หมวด 1 การบริหารบ้านเมืองที่ดี
มาตรา 6 พระราชกฤษฎีกา มีเป้าหมาย ดังนี้
1) เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
2) เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
3) มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
4) ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติ
งานเกินความจำเป็น
5) มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อเหตุการณ์
6) ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
7) มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ
หมวด 2 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
หมายถึง การปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมายเพื่อเกิดความผาสุขและความเป็นอยู่ของประชาชนมีความสงบและปลอดภัยของสังคมส่วนรวมตลอดจนประโยชน์สูงสุดของประเทศ
มาตรา 8 กำหนดให้มีแนวทางบริหารราชการ ดังนี้
1) กำหนดภารกิจของส่วนราชการต้องทำไปเพื่อความผาสุขของประชาชนและ
สอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐ และแนวนโยบายของรัฐบาล
2) ต้องปฏิบัติไปโดยความซื่อสัตย์สุจริต สามารถตรวจสอบได้
3) ก่อนเริ่มดำเนินการ ต้องศึกษาวิเคราะห์ผลดี และผลเสียให้ครบถ้วน
ด้วยความโปร่งใส ภารกิจใดมีผลกระทบต่อประชาชน ตั้งรับฟังความคิดเห็นของ
ประชาชนตระหนักถึงประโยชน์ส่วนรวมที่จะได้รับ
4) เป็นหน้าที่ต้องรับฟังความคิดเห็น ความพึงพอใจของสังคม และประชาชน
ที่ได้รับบริการเพื่อนำมาปรับปรุงเสนอแนะผู้มีอำนาจปรับปรุงให้เหมาะสม
5) พบปัญหาอุปสรรคการดำเนินการ ให้รีบแก้ไขปัญหาอุปสรรคโดยเร็ว หากพบว่า
ปัญหาอุปสรรคเกิดจากส่วนราชการ ระเบียบ ข้อบังคับ รีบแจ้งให้ส่วนราชการเกี่ยวข้อง
ทราบเพื่อปรับปรุงโดยเร็ว และแจ้งให้ ก.พ.ร.ทราบด้วย
หมวด 3 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
มาตรา 9 เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐให้ส่วนราชการปฏิบัติ ดังนี้
1) ก่อนดำเนินการ ต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นการล่วงหน้า
2) ในแผนปฏิบัติราชการ ต้องมีรายละเอียดของขั้นตอน ระยะเวลาและงบประมาณ
ที่ต้องใช้เป้าหมายของภารกิจ ผลสัมฤทธิ์ และตัวชี้วัดความสำเร็จ
3) ต้องจัดให้มีการติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการ
4) การปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการเกิดผลกระทบต่อประชาชน ต้องรีบแก้ไขหรือ
บรรเทาหรือเปลี่ยนแปลงแผนปฏิบัติราชการให้เหมาะสม
มาตรา 10 ภารกิจใดมีความเกี่ยวข้องกับหลายส่วนราชการ ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกำหนด แนวปฏิบัติราชการ เพื่อให้เกิดการบริหารราชการบูรณาการพร้อมกัน โดยมุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
มาตรา 11 การพัฒนาความรู้ในส่วนราชการ ที่มีลักษณะเป็นองค์แห่งการ
เรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อนำความรู้มาประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว ส่งเสริมพัฒนาความรู้ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์และเปลี่ยนทัศนคติ ให้มีการเรียนรู้ร่วมกัน
มาตรา 16 ให้ส่วนราชการจัดทำแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการนั้น โดยจัดทำเป็นแผน 4 ปี สอดคล้องกับแผนบริหารราชการแผ่นดิน
แต่ละปีงบประมาณให้จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี โดยระบุสาระสำคัญเกี่ยวกับนโยบายการปฏิบัติราชการ เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน รวมทั้งประมาณการรายได้รายจ่ายเมื่อสิ้นปีงบประมาณให้จัดทำรายงานแสดงผลสัมฤทธิ์ของแผนปฏิบัติราชการ
หมวด 4 การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
มาตรา 20 ให้ส่วนราชการกำหนดเป้าหมาย แผนการทำงาน ระยะเวลาแล้วเสร็จของงานหรือโครงการและงบประมาณที่จะต้องใช้ และต้องเผยแพร่ให้ข้าราชการและประชาชนทราบ
มาตรา 23 การจัดซื้อหรือจัดจ้าง ให้ดำเนินการโดยเปิดเผยและเที่ยงธรรม พิจารณาถึงประโยชน์และผลเสียทางสังคม ภาระต่อประชาชน คุณภาพ วัตถุประสงค์ที่จะใช้ ราคาและประโยชน์ระยะยาวของส่วนราชการที่จะได้รับประกอบกัน
ในกรณีที่วัตถุประสงค์ในการใช้เป็นเหตุต้องคำนึงถึงคุณภาพ การดูแลรักษาเป็นสำคัญ ให้สามารถทำได้โดยไม่ต้องถือราคาต่ำสุดในการเสนอซื้อหรือจ้างเสมอไป
มาตรา 24 ภารกิจใด หากจำเป็นต้องได้รับอนุญาต อนุมัติ หรือเห็นชอบจากส่วนราชการอื่น
ให้ส่วนราชการนั้นแจ้งผลการพิจารณาให้ทราบภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำขอ
มาตรา 25 ในการวินิจฉัยชี้ขาดปัญหา ให้ตั้งคณะกรรมการ หากผู้แทนส่วนราชการนั้นมีความ
คิดเห็นแตกต่างกันให้บันทึกความเห็นของฝ่ายน้อยให้ปรากฏในเรื่องนั้น ห้ามมิให้ใช้บังคับการวินิจฉัยในปัญหาด้านกฎหมาย
มาตรา 25 ในการวินิจฉัยชี้ขาดปัญหา ให้ตั้งคณะกรรมการ หากผู้แทนส่วนราชการนั้นมีความ
คิดเห็นแตกต่างกันให้บันทึกความเห็นของฝ่ายน้อยให้ปรากฏในเรื่องนั้น ห้ามมิให้ใช้บังคับการวินิจฉัยในปัญหาด้านกฎหมาย
มาตรา 26 การสั่งราชการให้ทำเป็นลายลักษณ์อักษร เว้นแต่ผู้บังคับบัญชามีความจำเป็นไม่อาจ สั่งได้ ให้ผู้รับคำสั่งบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และเมื่อปฏิบัติแล้วให้บันทึกรายงานอ้างคำสั่งด้วยวาจาไว้ด้วย
หมวด 5 การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
มาตรา 27 ให้กระจายอำนาจการบริหารตัดสินใจให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งรับผิดชอบเรื่องนั้น ๆ
โดยตรง ต้องมุ่งผลให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการบริการประชาชน
ลดขั้นตอน กลั่นกรองงาน หากใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหรือโทรคมนาคมจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและประหยัดค่าใช้จ่าย
มาตรา 28 ให้ส่วนราชการจัดทำแผนภูมิขั้นตอนและระยะเวลาการดำเนินการ รวมทั้งรายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเปิดเผย ณ ที่ทำการเพื่อให้ประชาชนหรือผู้เกี่ยวข้องเข้าตรวจดูได้
มาตรา 30 ให้มีศูนย์บริการประชาชนรวมทั้งประจำจังหวัด อำเภอ
หมวด 6 การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ
มาตรา 33 ส่วนราชการต้องจัดให้มีการทบทวนภารกิจของตน มีความจำเป็นหรือสมควร
ดำเนินการต่อไป โดยคำนึงถึงแผนการบริหารราชการแผ่นดิน นโยบาย คำสั่ง
งบประมาณ ความคุ้มค่าของภารกิจ ทั้งนี้ ก.พ.ร.จะกำหนดหากมีการปรับปรุง
เปลี่ยนแปลงต้องให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ
มาตรา 36 ในกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับหรือประกาศ ไม่สอดคล้องหรือเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ไม่เอื้อต่อการพัฒนาเป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิตของประชาชน ให้แนะนำส่วนราชการนั้นดำเนินการแก้ไขโดยเร็ว
หมวด 7 การอำนวยความสะดวกและการสนองความต้องการของประชาชน
มาตรา 37 ให้ส่วนราชการกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงานแต่ละงานและประกาศให้ประชาชนและข้าราชการทราบเป็นการทั่วไป ให้เป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาต้องตรวจสอบให้การปฏิบัติงานแล้วเสร็จตามกำหนดไว้
มาตรา 38 เมื่อส่วนราชการได้รับติดต่อสอบถามเป็นหนังสือจากประชาชนหรือส่วนราชการด้วยกัน ต้องตอบคำถามหรือแจ้งดำเนินการให้ทราบภายใน 15 วัน หรือตามกำหนดไว้ในมาตรา 37
มาตรา 39 ให้ส่วนราชการจัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชการเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน สามารถติดต่อสอบถามหรือขอข้อมูลหรือแสดงความคิดเห็น
มาตรา 41 เมื่อได้รับคำร้องเรียน เสนอแนะ หรือความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ พบปัญหาอุปสรรค ปัญหาจากบุคคล เป็นหน้าที่ของส่วนราชการนั้นต้องพิจารณาดำเนินการปรับปรุง แล้วแจ้งให้บุคคลที่ร้องเรียนทราบด้วยหากสามารถติดต่อได้ หรือแจ้งผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศ
มาตรา 44 ต้องจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณรายจ่ายแต่ละปี รายการเกี่ยวกับการจัดซื้อ/จัดจ้าง และสัญญาใดที่มีการอนุมัติให้จัดซื้อ/จัดจ้าง ให้ประชาชนสามารถขอดู /ตรวจสอบได้ ณ ที่ทำการหรือระบบเครือข่ายสารสนเทศ ทั้งนี้ต้องไม่เกิดความได้ เปรียบเสียเปรียบแก่บุคคลเกี่ยวข้อง หรือกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อห้าม/ตกลงไว้ในสัญญาต้องได้รับความคุ้มครอง
หมวด 8 การประเมินผลการปฏิบัติราชการ
มาตรา 45 ให้ส่วนราชการจัดให้มีคณะผู้ประเมินอิสระดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ คุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการ ความคุ้มค่าในภารกิจ
มาตรา 46 จัดให้มีการประเมินภาพรวมของผู้บังคับบัญชาแต่ละระดับหรือหน่วยงานในส่วนราชการก็ได้ ทั้งนี้ ต้องกระทำเป็นความลับและเป็นประโยชน์แห่งความสามัคคีของข้าราชการ
มาตรา 47 การประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการ เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานบุคคลให้คำนึงถึงผลการปฏิบัติงานเฉพาะตัวของข้าราชการผู้นั้นในตำแหน่งที่ปฏิบัติ ประโยชน์และผลสัมฤทธิ์ที่หน่วยงานผู้นั้นสังกัดปฏิบัติงาน
มาตรา 48 ส่วนราชการใดดำเนินการให้บริการที่มีคุณภาพและเป็นไปตามเป้าหมาย รวมทั้งความพึงพอใจแก่ประชาชน ให้ ก.พ.ร.เสนอคณะรัฐมนตรีจัดสรรเงินเพิ่ม
พิเศษเป็นบำเหน็จความชอบ หรือนำไปใช้ปรับปรุงการปฏิบัติงาน
มาตรา 49 ส่วนราชการใดได้ดำเนินงานไปตามเป้าหมาย สามารถเพิ่มผลงานและผลสัมฤทธิ์ โดยไม่เพิ่มค่าใช้จ่ายและคุ้มค่าภารกิจ สามารถลดค่าใช้จ่ายต่อหน่วยตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.ร.กำหนด ให้ ก.พ.ร.เสนอคณะรัฐมนตรี จัดสรรเงินรางวัลการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ส่วนราชการนั้น
สั่งซื้อที่
ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724 Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3 ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2
ธ.กสิกรไทย ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay
[font=arial ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า
ติดตามข่าวการสอบราชการที่ https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่ www.ข้อสอบงานราชการไทย.com