1. การตรวจสอบภาษี หมายความว่า
ก. การตรวจสอบไต่สวนตามหนังสือเรียก
ข. การตรวจสอบการปฏิบัติการเกี่ยวกับการเสียภาษีสรรพสามิต
ค. การตรวจค้น อายัดตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
ความหมายของการตรวจสอบภาษีสรรพสามิต
การตรวจสอบภาษี หมายความว่า การตรวจสอบไต่สวนตามหนังสือเรียก การตรวจสอบการปฏิบัติการเกี่ยวกับการเสียภาษีสรรพสามิต และการตรวจค้น การยึดหรืออายัดตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. ๒๕๒๗
2. ข้อใดมิใช่ขั้นตอนในการเตรียมการตรวจสอบภาษีสรรพสามิต
ก. การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล
ข. การวางแนวทางการตรวจสอบภาษี
ค. การออกหนังสือเชิญเกี่ยวกับภาษีสรรพสามิต
ง. การออกหนังสือเตือนให้ปฏิบัติตามหนังสือเรียก
ตอบ ข. การวางแนวทางการตรวจสอบภาษี
ขั้นตอนการเตรียมการก่อนการตรวจสอบ มีดังนี้
๑. การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล
๒. การออกหนังสือเชิญเกี่ยวกับภาษีสรรพสามิต
๓. การขออนุมัติออกหนังสือเรียกและการออกหนังสือเรียก
๔. การออกหนังสือเตือนให้ปฏิบัติตามหนังสือเรียก
๕. การส่งหนังสือเชิญ หนังสือเรียก และหนังสือเตือนให้ปฏิบัติตามหนังสือเรียก
3. การย้าย การเลิกหรือโอนกิจการให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมแจ้งเลิกหรือโอนกิจการตามที่อธิบดีกำหนดจะต้องกระทำก่อนวันเลิกหรือโอนกิจการไม่น้อยกว่ากี่วัน
ก. ไม่น้อยกว่า ๕ วัน
ข. ไม่น้อยกว่า ๑๐ วัน
ค. ไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน
ง. ไม่น้อยกว่า ๒๐ วัน
ตอบ ค. ไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน
การย้าย การเลิก หรือการโอนกิจการ
การย้าย การเลิกหรือโอนกิจการให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมแจ้งเลิกหรือโอนกิจการ ตามแบบที่อธิบดีกำหนด (แบบ ภษ. ๐๑-๐๕) ณ สถานที่ที่จดทะเบียนสรรพสามิตก่อนวันเลิกหรือโอนกิจการไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน โดยให้คืนใบทะเบียนสรรพสามิตเดิมแก่เจ้าพนักงานสรรพสามิต (โทษปรับ มาตรา ๑๔๘ ปรับไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท)
4. เมื่อเสียภาษีมาพบพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกำหนดวัน เวลาที่นัดหมายในหนังสือเรียกจะต้องมีการตรวจสอบหนังสือมอบอำนาจ อาทิ การปิดอากรแสตม์ในหนังสือมอบอำนาจ ในกรณีที่มาให้ถ้อยคำครั้งเดียวจะต้องปิดอากรแสตมป์ตามข้อใด
ก. ปิดอากร ๑๐.๐๐ บาท
ข. ปิดอากร ๒๐.๐๐ บาท
ค. ปิดอากร ๓๐.๐๐ บาท
ง. ปิดอากร ๔๐.๐๐ บาท
ตอบ ก. ปิดอากร ๑๐.๐๐ บาท
การดำเนินการตรวจสอบภาษี
กรณีผู้เสียภาษีมาพบพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกำหนดวัน เวลาที่นัดหมายในหนังสือเรียก หนังสือเชิญ หรือหนังสือเตือนให้ปฏิบัติตามหนังสือเรียก พนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องพิจารณาก่อนว่าบุคคลนั้นเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี หรือเป็นผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือไม่ หรือกรณีเป็นผู้รับมอบอำนาจให้พิจารณาความสมบูรณ์ และความถูกต้องของหนังสือมอบอำนาจนั้นด้วย ดังนี้
(๑) ใช้หนังสือมอบอำนาจ ตามแบบ ภษ.๐๔-๐๖ หรือไม่ ถ้าไม่ใช่ขอให้พิจารณาสาระสำคัญในการมอบอำนาจซึ่งต้องครอบคลุมทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบภาษี
(๒) ต้องเป็นการมอบอำนาจจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนกิจการ หรือเจ้าของ
(๓) มีการลงลายมือชื่อของผู้มอบอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจและพยานอย่างครบถ้วน
(๔) การปิดอากรแสตมป์ และต้องมีการขีดฆ่าอากรแสตมป์ด้วยดังนี้
- กรณีมาให้ถ้อยคำครั้งเดียว ปิดอากร ๑๐.๐๐ บาท
- กรณีมาให้ถ้อยคำหลายครั้ง ปิดอากร ๓๐.๐๐ บาท
(๕) ความครบถ้วนของเอกสารที่แนบมาพร้อมกับหนังสือมอบอำนาจ ซึ่งประกอบด้วย
๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
๒) สำเนาทะเบียนบ้านของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
๓) หนังสือรับรองกระทรวงพาณิชย์ ลงวันที่ไม่เกิน ๖ เดือน กรณีเป็นนิติบุคคล
5. เมื่อผู้เสียภาษีมาพบพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกำหนดวัน เวลาที่นัดหมายในหนังสือเรียก แต่เป็นผู้รับมอบอำนาจให้พิจารณาความสมบูรณ์ และความถูกต้องของหนังสือมอบอำนาจจากสิ่งใด
ก. หนังสือมอบอำนาจ ตามแบบ ภษ.๐๔-๐๖
ข. การลงลายมือชื่อของผู้มอบอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจและพยานอย่างครบถ้วน
ค. เอกสารที่แนบมาพร้อมกับหนังสือมอบอำนาจ
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
ดูคำอธิบายข้อข้างต้น
6. ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. ๒๕๒๗ กำหนดให้ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบป้องกันและปราบปรามมีอำนาจหน้าที่ตามข้อใด
ก. มีอำนาจออกหนังสือเรียกผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้ทั่วราชอาณาจักร
ข. มีอำนาจออกหนังสือเรียกผู้มีหน้าที่เสียภาษีในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร
ค. มีอำนาจออกหนังสือเรียกผู้มีหน้าที่เสียภาษีในเขตท้องที่ที่รับผิดชอบของภาคนั้นๆ
ง. มีอำนาจออกหนังสือเรียกผู้มีหน้าที่เสียภาษีในเขตท้องที่ที่รับผิดชอบของพื้นที่นั้นๆ
ตอบ ก. มีอำนาจออกหนังสือเรียกผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้ทั่วราชอาณาจักร
ขอบเขตอำนาจในการออกหนังสือเรียก
ตามระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการตรวจสอบภาษีสรรพสามิต ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. ๒๕๒๗ ให้บุคคลต่อไปนี้มีอำนาจในการออกหนังสือเรียกเกี่ยวกับการตรวจสอบภาษีในท้องที่ที่รับผิดชอบ ดังนี้
๑. ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบป้องกันและปราบปราม มีอำนาจออกหนังสือเรียกผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้ทั่วราชอาณาจักร
๒. ผู้อำนวยการสำนักงานสรรพสามิตกรุงเทพมหานคร มีอำนาจออกหนังสือเรียกผู้มีหน้าที่เสียภาษีในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร
๓. ผู้อำนวยการสำนักงานสรรพสามิตภาค มีอำนาจออกหนังสือเรียกผู้มีหน้าที่เสียภาษีในเขตท้องที่ที่รับผิดชอบของภาคนั้นๆ
๔. สรรพสามิตกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑-๕ และสรรพสามิตพื้นที่ มีอำนาจออกหนังสือเรียกผู้มีหน้าที่เสียภาษีในเขตท้องที่ที่รับผิดชอบของพื้นที่นั้นๆ
7. ผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ในการออกหนังสือเรียกผู้มีหน้าที่เสียภาษีในเขตท้องที่ที่รับผิดชอบของพื้นที่นั้นๆ คือ
ก. ผู้อำนวยการสำนักงานสรรพสามิตกรุงเทพมหานคร
ข. สรรพสามิตพื้นที่
ค. กรมสรรพสามิตพื้นที่
ง. ผู้อำนวยการสำนักงานสรรพสามิตภาค
ตอบ ข. สรรพสามิตพื้นที่
ดูคำอธิบายข้อข้างต้น
8. ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ การแจ้งโดยวิธีส่งทางไปรษณีย์ตอบรับ ให้ถือว่าได้รับแจ้งเมื่อครบกำหนดกี่วันกรณีภายในประเทศ
ก. เจ็ดวันนับแต่วันส่ง
ข. สิบสี่วันนับแต่วันส่ง
ค. สิบห้าวันนับแต่วันส่ง
ง. ยี่สิบสองวันนับแต่วันส่ง
ตอบ ก. เจ็ดวันนับแต่วันส่ง
การส่งหนังสือเชิญ หนังสือเรียก และหนังสือเตือนให้ปฏิบัติตามหนังสือเรียก
พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๗๑ บัญญัติว่า “การแจ้งโดยวิธีส่งทางไปรษณีย์ตอบรับ ให้ถือว่าได้รับแจ้งเมื่อครบกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันส่งสำหรับกรณีภายในประเทศหรือเมื่อครบกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันส่งสำหรับกรณีส่งไปยังต่างประเทศ เว้นแต่จะมีการพิสูจน์ได้ว่าไม่มีการได้รับ หรือได้รับก่อนหรือหลังจากวันนั้น”
9. ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ การแจ้งโดยวิธีส่งทางไปรษณีย์ตอบรับ ให้ถือว่าได้รับแจ้งเมื่อครบกำหนดกี่วันกรณีต่างประเทศ
ก. เจ็ดวันนับแต่วันส่ง
ข. สิบสี่วันนับแต่วันส่ง
ค. สิบห้าวันนับแต่วันส่ง
ง. ยี่สิบสองวันนับแต่วันส่ง
ตอบ ค. สิบห้าวันนับแต่วันส่ง