ร่วมแชร์ข้อสอบ นักจัดการงานทั่วไป กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม 24 พฤศจิกายน 2555
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ 2526
1. งานสารบรรณหมายถึง?
* งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร
2. “ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า
* การรับส่งข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือผ่านระบบสื่อสารด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
3. ให้ผู้ใดมีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
* ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
4. ส่วนราชการมีถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ
* หนังสือภายนอก
5. การอ้างถึงหนังสือที่ติดต่อกัน
* ให้อ้างถึงหนังสือฉบับสุดท้ายที่ติดต่อกันเพียงฉบับเดียว เว้นแต่มีเรื่องอื่นที่เป็นสาระสำคัญต้องนำมาพิจารณา จึงอ้างถึงหนังสือฉบับอื่นๆ
6. ส่วนราชการที่ออกหนังสืออยู่ในระดับกรมลงมาให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่อง
* ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องเพียงระดับกองหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ
7. ส่วนประกอบของหนังสือภายนอก
* ที่/ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง/วันเดือนปี/เรื่อง/คำขึ้นต้น/อ้างถึง(ถ้ามี)/สิ่งที่ส่งมาด้วย(ถ้ามี)/ข้อความ/คำลงท้าย/ลงขื่อ/ตำแหน่ง/ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง/โทร./สำเนาส่ง(ถ้ามี)
8. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ หนังสือประทับตรา
* หนังสือที่ใช้ติดต่อกันระหว่างส่วนราชการ
9. ส่วนประกอบของหนังสือประทับตรา
* ที่/ถึง/ข้อความ/ชื่อส่วนราชการที่ส่งหนังสือออก/ตราชื่อราชการ/วันเดือนปี/ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง/โทร. หรือที่ตั้ง
10. ข้อใดไม่ใช่หนังสือสั่งการ
* แถลงการณ์ (ระเบียบ/คำสั่ง/ข้อบังคับ)
11. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ ระเบียบ
* จะอาศัยอำนาจของกฎหมายหรือไม่ก็ได้
12. คำถามเกี่ยวกับหนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ
* ผมจำคำถามไม่ได้ ขออภัย
13. ข้อใดไม่ใช่การรับรองรายงานการประชุม
* รับรองอัตโนมัติ (รับรองครั้งนั้น, รับรองครั้งต่อไป, รับรองแจ้งเวียน)
14. ข้อใดไม่ใช่การจดรายงานการประชุม
* จดเฉพาะมติ (จดทุกคำพูด, จดย่อคำพูดที่เป็นประเด็น, จดเหตุผล และมติ)
15. การระบุชั้นความเร็ว
* ด่วนที่สุด ด่วนมาก ด่วน
16. ระหว่างหนังสือ “ด่วนที่สุด” และ “ด่วนภายใน” ให้ดำเนินการใดก่อน
* ด่วนที่สุด
17. หนังสือเวียน หมายถึง
* ด่วนที่สุดหนังสือที่มีถึงผู้รับจำนวนมาก มีใจความอย่างเดียวกันให้เพิ่มรหัสตัวพยัญชนะ “ว” หน้าเลขทะเบียนหนังสือส่ง
18. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับสำเนา
* ให้มี สำเนาคู่ฉบับเก็บไว้ที่ต้นเรื่อง 1 ฉบับ และสำเนาที่หน่วยงานสารบรรณกลาง 1 ฉบับ
19. ข้อความในตราประทับรับหนังสือ
* เลขรับ/วันที่/เวลา
20. การรับหนังสือต้องประทับตราจุดใด
* มุมบนด้านขวา
21. ซองจดหมายให้ทำการจัดแยกออกเป็นกี่ส่วน
* 9 ส่วน
22. ข้อใดเป็นการพิมพ์ข้อความหน้าซองที่ถูกต้อง
* ชั้นความเร็ว/ส่วนราชการที่ออกหนังสือ/ที่
23. ข้อความที่ระบุใน “ใบรับหนังสือ” (ผมตอบผิด)
* ที่/ถึง/เรื่อง/รับวันที่/เวลา/ผู้รับ
24. ข้อใดไม่ใช่วิธีการเก็บรักษา
* หนังสือที่ปฏิบัติเสร็จเรียบร้อย (เก็บระหว่างปฏิบัติ / การเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว / การเก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบ)
25. การประทับตราหนังสือเก็บ “เก็บถึง พ.ศ. ...” ให้ใช้สีใด
* สีน้ำเงิน
26. อายุของการเก็บหนังสือทั่วไป ให้เก็บไม่น้อยกว่ากี่ปี
* 10 ปี
27. หนังสือที่อายุครบ 20 ปี ต้องส่งให้กับผู้ใด พร้อมบัญชีส่งเก็บ
* สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปกร
28. การยืมหนังสือ “ระหว่างส่วนราชการ” ผู้ยืมและผู้อนุญาต ต้องเป็นหัวหน้าระดับใดขึ้นไป
* ระดับกองขึ้นไป หรือผู้ได้รับมอบหมาย
29. การทำลายต้องดำเนินการภายใน
* ภายใน 60 วันหลังจากสิ้นปีปฏิทิน
30. ให้หัวหน้าระดับใดเป็นผู้มีอำนาจทำลายหนังสือ
* หัวหน้าระดับกรม (อธิบดี)
31. ข้อใดกล่าวถูกเกี่ยวตราครุฑ
* ตราครุฑ มี 2 ขนาด คือ 3 ซม. และ 1.5 ซม.
32. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับมาตรฐานกระดาษ
* มี 3 ขนาด คือ A4, A5, A8
33. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับมาตรฐานซองจดหมาย
* มี 4 ขนาด คือ C4, C5, C6, DL
34. คำขึ้นต้นและคำลงท้าย สมเด็จพระสังฆราช
* กราบทูล ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
35. คำขึ้นต้นและคำลงท้าย นายกรัฐมนตี
* กราบเรียน ขอแสดงความนับถือย่างยิ่ง
36. คำขึ้นต้นและคำลงท้าย ประธานศาลปกครองสูงสุด
* กราบเรียน ขอแสดงความนับถือย่างยิ่ง
37. หนังสือราชการภาษาอังกฤษ แบบหนังสือที่ลงชื่อ มีกี่ชนิด
* มี 3 ชนิด แบบเป็นพิธี แบบไม่เป็นพิธี หนังสือกลาง
38. หนังสือราชการภาษาอังกฤษ แบบหนังสือไม่ต้องลงชื่อ มีกี่ชนิด
* มี 2 ชนิด บันทึกช่วยจำ, บันทึก
39. วันที่ที่ถูกต้องจะต้องพิมพ์อย่างไร
* 24 พฤศจิกายน 2555
40. กรณีบุคคลไม่อยู่ หรือไม่สามารถราชการได้ ให้ทำอย่างไร
* รักษาราชการแทน
41. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยว วันเดือนปีภาษาอังกฤษ
* ให้ระบุตัวเลขของวันที่ โดยไม่ต้องมี st, nd, rd หรือ th
42. เกี่ยวกับ “บันทึก” (ไม่แน่ใจคำถามครับ และก็ไม่แน่ใจว่าข้อนี้สำหรับผมจะถูกหรือเปล่าครับ)
ผมตอบ “ไม่มีคำขึ้นต้นและคำลงท้าย”
* บันทึกช่วยจำเป็นหนังสือที่ไม่มีเลขที่ / ไม่มีคำขึ้นต้นและคำลงท้าย / ไม่ต้องประทับตรา / ไม่ต้องลงชื่อ / และไม่ใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 และที่ 2
43. ข้อใดไม่ใช่ข้อความใน “บันทึกช่วยจำ (Aide – Memoire)
* เลขที่
(บันทึกเป็นหนังสือที่ไม่มีเลขที่ / ไม่มีคำขึ้นต้นและคำลงท้าย / ไม่ต้องประทับตรา / ไม่ต้องลงชื่อ / และไม่ใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 และที่ 2)
44. พระราชปุจฉา หมายถึง
* คำถาม (ถามข้อปัญหาธรรมอย่างเป็นทางการ ใช้แก่ พะมหากษัตริย์ และกรมพระราชวังบวร)
**** ส่วนที่เป็นคำขึ้นต้นและคำลงท้ายภาษาอังกฤษ แบบพิธี และไม่เป็นพิธี ไม่ค่อยได้ครับ ***
พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน 2551
45. พระราชบัญญัตินี้ ได้รับคำแนะคำและยินยอมจากผู้ใด
* สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
46. พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อใด
* 25 มกราคม 2551
47. พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 บังคับใช้เมื่อใด
* 26 มกราคม 2551
48. พระราชบัญญัติก่อนฉบับปัจจุบันคือ
* พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 (เป็นตัวกฎหมายที่ใช้บังคับ)
(ส่วนฉบับที่ 2-4 เป็นฉบับแก้ไขปรับปรุง)
49. ส่วนราชการ” หมายความว่า
* ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและมีฐานะไม่ต่ำกว่ากรม
50. ผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
* นายกรัฐมนตรี
51. ผู้ใดเป็นประธานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน “ก.พ.”
* นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
52. ผู้ใดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการสำนักงาน ก.พ. และขึ้นตรงต่อใคร
* เลขาธิการ ก.พ. / นายกรัฐมนตรี
53. คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ดำรงตำแหน่งได้คราวละกี่ปี
* 3 ปี
54. ให้มีคณะกรรมการใด เพื่อเป็นองค์กรบริหารทรัพยากรบุคคลในส่วนราชการ กระทรวง กรม จังหวัด ส่วนราชการอื่น
* อ.ก.พ. สามัญ (ส่วนราชการต่าง ๆ ดังนี้ อ.ก.พ. กระทรวง, อ.ก.พ. กรม, อ.ก.พ. จังหวัด และ
คณะอนุกรรมการสามัญประจำส่วนราชการอื่นนอกจากส่วนราชการข้างต้น)
55. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับ อ.ก.พ.กรม (ข้อนี้ผมตอบผิด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ)
* ข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทบริหารหรือประเภทอำนวยการในกรมนั้นซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว จำนวนไม่เกิน 4 คน (ต้องเป็น 6)
56. “ก.พ.ค.” หมายถึงหน่วยงาน
* คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม
57. ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ “ก.พ.ค.”
* คำตอบจำไม่ได้ (แต่ข้ออื่นเป็นคุณสมบัติ คือ สัญชาติไทย, อายุไม่ต่ำกว่า 45 ปี, เคยเป็นกรรมการกฤษฎีกา)
58. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ “ก.พ.ค.” มีอายุไม่เกินเท่าใด
* ไม่เกิน 70 ปี
59. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ “ก.พ.ค.” ดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี
* 6 ปี วาระเดียว
60. วันเวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดราชการประจำปี และการลาหยุดราชการของข้าราชการพลเรือน ให้เป็นไปตามที่ผู้ใดกำหนด
* คณะรัฐมนตรีกำหนด
61. ข้าราชการพลเรือนมีกี่ประเภท
* 2 ประเภท คือ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์
62. ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนมีกี่ประเภท
* 4 ประเภท คือ ประเภทบริหาร ประเภทอำนวยการ ประเภทวิชาการ ประเภททั่วไป
63. ข้อใดไม่ใช่ตำแหน่งประเภทวิชาการ
* ระดับชำนาญงาน (ข้ออื่น ระดับปฏิบัติการ, ระดับชำนาญการ, ระดับชำนาญการพิเศษ, ระดับเชี่ยวชาญ)
64. ข้อใดคือประเภทตำแหน่ง “ระดับทักษะพิเศษ”
* ตำแหน่งประเภททั่วไป
65. การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารระดับสูงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง ระดับกรม ผู้ใดเป็นผู้แต่งตั้ง
* รัฐมนตรี
66. การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารระดับสูงตำแหน่งรอง หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง หัวหน้าส่วนระดับกรม รองหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม ผู้ใดเป็นผู้แต่งตั้ง
* ปลัดกระทรวง
67. การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ กรม ผู้ใดเป็นผู้แต่งตั้ง
* ปลัดกระทรวง
68. ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการสับเปลี่ยนหน้าที่ ย้าย หรือโอนไปปฏิบัติหน้าที่อื่น ปฏิบัติหน้าที่เดียวติดต่อกันเป็นเวลากี่ปี (เว้นแต่มีความจำเป็นจะขออนุมัติ ครม. ให้คงอยู่ปฏิบัติหน้าที่เดิมต่อไปได้ไม่เกิน 2 ปี)
* 4 ปี
69. ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแล้ว หากภายหลังปรากฏว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติไม่ตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำ หรับตำแหน่งนั้นให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจดำเนินการใด
* ให้กลับไปดำรงตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกันโดยพลัน
70. ข้อใดไม่ใช่จรรยาข้าราชการ
* หาผลประโยชน์ส่วนตัว
71. โทษทางวินัยมีกี่สถาน
* 5 สถาน คือ ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดเงินเดือน ปลดออก ไล่ออก
72. ข้าราชการพลเรือนอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ หากทางราชการมีความจำเป็นที่จะให้รับราชการต่อไปในทางวิชาการหรือหน้าที่ที่ต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัว จะให้รับราชการต่อไปได้อีกไม่เกินกี่ปี
* 10 ปี
73. ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออก พิจารณาลดโทษ โดยห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกว่า
* ปลดออก
74. ข้อใดไม่มีผลให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการ
* ภาคทัณฑ์
75. ผู้ใดถูกสั่งลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ต่อ ก.พ.ค. ภายในกี่วันนับแต่วันทราบหรือถือว่าทราบคำสั่ง
* 30 วัน
76. กรณีใดที่ กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์อาจถูกคัดค้านได้
* คำตอบผมจำไม่ได้ครับ (รู้เห็นเหตุการณ์ มีส่วนได้เสียในการกระทำผิดวินัย มีสาเหตุโกรธเคือง)
77. ข้าราชการผู้ใดประสงค์ลาออกให้ยื่นหนังสือลาออกต่อผู้บังคับบัญชาล่วงหน้าไม่น้อยกว่ากว่ากี่วัน
* 30 วัน
78. การแต่งตั้งและการให้ข้าราชการพลเรือนในพระองค์พ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตาม
* พระราชอัธยาศัย
79. ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ (ข้อนี้ผมผิด)
* พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี
**** ส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่ผมจำไม่ค่อยได้แล้วครับ ***
สั่งซื้อที่
ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724 Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3 ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2
ธ.กสิกรไทย ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay
[font=arial ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า
ติดตามข่าวการสอบราชการที่ https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่ www.ข้อสอบงานราชการไทย.com