วิชา พ.ร.บ.ตำรวจ 2547 รวม กฎ ก.ตร.
1.ข้อใดไม่ใช่ตำแหน่ง ตาม ม.44 แห่ง พ.ร.บ.นี้ เฉลย ผู้ช่วยผู้บัญชาการ
2.คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งใครกำหนด เฉลย ก.ตร. (ดูอำนาจหน้าที่ ก.ตร.)
3.แต่งเครื่องแบบคล้าย เฉลย จำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับ 1,000 – 10,000
4.ผู้มีสิทธิเลือก กก.ผู้ทรงคุณวุฒิประเภท ก.ของ ก.ตร. เฉลย พนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิ (ผกก.ขึ้นไปนั่นเอง)
5.ผบ.ตร.เป็นผู้สั่งลงโทษ ให้อุทธรณ์ต่อ เฉลย ก.ตร.
6.การแบ่งส่วน เป็นกองบังคับการ เฉลย กฎกระทรวง
7.ข้อใดเป็นด้านประสบการเชี่ยวชาญของ กก.ผู้ทรงคุณวุฒิประเภท ข.ของ ก.ตร. เฉลย รัฐประศาสนศาสตร์
8.คือคุณความดี เฉลย จริยธรรม
9.เครื่องเหนี่ยวรั้งให้อยู่ในกรอบตามพระบรมราโชวาท เฉลย อดทน อดกลั้น
10.ข้อใดไม่ใช่โทษทางวินัย เฉลย ให้ออก
11.ผู้ใดมีหน้าที่จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมคุณธรรมและพัฒนาจริยธรรม เฉลย กองบัญชาการศึกษา
12.ข้อใดมิใช่อำนาจหน้าที่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เฉลย ออกระเบียบให้ตำรวจปฎิบัติตาม ป.แพ่ง และ พาณิชย์
13.ผู้ใดมีหน้าที่จัดให้มีศูนย์ให้คำปรึกษา เฉลย จเรตำรวจแห่งชาติ
14.การถอดยศชั้นสัญญาบัตร เฉลย ระเบียบ สตช. ประกาศพระบรมราชโองการ
15.เหตุผลในการตราใช้ประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณ เฉลยมีจริยธรรม คุณธรรม เป็นตำรวจของ ประชาชนอย่างแท้จริง
16.ร้องทุกข์ได้กรณีใด เฉลย เมื่อผู้บังคับบัญชาปฎิบัติต่อตนไม่ถูกต้อง
17.ใครเลือก กก.ผู้ทรงคุณวุฒิของ ก.ต.ช. เฉลย นายก และ กก.โดยตำแหน่ง
18.แสดงภาพยนตร์หากจะแต่งกายตำรวจ ขอต่อ เฉลย หัวหน้าสถานีตำรวจแห่งท้องที่
19.ผู้มีหน้าที่เสนอขอแก้ไขประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณ เฉลย จเรตำรวจแห่งชาติ
20.ค่านิยมหลัก เฉลย ถูกต้องเป็นธรรม
21.ความลับที่ได้ห้ามเปิดเผย เว้นแต่ เฉลย เพื่อกระบวนการยุติธรรม
22.ข้อใดไม่ต้องห้ามเป็นผู้สั่งตั้งกรรมการสืบหรือสั่งสืบ เฉลย ไม่มีส่วนร่วมในการทำผิด
23.องค์ประกอบที่ใช้ในการประเมิน เฉลย ประหยัดทรัพยากร คุณภาพ ปริมาณ
24.รอบการประเมิน เฉลย ครั้งที่ 1 คือ 1 ต.ค.-31 มี.ค.ของปีถัดไป
25. (จำไม่ได้ครับ)
วิชาบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
1.ม.43 ปกติเป็นเรื่องเปิดเผยเว้นแต่ เฉลย เพื่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงให้ทำเป็นความลับได้เท่าที่จำเป็น ข้อสอบหลอกอย่างมากเลยครับ ความมั่นของรัฐ ถือเป็นสูงสุด ไม่มี ส่วนความมั่นคงเศรษฐกิจจำเป็นทุกกรณี ก็ไม่มีในตัวบท
2.ผู้ร่วมในการจัดทำแผนนิติ เฉลย สนง.กก.กฤษฏีกา และ สน.เลขาธิการนายก
3.ผู้ร่วมในการจัดทำแผนบริหารแผ่นดิน เฉลย สน.เลขานายก สน.เลขา ครม. สน.งบ และ สน.กก.พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
4.การกระจายอำนาจตัดสินใจเป็น เฉลย ลดขั้นตอน
5.ผู้มีหน้าที่จัดให้มีศูนย์เครือข่ายกลางขึ้น เฉลย กระทรวงเทคโน
6.การประเมินอิสระ เฉลย ทำเป็นความลับ เพื่อประโยชน์ความสามัคคี
7.ข้อใดไม่ต้องประกาศให้ประชาชนสามารถตรวจสอบดูได้ เฉลย ข้อพิจารณาอนุมัติให้จัดซื้อจัดจ้าง
8.ใครร่วมประเมินความคุ้มค่าของภารกิจ เฉลย สน.งบประมาณ และ สน.กก.พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
9.การประเมินความคุ้มค่าสิ่งใดต้องประเมิน เฉลย คุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจผู้รับบริการ ความคุ้มค่า
10.ส่วนท้องถิ่นจัดให้มีหลักเกณฑ์การบริหารบ้านเมืองที่ดี เพราะ เฉลย เป็นหน่วยงานที่ให้บริการประชาชน
12.กระจายอำนาจตัดสินใจแล้วจำเป็นต้องควบคุมหรือไม่เพราะ เฉลย จำเป็น เพราะ กฎหมายบังคับไว้
13.ผู้ใดมีหน้าที่ปรับปรุงทบทวนภารกิจของส่วนราชการ เฉลย ส่วนราชการ
14.มิใช่เป้าหมายของการบริหารเพื่อความสงบสุขของประชาชน เฉลย ความมั่นคงของรัฐ
15.(จำไม่ได้ครับ ต่อให้ที)
ป.อาญา
ข้อสอบค่อนข้างหลอกอย่างมากครับ สลับบรรทัดตัดโน่นนิดตัดนี่หน่อย ดูเหมือนง่ายโดยเฉพาะฝั่งความจำ แต่ก็ยอมรับว่าเบาสมองกว่าทุกครั้ง โอกาสได้ลุ้นต้อง 89-90 ครับ ส่วน 86 ลงมาคงต้องลุ้นเหนื่อยหน่อย เพราะวิเคราะห์แล้วคะแนนน่าจะเกาะกลุ่ม อาจตัดเพียงคะแนนเดียวหรือสองคะแนน เฉลยนี้อาจผิดบ้างถูกบ้าง อันไหนอ้างอิงได้ก็อ้าง อันไหนอ้างอิงไม่ได้เพราะหาไม่พบก็ขออภัย เพื่อเป็นประโยชน์จึงโพสให้ทุกท่านช่วยพิจารณาติติง แก้ไข ให้ถูกต้องด้วยครับ
1.เช่าซื้อรถ จยย.ผ่อนชำระอยู่ แล้วนำไปขายต่อ เฉลย ผิดยักยอก (ฎีกา 1125/2507,7727/2544)
2.ดูดวงบอกมีเคราะห์ต้องมอบเงินให้ มิฉะนั้นจะให้พ่อปู่มาหักคอ เฉลย ผิดทางทรัพย์ (ฎีกา 4075/2530)
3.รับไว้โดยรู้ว่าลักมา แล้วขู่ให้เจ้าของมาไถ่เอาคืนไม่เช่นนั้นจะขายต่อ เฉลยผิดรับของโจร และกรรโชก(ฎีกา 1705/2543)
4.ไม่ใช่อายุความทางอาญา เฉลย 1 ปี สำหรับระวางจำคุกตั้งแต่ 1 เดือนลงมา และปรับ (ดู ม.95)
5.นายดำวิ่งสวนทางไป พอถึงบ้านภรรยาบอกว่านายดำข่มขืนจึงตามไปฆ่า เฉลย ฆ่าคนตายโดยเจตนา
6.จำนำ นส.3 แล้วหลอกเอาคืน เฉลย ฉ้อโกง (ฎีกา 2705/43,725/2476,2132/2517)
7.ผัวเมียทำผิดต่อกันในเรื่องทรัพย์ที่ต้องรับโทษ เฉลย รีดเอาทรัพย์ (ดู ม.71)
8.กระโดดถีบล้มลงหัวฟาดพื้นตาย เฉลย ฆ่าคนโดยโดยไม่เจตนา (ดู 290)
9.1,2,3,4 ร่วมชุลมุน 3 ยิง 5 ตาย 4 ชก 5 ถามว่า 4 ผิดอะไร เฉลย 5 ผิดร่วมในการชุลมุนมีคนตาย
10.อายุเด็กฐานทอดทิ้งตาม ม.306 เฉลย 9 ปี
11.ผสมยาพิษในน้ำดื่มให้แดงกิน แต่เขียวมากินตาย เฉลย ต่อแดงผิดพยายามฆ่า ต่อเขียว ฆ่าคนตายโดยพลาด
12.ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง เฉลย ลหุโทษ ผู้ใช้ไม่ต้องรับโทษ
13.ตราชั่ง จะชั่งขายเนื้อหมูน้ำหนักหายไป 1 ขีด จึงประกาศขายตราชั่งราคาถูก เฉลย ไม่ผิดเพราะยังไม่ได้ชั่งหมูขาย เพียงแต่จะ...เท่านั้น (ส่วนช้อยที่บอกไม่ผิด เพราะไม่ได้เอาเปรียบนั้น จะต้องปรากฏว่าขายแล้วจึงมีผลว่าเอาเปรียบหรือไม่เอาเปรียบ)
14.โทษประหารคือ เฉลยฉีดยาหรือสารพิษให้ตาย
15.ม.33,34 ที่จะขอคืนทรัพย์ที่ริบได้ เฉลย เจ้าของแท้จริง อยู่ในครอบครอง จพง. ไม่รู้เห็นเป็นใจ ขอต่อศาลใน 1 ปี ถึงที่สุด
16.ไม่ใช่วิธีการเพื่อความปลอดภัย เฉลย กักขัง
17.ข้อใดมิใช่เหตุลดโทษ เฉลย
18.เอาปืนไปซ่อนเพราะกลัวผิดวินัย เฉลย
19.ยื่นมือเข้าไปกระชากแขนเขาออกมาจากบ้าน เฉลย บุกรุก โดยใช้กำลังประทุษร้าย
20.โทษปรับให้ถือจำนวน เฉลย 200 บาทต่อวัน
21.ขับรถยนต์ฝ่าด่านตรวจของตำรวจ เฉลย ไม่ผิดต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน
22.ชกใบหน้ารักษา 15 วัน ทำงานตามปกติไม่ได้ เฉลย ไม่ถึงกับเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ ม.391
23.หยิบปืนจะยิง แต่เกิดสงสารจึงกลับใจไม่ยิง เฉลย ไม่ต้องรับโทษ
24.ขึ้นไปบนรถโดยสารประจำทางแล้วใช้กระแทกไหล่ได้กระเป๋าสตางค์เขาไป เฉลย ชิงทรัพย์
25.พาผู้ถูกคุมขังไปเที่ยวตลาด เฉลย ทำให้ผู้ถูกคุมขังหลุดพ้นจากที่คุมขัง
ป.วิอาญา
1.ฉุดที่อุบล ข่มขืนที่อุดร ตำรวจอุดรจับได้ เฉลย อุดรรับผิดชอบ (กรณีอุบลจะรับผิดชอบนั้นจะต้องเป็นกรณี ผสห.รับคดีไว้แล้ว แม้ต่อมาใครจับได้ก็ต้องส่งให้ท้องที่ที่รับคดีไว้ ตามปัญหาจะบังคับตามวรรคหนึ่ง ที่บอกเมื่อจำเป็นหรือเพื่อความสะดวก ก็ไม่ได้ เพราะเป็นความผิดเกี่ยวพันหลายท้องที่ คนคิดลึกจะผิด)
2.พงส.สอบสวนได้แม้ไม่มีผู้ใดร้องทุกข์ เฉลย ขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นตาย อาญาแผ่นดิน พ.ร.บ.จราจรทางบก
3.ร้องทุกข์ต่อ พงส. เฉลย ร้องทุกข์ด้วยปาก (ช้อยเดียว ข้อสอบหลอก ต้องทำเป็นหนังสือ เพราะร้องทุกข์ไม่มีแบบ)
4.ข้อใดไม่อยู่ใน ม.7/1 เฉลย คัดคำพยาน
5.ผู้ไม่มีสิทธิ์ร้องขอให้ปล่อยเนื่องจากการคุมขังมิชอบ เฉลย พนักงานสืบสวน (ดูตัวบท ม.90)
6.ข้อใดไม่เป็นผู้เสียหาย เฉลย แจ้งว่าดำลักทรัพย์ ดำไม่เป็นผู้เสียหายเสียหาย (ฐานแจ้งความเท็จ รัฐเป็นผู้เสียหาย)
7.ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการร้องทุกข์ เฉลย หุ้นส่วนผู้จัดการยักยอก หุ้นส่วนอื่นมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ได้
8.การถามปากคำผู้ต้องหาเด็กไม่เกิน 18 ปี เฉลย ต้องจัดทนายให้ (บังคับ 133 ทวิ)
9.สอบเด็ก 4 ครั้ง ครั้ง 1 และ 2 ไม่จัดนักจิตนักสังคมให้ เสียไปเฉพาะครั้งที่ไม่จัด คือครั้ง 1 และ 2 ไม่เสียทั้งหมด
10.ไม่ต้องชันสูตรศพ เฉลย ประหารชีวิต
11.ผู้มีสิทธิ์ยื่นขอออกหมายจับ เฉลย ฝ่ายปกครองระดับ 3 ขึ้นไป ตำรวจ ร.ต.ต.ขึ้นไป
12.สัญญาประกันตัวจำเลยผูกพันใคร เฉลย นายประกันเท่านั้น
13.ถอนคำร้องทุกข์ขณะอยู่ชั้นศาล เฉลย ยื่นได้ที่ชั้นสอบสวน อัยการ ศาล
14.ออกเช็คท้องที่ ก. ชำระค่ารถท้องที่ ข. ธนาคารปฎิเสธท้องที่ ค. เฉลย ทุกท้องที่มีอำนาจสอบ เพราะเป็นความผิดต่อเนื่อง
15.ข้อใดไม่ถูกต้อง ในการตรวจพยานวิทยาศาสตร์ เฉลย ตรวจได้เฉพาะคู่ความเท่านั้น
16.จะไม่ออกหมายขังกรณีใด เฉลย ศาลมีคำพิพากษาแล้ว เพราะต้องออกเป็นหมายจำคุก หรือหมายปล่อยได้เท่านั้น
17.ข้อใดมิใช่อำนาจผู้เสียหายตาม 4,5 ,6 เฉลย (จำช้อยไม่ได้แต่ไม่น่าจะผิด เพราะช้อยอื่นเป็นอำนาจคือ เป็นโจทก์แพ่งเนื่องอาญา ถอนฟ้องแพ่งเนื่องอาญา ยอมความในความผิดต่อส่วนตัว)
18.ขอแก้ไขฟ้องเนื่องจากพิมพ์ผิด เฉลย ยื่นต่อศาลก่อนชั้นต้นพิพากษา
19.ระหว่างพิจารณาหลบหนี ถ้าจับตัวมาไม่ได้ ขาดอายุความนับแต่ เฉลย นับแต่วันหลบหนี
20.ข้อใดจะยกฟ้องไม่ได้ เฉลย (ช้อยที่ยกฟ้องได้ คือ ทำไม่เป็นผิด ผิดไม่ได้กระทำ ขาดอายุ)
21.ความผิดที่ราษฎรจับได้โดยไม่ต้องมีหมาย เฉลย วิ่งราวทรัพย์ (ดู ม.79 ประกอบท้ายประมวล)
22.ตำรวจไล่จับแล้ววิ่งหลบหนีเข้าไปในสถานค้าประเวณี (ถ้าเปิดทำการถือว่าเป็นที่สาธารณะมิใช่รโหฐาน) เฉลย ค้น และจับได้ แต่ต้องเป็นกลางวันด้วย เพราะกลางคืนจะต้องเข้ากรณีฉุกเฉินอย่างยิ่งด้วยครับ ขอโทษครับผมจำฎีกาไม่ได้
23.สั่งไม่ฟ้อง คดีเสร็จเด็ดขาดแล้ว เฉลย ไม่มีข้อใดถูก
24.ฉ้อโกง อัยการยื่นฟ้องโดยไม่มีการสอบสวนก่อน (เฉลย จำไม่ได้ครับ)
25.(จำไม่ได้ครับ)
พยาน
1.บันทึกจับกุมว่าให้การรับสารภาพ เฉลย บันทึกจับกุมรับฟังได้ แต่คำรับสารภาพรับฟังไม่ได้
2.พยานซัดทอด เฉลย รับฟังได้แต่ต้องประกอบพยานหลักฐานอื่นด้วย
3.ถูกทำร้ายก่อนตายที่มีน้ำหนังน้อยรังฟังไม่ได้ เฉลย ให้คนอื่นห้ามเลือดที่คอ บอกชื่อคนร้ายขณะรู้สึกตัวดี
4.ข้อใดเป็นพยานได้มาโดยชอบ เฉลย (จำไม่ได้ครับ)
5. ก.เห็น ดำ แทง ข.ตาย จึงไปบอก ค. แล้ว ค.ไปแจ้ง พงส. เฉลย ก.เป็นประจักษ์ ส่วน ค.และ พงส.เป็นบอกเล่า
6.รับฟังเป็นพยานได้ เฉลย พงส.กล่าวว่าคนขับยังไม่ตาย ผู้ต้องหาจึงรับสารภาพ ความจริงตายแล้ว แต่ พงส.ก็ไม่รู้
7.เทปดิวิทัศน์ กับภาพถ่าย เฉลย ทั้งสองอย่างเป็นพยานวัตถุ
8.ตรี โท จัตวา ร่วมกันปล้น อัยการแยกฟ้อง ตรีและโท โดยอ้างจัตวาเป็นพยาน และฟ้องจัตวาโดยอ้างตรีเป็นพยาน เฉลย ได้
9. (จำโจทย์ไม่ได้ครับ)
10.(จำโจทย์ไม่ได้ครับ ใครจำได้ช่วยต่อให้ที)
คำพิพากษาที่ 4075/2530 แจ้งแก้ไขข้อมูล
จำเลยเพียงแต่ทำนายดวงชะตาแก่ผู้เสียหายว่า ผู้เสียหายกำลังมีเคราะห์ให้สะเดาะเคราะห์โดยเสียเงินค่ายกครูให้แก่จำเลยหาใช่เป็นการขู่เข็ญตามความหมายของมาตรา 337 แห่งประมวลกฎหมายอาญาไม่ดังนั้น แม้จะฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยพูดขู่ว่าถ้าไม่ให้เงินจะให้พ่อปู่มาทำอันตรายผู้เสียหายทางไสยศาสตร์และผู้เสียหายยอมให้เงิน ก็เป็นเรื่องที่ผู้เสียหายเชื่อตามคำทำนายว่าจะมีเคราะห์ มิใช่เพราะกลับคำขู่เข็ญของจำเลย การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานกรรโชก.
คำพิพากษาฎีกาที่ 7727/2544 ป.อ. มาตรา 352
จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์บรรทุกจากบริษัท อ. โดยชำระเงินในวันทำสัญญาบางส่วน ที่เหลือผ่อนชำระเดือนละงวดรวม 36 งวดมีชาวบ้านที่จำเลยจ้างมาเป็นผู้ค้ำประกัน หลังจากทำสัญญาเช่าซื้อและรับรถไปแล้วจำเลยไม่ชำระค่าเช่าซื้อและไม่ติดต่อกับผู้เสียหายอีกเลย บริษัท อ. จึงบอกเลิกสัญญา แต่จำเลยไม่ส่งมอบรถคืนเมื่อสอบถามจำเลย จำเลยแจ้งว่าขายไปแล้วแต่ไม่ยอมบอกว่าขายให้แก่ผู้ใด ดังนี้ การที่จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อและชำระเงินล่วงหน้าก็เพื่อให้ได้รถยนต์ไปไว้ในครอบครอง มิได้มีเจตนาจะชำระราคาอีก พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นการเบียดบังเอาทรัพย์ของบริษัท อ. ที่อยู่ในครอบครองของจำเลยไปโดยทุจริตเป็นความผิดฐานยักยอก หาใช่เป็นเพียงการกระทำผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้นไม่
คำพิพากษาฎีกาที่ 1484/2549 ป.อ. มาตรา 337
จำเลยขู่เข็ญให้ผู้เสียหายที่ 1 นำเงินจำนวน 5,500 บาท มามอบให้เป็นค่าไถ่โทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายที่ 1 และหากไม่นำมาให้จะไม่ได้รับโทรศัพท์คืน จำเลยจะนำไปขายให้แก่บุคคลอื่น เข้าลักษณะเป็นการขู่เข็ญผู้เสียหายที่ 1 โดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญคือขายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายที่ 1 ไป ซึ่งทำให้ผู้เสียหายที่ 1 เกิดความกลัวและยินยอมจะนำเงินจำนวน 5,500 บาท ไปให้จำเลย การกระทำของจำเลยจึงเข้าลักษณะความผิดฐานกรรโชก ตาม ป.อ. มาตรา 337 (เมื่อรู้ว่าทรัพย์นั้นได้มาจากการลักทรัพย์ แล้วรับซื้อไว้ จึงผิดรับของโจรด้วย ตอบข้อ ง.)
คำพิพากษาฎีกาที่ 2/2503 ป.วิ.อ. มาตรา 2 (21), 2 (22), 89 ป.อ. มาตรา 191, 204
จำเลยเป็นตำรวจอยู่เวรรักษาเหตุการณ์บนสถานีตำรวจ ได้นำผู้ต้องขังตามหมายขังของศาลไปเสียจากที่คุมขังบนสถานีตำรวจพาไปเที่ยวหาความสำราญในตลาด แม้ว่าจำเลยจะไปด้วยกับผู้ต้องขังนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นการควบคุม จำเลยต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 204 เพราะเป็นเรื่องไปเที่ยวหาความสำราญ ถือได้ว่าจำเลยได้กระทำให้ผู้ต้องขังหลุดพ้นจากการคุมขังไปแล้ว
คำพิพากษาฎีกาที่ 2768/2540 ป.อ. มาตรา 362, 365
การที่จำเลยกระชากลากผู้เสียหายออกมาจากบริเวณที่ผู้เสียหายยืนอยู่ใต้ชายคาบ้านของผู้เสียหายแม้จำเลยจะยืนอยู่นอกบริเวณบ้านของผู้เสียหายแต่จำเลยก็จะต้องเอื้อมมือเข้าไปภายในบริเวณบ้านของผู้เสียหายเพื่อจับและฉุดกระชากลากตัวผู้เสียหายออกไปการเอื้อมมือเข้าไปฉุดกระชากลากตัวผู้เสียหายออกไปในลักษณะนี้ถือได้ว่าจำเลยเข้าไปกระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้เสียหายโดยปกติสุขโดยใช้กำลังประทุษร้ายเข้าองค์ประกอบแห่งความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 และมาตรา 365(1) แล้ว
คำพิพากษาฎีกาที่ 2705/2543 ป.พ.พ. มาตรา 137, 138 ป.อ. มาตรา 341
หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ที่จำเลยมอบให้โจทก์เป็นประกันตามสัญญากู้ยืม โจทก์มีสิทธิจะยึดถือไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้เสียก่อน และหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) แม้เป็นเพียงกระดาษแผ่นเดียว ตามสภาพเป็นวัตถุมีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาและถือเอาได้ จึงเป็นทั้งทรัพย์และทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137,138 ฉะนั้น ถ้าหากจำเลยโดยทุจริตหลอกลวงโจทก์และการหลอกลวงนั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากโจทก์ก็เป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ได้ เพราะความผิดฐานนี้ ไม่ได้จำกัดว่าผู้ที่ถูกหลอกลวงจะต้องเป็นเจ้าของทรัพย์แม้จะเป็นเจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์ของลูกหนี้ไว้ ใครหลอกลวงให้เขาส่งทรัพย์นั้นก็อาจมีความผิดตามมาตรานี้ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 744-745/2515 ป.อ. มาตรา 147, 158
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาให้ใช้และเก็บรักษาปืนคาร์บิน แมกกาซีน และกระสุนปืน ซึ่งเป็นทรัพย์สินของทางราชการตำรวจเพื่อใช้ในการตรวจตรา ปราบปรามโจรผู้ร้าย จำเลยจึงเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ใช้และรักษาปืนคาร์บินกระสุนปืน และแมกกาซีน ที่จำเลยได้รับมอบหมาย จำเลยเบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 147
คำพิพากษาฎีกาที่ 3708/2537 ป.อ. มาตรา 1 (6), 339
ขณะที่ผู้เสียหายขึ้นรถโดยสารประจำทางก็ถูกจำเลยซึ่งเข้ามาทางด้านหลังกระแทกตรงหัวไหล่และจำเลยได้ล้วงเอากระเป๋าสตางค์ของผู้เสียหาย ซึ่งมีเงินบรรจุอยู่ แล้วหลบหนีไป ดังนี้ เป็นการที่จำเลยใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายเพื่อสะดวกแก่การลักทรัพย์ของผู้เสียหายบนยวดยานสาธารณะซึ่งประชาชนใช้โดยสารจำเลยจึงมีความผิดฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา339 วรรคสอง
คำพิพากษาฎีกาที่ 2410/2545 ป.อ. มาตรา 83, 138 พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15, 67
จำเลยขับรถยนต์กระบะมาถึงด่านตรวจ เจ้าพนักงานตำรวจได้ให้สัญญาณให้หยุดรถเพื่อตรวจ จำเลยไม่ยอมหยุดและได้ขับรถเลยไปจนต้องมีการไล่ติดตามเพื่อสกัดจับ การที่จำเลยขับรถเลยไปไม่ยอมหยุดให้ตรวจค้นก็ดี การที่จำเลยดิ้นรนเพื่อให้หลุดพ้นจากการจับกุมก็ดี เป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งของการจะหลบหนี จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นความผิดฐานต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่
คำพิพากษาฎีกาที่ 2832/2538 ป.อ. มาตรา 60, 289
จำเลยได้นำน้ำส้มผสมยาฆ่าแมลงไปถวายพระภิกษุผู้เสียหาย โดยเจตนาฆ่าผู้เสียหายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน แม้จำเลยจะมีเจตนา ฆ่าเฉพาะผู้เสียหาย แต่เมื่อผลแห่งการกระทำเกิดขึ้นแก่ ผู้ตายโดยพลาดไปก็ต้องถือว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย โดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 60 ด้วย จำเลยมีความผิดตามมาตรา 289(4) ประกอบด้วยมาตรา 80 และมาตรา 289(4) ประกอบด้วยมาตรา 60
คำพิพากษาฎีกาที่ 3955/2547 ป.อ. มาตรา 72
การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายเนื่องจากผู้ตายกับ น. ภริยาจำเลยอยู่ด้วยกันภายในห้องนอนตามลำพังสองต่อสอง และจำเลยพบเห็นเหตุการณ์โดยไม่คาดคิดมาก่อนจำเลยเกิดความโมโหหรือมีอารมณ์โกรธ จึงยิงไปในขณะนั้นทันทีที่พบเห็น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ป.อ. มาตรา 68 แต่เป็นการกระทำโดยเหตุบันดาลโทสะตาม ป.อ. มาตรา 72
คำพิพากษาฎีกาที่ 263/2515 ป.อ. มาตรา 72, 288
ผู้ตายเคยลวนลามภรรยาจำเลยมาแล้วครั้งหนึ่ง วันเกิดเหตุจำเลยกลับจากเก็บถั่วขึ้นไปห้างไร่ของจำเลย เห็นผู้ตายกำลังกอดรั้งตัวภรรยาจำเลยอยู่ จำเลยเกิดโทสะพอจำเลยร้องว่าผู้ตาย ผู้ตายก็ผละออกกระโดดหนีลงจากห้างไร่จำเลยคว้าได้ปืนยาวที่พิงไว้ข้างฝาลงบันไดตามไปยิงผู้ตายที่พื้นดิน ซึ่งขณะนั้นเดินออกไปห่างจากห้างไร่ 3 วากระสุนปืนถูกผู้ตายถึงแก่ความตาย ดังนี้ การกระทำของจำเลยเป็นการฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ด้วยความบันดาลโทสะ
**** คำตอบข้อ ค. บอกว่าฆ่าคนตายโดยเจตนา แต่ไม่มีความผิด เพราะบันดาลโทสะ ข้อสอบลวงและกินกันตรงนี้ครับ บันดาลโทสะศาลจะลงโทษน้อยเพียงใดก็ได้ ข้อนี้จึงผิด เหลือ ก.ไก่ ฆ่าคนตายโดยเจตนา เพราะมีเจตนา ถ้าเห็นขณะชำเราอ้างป้องกันได้ นี่ข่มขืนเสร็จแล้ว อ้างบันดาลโทสะได้ และศาลต้องลงโทษเพราะเป็นความผิด หลอก 2 ชั้น*
คำพิพากษาฎีกาที่ 885/2509 ป.อ. มาตรา 294
จำเลยที่ 1 และนายเทียนย้งบิดาจำเลยที่ 1 ได้ร่วมในการชุลมุนต่อสู้กันระหว่างบุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป นายเทียนย้งบิดาจำเลยที่ 1 ถูกทำร้ายถึงแก่ความตายในการชุลมุนต่อสู้กันนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ร่วมในการชุลมุนต่อสู้กันนั้นด้วย ถึงแม้จำเลยที่ 1 จะไม่มีอาวุธก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำเพื่อห้ามการชุลมุนต่อสู้หรือป้องกันตัว จำเลยที่ 1 ก็ต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 294.
คำพิพากษาฎีกาที่ 1268/2515
จำเลยสี่คนกับพวกที่ยังไม่ได้ตัวมาฟ้อง มีอาวุธเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้กัน จนเป็นเหตุให้มีบุคคลถึงแก่ความตายสองคนและได้รับอันตรายสาหัสอีกคนหนึ่ง ผู้ตายคนหนึ่งถึงแก่ความตายเพราะถูกจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยิงในการชุลมุนต่อสู้กันนั้นเช่นนี้ เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทคือ จำเลยทุกคนผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 294, 299, 83เฉพาะจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีความผิดตามมาตรา 288 อีกบทหนึ่งซึ่งจะต้องลงโทษจำเลยสองคนนี้ตามมาตรา 288 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน เป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาพิพากษาแก้ให้ถูกต้องได้ (แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา)
คำพิพากษาฎีกาที่ 1015/2508 ป.อ. มาตรา 288, 299
ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 299 นั้น บัญญัติเอาผิดแก่ผู้ที่เข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้กันระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป ทำให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งได้รับอันตรายถึงสาหัส เว้นแต่การเข้าไปห้ามหรือเพื่อป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นตัวการทำให้เกิดอันตรายดังกล่าวนั้น ถ้าปรากฏว่าผู้ใดเป็นตัวการกระทำโดยลงมือกระทำเองก็ดี หรือใช้ให้เขากระทำก็ดี ผู้กระทำย่อมมีความผิดตามกรรมของตนอีกโสดหนึ่ง
คำพิพากษาฎีกาที่ 1069/2510 ป.อ. มาตรา 295, 391
การทำให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 295 จะต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยและบาดแผลของผู้เสียหายประกอบกัน ใช้มือชกต่อยและใช้เท้าเตะผู้เสียหาย มีบาดแผลที่หน้าผากข้างขวาถลอกโหนกแก้มขวาบวมเล็กน้อย รักษาประมาณ 5 วันหาย ไม่เป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 จึงผิดเพียง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391
คำพิพากษาฎีกาที่ 1078/2511 ป.อ. มาตรา 295, 391
กรณีที่จำเลยใช้กำลังทำร้ายภรรยาของตน แม้จะมีแผล 6 แห่ง ก็เป็นเพียงรอยช้ำ อันไม่ปรากฏขนาดว่าใหญ่โตแค่ไหน และอาจรักษาหายได้ภายใน 5 วันเท่านั้น จึงไม่ส่งผลให้เป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของภรรยาของจำเลยได้ ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 295 แต่ผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391
คำพิพากษาฎีกาที่ 3442/2527 ป.อ. มาตรา 295, 391
จำเลยเพียงแต่ใช้มือทำร้ายผู้เสียหาย ผู้เสียหายมีบาดแผลช้ำบวม 2 แห่ง ไม่มีโลหิตออก แม้แพทย์ลงความเห็นว่าจะหายเป็นปกติภายใน 10 วัน ก็เป็นเพียงการคาดคะเน เพราะอาจจะหายก่อน 10 วันก็ได้ จำเลยจึงคงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 เท่านั้น
คำพิพากษาฎีกาที่ 485/2493 ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6)กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 11, 27, 28
ฟ้องคดีอาญานั้น กฎหมายบังคับให้อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดเท่านั้น หาได้บัญญัติให้อ้างบทมาตราที่บัญญัติให้ริบของกลางด้วยไม่ ฉะนั้นแม้จะไม่ได้อ้างมา ศาลก็มีอำนาจริบได้ในเมื่อโจทก์มีคำขอไว้แล้ว พ.ร.บ.มาตราชั่วตวงวัดได้มีบทบัญญัติในเรื่องการริบและการยึดไว้แล้ว ดังจะเห็นได้ตามมาตรา 24 และ 38 ย่อมเห็นเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.นี้ได้ว่า ไม่ประสงค์ที่จะให้นำมาตรา 27,28 แห่งก.ม.ลักษณะอาญามาใช้บังคับแก่กระทำผิดใด ๆ ตาม พ.ร.บ.นี้อีกในเมื่อการกระทำนั้น ๆ ไม่เป็นผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญาด้วย
ในกรณีที่จำเลยมีเครื่องชั่งที่ไม่มีตราเครื่องหมายของเจ้าพนักงานไว้ในความครอบครองเพื่อใช้ในพาณิชกิจต่อเนื่องกับผู้อื่น และยังได้ใช้เครื่องชั่งเนื้อสุกรขายแก่ประชาชนอีกนั้น เมื่อศาลพิพากษาลงโทษปับจำเลยตาม พ.ร.บ.ชั่งตวงวัด 2466 มาตรา 31 แล้ว ยังสั่งให้โจทก์ส่งของกลางไปให้เจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ. 31 แล้ว ยังสั่งให้โจทก์ส่งของกลางไปให้เจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ.มาตราชั่งตวงวัด 2466 มาตรา 24 ดำริว่า ควรจะจัดการกับเครื่องชั่งของกลางสถานใด แทนการสั่งยึดตามมาตรา 38 ได้ โจทก์ฟ้องและจำเลยรับสารภาพว่า จำเลยมีเครื่องชั่งที่ไม่มีตราเครื่องหมายของเจ้าพนักงานไว้ในความครอบครองเพื่อใช้ในพาณิชกิจต่อเนื่องกับผู้อื่นและจำเลยได้บังอาจใช้เครื่องชั่งนั้น ชั่งเนื้อสุกรขายให้แก่ประชาชน โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยและขอให้ริบของกลาง แต่มิได้อ้างบทมาตราที่ให้ริบของกลางด้วย ศาลชั้นต้นปรับจำเลย ๓๐ บาทโดยลดกึ่งแล้วตาม พ.ร.บ.มาตราชั่งตวงวัด ๒๔๖๖ มาตรา ๓๑ ส่วนของกลางไม่ริบ ให้โจทก์ส่งไปให้เจ้าพนักงานตามมาตรา ๒๔ ดำริว่า ควรจะจัดการกับเครื่องชั่งของกลางสถานใด ศาลอุทธรณ์เห็นว่า ศาลสั่งให้ริบได้ตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา ๒๘ จึงพิพากษาแก้ให้ริบของกลาง จำเลยฎีกาว่า โจทก์มิได้อ้างบทกฎหมายที่ให้ริบ ศาลไม่มีอำนาจริบ เพราะเกินคำขอ ศาลฎีกาเห็นว่า ป.ม.วิ.อาญามาตรา ๑๕๘ ข้อ ๖ บัญญัติว่าให้อ้างมาตราในกฎหมายที่บัญญัติว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดเท่านั้น หาได้บัญญัติได้ต้องอ้างบทมาตราที่กฎหมายบัญญัติให้ริบของกลางในคดีอาญาเหล่านั้นด้วยไม่ ศาลจึงมีอำนาจริบของกลางได้เพราะโจทก์มีคำขอไว้แล้ว
ส่วนปัญหาที่ว่า จะริบเครื่องชั่งของกลางในคดีนี้ได้หรือไม่นั้น ศาลฎีกาได้พิจารณาโดยที่ประชุมใหญ่แล้วเห็นว่า พ.ร.บ.มาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๔๖๖ ได้มีบทบัญญัติในเรื่องการริบเครื่องชั่งตวงวัดไว้แล้วตามมาตรา ๒๔ และยังได้บัญญัติถึงการยึดเครื่องชั่งตวงวัดไว้ในมาตรา ๓๘ อีกด้วยว่า เมื่อได้มีหรือเชื่อว่าได้มีการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.นี้เกิดขึ้นเนื่องด้วยเครื่องชั่งตวงวัดเครื่องวัดใด ๆ แล้ว ท่านว่าจะยึดสิ่งนั้น ๆ เสียก็ได้ ฉะนั้นจึงเป็นที่เห็นได้ว่า พ.ร.บ. มาตราชั่งตวงวัดนี้ ได้มีบทบัญญัติในเรื่องการริบและการยึดไว้แล้ว ย่อมเห็นเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.นี้ได้ว่าไม่ประสงค์ที่จะให้นำมาตรา ๒๗,๒๘ ก.ม.ลักษณะอาญามาใช้บังคับแก่การกระทำผิดใด ๆ ตาม พ.ร.บ.นี้ได้อีก ในเมื่อการกระทำนั้น ๆ ไม่เป็นผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญาด้วย โดยเหตุนี้ ศาลนี้จึงเห็นว่าจะนำมาตรา ๒๗,๒๘ ก.ม.ลักษณะอาญามาบังคับแก่การกระทำของจำเลยในคดีนี้ไม่ได้ และเห็นว่ายังไม่ควรสั่งยึดเครื่องชั่งตามมาตรา ๓๘ จึงพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ผมเห็นคุณๆที่เฉลยข้อสอบแล้วบอกว่ามั่นใจแต่ผมว่าพวกคุณดูปัญหาตื้นไปเช่น
กรณีเช่าซื้อรถแล้วไม่ส่งต่อเอาไปขาย แล้วก็อ้างฎีกาที่ 7227 ประมาณนี้ คุณควรศึกษาให้ดี ตามฎีกาผู้ให้เช่าซื้อได้ติดตามทวงถามแต่ผู้เช่าซื้อไม่ยอมพบและหรือหลบหน้าเห็นว่าเจ้าหนี้ใด้ใช้สิทธิ์ติดตามแล้วจึงเป็นยักยอก
แต่มีกาที่ 457/2503 เช่าซื้อวทยุส่งได้สองสามงวดแล้วเอาไปจำนำ ศาลบอกว่ามูลเหตุแห่งคดีเป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง เจ้าหนี้ยังบังคับเอาทรัพย์หรือเงินแทนทรัพย์ที่ขายหรือจำนำได้ผมว่าผู้ออกข้อสอบอาจจะใช้ฎีกานี้เทียบเคียงในออกข้อสอบข้อนี้(พูดง่ายๆ หลอกผู้เข้าสอบ)
มีอีกฎีกา ทำสัญญาเช่าซื้อรถจ่ายเงินดาวน์แล้วเอารถไปทดลองขับแล้วมาบอกผู้ขายว่ารถหาย ฎีกานี้ว่าก็เป็นผิดสัญญาทางแพ่ง ไม่ผิดยักยอก
ข้อหมอผี หากดูดีๆ ให้สังเกตุคำว่า "จะให้ผีพ่อปู่ไปหักคอ" หมอผีไม่ได้ขู่ว่าทันใดนั้นจะทำร้ายหรือหลอกเลยหากถือว่าการจะให้ผีไปทำร้ายเป็นการหลอกแล้วผิดฉ้อโกงคงไม่ได้เพราะ การให้ผีไปหักคอในหลักฎหมายไม่มีความผิด มีฏีกาเรื่องหนึ่งจำเลขฎีกาไม่ได้ ที่ขู่ว่าถ้าไปอำเภอเมื่อไรจะยิงหรือฆ่า ก็ยังไม่เป็นความผิด หรือ ขับรถไปจอดแล้ววัยรุ่นมาขอเงินค่าจอดเจ้าของรถไม่ยอมให้วัยรุ่นขู่ว่าถ้างั้นไม่รับรองความปลอดภัยเจ้าของรถจึงยอมให้เงินไป ก็ไม่เป็นความผิดฐานกรรโชก ผมว่าข้อสอบครังนี้ดูเหมือนง่ายแต่แฝงไปด้วยเหลี่ยมครับ
เห็นพี่น้องหลายท่านนำข้อสอบมาเฉลย ก็นับถือในความจำชั้นยอดของท่านทั้งหลาย(อาจแอบลอกมาก็ได้) ผมดูของหลายท่านที่เฉลยส่วนใหญ่ก็ถูก แต่มีบางข้อมาเฉลยผิดตรงนี้อันตรายนะครับ เพราะคุณอาจฝังใจกับคำตอบที่ผิดมาก็ได้(ถูกเราแต่ผิดเขา) เช่น เช่าซื้อรถฯบริษัทต้องบอกเลิกสัญญา(คู่สัญญาคืนสู่สถานะเดิม/คืนรถ/คืนเงิน)หากคืนรถไม่ได้มูลความผิดยักยอกจึงจะเกิด บริษัทจึงจะเป็นผู้เสียหายตามป.วิอ.ม.2(4) ไปทำความเข้าใจใหม่ดีๆนะครับ กรณีหมอดูฎ.2705/25...ก็วินิจฉัยไว้ว่าเป็นฉ้อโกงครับ ข้อสอบครั้งนี้ออกคนละแนวกับครั้งก่อนออกตื้นๆไม่สมศักดิ์ศรีนิติมสธ.อย่างผม จึงทำไม่ได้เลย เห็นข้อสอบนึกว่าแบบทดสอบก่อนเรียน/หลังเรียนของมสธ. แต่ผมไม่เสียใจหลอกครับ การเป็นนายตำรวจมันไม่ใช่เครื่องหมายการันตรีว่าชีวิตคุณจะประสบความสำเร็จมีความสุข ชีวิตเราอยู่ที่เราจะกำหนดความหมายความพอดีจึงจะเป็นสุขผู้บังคับบัญชา(ในอดีต)ผมก็เสียชีวิตเพราะอัตตวินิบาติกรรม(ล่าสุดก็รองผกก.สส.อำนาจเจริญ)บางทีถ้าท่านเหล่านั้นเป็นชั้นประทวนเหมือนเราอาจไม่เจอแรงกดดันจนคิดสั้นแบบนั้นก็ได้ พ.ต.ท.เมียสามลูกห้าขี่จยย. ส.ต.ท.เมียคนเดียวทำงานช่วยกันขับรถคนละคันเก๋งคันปิ๊กอัพคันความแตกต่างตรงนี้ก็อยู่ที่สภ.ผมนี้เอง มันก็ขึ้นอยู่กับตัวเราเองใช่ใหมที่จะให้ชีวิตเป็นเช่นไร............
สั่งซื้อที่
ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724 Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3 ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2
ธ.กสิกรไทย ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay
ผลงานการสอบได้ของลูกค้า
ติดตามข่าวการสอบราชการที่ https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่ www.ข้อสอบงานราชการไทย.com