1. การที่นักร้องนักแสดงไทยหลายคนที่เกิดและเติบโตในต่างประเทศ และพูดภาษาไทยได้ไม่ชัดเจนนั้น แสดงให้เห็นถึงลักษณะและธรรมชาติของภาษาตามข้อใด
ก. ภาษาเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพแวดล้อม
ข. ภาษาย่อมแตกต่างกันตามเชื้อชาติ
ค. ภาษามักจะสะท้อนสภาพของสังคมนั้นๆ
ง. ภาษาเป็นวัฒนธรรมทางสังคม
ตอบ ง. ภาษาเป็นวัฒนธรรมทางสังคม
- การที่คนไทยไปโตที่เมืองนอก
แล้วพูดภาษาไทยได้ไม่ชัดก็เป็นเพราะที่เมืองนอกใช้ภาษาพูดอีกแบบ ทำให้เวลากลับมาอยู่เมืองไทยเลยติดการใช้ลิ้นหรือสำเนียงแบบต่างประเทศมาใช้ นั่นแสดงว่าแต่ละชาติ (ไม่ใช่เชื้อชาติ) มีภาษาที่ต่างกันหรือภาษาเป็นวัฒนธรรมทางสังคม (ซึ่งแต่ละชาติ ไม่เหมือนกันนั่นเอง)
- ข้อ 1 ผิดเพราะ ภาษาเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม ไม่ชัดเจนว่า สภาพแวดล้อมอะไร (ทางธรรมชาติ?)
2. ข้อใดไม่มีคำยืมจากภาษาต่างประเทศ
ก. พ่อแม่ควรสอนลูกว่ายาเสพติดและเครื่องดื่มมึนเมา เผยแพร่กันอย่างไร
ข. การยกตัวอย่างจากรายการโทรทัศน์เพื่อสอนให้ลูกเข้าใจอันตรายเป็นวิธีที่ดี
ค. ในกรณีที่ลูกอายุต่ำกว่า 10
ขวบ พ่อแม่ควรอธิบายสั้น ๆ
ให้เข้าใจง่าย
ง. ถ้าสอนอะไรยาว ๆ
เกี่ยวกับสิ่งที่เด็กไม่รู้จัก
เด็กจะเบื่อ และสับสน
ตอบ ง. ถ้าสอนอะไรยาว ๆ เกี่ยวกับสิ่งที่เด็กไม่รู้จัก เด็กจะเบื่อและสับสน
* ข้อนี้เราก็ใช้หลักที่เรียนมาว่า คำไทยส่วนมากพยางค์เดียว และสะกดตรงมาตรา เราก็หาคำที่เกิน 1 พยางค์ หรือไม่ก็สะกดไม่ตรงตามมาตรา*
ข้อ 1 มีคำยืมจากต่างประเทศคือ “ควร” “เสพย์”
ข้อ 2
มีคำยืมจากต่างประเทศคือ “การ” “โทรทัศน์” “อันตราย” “วิธี”
ข้อ 3 มีคำยืมจากต่างประเทศคือ “กรณี” “อายุ” “ควร” “อธิบาย”
3. ข้อใดเรียบเรียงตามลักษณะประโยคภาษาไทย
ก. เยาวชนเป็นผู้ที่นำมาซึ่งความหวังของสังคม
ข. ปัจจุบันการแพร่ระบาดของยาบ้าได้ขยายตัวเพิ่มขึ้น
ค. ผู้บริหารจำเป็นต้องมีเจตคติที่ดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
ง. วัคซีนชนิดนี้แม้ว่าจะมีข้อดี แต่ไม่ควรใช้ในผู้ใหญ่วัยชรา
- ข้อ 1
ใช้สำนวนต่างประเทศ
ตรง นำมาซึ่ง - - ”
- ข้อ 2
ใช้สำนวนต่างประเทศ
ตรง “การเผยแพร่ของยาบ้า” เขียนส่วนขยายนำหน้าส่วนหลัก
- ข้อ 4
ใช้สำนวนต่างประเทศ
ตรง “ - - ไม่ควรใช้ในผู้ใหญ่วัยชรา
”
4. ข้อใดไม่ใช้โครงสร้างประโยคแบบภาษาต่างประเทศ
ก. เรื่องนี้ง่ายต่อการเข้าใจ
ข. งานเขียนของเขาเป็นที่สนใจของคนหมู่มาก
ค. แม่มีลูกถึง 7 คน จึงต้องรู้จักวิธีบริหารเงิน
ง. ทุกสิ่งทุกอย่างจบลงด้วยความตายของตัวเอก
ตอบ ค. แม่มีลูกถึง 7 คน จึงต้องรู้จักวิธีบริหารเงิน
- ข้อ 1
มีสำนวนต่างประเทศตรง
“ง่ายต่อการเข้าใจ” ควรแก้เป็น “เข้าใจง่าย”
- ข้อ 2
มีสำนวนต่างประเทศตรง
“เป็นที่สนใจ”
- ข้อ 4
มีสำนวนต่างประเทศตรง
“จบลงด้วยความตาย”
5. ข้อใดประกอบด้วยคำหรือพยางค์ที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะต้นเดี่ยวทั้งหมด
ก. ผูกงูด้วยมนตรา ค. ผูกสารบ่เคลื่อนคลาย
ข. วิทยาอาคมหมาย ง. ด้วยเชือกบาศกระสันพัน
ข้อ 1 เสียงพยัญชนะต้น คือ
ผ ง ด ม ตร ข้อนี้มี “ตร” เป็นเสียงควบ
ข้อ 2 เสียงพยัญชนะต้น คือ
ว ท ย อ ค ม
ข้อ 3 เสียงพยัญชนะต้น คือ
ผ ส บ คล คล ข้อนี้มี “คล” เป็นเสียงควบ
ข้อ 4 เสียงพยัญชนะต้น คือ
ด ช บ กร ส พ
ข้อนี้มี “กร” เป็นเสียงควบ
จะเห็นว่ามีแต่ ข้อ 2 เท่านั้น ที่เสียงพยัญชนะทั้งหมดเป็นเสียงเดี่ยว
6. ข้อใดมีพยางค์ที่ใช้สระประสมมากที่สุด
ก. นึกเฉลียวเสียวทรวงถึงดวงจันทร์
ค. ทั้งหวายตรวนล้วนเครื่องที่ลำบาก
ข. กรับประสานสวบสวบส่งเสียงใส ง. พลุกระจายช่อช่วงดังดวงเดือน
ตอบ ก. นึกเฉลียวเสียวทรวงถึงดวงจันทร์
- โจทย์ให้เรานับ พยางค์ ที่มีเสียงสระประสม
(เอีย เอือ อัว)
ข้อ 1 มี เฉลียว (เอีย) เสียว (เอีย)
ทรวง
(อัว) ดวง (อัว)
= 4 พยางค์
ข้อ 2 มี สวบ (อัว) สวบ (อัว)
เสียง (เอีย)
= 3 พยางค์
ข้อ 3 มี ตรวน (อัว) ล้วน (อัว)
เครื่อง (เอือ)
= 3 พยางค์
ข้อ 4 มี ช่วง (อัว) ดวง (อัว)
เดือน (เอือ)
= 3 พยางค์
ข้อ 1
จึงมีพยางค์ที่มีสระประสมมากที่สุด =
4 พยางค์
7. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ ไม่ ครบทุกเสียง
ก. เวลานี้เธออยู่ที่ไหนหนอ
ค. น้ำค้างหยดแตะแต้มบนแก้มหญ้า
ข. ยังจำได้สายลมแห่งความรัก ง. ข้าเก็บดอกหญ้ามาทัดหู
ตอบ ค. น้ำค้างหยดแตะแต้มบนแก้มหญ้า
-
ถ้าไล่เสียงวรรณยุกต์ของแต่ละพยางค์จะได้ดังนี้
ข้อ 1 สามัญ สามัญ ตรี
สามัญ เอก โท
จัตวา จัตวา
ข้อ 2 สามัญ สามัญ โท
จัตวา สามัญ เอก
สามัญ ตรี
ข้อ 3 ตรี ตรี เอก
เอก โท สามัญ
โท โท
ข้อ 4 โท เอก เอก
โท สามัญ ตรี
จัตวา
ข้อ 3 ยังขาดเสียงจัตวา
8. คำในข้อใดมีโครงสร้างพยางค์เหมือนกันทั้งสองคำ
ก. ตั้งร้าน
ค. คล่องแคล่ว
ข. ข้างขึ้น ง. ทรุดโทรม
ตอบ ค. คล่องแคล่ว หลักในการทำข้อนี้ใช้หลักเช็คจากเสียงพยัญชนะท้าย พยัญชนะต้น
วรรณยุกต์ และสระตามลำดับ (จำได้ไหม – ท้าย ต้น ดน สระ)
- ข้อ 1 ตั้ง – ร้าน มีโครงสร้างพยางค์ต่างกันที่เสียงวรรณยุกต์
“ตั้ง” วรรณยุกต์เสียงโท
“ร้าน” วรรณยุกต์เสียงตรี
- ข้อ 2 ข้าง - ขึ้น มีโครงสร้างพยางค์ต่างกันที่เสียงสระ
“ข้าง” เสียงสระยาว
“ขึ้น” เสียงสระสั้น
- ข้อ 4 ทรุด - โทรม มีโครงสร้างพยางค์ต่างกันที่เสียงวรรณยุกต์
“ทรุด” เสียงวรรณยุกต์ตรี “โทรม” เสียงวรรณยุกต์สามัญ
- ข้อ
3 คล่อง - แคล่ว
มีโครงสร้างพยางค์เหมือนกันหมดเพราะเสียงพยัญชนะท้ายทั้งคู่
เสียงพยัญชนะต้นเป็นควบแท้ทั้งคู่ วรรณยุกต์เสียงโทเหมือนกัน และเสียงสระสั้นทั้งคู่
9. คำที่มีเสียงซ้ำในข้อใดทำหน้าที่เป็นคำซ้ำ
ก. ความรู้รู้ยิ่งได้ สินทรัพย์ ค. แม่ลาลาลดไห้ หาศรี
ข. รอนรอนอ่อนแสงพระสุริยา ง. ยามคืนคืนทุกข์ทิ้ง กลางไพร
คำซ้ำ คือ คำที่รูป และความหมายเหมือนกันมารวมกัน
ข้อ 1 “รู้” เป็นคำพ้อง คำแรกเป็นนาม คำที่สองเป็นกริยา
ข้อ 2
“ลา” เป็นคนละคำ คำแรกเป็นกริยาของ“แม่” คำที่สอง
ไม่ใช่ กริยาของแม่
ข้อ
3 “คืน” เป็นคำพ้อง คำแรกหมายถึง กลางคืน คำที่สองเป็นกริยา(กลับคืน)
10. " ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสิ่งมีค่ายิ่ง จึงมีลิขสิทธิ์การคิดค้นประดิษฐกรรมใหม่ "
ข้อความข้างต้นมีคำสมาสและคำประสมอย่างละกี่คำ
ก. คำสมาส 1 คำ คำประสม 2 คำ ค. คำสมาส 3
คำ คำประสม 2 คำ
ข. คำสมาส 2 คำ คำประสม 1 คำ ง. คำสมาส 2 คำ คำประสม 2 คำ
ตอบ ข.
คำสมาส 2 คำ คำประสม 1 คำ
ข้อความนี้มีคำประสม 1
คำ คือ “ทรัพย์สินทางปัญญา”
คำสมาส 2 คำ คือ “ลิขสิทธิ์” และ “ประดิษฐกรรม”
ส่วน “คิดค้น” ถือเป็น
“คำซ้อน” จ๊ะ