1.พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มีผลบังคับ ใช้เมื่อใด
- วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ.
2550
2.การกระแบบใดจึงจะเรียกว่าเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้
- การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ
- การเปิดเผยข้อมูลมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ
- การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ
- การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
- การทำให้เสียหาย
ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ
- การกระทำเพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
- การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์รบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของคนอื่นโดยปกติสุข
- การจำหน่ายชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด
- การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำความผิดอื่น
ผู้ให้บริการจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิด
- การตกแต่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาพของบุคคล
3.ผู้ให้บริการที่ระบุใน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ คือบุคคลใดบ้าง
สำหรับผู้ให้บริการตามที่พ.ร.บ.นี้ได้ระบุไว้
สามารถจำแนกได้เป็น 4
ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
1. ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมไม่ว่าโดยระบบโทรศัพท์
ระบบดาวเทียม ระบบวงจรเช่าหรือบริการสื่อสารไร้สาย
2. ผู้ให้บริการการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไม่ว่าโดยอินเทอร์เน็ต
ทั้งผ่านสายและไร้สาย หรือในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในที่เรียกว่าอินเทอร์เน็ต
ที่จัดตั้งขึ้นในเฉพาะองค์กรหรือหน่วยงาน
3. ผู้ให้บริการเช่าระบบคอมพิวเตอร์
หรือให้เช่าบริการโปรแกรมประยุกต์ (Host Service Provider)
4. ผู้ให้บริการข้อมูลคอมพิวเตอร์ผ่าน
application ต่างๆ ที่เรียกว่า content provider เช่นผู้ให้บริการ web board หรือ web service
เป็นต้น
4.ลิขสิทธิ์ หมายถึง
ลิขสิทธิ์
เป็นทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนึ่ง ที่กฎหมายให้ความคุ้มครองโดยให้เจ้าของลิขสิทธิ์ถือสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆ
เกี่ยวกับงานสร้างสรรค์ที่ตนได้กระทำขึ้น
5.การกระทำที่ถือว่าถูกกฎหมายทางด้านลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ทำได้อย่างไร
· ติดตั้งและใช้งานลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ 1 ชุดในคอมพิวเตอร์เพียง
1 เครื่องเท่านั้น
· อย่าทำสำเนาโปรแกรมเพื่อการสำรองมากกว่า 1 สำเนา
· อย่าให้ผู้ใดขอยืมซอฟต์แวร์ของท่านไป
6.ท่านทราบได้อย่างไรว่าซอฟแวร์ที่ใช้มีลิขสิทธิ์ถูกต้องหรือไม่
เมื่อท่านซื้อซอฟต์แวร์มาใช้งาน
ท่านควรได้รับใบอนุญาตการใช้งานซึ่งระบุสิทธิที่เจ้าของลิขสิทธิ์อนุญาตให้ท่านใช้งานซอฟต์แวร์เหล่านี้ได้
รวมทั้งระบุขอบข่ายของการใช้งานอีกด้วย เช่น ซอฟต์แวร์บางประเภทอาจอนุญาตให้ท่านใช้งานสำเนาที่สองสำหรับการทำงานที่บ้านได้ท่านควรอ่านเอกสาร
เหล่านี้ให้ละเอียดเพื่อประโยชน์ของท่านเอง และเก็บเอกสารเหล่านี้ไว้เป็นหลักฐานในการมีลิขสิทธิ์ที่ถูกต้องเสมอ
ข้อสังเกตของซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์
· ซอฟต์แวร์ราคาถูกจนไม่น่าเชื่อ
· โปรแกรมนั้นอยู่ในแผ่น CD-ROM ที่บรรจุซอฟต์แวร์หลายชนิดซึ่งมักเป็นผลงานจากผู้ผลิตซอฟต์แวร์หลายบริษัท
· ซอฟต์แวร์จำหน่ายโดยบรรจุในกล่องพลาสติกใสโดยไม่มีกล่องบรรจุภัณฑ์
· ไม่มีเอกสารอนุญาตการใช้งาน หรือคู่มือการใช้งาน
7.สิทธิบัตร (patent) หมายถึง
หมายถึง
หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบผลิตภัณฑ์
ที่มีลักษณะตามที่กำหนดในกฎหมา ที่เกี่ยวกับการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบ
เพื่อให้ได้สิ่งของ,เครื่องใช้หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน
เช่น การประดิษฐ์รถยนต์, โทรทัศน์, คอมพิวเตอร์
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบนักวิชาการคอมพิวเตอร์ ศาลปกครอง
รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ความรู้เบื้องต้นในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ
แนวข้อสอบ พรบ.คอมพิวเตอร์ และระบบรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์
แนวข้อสอบระบบเครือข่ายและการสื่อสารบนเครือข่าย
แนวข้อสอบระบบการสื่อสารข้อมูล
แนวข้อสอบการออกแบบระบบฐานข้อมูล (อัตนัย)
แนวข้อสอบวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงชุดละ 399 บาท
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 ธ.กสิกรไทย
สาขาบิ๊กซีขอนแก่น ชื่อบัญชี เดโช พระกาย ออมทรัพย์
โอนเงินแล้วแจ้งที่ decho.by@hotmail.com