กฎ ก.ตร.ว่าด้วยการสืบสวนข้อเท็จจริง พ.ศ.๒๕๔๗
๑.ประกาศในราชกิจจาฯวันที่ ๑๔ ธ.ค.๔๗ มีผล ๑๕ ธ.ค.๔๗ กรณีมีการตั้งกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง
ก่อนวันที่ ๑๕ ธ.ค.๔๗ ให้ใช้วิธีการหลักเกณฑ์วิธีการเดิมไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ
๒.การสืบสวนข้อเท็จจริง หมายถึง
๒.๑ การแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐาน
๒.๒ ซึ่งผู้มีหน้าที่สืบสวนข้อเท็จจริงได้ทำไปตามอำนาจและหน้าที่
๒.๓ เพื่อทราบรายละเอียดแห่งพฤติการณ์และการกระทำนั้นว่าเกิดจากการกระทำของข้าราชการตำรวจที่ (๑)มีเหตุอันควรสงสัย หรือ (๒) ถูกกล่าวโทษว่าทำผิดวินัยหรือไม่ประการใด
๓.การเริ่มดำเนินการสืบสวนข้อเท็จจริง โดยผู้บังคับบัญชาระดับสารวัตรขึ้นไป หรือจเรตำรวจ โดยการดำเนินการเองหรือตั้งคณะกรรมการฯ หรือสั่งผู้ใดให้สืบสวนข้อเท็จจริง กรณีดังนี้
๓.๑ มีการร้องเรียนกล่าวหาว่าข้าราชการตำรวจผู้ใดกระทำผิดวินัย หรือ
๓.๒ ผู้บังคับบัญชามีสงสัยว่าข้าราชการตำรวจผู้ใดกระทำผิดวินัย
๓.๓ ส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่น แจ้งมาตำรวจในบังคับบัญชาทำผิดหรือสงสัยว่าทำผิดวินัย
๒.๔ มีบัตรสนเท่ห์เฉพาะมีการระบุข้อเท็จจริง พยานหลักฐานแวดล้อมและระบุพยานบุคคล,พยานวัตถุหรือพยานเอกสารชี้แนะแนวทางพอที่สะสืบสวนได้
๒.๕ปรากฏข่าวในสื่อมวลชนเฉพาะมีการระบุข้อเท็จจริง พยานหลักฐานแวดล้อมและระบุพยานบุคคล,พยานวัตถุหรือพยานเอกสารชี้แนะแนวทางพอที่สะสืบสวนได้
๒.๖ กรณีอื่นๆที่ ผู้บังคับบัญชาหรือจเรตำรวจเห็นควรให้มีการสืบสวนข้อเท็จจริง
๔.เมื่อผู้มีอำนาจสั่งแล้ว ห้ามมิให้สั่งให้สืบสวนฯเรื่องเดียวกันอีก ถ้าผู้บังคับบัญชาโดยตรงสั่งตั้งแล้ว และมีหน่วยอื่นที่มีอำนาจสืบสวนด้วย ให้หน่วยอื่นนั้นงดสืบสวนเรื่องนั้นแล้วนำสิ่งที่ได้สิบสวนมาแล้วมาเข้าสำนวนที่ผู้บังคับบัญชาสั่งตั้ง
๕.ข้อห้ามมิให้ผู้สั่ง(ยกเว้นนายกฯ)และคณะกรรมการฯเป็นบุคคลดังต่อไปนี้ (๑)รู้เห็นเหตุการณ์ที่จะสืบสวน(รู้เห็นในลักษณะมีส่วนร่วมกระทำ) (๒)มีส่วนได้เสียในเรื่องที่จะสิบสวน (๓)มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ถูกสืบสวน (๔)เป็นผู้ร้องเรียนกล่าวหา หรือเป็นคู่สมรส บุพการี ผู้สืบสันดานหรือพี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดากับผู้ร้องเรียนกล่าวหา
๖.การสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการฯหรือสั่งให้ผู้ใดสืบสวนฯมีสาระสำคัญตามแบบ สส.๑
๗.คำสั่งมีผลและการดำเนินการของผู้สั่ง
(๑) กรณีรู้ตัวผู้ถูกกล่าวหา
-แจ้งคำสั่งผู้ถูกกล่าวหาทราบโดยเร็ว
-ให้ผู้ถูกกล่าวหาลงชื่อรับทราบ วันลงชื่อถือเป็นวันทราบคำสั่ง
-มอบสำเนาคำสั่งให้ผู้ถูกกล่าวหา ๑ ฉบับ
-กรณีไม่ยอมรับหรือแจ้งไม่ได้ส่งทางไปรษณีย์ตอบรับ ถือว่ารับทราบเมื่อพ้น ๑๕ วันนับแต่ส่ง
-แจ้งไปด้วยให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงข้อเท็จจริงเรื่องที่ถูกกล่าวหาให้ปรานกรรมการทราบใน ๑๕ วันนับแต่ทราบคำสั่ง
(๒) ส่งสำเนาคำสั่งให้คณะกรรมการทราบ สำหรับประธานหรือผู้สืบสวนฯส่งทั้งสำเนาคำสั่งและเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อด้วย
๘.คณะกรรมการหรือผู้สืบสวนฯมีหน้าที่
(๑)สืบสวนไปตามหลักเกณฑ์วิธีการกำหนดเวลา
(๒)รวบรวมประวัติผู้ถูกกล่าวหา
(๓)บันทึกการสืบสวน
(๔)ห้ามบุคคลอื่นเข้าร่วมทำการสืบสวน
๙.คณะกรรมการฯต้องดำเนินการดังนี้
(๑)ดำเนินการตาม ๘.
(๒) ประธานเรียกประชุมคณะกรรมการวางแนวทาง
(๓)การประชุมพิจารณาพยานหลักฐานและประชุมลงมติกรรมการต้องมาไม่น้อยกว่า ๓ คน และไม่น้อยว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมด
(๔) การลงมติถือเสียงข้างมาก เท่ากันประธานชี้ขาด
๑๐.ระยะเวลาการสืบสวน
(๑)เร็วที่สุด โดยไม่เกิน ๖๐ วันนับแต่ทราบคำสั่ง ไม่เสร็จขอขยายไปยังผู้สั่ง ห้ามขยายออกไปอีกเกิน ๖๐ วัน หากจำเป็นอีกต้องขอขยายไปยังผู้บังคับบัญชาเหนือผู้สั่งหนึ่งชั้นได้ไม่เกิน ๖๐ วัน
(๒)กรณีสรุปสำนวนแล้วผู้สั่งให้ควรให้สืบสวนเพิ่มเติม ต้องสืบสวนให้เสร็จใน ๓๐ วัน ไม่เสร็จขอขยายได้ไม่เกิน ๓๐ วันตามความจำเป็น หากจำเป็นจะขยายอีกต้องขอต่อผู้บังคับบัญชาเหนือชั้นได้อีกไม่เกิน ๓๐ วัน
๑๑.คณะกรรมการเห็นว่าไม่มีมูลสรุปความเห็นให้ยุติ เห็นว่ามีมูลควรกล่าวหาว่าทำผิดวินัยสรุปพยานหลักฐานตามแบบ สส.๒ ให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ และถามว่ากระทำตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่ หากสารภาพต้องแจ้งว่าเป็นความผิดวินัยกรณีใดมาตราใด หากยังคงรับสารภาพบันทึกถ้อยคำไว้รวมทั้งเหตุผลในการรับ หากไม่รับฯหรือรับบางส่วน ให้สอบถามว่าจะชี้แจงเป็นหนังสือหรือไม่ ให้โอกาสชี้แจงหรือนำเสนอพยานหลักฐาน
๑๒.กรณีผู้ถูกกล่าวหาไม่มารับทราบหรือมาแต่ไม่ยอมลงชื่อรับทราบข้อกล่าวหาให้บันทึกสาระสำคัญตามแบบ สส.๒ ให้ส่งทางไปรษณีย์ตอบรับโดยทำ ๓ ฉบับส่งไป ๒ ฉบับ เพื่อให้ผู้ถูกกล่าวหาลงชื่อและส่งกลับ ๑ ฉบับ หากล่วงพ้น ๑๕ วันแล้วไม่ได้รับ สส.๒ คืนหรือไม่ได้รับคำชี้แจง หรือไม่มาพบกรรมการให้ถือว่าผู้ถูกกล่าวหาได้ทราบเรื่องรายละเอียดตามข้อกล่าวหาแล้วและไม่ประสงค์แก้ข้อกล่าวหา
๑๓.วิธีการสอบปากคำ
(๑) การสอบปากคำผู้ถูกกล่าวหา,พยานใช้แบบ สส.๓,สส.๔ ตามลำดับ
(๒) กรรมการไม่น้อยกว่า ๒ คน
(๓)ก่อนเริ่มถามคำให้การต้องแจ้งว่ากรรมการเป็นเจ้าพนักงานตาม ป.อาญา
(๔) ห้ามล่อลวง ขู่เข็ญ ให้สัญญาหรือกระทำการใดเป็นการจูงใจให้ให้ถ้อยคำ
(๕) สอบปากคำได้ทีละคน ห้ามผู้อื่นอยู่ด้วยยกเว้นทนายความหรือที่ปรึกษาของผู้ถูกกล่าวหา
(๖) บันทึกเสร็จต้องอ่านให้ฟังหรือให้อ่านเอง แล้วลงชื่อไว้เมื่อรับว่าถูกต้อง ผู้ร่วมฟังลงชื่อไว้ด้วย และลงชื่อกรรมการทุกคน
(๗) ผู้ลงชื่อไม่ได้นำ ป.พ.พ.ม.๙ มาใช้
๑๔.พยานหลักฐานไม่จำเป็นและไม่ใช่ประเด็นสำคัญจะทำให้สำนวนล่าช้า งดสืบได้แต่ต้องบันทึกเหตุไว้ และสามารถส่งประเด็นไปให้หัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสืบสวนแทนได้
๑๕.คณะกรรมการเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาทำผิดวินัยอื่นด้วยหรือพาทพิงถึงข้าราชการตำรวจอื่นมีส่วนร่วมให้เสนอผู้สั่ง
๑๖.กรณีมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าผู้ถูกกล่าวหาทำผิดหรือต้องรับผิด ถ้าข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาประจักษ์ชัด ถือเอาคำพิพากษาเป็นพยานหลักฐานโดยไม่ต้องสืบสวนต่อไปก็ได้
๑๗.การสรุปรายงานการสืบสวน
(๑) กรณีมีมูลความผิดวินัยร้ายแรงให้เสนอแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง
(๒) กรณีมีมูลว่าทำผิดวินัยไม่ร้ายแรงให้เสนอว่าผิดกรณีใด มาตราใด ควรรับโทษสถานใด
(๓)มีมูลอันเป็นความผิดอาญา หรือรับผิดทางแพ่งอยู่ด้วยหรือไม่
(๔) ทำรายงานเสนอไปยังผู้สั่งตั้งตามแบบ สส.๕
๑๘.ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิคัดค้านเหตุตามข้อห้าม (ตาม ๕)ไปยังผู้สั่งตั้ง ต้องทำใน ๗ วันนับแต่วันรับทราบคำสั่ง โดยคัดค้านเป็นหนังสือแสดงข้อเท็จจริงว่าจะไม่ได้ความจริงหรือไม่ยุติธรรมอย่างไร และต้องพิจารณาสั่งการโดยไม่ชักช้าแต่ไม่เกิน ๓๐ วันนับแต่ได้รับหนังสือคัดค้าน กรณีไม่พิจารณาข้อคัดค้านให้เสร็จในเวลา ๓๐ วัน ถือว่าผู้ถูกคัดค้านพ้นจากหน้าที่กรรมการสืบสวนหรือผู้สืบสวนแต่ไม่กระทบถึงสิ่งที่ทำไปแล้วก่อนหน้านั้น
๑๙.ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธินำทนายความหรือที่ปรึกษาได้ไม่เกิน ๑ คน มาร่วมรับฟังการสอบปากคำตนได้หรือให้ถ้อยคำแทนตนได้
๒๐.การนับเวลาเริ่มต้น นับถัดจากวันแรกแห่งเวลานั้น ส่วนการขยายนับต่อจากวันสุดท้ายแห่งเวลาเดิม หากวันสุดท้ายตรงวันหยุดราชการให้นับวันเริ่มเปิดทำการเป็นวันสุดท้าย
กฎ ก.ตร.ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาการประเมินผล ฯ พ.ศ.2547
กฎ ก.ตร.ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาการประเมินผล การปฏิบัติราชการของข้าราชการตำรวจ
พ.ศ.2547
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๑ (๒) และมาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗ มติ ก.ตร. ในการประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๗ และ มติอนุกรรมการ ก.ตร. เกี่ยวกับการพัฒนาระบบการบริหารงานบุคคลของข้าราชการตำรวจ ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๗ จึงออกกฎ ก.ตร.ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กฎ ก.ตร. นี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ กฎ ก.ตร. นี้ มีหลักการที่จะประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติ ราชการของข้าราชการตำรวจบนพื้นฐานของผลสำเร็จและผลสัมฤทธิ์ของงานเป็นหลัก
ข้อ ๓ การประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการตำรวจ มี วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาใช้เป็นเครื่องมือในการปรับปรุง ประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติราชการและนำผลการประเมินไปใช้เป็นข้อมูล ประกอบการพิจารณาแต่งตั้งและเลื่อนเงินเดือน
ข้อ ๔ การประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการตำรวจ ให้ประเมินจากผลงานและคุณลักษณะผู้ปฎิบัติราชการ ดังนี้
(๑) การประเมินผลงานให้พิจารณาจากองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้
(ก) ปริมาณงาน
(ข) คุณภาพของผลงาน
(ค) ความทันเวลา
(ง) ผลลัพธ์ ประโยชน์ในการนำไปใช้และประสิทธิผลของงาน
(จ) การประหยัดทรัพยากรหรือความคุ้มค่าของผลงาน
(๒) การประเมินคุณลักษณะผู้ปฏิบัติราชการ ให้พิจารณาจากองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้
(ก) ความสามารถและความอุตสาหะในการปฏิบัติราชการ
(ข) การรักษาวินัย
(ค) การปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ ตำรวจ
(ง) ความคิดริเริ่ม การสร้างสรรค์ และงานเชิงรุก
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ อาจกำหนดให้มีองค์ประกอบการประเมินอื่น ๆ เพิ่มเติม ได้ตามความเหมาะสมของลักษณะภารกิจและสภาพการปฏิบัติ ราชการของข้าราชการตำรวจ ในตำแหน่งต่าง ๆ โดยให้กำหนดตัวชี้วัดขององค์ประกอบการประเมิน รวมทั้งแบบประเมิน ผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการตำรวจให้ชัดเจน เป็นรูปธรรม
ข้อ ๕ ให้มีการกำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับผลการปฏิบัติราชการร่วมกัน ระหว่างผู้ประเมินและผู้รับการประเมิน เช่น แผนงาน โครงการ กิจกรรม หรือผลงานที่กำหนดในการมอบหมายงาน เป็นต้น ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงข้อตกลงผลการบริหารงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติหรือภารกิจหลัก ที่ได้มีการกำหนดไว้ด้วย
ข้อ ๖ ให้ประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการตำรวจ ปีละ ๒ ครั้ง ตามรอบปีงบประมาณ คือ
ครั้งที่ ๑ ระหว่างวันที่ ๑ ตุลาคม ถึง ๓๑ มีนาคม ของปีถัดไป
ครั้งที่ ๒ ระหว่างวันที่ ๑ เมษายน ถึง ๓๐ กันยายน ของปีเดียวกัน
ข้อ ๗ การประเมินผลการปฏิบัติราชการ ให้มีสัดส่วนคะแนน การประเมินจากผลงานไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๐ และแบ่งกลุ่มผลการประเมินไม่น้อยกว่า ๓ กลุ่ม เช่น กลุ่มสูงกว่ามาตรฐานกลาง กลุ่มอยู่ในมาตรฐานกลาง และกลุ่มต่ำกว่ามาตรฐานกลาง เป็นต้น โดยให้ผู้บังคับบัญชา จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ที่มีผลการประเมินไว้ให้ชัดเจนทุกครั้งที่มีการประเมิน
ข้อ ๘ ให้มีการแจ้งการประเมินและผลการประเมิน การเปิด โอกาสให้เข้าพบเพื่อปรึกษาหารือแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและผลการประเมิน การ ประกาศรายชื่อผู้ที่มีผลการประเมินอยู่ในกลุ่มสูงกว่า มาตรฐานกลางในที่เปิดเผย
ข้อ ๙ ให้มีคณะกรรมการพิจารณาผลการประเมิน เพื่อทำ หน้าที่พิจารณาคำร้องทุกข์ของผู้รับการประเมินที่เห็นว่า ผลการประเมินของตนไม่เป็นไปตามข้อเท็จจริง
ข้อ ๑๐ เมื่อเสร็จสิ้นการประเมินผลการปฏิบัติราชการแต่ละครั้งแล้ว ให้ผู้บังคับบัญชา หรือผู้ประเมิน นำผลการประเมินไปใช้ประกอบการให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้รับการประเมินเพื่อให้ มีการแก้ไข ปรับปรุง พัฒนาการปฏิบัติราชการให้มีสมรรถนะและผลสัมฤทธิ์ของงานดียิ่งขึ้น
ข้อ ๑๑ ให้มีระบบการจัดเก็บผลการประเมิน เพื่อนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด
ข้อ ๑๒ ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดำเนินการกำหนดราย ละเอียด วิธีการ เพื่อถือปฏิบัติตามกฎ ก.ตร. นี้ รวมทั้ง การปรับปรุงและพัฒนาการประเมินผลการปฏิบัติราชการให้สอดคล้องกับกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง มติคณะรัฐมนตรี ภารกิจและลักษณะงานที่เกี่ยวข้อง และมีอำนาจในการวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติ ราชการเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับข้าราชการตำรวจ
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
ประธานกรรมการข้าราชการตำรวจ
ประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ พ.ศ.2553
วันที่ 12 มีนาคม 2554 กฎ ก.ตร. ว่าด้วยประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553 มีผลใช้บังคับ กฎ ก.ตร. ฉบับนี้
เป็นการ ยกเลิกความในข้อ 2 แห่ง กฎ ก.ตร. ว่าด้วยประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณ ของตำรวจ พ.ศ. 255 1 และกฎ ก.ตร. ฉบับนี้แทน
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ตร. ฉบับใหม่ เนื่องจาก ข้าราชการตำรวจที่มีการกระทำหรือความ ประพฤติที่ยังไม่ถึงขั้นทำผิดวินัย ประกอบกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีข้าราชการตำรวจจำนวนมาก จำเป็นต้องกระจายอำนาจ โดยให้จเรตำรวจแห่งชาติสามารถมอบหมายหน่วยงานอื่นสามารถสอดส่องดูแลแทนจเรตำรวจแห่งชาติได้ โดยให้มีศูนย์รับผิดชอบงานของหน่วยงานต่าง ๆ ด้านจริยธรรมเป็นศูนย์เดียว เป็นเอกภาพในการปฏิบัติงาน และต้องการกระจายอำนาจให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสอดส่อง ดูแลข้าราชการตำรวจ จึงจำเป็นต้องออก กฎ ก.ตร. ฉบับนี้
กฎ ก.ตร. ฉบับนี้ ลงนาม โดย สุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการข้าราชการตำรวจ
ส่วนแรกของประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณตำรวจ ระบุว่า ด้วยสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีอำนาจและหน้าที่ที่สำคัญ ได้แก่ การรักษาความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ และการรักษากฎหมายคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม บริการชุมชนให้เกิดความร่มเย็น ป้องกันและปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมาย และดำเนินการเพื่อนำผู้กระทำผิดกฎหมายเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีประสิทธิภาพประสิทธิผล และ ประชาชนมีความศรัทธาเชื่อมั่ จึงจำเป็นต้องกำหนดประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ เป็นกรอบการประพฤติปฏิบัติของข้าราชการ ตำรวจให้มีคุณธรรม จริยธรรม
และจรรยาบรรณที่ดีและเป็นมาตรฐาน
ส่วนที่ 1 มาตรฐานคุณธรรม และอุดมคติของตำรวจ
ข้าราชการตำรวจพึงยึดถือคุณธรรมสี่ประการตามพระบรมราโชวาท เป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งในการประพฤติตนและปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้
(1) การรักษาความสัจ ความจริงใจต่อตัวเองที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม
(2) การรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัจ ความดีเท่านั้น
(3) การอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจสุจริต ไม่ว่า ด้วยเหตุประการใด
(4) การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง
สำหรับ อุดมคติของตำรวจ 9 ประการ ประกอบด้วย
(1) เคารพเอื้อเฟื้อต่อหน้าที่
(2) กรุณาปราณีต่อประชาชน
(3) อดทนต่อความเจ็บใจ
(4) ไม่หวั่นไหวต่อความยากลำบาก
(5) ไม่มักมากในลาภผล
(6) มุ่งบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชน
(7) ดำรงตนในยุติธรรม
( กระทำการด้วยปัญญา
(9) รักษาความไม่ประมาทเสมอชีวิต
ส่วนที่ 2 มาตรฐานทางจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ
ข้าราชการตำรวจต้องเคารพ ศรัทธา และยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
(1) จงรักภักดีและเทิดทูนพระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระรัชทายาท และไม่ยอมให้ผู้ใดล่วงละเมิด
(2) สนับสนุนการเมืองประชาธิปไตยด้วยศรัทธา มีความเป็นกลางทางการเมืองไม่เป็นผู้บริหารหรือกรรมการพรรคการเมือง และไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่พรรคการเมือง หรือผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น
ข้าราชการตำรวจต้องมีจิตสำนึกของความเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์เพื่อให้ ประชาชนศรัทธาและเชื่อมั่น ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
(1) มีท่าทีเป็นมิตร มีมนุษยสัมพันธ์อันดี และมีความสุภาพอ่อนโยนต่อประชาชนผู้รับบริการ รวมทั้งให้บริการประชาชนด้วยความเต็มใจ รวดเร็ว และไม่เลือกปฏิบัติ
(2) ปฏิบัติตนให้เป็นที่เชื่อถือไว้วางใจของประชาชน ไม่เบียดเบียน ไม่แสดงกริยาหรือท่าทางไม่สุภาพหรือไม่ให้เกียรติ รวมทั้งไม่ใช้ถ้อยคำ กริยา หรือท่าทาง ที่มีลักษณะหยาบคาย ดูหมิ่น หรือเหยียดหยามประชาชน
(3) เอื้อเฟื้อ สงเคราะห์ และช่วยเหลือประชาชนเมื่ออยู่ในฐานะที่จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ หรือประสบเคราะห์จากอุบัติเหตุ การละเมิดกฎหมาย หรือภัยอื่น ๆ ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นผู้ต้องสงสัยหรือผู้กระทำผิดกฎหมายหรือไม่
(4) ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของทางราชการอย่างเคร่งครัด การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนที่ร้องขอ ต้องดำเนินการด้วยความรวดเร็วไม่ถ่วงเวลาให้เนิ่นช้า และไม่ให้ข้อมูลข่าวสารอันเป็นเท็จแก่ประชาชน
ข้าราชการตำรวจต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตและยึดมั่นในศีลธรรม โดยยึดประโยชน์ส่วนรวมเหนือประโยชน์ส่วนตน ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
(1) ไม่ใช้ตำแหน่ง อำนาจหรือหน้าที่ หรือไม่ยอมให้ผู้อื่นใช้ตำแหน่ง อำนาจหรือหน้าที่ของตนแสวงหาประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น
(2) ไม่ใช้ตำแหน่ง อำนาจหรือหน้าที่ หรือไม่ยอมให้ผู้อื่นใช้ตำแหน่ง อำนาจหรือหน้าที่ของตนไปในทางจูงใจหรือมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ การใช้ดุลพินิจ หรือการกระทำของข้าราชการตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอื่น อันเป็นผลให้การตัดสินใจ การใช้ดุลพินิจ หรือการกระทำของผู้นั้นสูญเสียความเที่ยงธรรมและยุติธรรม
(3) ไม่รับของขวัญนอกเหนือจากโอกาสและกาลตามประเพณีนิยม และของขวัญนั้นต้องมีมูลค่าตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประกาศกำหนด เว้นแต่ญาติซึ่งให้โดยเสน่หาตามจำนวนที่เหมาะสมตามฐานานุรูปหรือการให้โดยธรรมจรรยา
(4) ไม่ใช้เวลาราชการหรือทรัพย์ของราชการเพื่อธุรกิจหรือประโยชน์ส่วนตน
(5) ไม่ประกอบอาชีพเสริมซึ่งมีลักษณะเป็นผลประโยชน์ทับซ้อน หรือเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวม
(๖) ดำรงชีวิตส่วนตัวไม่ให้เกิดมลทินมัวหมองต่อตำแหน่งหน้าที่ ไม่ทำผิดกฎหมายแม้เห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่หมกมุ่นในอบายมุขทั้งหลาย ไม่ฟุ้งเฟ้อหรูหรา และใช้จ่ายประหยัดตามฐานะแห่งตน
นอกจากนี้ ข้าราชการตำรวจต้องภาคภูมิใจในวิชาชีพ กล้ายืนหยัดกระทำในสิ่งที่ ถูกต้องดีงามเพื่อเกียรติศักดิ์และศักดิ์ศรีของความเป็นตำรวจ ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
(1) ปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาตามครรลองของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายอย่างเคร่งครัด
(2) ไม่สั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติการในสิ่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือขัดต่อคุณธรรมและศีลธรรม
(3) ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งที่ตนรู้หรือควรจะรู้ว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในการนี้ให้ทักท้วงเป็นลายลักษณ์อักษรต่อผู้บังคับบัญชาผู้สั่ง
(4) ไม่เลี่ยงกฎหมาย ใช้หรือแนะนำให้ใช้ช่องโหว่ของกฎหมายเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น หรือทำให้สูญเสียความเป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรม
ประเด็นที่สำคัญ ข้าราชการตำรวจต้องตระหนักว่า การใช้อาวุธ กำลัง หรือความรุนแรงเป็นมาตรการที่รุนแรงที่สุด ข้าราชการตำรวจอาจใช้อาวุธ กำลัง หรือความรุนแรง ได้ต่อเมื่อมีความจำเป็นภายใต้กรอบของกฎหมายและระเบียบแบบแผน หรือเมื่อผู้กระทำความผิด หรือผู้ต้องสงสัยใช้อาวุธต่อสู้ขัดขวางการจับกุม หรือเพื่อช่วยบุคคลอื่นที่อยู่ในอันตรายต่อชีวิตเมื่อมีการใช้อาวุธ กำลัง หรือความรุนแรง ไม่ว่าจะมีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตหรือไม่ ข้าราชการตำรวจต้องรายงานเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาตามระเบียบแบบแผนทันที
ในการรวบรวมพยานหลักฐาน การสืบสวนสอบสวน การสอบปากคำ หรือการซักถามผู้กระทำความผิด ผู้ต้องหา ผู้ที่อยู่ในความควบคุมตามกฎหมาย ผู้เสียหาย ผู้รู้เห็นเหตุการณ์ หรือบุคคลอื่น ข้าราชการตำรวจต้องแสดงความเป็นมืออาชีพโดยใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการตำรวจ รวมทั้งใช้ปฏิภาณไหวพริบและสติปัญญา เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงและธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
(1) ไม่ทำการทารุณหรือทารุณกรรมต่อบุคคล หรือต่อบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับบุคคลนั้น
(2) ไม่ใช้ จ้าง วาน หรือยุยงส่งเสริม หรือปล่อยปละละเลยให้มีการทารุณหรือทารุณกรรมต่อบุคคล หรือต่อบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับบุคคลนั้น
(3) ไม่กระทำการข่มขู่หรือรังควาน หรือไม่ใช้อำนาจที่มิชอบ หรือแนะนำเสี้ยมสอนบุคคลให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จหรือปรักปรำผู้อื่น
(4) ไม่กักขังหรือหน่วงเหนี่ยวบุคคลที่ยังไม่ได้ถูกจับกุมตามกฎหมาย เพื่อการสอบปากคำ
(5) ไม่ใช้อำนาจที่มิชอบเพื่อให้ได้มาซึ่งพยานหลักฐาน
สรุป แนวสอบกฎ ก.ตร.ว่าด้วยประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ ( ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ.๒๕๕๓
1.กฎ ก.ตร. ฉบับปัจจุบันนี้เรียกว่า ?
- กฎ ก.ตร.ว่าด้วยประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ ( ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ.๒๕๕๓
2.มีผลบังคับใช้เมื่อ ?
- ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
3.กฎ ก.ตร. ฉบับปัจจุบันนี้ได้ยกเลิก หรือเพิ่มความในข้อใดบ้าง ?
- ยกเลิกความใน ข้อ๑ , ข้อ๒ , ข้อ๘ วรรค๒ และ วรรค๓
- ยกเลิก ประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ พ.ศ.๒๕๕๑ (แนบท้าย กฎ ก.ตร. ว่าด้วย
ประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ พ.ศ.๒๕๕๑
- เพิ่มความใน ข้อ๙ วรรค๒ วรรค๓ วรรค๔ และวรรค๕
4.กฎ ก.ตร. ฉบับปัจจุบันนี้ ให้ไว้ ณ วันที่ ?
- ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
5.ใครเป็นผู้ลงนามกฎ ก.ตร. ฉบับปัจจุบันนี้ ในฐานนะประธานกรรมการข้าราชการตำรวจ ?
- นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
ข้าราชการตำรวจ
6.กรอบแห่งการประพฤติปฏิบัติของข้าราชการตำรวจ คือ ?
- มาตรฐานคุณธรรม และอุดมคติของตำรวจ
- มาตรฐานทางจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ
7.สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พิจารณาอะไรที่ต้องคำนึงถึง พฤติกรรม การปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณตำรวจของบุคคล ?
- การพิจารณาสรรหา/กลั่นกรอง/แต่งตั้ง/โยกย้าย/เลื่อนตำแหน่ง/เลื่อนขั้นเงินเดือน/ลงโทษ
8.ใครมีหน้าที่เป็นศูนย์ส่งเสริมจริยธรรม/พัฒนาคุณธรรม/กำหนดตัวชี้วัด/ประเมิน/รณรงค์/ส่งเสริม/ประชาสัมพันธ์/เผยแพร่/กำหนดหลักสูตร/ฝึกอบรม ของข้าราชการตำรวจ ?
- กองบัญชาการศึกษา
9.การดำเนินงานของ กองบัญชาการศึกษา ในข้อ 8 ต้องได้รับความเห็นชอบจากใคร ?
- ก.ตร.
10.ใครต้องประกาศเชิดชูเกียรติหน่วยงาน และข้าราชการในสังกัด ที่ประพฤติปฏิบัติดีเยี่ยม ประจำทุกปี ?
- สำนักงานตำรวจแห่งชาติ , สำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, กองบัญชาการ, และหน่วยงาน เทียบเท่ากองบัญชาการ
11.หน่วยงานใดที่ต้องนำ ประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณตำรวจ ไปกำหนดเป็นหลักสูตรการเรียนการสอน ?
- สถาบันการฝึกอบรมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
12.ใครมีหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำ/จำทำคู่มือ/คำอธิบายแนวทางปฏิบัติ/สอดส่องดูแล ฯ ในภาพรวมของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- จเรตำรวจแห่งชาติ
13.หาก จเรตำรวจแห่งชาติ พบว่าหน่วยงานใด ละเมิด/ฝ่าฝืน/ไม่ปฏิบัติตาม ฯ จะต้องรายงานใคร ? - ผบ.ตร.
14.ใครสามารถแต่งตั้งที่ปรึกษาประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณตำรวจ ระดับกองบัญชาการ/กองบังคับการ ตามความเหมาะสม
- จเรตำรวจแห่งชาติ
15.กำหนดให้ใครมีส่วนร่วมในการการสอดส่องดูแลกองบัญชาการ/กองบังคับการ/สถานีตำรวจด้วย
- คณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจภาคประชาชน
16.หากข้าฯ ละเมิด/ฝ่าฝืน/ไม่ปฏิบัติตาม มาตรฐานคุณธรรมและอุดมคติตำรวจ โดยไม่เจตนาและไม่ก่อผลเสียต่อหน่วยงาน ผู้บังคับชาจะต้องดำเนินการอย่างไร ?
- พิจารณาดำเนินการทางการปกครอง โดยอบรม/ชี้แนะแนวทาง เพื่อสำนึกแก้ไขปรับปรุงตน หากขัดขืนไม่ปฏิบัติตามอีก ให้ว่ากล่าวตักเตือน
17.กรณีหากข้าฯ ละเมิด/ฝ่าฝืน/ไม่ปฏิบัติตาม มาตรฐานจริยธรรมฯ โดยที่เป็นข้อห้ามในการรักษาวินัย ผู้บังคับชาจะต้องดำเนินการอย่างไร ?
- พิจารณาดำเนินการทางวินัยภายในอำนาจหน้าที่
18.หากผู้บังคับบัญชา พิจารณาว่า การละเมิด/ฝ่าฝืน มาตรฐานจริยธรรมฯ ร้ายแรงหรือไม่ พิจารณาจากอะไร ?
- อายุ
- ประวัติ
- ความประพฤติในอดีต
- สภาพแวดล้อมแห่งกรณี
- ผลร้ายอันเกิดจากการฝ่าฝืน
- เหตุอันควรอันนำมาประกอบการพิจารณา
19.หากพบว่าผู้ใต้บังคับบัญชา ละเมิด/ฝ่าฝืน/ไม่ปฏิบัติตาม ประมวลจริยธรรมฯ ถือว่า ?
- ผู้บังคับบัญชาจงใจ ละเมิด/ฝ่าฝืน/ไม่ปฏิบัติตาม ประมวลจริยธรรมฯ
20.หาก พบว่า ผู้บังคับบัญชาของตน/หน่วยงานของตน ละเมิด/ฝ่าฝืน/ไม่ปฏิบัติตาม ประมวลจริยธรรมฯ ผู้ใต้บังคับบัญชาจะทำอย่างไร ?
- รายงานผู้บังคับบัญชา เหนือหน่วยงานที่ตนสังกัดได้ อย่างน้อย 3 ลำดับชั้น
21.จากข้อ 21. หากผู้บังคับบัญชา ที่ตนรายงาน มิได้ดำเนินการ ให้รายงานถึง ?
- จเรตำรวจแห่งชาติ/ผบ.ตร.
22.จากการดำเนินการตามข้อ 20. ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยการเสนอแนะของ จเรตำรวจแห่งชาติวางระเบียบให้แล้วเสร็จ ภายใน กี่วัน นับแต่วันที่ กฎ ก.ตร. นี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
- ภายใน 45 วัน
23.ใครมีหน้าที่ เสนอความเห็น ต่อ ก.ตร. เพื่อแก้ไขเพิ่มเติม/ปรับปรุงประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณตำรวจ ได้ ?
- จเรตำรวจแห่งชาติ
24.มาตรฐานคุณธรรมและอุดมคติของตำรวจ คือ ?
- เครื่องเหนี่ยวรั้งให้ ข้าฯอยู่ในกรอบศีลธรรม-คุณธรรม
- ชี้แนวทางบรรลุถึงปณิธาน
25.มาตรฐานจริยธรรมตำรวจ คือ ?
- คุณความดีที่เป็นข้อประพฤติ ให้ประชาชนเชื่อมั่น/ยอมรับ
26.จรรยาบรรณของตำรวจ คือ ?
- ประมวลความประพฤติ/วิชาชีพตำรวจธำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรี-เกียรติภูมิ
27.การไม่เลือกปฏิบัติ หมายถึง ?
- ไม่ใช้ความรู้สึกพึงพอใจ/ไม่พึงพอใจส่วนตัวต่อบุคคล/กลุ่มบุคคล ที่มาจาก ชาติกำเนิด/เพศ/ศาสนา/ความเชื่อ/สัญชาติ/อายุ/การศึกษา ฯลฯ
28.ประโยชน์ หมายถึง ?
- เงิน/ทรัพย์สิน/บริการ/ตำแหน่งหน้าที่การงาน/สิทธิประโยชน์/คำมั่นสัญญา ที่จะให้ในอนาคต
29.กาทารุณ/ทารุณกรรม หมายถึง ?
- กระทำต่อ ร่างกาย/จิตใจ/โหดร้าย/ไร้มนุษยธรรม/เจ็บปวดแสนสาหัส/ดูถูกศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์
30.ข้าราชการตำรวจควรพึงยึดสิ่งใดเป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งในการประพฤติตน ?
- คุณธรรม 4 ประการตามพระบรมราโชวาท
31.คุณธรรม 4 ประการประกอบด้วยอะไรบ้าง ?
- ความสัจ , ข่มใจ , อดทน , ละชั่ว
32.ข้าราชการตำรวจควรพึงยึดสิ่งใดเป็นแนวทางชี้นำการประพฤติ-ปฏิบัติหน้าที่เพื่อบรรลุปริธาน ?
- อุดมคติของตำรวจ 9 ประการ
33. อุดมคติของตำรวจ 9 ประกอบด้วยอะไรบ้าง ?
- 1.เคารพเอื้อเฝื้อ 2.กรุณาปราณี 3.อดทน 4.ไม่หวั่นไหว 5.ไม่มักมาก
6.บำเพ็ญตน 7.ยุติธรรม 8.ปัญญา 9.ไม่ประมาท
34.ทำไมข้าฯ ต้องหมั่นศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลา ?
- เพื่อพัฒนาตนเองทันโลกทันเหตุการณ์/ชำนาญการ
35.ข้าฯ ไม่รับของขวัญนอกเหนือจากโอกาส/กาลตามประเพณีนิยม และของขวัญต้องมีมูลค่าที่ใครกำหนด ?
- คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ ประกาศกำหนด
36.หาก ข้าฯ รู้ว่าการปฏิบัติตามคำสั่งมิชอบด้วยกฎหมาย ตนจะต้องทำอย่างไร ?
- ทักท้วงเป็นลายลักษณ์อักษรต่อผู้บังคับบัญชาผู้สั่ง
37.ใครเป็นผู้กำหนดให้ ข้าฯ ต้องปฏิบัติตาม ค่านิยมหลัก ?
- ผู้ตรวจการแผ่นดิน กำหนด
38.การที่ ข้าฯ ใช้อาวุธ/กำลัง/ความรุนแรง ถือว่า ?
- ถือว่าเป็นมาตรการที่รุนแรงที่สุด
39.เมื่อมีการใช้อาวุธ/กำลัง/ความรุนแรง ไม่ว่าจะมีผู้บาดเจ็บ หรือเสียชีวิตหรือไม่ จะต้อง ?
- รายงานเป็นหนังสือต่อ ผู้บังคับบัญชา ตามระเบียบแบบแผนทันที
1. กฎ ก.ตร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาการประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการตำรวจ พ.ศ 2547
มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่เท่าใด 17 กรกฏาคม 2547
2. หลักการที่จะประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการต้องคำนึงถึงอะไรเป็นหลัก
บนพื้นฐานของผลสำเร็จ และผลสัมฤทธิ์ของงานเป็นหลัก
3. ทั้งนี้การประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการตำรวจ มีวัตถุประสงค์อย่างไร
เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาใช้เป็นเครื่องมือในการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติราชการ
4. ข้อใดเป็นคุณลักษณะของข้าราชการตำรวจที่ต้องมีการประเมินผล บุคลิกภาพ
5. ในส่วนของการประเมินผลงาน ประกอบด้วยการประเมิน ปริมาณงาน คุณภาพของผลงาน ความทันเวลา
6. ในส่วนของการประเมินด้านคุณลักษณะผู้ปฏิบัติราชการ ให้พิจารณาจากองค์ประกอบ การรักษาวินัย ความคิดริเริ่ม
การสร้างสรรค์ ความสามารถและความอุตสาหะ
7. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการตำรวจ
เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาระบบข้าราชการตำรวจ
เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาใช้เป็นเครื่องมือในการปรับปรุงประสิทธิ์ภาพผลการปฏิบัติราชการ
เพื่อให้ผู้บังคับบัญชานำผลการประเมินไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาตั้งแต่งและเลื่อนเงินเดือน
8. เมื่อการประเมินผลที่กำหนด ให้ประเมินผลตามรอบปีงบประมาณครั้งที่ 1 อยู่ในช่วงเวลาใด
1 ต.ค. ถึง 31 มี.ค.ของปีถัดไป
9. เมื่อเสร็จสิ้นการประเมินผลการปฏิบัติราชการแต่ละครั้งแล้วผู้บังคับบัญชาหรือผู้ประเมินจะต้องดำเนินการต่อไป
อย่างไร นำผลการประเมินไปใช้ประกอบการให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้รับการประเมิน
10. ในการกำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับผลการปฏิบัติราชการร่วมกันระหว่างผู้ประเมินและผู้รับการประเมิน กฎ ให้คำนึงอะไร
เป็นสำคัญ ข้อตกลงผลการบริหารงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ภารกิจหลักที่ได้มีการกำหนดไว้
ผลประโยชน์ของสังคมสาธารณะเป็นสำคัญ
กฎ ก.ตร. นี้มีหลักเกณฑ์อย่างไร ประเมินความสามารถในการปฏิบัติราชการของตำรวจ
11. การประเมินให้ประเมินจาก ผลงาน คุณลักษณะของผู้ปฏิบัติ
12. การประเมินต้องให้มีการประเมินจากคุณลักษณะของผู้ประเมินเป็นจำนวนเท่าใด
-การประเมินผลการปฏิบัติราชการ ให้มีสัดส่วนคะแนนการประเมินจากผลงานไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๐ ดังนั้นการ
ประเมินจากคุณลักษณะของผู้ประเมินควรจะตอบ 30 เปอร์เซ็นต์
13. การประเมินจากคุณลักษณะของผู้ปฏิบัติมีอะไรบ้างที่ไม่ใช่
การประพฤติตนเหมาะสมกับการทำงาน
14. คณะกรรมการพิจารณาการประเมินมีหน้าที่ใด
รับการร้องเรียนจากผู้รับการประเมิน (จริงๆแล้ว คณะกรรมการทำหน้าที่พิจารณาคำร้องทุกข์ของผู้รับการประเมินที่
เห็นว่า ผลการประเมินของตนไม่เป็นไปตามข้อเท็จจริง ตามข้อ 9)
15. หลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาการประเมินออกโดยอาศัยอำนาจใด
พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ 2547
มติ ก.ตร. เกี่ยวกับการพัฒนาระบบบริหารส่วนบุคคล
การประชุมคณะอนุกรรมการ ก.ตร.ครั้งที่ 5/2547
16. การประเมินต้องแบ่งออกอย่างน้อยสามช่วงคือ
ต่ำกว่ามาตราฐานกลาง อยู่ในมาตราฐานกลาง สูงกว่ามาตรฐานกลาง
17. ให้เปิดเผยรายชื่อผู้ได้รับการประเมินช่วงใด ผู้ได้รับผลการประเมินในระดับสูงกว่ามาตรฐานกลาง
18. ให้มีระบบการจัดเก็บผลการประเมินเพื่อสิ่งใด เพื่อนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์
19. กฎ ก.ตร นี้มีหลักการที่จะประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการตำรวจโดยตั้งอยู่บน
พื้นฐานในเรื่องอะไรเป็นหลัก ผลสำเร็จและผลสัมฤทธิ์ของงาน
20. หน่วยงานใดมีอำนาจในการวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการ
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
21. ในกรณีที่ผู้รับการประเมินเห็นว่าผลการประเมินของตนไม่เป็นไปตามข้อเท็จจริงผู้รับการ
ประเมินอาจเสนอคำร้องทุกข์ต่อบุคคลใดเพื่อพิจารณาได้ คณะกรรมการพิจารณาผลการประเมิน
22. การประเมินผลงานในการปฏิบัติราชการของข้าราชการตำรวจให้พิจารณาจากองค์ประกอบในข้อใดต่อไปนี้
ผลลัพธ์ ประโยชน์ในการนำไปใช้และประสิทธิ์ผลงาน ปริมาณของผลงาน คุณภาพของผลงาน การประเมิน
25 คุณลักษณะผู้ปฏิบัติราชการให้พิจารณาองค์ประกอบในข้อใดดังต่อไปนี้
ความริเริ่ม การสร้างสรรค์ และงานเชิงรุก
23. กฎ ก.ตร.ว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการและระยะเวลาการประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการตำรวจ พ.ศ.2547
ประกาศใช้เมื่อวันที่เท่าใด 10 กรกฎาคม 2547 ประกาศใช้โดย พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ปรท.ประธาน
คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ
สั่งซื้อที่
ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724 Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3 ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2
ธ.กสิกรไทย ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay
[font=arial ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า
ติดตามข่าวการสอบราชการที่ https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่ www.ข้อสอบงานราชการไทย.com