบคำสั่งดังกล่าว และให้นายทะเบียนเสนอหนังสืออุทธรณ์ต่อคณะกรรมการภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสืออุทธรณ์ดังกล่าว
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด
การอุทธรณ์การเพิกถอนทะเบียนเป็นการชั่วคราว การเพิกถอนทะเบียน คำสั่งพักใช้ใบอนุญาต หรือคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการบังคับดังกล่าว เว้นแต่จะมีการสั่งให้ทุเลาการบังคับ
 
มาตรา ๔๒ ห้ามมิให้ผู้รับใบอนุญาตซึ่งถูกเพิกถอนใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบอนุญาตอีกจนกว่าจะพ้นกำหนดสามปีนับแต่วันที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต
 
มาตรา ๔๓ นายสนามมวยมีสิทธิโดยกฎหมายที่จะจัดให้นักมวยแข่งขันกีฬามวยได้
 
มาตรา ๔๔ นายสนามมวยที่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๓๕ นอกจากจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว ให้มีหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) ดำเนินการหรือจัดการแข่งขันกีฬามวยให้เป็นไปตามระเบียบ และกติกาการแข่งขันกีฬามวยซึ่งออกโดยคณะกรรมการตามมาตรา ๑๖
(๒) สอดส่องดูแลและรักษาความสงบเรียบร้อยในสนามมวยที่ได้รับอนุญาตนั้น
(๓) จัดทำทะเบียนประวัตินักมวย ผู้จัดรายการแข่งขันมวย ที่แข่งขันในสนามมวยนั้นส่งให้นายทะเบียนตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด
(๔) จัดทำบัญชีการรับจ่ายเงินรางวัล ตลอดจนควบคุมการรับจ่ายเงินรางวัลของนักมวยที่แข่งขันในสนามมวยนั้นตามมาตรา ๑๕
(๕) สนับสนุน ส่งเสริม ช่วยเหลือบุคคลในวงการกีฬามวย
 
มาตรา ๔๕ ผู้ตัดสินมีหน้าที่ตัดสินการแข่งขันกีฬามวยตามระเบียบและกติกาซึ่งออกโดยคณะกรรมการตามมาตรา ๑๖
 
มาตรา ๔๖ หัวหน้าค่ายมวยต้องจัดการค่ายมวยให้มีมาตรฐาน และจัดให้มีสวัสดิการแก่นักมวย ผู้ฝึกสอน และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องในค่ายมวยที่ตนเองดูแลรับผิดชอบตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
 
มาตรา ๔๗ ผู้จัดรายการแข่งขันมวยและผู้จัดการนักมวยที่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๓๕ นอกจากจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว ให้มีหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) ให้ความร่วมมือกับนายสนามมวยในการปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศที่คณะกรรมการกำหนด
(๒) ปฏิบัติตามระเบียบของสนามมวยที่คณะกรรมการเห็นชอบ
 
มาตรา ๔๘ ห้ามมิให้ผู้ใดให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดแก่นักมวยหรือผู้อื่นเพื่อจูงใจให้นักมวยกระทำการล้มมวย
 
มาตรา ๔๙ ห้ามมิให้ผู้ใดให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดแก่ผู้ตัดสินหรือผู้อื่น เพื่อจูงใจให้ผู้ตัดสินไม่ตัดสินตามระเบียบและกติกาการแข่งขันอย่างถูกต้องเที่ยงธรรม
 
มาตรา ๕๐ ห้ามมิให้นักมวยรับหรือยอมจะรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่น เพื่อจูงใจให้นักมวยกระทำการล้มมวย
 
มาตรา ๕๑ ห้ามมิให้ผู้ตัดสินรับหรือยอมจะรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่น เพื่อจูงใจให้ผู้ตัดสินไม่ตัดสินตามระเบียบและกติกาการแข่งขันอย่างถูกต้องเที่ยงธรรม
 
กองทุนกีฬามวย
                  
 
มาตรา ๕๒ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งเรียกว่า “กองทุนกีฬามวย” ในการกีฬาแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสำหรับใช้จ่ายเกี่ยวกับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมคุ้มครอง และควบคุมการกีฬามวย
กองทุนประกอบด้วยเงินและทรัพย์สินดังต่อไปนี้
(๑) เงินอุดหนุนจากการกีฬาแห่งประเทศไทย
(๒) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้
(๓) ดอกผลและผลประโยชน์ที่เกิดจากกองทุน
(๔) เงินที่ได้จากค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามพระราชบัญญัตินี้
(๕) รายได้ที่เกิดจากการดำเนินการกองทุน
(๖) เงินทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้
ให้การกีฬาแห่งประเทศไทยเก็บรักษาเงินและทรัพย์สินของกองทุนและดำเนินการเบิกจ่ายเงินกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้ โดยจัดให้มีระบบการบัญชีที่เหมาะสมแก่กิจการ
ทุกปีให้การกีฬาแห่งประเทศไทยจัดทำงบดุลและบัญชีทำการของกองทุน ส่งผู้สอบบัญชีตรวจสอบภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี และให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีของกองทุนแล้วทำรายงานผลการสอบบัญชีเสนอคณะกรรมการเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป
ให้คณะกรรมการเป็นผู้จัดการกองทุน
การบริหาร การจัดหาประโยชน์ และการใช้จ่ายเงินกองทุน ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
 
บทกำหนดโทษ
                  
 
มาตรา ๕๓ ผู้ใด
(๑) ไม่มาให้ถ้อยคำหรือส่งเอกสารหรือหลักฐานหรือสิ่งใดตามคำสั่งของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ นายทะเบียน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ แล้วแต่กรณี ตามมาตรา ๑๑ ประกอบกับมาตรา ๙ (๔) และมาตรา ๒๑ (๒) โดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือ
(๒) ขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ของนายทะเบียน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๒๑ (๑)
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 
มาตรา ๕๔ ผู้จัดรายการแข่งขันมวย หัวหน้าค่ายมวย หรือผู้จัดการนักมวย ซึ่งไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๕ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้จัดรายการแข่งขันมวย หัวหน้าค่ายมวย หรือผู้จัดการนักมวย ซึ่งไม่ปฏิบัต

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้