ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ตำรวจฯ & กฎ ก.ตร.
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ตำรวจฯ & กฎ ก.ตร.

แชร์กระทู้นี้

1. พล.ต.ท.เฉลิม อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 ได้ลาออกจากการเป็นข้าราชการตำรวจมาเป็นระยะเวลา 1 ปีเศษ เพื่อเตรียมตัวลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา อย่างไรก็ตามต่อมาได้มีการรับสมัครคัดเลือก ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 30 (2) (ก) และพล.ต.ท.เฉลิมได้ลงสมัครเพื่อรับเลือกเป็น ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ และได้รับเลือกโดยได้คะแนนมาเป็นลำดับ 6 รองจาก พล.ต.ท.อภิสิทธิ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 หลังจาก พล.ต.ท.อภิสิทธิ์ ได้เป็น ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิมา 2 ปีเศษ ก็ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้อง
1) พล.ต.ท.อภิสิทธิ์ สามารถดำรงตำแหน่ง ก.ตร. ผู้ทรงคุณวุฒิ ต่อไปได้ เพราะการลงสมัครรับ เลือกตั้งดังกล่าว
แต่ไม่ได้รับเลือกไม่ทำให้พ้นจากตำแหน่ง ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ

2) พล.ต.ท.เฉลิมมีสิทธิเป็น ก.ตร. ผู้ทรงคุณวุฒิแทน กรณีที่ พล.ต.ท.อภิสิทธิ์พ้นจากตำแหน่งแต่ จะต้องอยู่ในตำแหน่งเท่าวาระที่เหลือของ พล.ต.ท.อภิสิทธิ์ และพล.ต.ท.เฉลิม ไม่มีสิทธิ์ได้รับ เลือกเป็น ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิในสมัยถัดมาได้อีก
3) หลักเกณฑ์ และวิธีการเลือก ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวข้างต้นต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดใน กฎ ก.ตร.
4) ข้อ 2) และ 3) ถูก
2. พ.ต.ท.ณัฐวุฒิ ตำแหน่งพนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการพิเศษ สถานีตำรวจภูธร อำเภอโคกสะอาดได้ยื่นหนังสือลาออกจากราชการต่อ พ.ต.อ.จตุพร ผู้กำกับการฯ ในฐานะผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งในวันที่ 31 มีนาคม 2547 เพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะอาด อย่างไรก็ตาม พล.ต.ต.วีระ ผู้บังคับการ ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา 72 เห็นว่ามีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของราชการจึงได้ยับยั้งการลาออกไว้เป็นเวลา 1 เดือนแต่ก่อนที่จะยื่นหนังสือลาออก 7 วัน พ.ต.ท.ณัฐวุฒิ มีเรื่องที่อาจถูกสืบสวนหรือสอบสวนว่ามีการกระทำผิดวินัย แต่ก็ได้มีการลาออกก่อนที่จะมีการดำเนินการสืบสวนหรือสอบสวน ต่อมา พ.ต.ท.ณัฐวุฒิ ได้กลับเข้ารับราชการใหม่โดยถูกต้องตามระเบียบราชการในวันที่ 30 มีนาคม 2552 และพ.ต.อ.จักรภพ ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรอำเภอโคกสะอาด ซึ่งเพิ่งย้ายเข้ามารับตำแหน่งได้เพียง 7 วัน ก็ได้มีคำสั่งให้ดำเนินการทางวินัยโดยการสืบสวน หรือสอบสวนเพิ่มเติมต่อไป กับพ.ต.ท.ณัฐวุฒิ
ดังนี้ข้อใดต่อไปนี้กล่าว ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับข้อเท็จจริงข้างต้น
(1) การลาออกของ พ.ต.ท.ณัฐวุฒิ มีผลตั้งแต่พ้นกำหนด 1 เดือนนับแต่วันที่ พล.ต.ต.วีระ ได้ยับยั้งการลาออก
(2) พ.ต.อ.จักรภพ ไม่มีอำนาจสั่งให้มีการดำเนินการสืบสวนหรือสอบสวนทางวินัยแก่ พ.ต.ท.ณัฐวุฒิเพราะไม่ใช่ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจตามมาตรา 72
(3) พ.ต.อ.จักรภพ ไม่มีอำนาจสั่งให้มีการดำเนินการสืบสวน หรือสอบสวนทางวินัยแก่ พ.ต.ท.ณัฐวุฒิเพราะเป็นการกลับเข้ารับราชการเกิน 3 ปี ขึ้นไปนับจากวันออกจากราชการ
(4) พล.ต.ต.วีระไม่มีอำนาจยับยั้งการลาออกของ พ.ต.ท.ณัฐวุฒิ เพราะเป็นการลาออกเพื่อสมัครรับเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่น
1) ถูกเฉพาะข้อ (1) และ (2)  2) ถูกเฉพาะข้อ (2) และ (3)  3) ถูกเฉพาะข้อ (1) (2) และ (3)  4) ไม่มีข้อใดถูก
3. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของ ก.ต.ช. โดยตรง
(1) การกำหนดจำนวนตำแหน่งข้าราชการตำรวจระดับผู้พนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการพิเศษ หรือเทียบเท่าขึ้นไป
(2) กำหนดวัน เวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดราชการประจำปี และการลาหยุดราชการของ ข้าราชการตำรวจ นอกเหนือจากที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
(3) กำหนดกระบวนการและขั้นตอนในการกระจายอำนาจระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติกับตำรวจภูธรจังหวัดและราชการส่วนท้องถิ่นในกรณีเห็นว่ามีความจำเป็นและเหมาะสม
1) ถูกเฉพาะข้อ (1)  2) ถูกเฉพาะข้อ (2)  3) ถูกเฉพาะข้อ (3)  4) ไม่มีข้อใดถูก
4. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวไม่ถูกต้อง
(1) การลงโทษกักยาม ได้แก่ การกักตัวไว้ในบริเวณใดบริเวณหนึ่งที่สมควรตามที่จะกำหนด และให้ทำงานโยธา หรืองานอื่นของทางราชการด้วย แต่ต้องไม่เกิน 6 ชั่วโมง ต่อ 1 วัน
(2) ส.ต.ต.หญิง วุ้นเส้น ถูกสั่งให้พักราชการ ดังนี้ ส.ต.ต.หญิงวุ้นเส้น มีสิทธิ์อุทธรณ์ต่อ ก.ตร. ได้ แม้ไม่ใช่โทษทางวินัยก็ตาม
(3) การร้องทุกข์อาจร้องทุกข์โดยตรงต่อ ก.ตร. โดยไม่ผ่านผู้บังคับบัญชาก็ได้
1) ถูกเฉพาะข้อ (1)  2) ถูกเฉพาะข้อ (2)  3) ถูกเฉพาะข้อ (1) และ (2)  4) ไม่มีข้อใดถูก
5. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นหัวหน้าส่วนราชการข้อใดต่อไปนี้ กล่าวไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
1) เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของข้าราชการตำรวจในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
2) วางระเบียบ หรือทำคำสั่งเฉพาะเรื่องไว้ให้ข้าราชการตำรวจ หรือพนักงานสอบสวนปฏิบัติการเกี่ยวกับการใช้อำนาจหรือการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือกฎหมายอื่น
3) รับผิดชอบควบคุมราชการประจำในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กำหนดแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และลำดับความสำคัญของแผนการปฏิบัติราชการ ประจำปี ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้เป็นไปตามนโยบาย และแนวทางการปฏิบัติราชการที่นายกรัฐมนตรีและ ก.ต.ช. กำหนดรวมทั้งกำกับ เร่งรัด ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
4) ไม่มีข้อใดถูก
6. ข้าราชการตำรวจอาจได้รับเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนและเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจตามหลักเกณฑ์ใด
1) คณะรัฐมนตรีกำหนด : ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
2) คณะรัฐมนตรีกำหนด : ก.ตร.กำหนด
3) ก.ตร.กำหนด : คณะรัฐมนตรีกำหนด
4) เป็นพระราชกฤษฎีกา : คณะรัฐมนตรีกำหนด
7. การสั่งให้รักษาราชการแทนให้มีผลตั้งแต่เมื่อใด
1) นับแต่เวลาที่ผู้ได้รับแต่งตั้งเข้ารับหน้าที่
2) นับแต่เวลาที่ผู้ได้รับแต่งตั้งทราบคำสั่งให้รักษาราชการแทน
3) นับแต่เวลาที่ผู้รักษาราชการแทนเซ็นรับทราบ
4) นับแต่เวลาที่ผู้รักษาราชการแทนเข้าถึงที่ทำงาน
8. การสั่งให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนนอกจากให้ทำได้ในกรณีที่ระบุไว้ในมาตราอื่นแห่ง พ.ร.บ.นี้แล้วให้ทำได้ในกรณีใดดังต่อไปนี้
1) เจ็บป่วยจนไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนได้เป็นครั้งคราว
2) สมัครไปปฏิบัติงานใดๆ ตามความประสงค์ของทางราชการ
3) การลาออกจากตำแหน่งหน้าที่ราชการ เพื่อประสงค์ไปรับสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา
4) ข้อ 1) และข้อ 2) ถูกต้อง
red;">9. การที่ข้าราชการตำรวจจะถูกแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตาม มาตรา 101 เช่นกรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่าหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการอันเป็นเหตุที่จะถูกสั่งให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนได้นั้น ดังนี้ผู้มีอำนาจสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนในกรณีที่เห็นว่ามีมูลคือผู้บังคับบัญชาตำแหน่งใด

1) ผู้กำกับการหรือเทียบเท่าขึ้นไป  2) ผู้บังคับการหรือเทียบเท่าขึ้นไป  3) ผู้บังคับบัญชาตามที่กำหนดในระเบียบ ก.ตร.

4) ถูกทุกข้อ
10. เว้นแต่กรณีที่พ้นจากตำแหน่งเพราะความตาย ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติจะพ้นจากราชการได้ในกรณีใด
1) มีพระบรมราชการโองการให้พ้นจากตำแหน่ง
2) นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ
3) นายกรัฐมนตรีลงนามคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง
4) ข้อ 1) และ 2) ถูก
11. กรณีถูกสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ หรือทัณฑกรรม กฎหมายเปิดโอกาสให้ร้องทุกข์คำสั่งได้หรือไม่ และหลักเกณฑ์และวิธีการร้องทุกข์ เหตุแห่งการร้องทุกข์ และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ให้เป็นไปตามที่กำหนดใน____________________
1) ไม่ได้ เพราะเป็นกรณีที่มีสิทธิ์อุทธรณ์ : กฎ ก.ตร.
2) ไม่ได้ เพราะเป็นกรณีที่มีสิทธิ์อุทธรณ์ : ระเบียบ ก.ตร.
3) ได้ เพราะกฎหมายไม่มีข้อยกเว้นใดๆ : กฎ ก.ตร.
4) ได้เพราะกฎหมายไม่มีข้อยกเว้นใดๆ : ระเบียบ ก.ตร.
12. ในการสืบสวนข้อเท็จจริง ถ้าเห็นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย ให้ดำเนินการต่อไปอย่างไร
(1) นำสำนวนการสืบสวนข้อเท็จจริงมาพิจารณา ถ้าข้าราชการตำรวจผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ทัณฑกรรม กักยาม กักขัง หรือตัดเงินเดือนตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด
(2) ถ้าข้าราชการตำรวจถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงให้ผู้บังคับบัญชาแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวน
(3) ในการสอบสวนต้องแจ้งข้อกล่าวหา และสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มีให้ ผู้ถูกกล่าวหาทราบโดยจะต้องระบุชื่อพยานเท่าที่มีด้วย
1) ถูกเฉพาะข้อ (1)  2) ถูกเฉพาะข้อ (2)  3) ถูกเฉพาะข้อ (1) และ (2)  4) ถูกทุกข้อ
13. ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนผู้ถูกกล่าวหาตามข้อกล่าวหา ซึ่งหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ บกพร่องในหน้าที่ราชการหรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการและผลการสอบสวนปรากฏว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ผู้บังคับบัญชาต้องดำเนินการอย่างไร
(1) สั่งการตามผลการสอบสวนโดยไม่ต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนหรือดำเนินการสอบสวนใหม่แต่ทั้งนี้ต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงและนำสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ด้วย
(2) พิจารณาลงโทษตามความเหมาะสม โดยไม่ต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวน หรือดำเนินการสอบสวนใหม่
(3) ต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวน หรือดำเนินการสอบสวนใหม่ แต่ทั้งนี้ต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงและนำสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ด้วย
1) ถูกเฉพาะข้อ (1)  2) ถูกเฉพาะข้อ (2)  3) ถูกเฉพาะข้อ (1) และ (2)  4) ถูกทุกข้อ
14. ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษ หรืองดโทษข้าราชการตำรวจผู้กระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงไปแล้วแต่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เห็นว่ากรณีนั้นเป็นการกระทำผิดอย่างร้ายแรง จะต้องดำเนินการอย่างไร
1) ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมีอำนาจดำเนินการตามการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
2) ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมีอำนาจสั่งให้ผู้บังคับบัญชาที่สั่งลงโทษ หรืองดโทษ ตั้งคณะกรรมการสอบสวนใหม่
3) ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติตั้งคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองเสนอ
4) ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนและสอบสวนใหม่
15. การแต่งตั้งยศตำรวจชั้นสัญญาบัตรให้เป็นไปตาม__________________และให้ทำโดย__________________
1) หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ตร. - ประกาศพระบรมราชโองการ
2) หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในระเบียบ ก.ตร. - ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
3) หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ตร. - ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
4) หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในระเบียบ ก.ตร. - ประกาศพระบรมราชโองการ
16. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
1) พนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิ เมื่อดำรงตำแหน่งเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสามปีและได้รับเงินเดือนถึงขั้นต่ำของระดับ ส. 5 อีกทั้งได้ผ่านการประเมินแล้วให้ผู้นั้นเป็นพนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญ
2) ตำแหน่งรองผู้บังคับการ และพนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญ ให้แต่งตั้งจากข้าราชการตำรวจยศพันตำรวจเอกหรือพันตำรวจเอกซึ่งได้รับอัตราเงินเดือนพันตำรวจเอก (พิเศษ)
3) ข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจเอกให้ได้รับเงินเดือนระดับ ส.8 โดยได้รับขั้นต่ำของ ส.8 แต่ถ้าจะให้รับสูงกว่า หรือต่ำกว่าระดับ ส.8 ต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
4) ไม่มีข้อใดถูก
17. การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ผู้กำกับการลงมา ไม่สูงกว่าตำแหน่งเดิมในกองบัญชาการที่มิได้สังกัด สำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นอำนาจของใคร
1) ผู้บังคับการ 2) ผู้บัญชาการ 3) ผู้บังคับการโดยความเห็นของผู้บัญชาการ 4) ผบ.ตร. และผู้บัญชาการที่เกี่ยวข้อง
18. ให้________แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบข้าราชการตำรวจผู้มีสิทธิ์ดำรงตำแหน่งตามมาตรา 44 (2) ถึง (10) โดยคณะกรรมการคัดเลือกดังกล่าวอย่างน้อยต้องประกอบไปด้วย________นั้นทุกคน
1) ก.ตร. รองหัวหน้าหน่วยงาน 2) สตช. หัวหน้าหน่วยงาน 3) ก.ต.ช. รองหัวหน้าหน่วยงาน 4) ก.ตร. หัวหน้าหน่วยงาน
19. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ กฎ ก.ตร.ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาการประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2547

(1) กฎ ก.ตร. ฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว 60 วัน
(2) กฎ ก.ตร. ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล การปฏิบัติ ราชการของข้าราชการตำรวจบนพื้นฐานของผลสำเร็จและผลสัมฤทธิ์ของงานเป็นหลัก
(3) การประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการตำรวจต้องประเมินจากผลงานและ คุณลักษณะของผู้ปฏิบัติราชการ
1) ถูกเฉพาะข้อ (1)  2) ถูกเฉพาะข้อ (2)  3) ถูกเฉพาะข้อ (3)  4) ถูกทุกข้อ

20. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่องค์ประกอบที่ใช้ในการประเมินคุณลักษณะผู้ปฏิบัติราชการโดยตรง
1) การประหยัดทรัพยากร หรือความคุ้มค่า  2) การรักษาวินัย  3) ความคิด ริเริ่ม การสร้างสรรค์  4) ไม่มีข้อใดถูก


รวมแนวข้อสอบเก่าเด็ดๆๆ และข้อสอบที่ออกบ่อยมากส่งทางอีเมล์เป็นไฟเอกสาร

สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 
ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com



จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้