แนวข้อสอบ CAT Telecom
OSI ย่อมาจาก Open System Interconnection เป็นมาตรฐานการสื่อสารคอมพิวเตอร์ระบบเปิด ซึ่งมีแบบจำลองของการเชื่อมต่อระหว่างระบบแบ่งเป็น 7 ชั้น เพื่อใช้กำหนดเป็นมาตรฐานให้กับระบบต่างๆ ให้สามารถทำงานและติดต่อถึงกันได้ โดยชั้นของ OSI Model มีไว้เพื่อใช้อ้างอิงการทำงานในการเชื่อมต่อระหว่างระบบในแต่ละชั้นการทำงาน ทั้งนี้เพื่อช่วยลดขนาดของปัญหาในการเชื่อมต่อให้เล็กลง ลองนึกดูถ้าเราไม่มีการแบ่งชั้นการทำงานหากมีปัญหาเกิดขึ้นมาเราไม่สามารถรู้ได้ว่าปัญหาเกิดขึ้นที่ไหน จะเริ่มแก้ปัญหาจากที่ใด การใช้เวลาในการแก้ปัญหาก็ต้องใช้เวลานาน แต่ถ้าเราแบ่งการทำงานออกเป็นส่วนย่อย ๆ หากมีปัญหาเกิดเราก็สามารถรู้ได้ว่าปัญหาเกิดที่ส่วนใด การแก้ปัญหาก็สามารถทำได้รวดเร็วขึ้น และ
ความสำคัญอีกข้อหนึ่งของ OSI Model คือ เพื่อให้ผู้ผลิตแต่ละรายสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถทำงานร่วมกันได้และไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นจากศูนย์และต้องทำให้ครบทุกองค์ประกอบ แต่สามารถพัฒนาขึ้นมาเพียงชั้นเดียวจากจำนวน 7 ชั้นแล้วนำไปใช้งานร่วมกับชั้นอื่นที่มีการพัฒนาไว้แล้วโดยหลักการแล้วแต่ละชั้นจะติดต่อกับชั้นในระดับเดียวกันที่อยู่บนเครื่องอีกเครื่องหนึ่ง แต่ในทางปฏิบัติแต่ละชั้นที่อยู่ติดกัน(บนหรือล่าง)เท่านั้นที่จะมีการติดต่อกันจริง จะยกเว้นก็แต่ชั้นล่างสุดคือชั้น Physical ที่จะติดต่อกับชั้น Physical ของอีกเครื่องหนึ่งได้
TCP ย่อมาจาก Transmission Control Protocol เป็นโพรโตคอลที่ทำงานโดยอาศัย IP ในขณะที่ IP เป็นตัวจัดการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องสามารถติดต่อสื่อสารกันไปมาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และทำหน้าที่ในการอนุญาตให้แอพลิเคชันแต่ละชนิด (หรือที่นิยมเรียกว่า "บริการ") ของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถติดต่อกันได้
วงจร Full wave กับ Bridge ต่างกันตรงไหน
วงจร Rectifier แบบ full wave มันต่อได้ 2 อย่าง
.คือ full wave ที่ใช้ diode 2 ตัว
2.แบบ Bridge ที่ใช้ diode 4 ตัว
แบบ Bridge ข้อเสียนั้นมันทั้ง มีแรงดันที่ตกคร่อม doide ตั้ง 4 ตัว แถมใช้ doide 4 ตัว แพงกว่าที่ใช้แบบ 2 ตัว ต่อก็ยากกว่า
กับอิกแบบดีกว่าตั้งเยอะแล้วทำไมถึงชอบใช้แบบ Bridge
โดยสรุปคือ
- full wave เป็น centap (ไม่เคยเห็นคนใช้แบบไม่มี tap (ได้จริงหรอนั่น) อาจจะมีข้อเสียที่นึกไม่ถึงก็ได้นะคับ)
- V ต่างกัน(ครึ่งนึง)
- และ diode ใน full wave ต้องทนงานได้มากกว่า bridge
วงจรเรียงกระแสแบบครึ่งคลื่น (Half Wave Rectifier)
1. ลักษณะวงจรเรียงกระแสแบบครึ่งคลื่น
วงจรเรียงกระแสแบบครึ่งคลื่น จะเป็นวงจรที่ทำหน้าที่ตัดเอาแรงดันไฟสลับที่ป้อนเข้ามาอาจเป็นครึ่งบวกหรือครึ่งลบแล้วแต่การจัดวงจรไดโอด แรงดันที่ส่งออกเอาท์พุทจะเป็นช่วงๆ คือช่วงมีแรงดันและช่วงไม่มีแรงดันสลับกันไป วงจรประกอบด้วยไดโอดตัวเดียวดังรูปที่ 1 การทำงานของวงจร ไฟกระแสสลับจะมาปรากฏที่ขาแอโนด โดยไดโอดจะยอมให้กระแสไหลผ่านได้ทางเดียว คือช่วงที่ได้รับไบอัสตรง ดังนั้นวงจรจะมีกระแสไหลเพียงช่วงบวกของไฟสลับเท่านั้น ถ้าช่วงลบจะไม่มีกระแสไหล แรงไฟตรงที่เอาท์พุทนี้ยังนำไปใช้งานในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ไม่ได้ เพราะเป็นไฟตรงที่ไม่เรียบพอ (Pulse D.C) จึงต้องมีการกรอง (Filter) ให้เรียบโดยใช้ตัวเก็บประจุทำหน้าที่กรอง
OSI คืออะไร
OSI ย่อมาจาก Open System Interconnection เป็นมาตรฐานการสื่อสารคอมพิวเตอร์ระบบเปิด ซึ่งมีแบบจำลองของการเชื่อมต่อระหว่างระบบแบ่งเป็น 7 ชั้น เพื่อใช้กำหนดเป็นมาตรฐานให้กับระบบต่างๆ ให้สามารถทำงานและติดต่อถึงกันได้ โดยชั้นของ OSI Model มีไว้เพื่อใช้อ้างอิงการทำงานในการเชื่อมต่อระหว่างระบบในแต่ละชั้นการทำงาน ทั้งนี้เพื่อช่วยลดขนาดของปัญหาในการเชื่อมต่อให้เล็กลง ลองนึกดูถ้าเราไม่มีการแบ่งชั้นการทำงานหากมีปัญหาเกิดขึ้นมาเราไม่สามารถรู้ได้ว่าปัญหาเกิดขึ้นที่ไหน จะเริ่มแก้ปัญหาจากที่ใด การใช้เวลาในการแก้ปัญหาก็ต้องใช้เวลานาน แต่ถ้าเราแบ่งการทำงานออกเป็นส่วนย่อย ๆ หากมีปัญหาเกิดเราก็สามารถรู้ได้ว่าปัญหาเกิดที่ส่วนใด การแก้ปัญหาก็สามารถทำได้รวดเร็วขึ้น และความสำคัญอีกข้อหนึ่งของ OSI Model คือ เพื่อให้ผู้ผลิตแต่ละรายสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถทำงานร่วมกันได้และไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นจากศูนย์และต้องทำให้ครบทุกองค์ประกอบ แต่สามารถพัฒนาขึ้นมาเพียงชั้นเดียวจากจำนวน 7 ชั้นแล้วนำไปใช้งานร่วมกับชั้นอื่นที่มีการพัฒนาไว้แล้วโดยหลักการแล้วแต่ละชั้นจะติดต่อกับชั้นในระดับเดียวกันที่อยู่บนเครื่องอีกเครื่องหนึ่ง แต่ในทางปฏิบัติแต่ละชั้นที่อยู่ติดกัน(บนหรือล่าง)เท่านั้นที่จะมีการติดต่อกันจริง จะยกเว้นก็แต่ชั้นล่างสุดคือชั้น Physical ที่จะติดต่อกับชั้น Physical ของอีกเครื่องหนึ่งได้
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สมัยใหม่จะถูกออกแบบให้มีโครงสร้างทีแน่นอน และเพื่อเป็นการลดความซับซ้อน ระบบเครือข่ายส่วนมากจึงแยกการทำงานออกเป็นชั้นๆ (layer) โดยกำหนดหน้าที่ในแต่ละชั้นไว้อย่างชัดเจน แบบจำลองสำหรับอ้างอิงแบบ OSI (Open System Interconnection Reference Model) หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า OSI Reference Model ของ ISO เป็นแบบจำลองที่ถูกเสนอและพัฒนาโดยองค์กร International Standard Organization (ISO) โดยจะบรรยายถึงโครงสร้างของสถาปัตยกรรมเครือข่ายในอุดมคติ ซึ่งระบบเครือข่ายที่เป็นไปตามสถาปัตยกรรมนี้จะเป็นระบบเครือข่ายแบบเปิด และอุปกรณ์ทางเครือข่ายจะสามารถติดต่อกันได้โดยไม่ขึ้นกับว่าเป็นอุปกรณ์ของผู้ขายรายใด แบบจำลอง OSI จะแบ่งการทำงานของระบบเครือข่ายออกเป็น 7 ชั้น คือAPPLICATION เป็นชั้นการทำงานของซอฟท์แวร์ประยุกต์ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบเครือข่าย เช่น การส่งผ่านแฟ้มข้อมูล การจำลอง terminal การแลกเปลี่ยนข้อมูล เป็นต้นPRESENTATION เป็นชั้นการทำงานของระบบรักษาความลับและการเปลี่ยนแปลงข้อมูลรูปแบบต่างๆ ให้สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ เช่น แปลงระหว่าง EBCDIC กับ ASCII หรือการแปลงข้อมูลรหัสจบบรรทัดระหว่างระบบ UNIX กับ MSDOS เป็นต้นSESSION รับผิดชอบการควบคุมการติดต่อและการประสานของข้อมูลที่ส่งผ่านระบบเครือข่าย เช่น การตรวจสอบลำดับก่อนหลังที่ถูกต้องของ Packet เป็นต้นTRANSPORT เป็นชั้นที่รับผิดชอบการส่งถ่ายข้อมูลระหว่างจุด จะทำการตรวจสอบสามชั้นล่างว่ามีการทำงานที่ถูกต้อง และทำการส่งผ่านข้อมูลให้ชั้นที่สูงกว่าโดยซ่อนวิธีการทำงานที่เกิดขึ้นจริงในสามชั้นล่างไว้ โดยปกติแล้วนับจากชั้นนี้ถึงชั้นบนสุดจะอยู่ในซอฟต์แวร์ประยุกต์ทางด้านเครือข่ายตัวเดียวกัน ในขณะที่ชั้นที่ต่ำกว่านี้เป็นส่วนจัดการเครือข่ายซึ่งขึ้นกับชนิดของระบบเครือข่ายที่ใช้งานอยู่NETWORK เป็นชั้นที่ทำการตรวจสอบการส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย เช่น เวลาที่ใช้ในการส่ง การส่งต่อ (routing) และการจัดการลำดับ (flow control) ของข้อมูลDATA LINK เป็นชั้นที่รับผิดชอบการนำข้อมูลเข้าและออกจากตัวกลาง การจัดเฟรม การตรวจสอบและจัดการข้อผิดพลาดของข้อมูล (error detection correction and retransmission) ในชั้นนี้จะมีการแบ่งออกเป็น 2 ชั้นย่อย (sub-layers) คือ LIC (Logical Link Control) จะอยู่ในครึ่งบน รับผิดชอบในเรื่องการตรวจสอบข้อผิดพลาด และ MAC (Media Access Control) อยู่ในครึ่งล่าง เป็นส่วนของวิธีส่งข้อมูลผ่านสื่อกลางPHYSICAL จะเป็นชั้นการทำงานทางกายภาพของระบบการเชื่อมต่อ ทั้งในส่วนของสัญญาณทางไฟฟ้า ระบบสายสัญญาณ (cable) และตัวเชื่อม (connector)
อำนาจหน้าที่ของ กทช.
1. กำหนดนโยบายและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนากิจการโทรคมนาคมและแผนความถี่วิทยุ ให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ แผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ และตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติกำหนดลักษณะและประเภทของกิจการโทรคมนาคมพิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคมพิจารณาอนุ ญาตและกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคมกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับ การอนุญาต เงื่อนไข ค่าตอบแทน หรือค่าธรรมเนียมการอนุญาตตาม 3 และ 4 รวมทั้ง การกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคมกำหนดมาตรฐานและลักษณะพึงประสงค์ทางด้ านเทคนิคในกิจการโทรคมนาคมกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเชื่อมต่อระหว่างโครงข่ายโทรคมนาคมกำหนดโครงสร้างอัตราค่าธรรมเนียมและค่าบริการในกิจการโทรคมนาคม รวมทั้งอัตราค่าเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมให้เป็นธรรมต่อผู้ใช้บริการและผู ้ให้บริการโทรคมนาคมหรือระหว่างผู้ให้บริการกิจการโทรคมนาคมจัดทำแผนเลขหมาย โทรคมนาคมและอนุญาตให้ผู้ประกอบการใช้เลขหมายโทรคมนาคม กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคและกระบวนการรับคำร้ องเรียนของผู้บริโภคกำหนดมาตรการเพื่อคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัวและเสร ีภาพของบุคคลในการสื่อสารถึงกัน โดยทางโทรคมนาคมกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการคุ้มครองและการกำหนดสิทธิในกา รประกอบกิจการโทรคมนาคมกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผ ูกขาด หรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคมกำหนดมาตรการให ้มีการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม ระหว่างผู้ประกอบการในกิจการโทรคมนาคมและกิจการที่เกี่ยวเนื่อง และ การกระจายบริการด้านโทรคมนาคมให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศส่งเสริมใ ห้มีการฝึกอบรมและการพัฒนาบุคลากรด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศส่งเสริ ม สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ อุตสาหกรรมโทรคมนาคม และ อุตสาหกรรมต่อเนื่อง ออกระเบียบเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กร การบริหารงานบุคคล การงบประมาณ การเงินและทรัพย์สิน และการดำเนินงานอื่นของ สำนักงาน กทช.อนุมัติงบประมาณรายจ่ายของสำนักงาน กทช. รวมทั้ง เงินที่จะจัดสรรเข้ากองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะจัดทำรา ยงานผลการดำเนินงานของ กทช. เสนอต่อคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งและให้เผยแพร่ต่อสาธารณชนด้วยเสนอความเห็นหรือให้คำ แนะนำต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับกิจการโทรคมนาคมทั้งภายในประเทศและระหว่างประเ ทศ รวมทั้งการให้มีกฎหมายหรือแก้ไขปรับปรุงหรือยกเลิกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิ จการโทร คมนาคม
2.ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น ซึ่งกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ กทช.
คณะกรรมการร่วม
1.ให้ กสช. และ กทช. เป็นคณะกรรมการร่วม ทำหน้าที่บริหารคลื่นความถี่ และให้เลขาธิการ กทช. เป็นเลขานุการคณะกรรมการร่วม ให้กรรมการร่วมมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1.1 กำหนดนโยบายและจัดทำแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ให้สอดคล้องกับ บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
1.2 จัดทำตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ
1.3 กำหนดการจัดสรรคลื่นความถี่ระหว่างคลื่นความถี่ที่ใช้ในกิจการวิทยุกระจายเส ียงและวิทยุโทรทัศน์ และกิจการวิทยุโทรคมนาคม
1.4 วินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวกับการกำหนดลักษณะและประเภทของกิจการกระจายเสียงกิจการ โทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
1.5 กำหนดหลักเกณฑ์การใช้คลื่นความถี่เพื่อให้การใช้คลื่นความถี่เป็นไปอย่างมีป ระสิทธิภาพและปราศจากการรบกวนซึ่งกันและกัน ทั้งในกิจการประเภทเดียวกั นและระหว่างกิจการแต่ละประเภท
1.6 วินิจฉัยผลการตรวจสอบเฝ้าฟังการใช้คลื่นความถี่ เพื่อให้มีการแก้ไขปัญหาการใช้คลื่นความถี่ที่มีการรบกวนซึ่งกันและกัน
1.7 ประสานงานเกี่ยวกับการบริหารคลื่นความถี่ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ
1.8 ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านการใช้คลื่นความถี่ให้มีประสิทธิภาพ
1.9 จัดทำรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการร่วมเสนอต่อคณะรัฐมนตรีสภาผู้แทนราษ ฎร และวุฒิสภา อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งและให้เผยแพร่ต่อสาธารณชนด้วย
1.10 ดำเนินการในฐานะหน่วยงานด้านอำนวยการของรัฐบาลในกิจการสื่อสารระหว่างประเทศ กับองค์การระหว่างประเทศ รัฐบาลและหน่วยงานต่างประเทศ ด้านการบริหารคลื่นความถี่ กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
1.11 ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น ซึ่งกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการร่วม
2.ให้สำนักงาน กทช. ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานธุรการของคณะกรรมการร่วม
การโอนอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องไปเป็นอำนาจหน้าที่ของ กทช.
เมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง กทช. ให้โอนบรรดาอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอื่นใดที่เกี่ยวกับการบริหารคลื่นความถี่ การจัดสรรคลื่นความถี่ การอนุญาตและกำกับดูแลหรือการควบคุมการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทร ทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ตามกฎหมายว่าด้วยวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ กฎหมายว่าด้วยวิทยุคมนาคม กฎหมายว่าด้วยโทรเลขและโทรศัพท์ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) หรือคณะกรรมการร่วม แล้วแต่กรณี (มาตรา 78)
การเปลี่ยนสถานภาพของกรมไปรษณีย์โทรเลขไปเป็นสำนักงาน กทช.
1.เมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง กทช. ให้โอนบรรดากิจการทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ หนี้ และงบประมาณของกรมไปรษณีย์โทรเลข กระทรวงคมนาคม ไปเป็นของสำนักงานกทช. เว้นแต่กิจการไปรษณีย์และเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำซึ่งมีผู้ครองอยู่ ให้โอนไปเป็นของสำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม กระทรวงคมนาคม สิทธิดังกล่าวข้างต้น ให้หมายความรวมถึงสิทธิในการใช้ที่ราชพัสดุและสาธารณสมบัติของแผ่นดินด้วย (มาตรา 82)
2.ให้ข้าราชการและลูกจ้างของกรมไปรษณีย์โทรเลข กระทรวงคมนาคม ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง กทช. เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างของสำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม กระทรวงคมนาคม และให้ปฏิบัติหน้าที่ในสำนักงาน กทช. โดยให้ถือว่าการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการของสำนัก งานปลัดกระทรวงคมนาคม กระทรวงคมนาคม ให้ข้าราชการหรือลูกจ้างดังกล่าว ที่ปฏิบัติหน้าที่ในสำนักงาน กทช. ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้าง รวมทั้งสิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ เท่ากับที่เคยได้รับอยู่เดิมไปพลางก่อนจนกว่าจะได้บรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงต ำแหน่งในสำนักงาน กทช. แต่จะแต่งตั้งให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างต่ำกว่าเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ ได้รับอยู่เดิมไม่ได้ (มาตรา 83)
3.ข้าราชการและลูกจ้างตาม ข้อ 2. ซึ่งสมัครใจเปลี่ยนไปเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของสำนักงาน กทช. ให้ใช้สิทธิแจ้งความจำนงเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาภายใน 60 วัน นับแต่วันพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง กทช. สำหรับผู้ไม่ได้แจ้งความจำนงภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้กลับไปปฏิบัติหน้าที่ในสำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม กระทรวงคมนาคม
การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการและลูกจ้าง ซึ่งแจ้งความจำนงข้างต้น ให้ดำรงตำแหน่งใดในสำนักงาน กทช. ให้เป็นไปตามอัตรากำลัง คุณสมบัติและอัตราเงินเดือนหรือค่าจ้าง ตามที่ กทช. กำหนดให้โอนเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำของข้าราชการและลูกจ้า งของสำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม กระทรวงคมนาคม ซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของสำนักงาน กทช. ตามข้อนี้ ไปเป็นของสำนักงาน กทช. นับแต่วันที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการตามข้อนี้ให้ถือว่าเป็นการให้ออกจากราชการ เพราะเลิกหรือยุบตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ การบรรจุและแต่งตั้งลูกจ้างตามข้อนี้ ให้ถือว่าเป็นการให้ออกจากงานเพราะทางราชการยุบตำแหน่งหรือทางราชการเลิกจ้า งโดยไม่มีความผิด และให้ได้รับบำเหน็จตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง (มาตรา 84)
สั่งซื้อที่
ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724 Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3 ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2
ธ.กสิกรไทย ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay
[font=arial ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า
ติดตามข่าวการสอบราชการที่ https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่ www.ข้อสอบงานราชการไทย.com