ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ประกาศรับสมัครสอบคัดเลือกเป็นนายอำเภอ ประจำปี 2557
decho ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ประกาศรับสมัครสอบคัดเลือกเป็นนายอำเภอ ประจำปี 2557

แชร์กระทู้นี้

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ประกาศรับสมัครสอบคัดเลือกเป็นนายอำเภอ ประจำปี 2557

---รับสมัครตั้งเเต่วันที่ 20 มิย. - 18 กค. 57 
---รายละเอียดตามลิงค์นี้ 
http://person.dopa.go.th/web_dopaperson/upload/file_news/82225570611162801.pdf




จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบตำแหน่งนายอำเภอ

รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ

นโยบายกระทรวงมหาดไทย
สรุปแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11
แนวข้อสอบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.. 2534
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ..2551
แนวข้อสอบพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.. 2546

แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีการปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.. 2539
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.. 2539
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.. 2540
แนวข้อสอบประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
แนวข้อสอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่  โทร 085-0127724 Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย  ในราคาเพียงชุดละ   399 บาท 

หนังสือ ราคา
  679  บาท
หนังสือ + Mp3 บรรยายกฎหมาย 6 พรบ. ราคา  2500 บาท

กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ 
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 ธ.กสิกรไทย

 สาขาบิ๊กซีขอนแก่น ชื่อบัญชี เดโช  พระกาย  ออมทรัพย์ 
โอนเงินแล้วแจ้งที่ decho.by@hotmail.com

รูปภาพ: นายอำเภอ (Large).jpg 

หลักสูตรการสอบคัดเลือก

         1)  การสอบข้อเขียน  คะแนนเต็ม  200  คะแนน แบ่งเป็น ภาควิชา  ดังนี้

หมวด

เนื้อหา

1. ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป  ( 100 คะแนน )

1.1  หมวดนโยบายและ

      แผนการปฏิบัติราชการ

1.1.1 นโยบายรัฐบาล

1.1.2 นโยบายกระทรวงมหาดไทย

1.1.3 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 – 2554)

1.1.4 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

1.1.5 วาระแห่งชาติด้านจริยธรรม ธรรมาภิบาล และการป้องกันการทุจริตและประพฤติ   มิชอบในภาคราชการ

1.2  หมวดการบริหารราชการ

     แผ่นดิน

1.2.1 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.. 2534

1.2.2 พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.. 2535

1.2.3 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.. 2546

1.3  หมวดการปฏิบัติหน้าที่

     ราชการ

1.3.1 พระราชบัญญัติวิธีการปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.. 2539

1.3.2 พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.. 2539

1.3.3 พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.. 2540

1.4 หมวดความรู้เกี่ยวกับ

      กฎหมายทั่วไป

1.4.1 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

      - บรรพ หลักทั่วไป ลักษณะ 2 บุคคล หมวด 1 บุคคลธรรมดา

      - บรรพ หลักทั่วไป ลักษณะ 6 อายุความ

      - บรรพ ครอบครัว

 1.4.2 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

       - ภาค ข้อความเบื้องต้น ลักษณะ 1 หลักทั่วไป และ ลักษณะ 2 อำนาจพนักงานสอบสวนและศาล หมวด 1 หลักทั่วไป และหมวด 2 อำนาจสืบสวนและสอบสวน

       - ภาค 4 อุทธรณ์และฎีกา

1.5 หมวดหลักและทฤษฎี

    เกี่ยวกับการบริหาร

1.5.1 หลักสมรรถนะ (Competency) ในระบบราชการ

1.5.2 การคิดและการบริหารเชิงกลยุทธ์

1.5.3 การบริหารความรู้

1.5.4 การเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารราชการแผ่นดิน

1.5.5 การบริหารความเสี่ยง

1.6 หมวดแนวทางการปฏิบัติ

     งานของข้าราชการฝ่าย

     ปกครอง

1.6.1 นายอำเภอยุคใหม่ : นักปกครองมืออาชีพ

1.6.2 จากแนวคิดของอธิบดีสู่วิธีการทำงานของข้าราชการฝ่ายปกครอง

1.6.3 หลักการพูด มารยาทท

รูปภาพ: 1111.jpg
decho ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
กว่าจะเป็นนายอำเภอ
กว่าจะเป็นนายอำเภอ โดย สมบูรณ์โชค

เรื่องราวที่ถูกบันทึกไว้ใน ต่วย' ตูน กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๑
    เรื่องเก่าๆที่น่าอ่าน


           - ๑ -

            เมื่อเอ่ยถึงโรงเรียนนายอำเภอ ผมเชื่อมั่นว่าในแวดวงข้าราชการของกระทรวงมหาดไทย หรือไม่ก็ข้าราชการของกรมการปกครองคงคุ้นเคยชื่อดี (โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีความหวังจะเป็นนายอำเภอ)

            เมื่อหลายปีก่อน นักเขียนท่านหนึ่งของ ต่วย' ตู น เคยเขียนถึงการเรียนในโรงเรียนแห่งนี้บ้างแล้ว (นักเขียนท่านนั้นปัจจุบันท่านไม่ได้เป็นนายอำเภอแล้ว เพราะท่านมีตำแหน่งเป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ในปัจจุบัน ท่านคือ คุณอนันต์ แจ้งกลีบ (พ.ศ. ๒๕๓๑) ) ชาวบ้านย่านธัญบุรี คลองหก  นั้นรู้จักโรงเรียนแห่งนี้ดีพอสมควร เนื่องจากคุ้นเคยกับชุดกีฬ่าสีขาวที่วิ่งไปและร้องเพลงไป ปลุกชาวบ้านแถวนั้นให้ตื่นจากที่นอนในยามเช้าบ่อยๆ

            อันว่านิวาสถานของโรงเรียนนายอำเภอแห่งนี้ ตั้งอยู่ที่ ตำบลรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ขอโทษที่ตำบลรังสิตที่ว่านี้ไม่ใช่บริเวณที่เรียกว่าตลาดรังสิตแต่อย่างใด ตลาดรังสิตนั้นตั้งอยู่ในเขตตำบลประชาธิปัตย์ (ขอโทษอีกครั้ง ไม่ได้โฆษณาหาเสียงให้พรรคการเมืองแต่อย่างใด)  การเดินทางสู่โรงเรียนนายอำเภอนั้นต้องเดินจากตลาดรังสิตไปตามถนนสายรัง สิต-นครนายก อีก ๑๒ กิโลเมตร เลียบชายคลองรังสิตไปจนเห็นคำว่า วิทยาลัยการปกครองนั่นแหละ ก็เป็นอันถึงที่หมายโรงเรียนนายอำเภอ

            เริ่มชักจะงงกันแล้วใช่ไหม เพราะแรกเริ่มก็เขียนถึงโรงเรียนนายอำเภอ มาตอนนี้กลับเขียนถึงวิทยาลัยการปกครอง

            ก็ขอเฉลยกันแก้งงว่า โรงเรียนนายอำเภอนั้นเป็นหน่วยงานโรงเรียนหนึ่งของวิทยาลัยการปกครอง

            วิทยาลัยแห่งนี้มิได้แบ่งแยกการเรียนการสอนออกเป็นคณะ เหมือนวิทยาลัยที่ให้การศึกษาแห่งอื่นๆ แต่กลับแบ่งแยกเป็นโรงเรียนต่างๆ ๖ โรงเรียน คือ

            ๑. โรงเรียนนักปกครองระดับสูง (ชื่อตัวย่อว่า นปส.) แต่เดิมโรงเรียนนี้ผู้ที่จะเข้าเรียนได้จะต้องเป็นปลัดจังหวัด หรือไม่ก็รองผู้ว่าฯ คือ เรียนจบออกมาแล้วจะได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด แต่เนื่องจากว่าตำแหน่งว่างในแต่ละปีมีน้อย คนเข้าเรียนหลักสูตรนี้มีเยอะ ในระยะหลังผู้จบโรงเรียนนี้ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเพียงรองผู้ว่าฯแล้วก็ลดลง มาเป็นปลัดจังหวัด ระยะหลังๆนี้จบออกมาแล้วก็เป็นเพียงแค่นายอำเภอ  จนมีคำกล่าวว่า รับนายอำเภอซีเตี้ยเข้าเรียนเพื่อจบแล้วก็แต่งตั้งให้เป็นนายอำเภอซีสูงต่อ ไป

            โรงเรียนที่ ๒ คือ โรงเรียนนายอำเภอ มีชื่อเรียกย่อๆว่า นอ. (อ่านว่า นอ - ออ ไม่ใช่ นอเฉยๆ เพราะถ้าอ่านอย่างนั้นทำให้นึกไปถึงพวกนอแรดไปนั่น) โรงเรียนนี้ก็รับเข้าเรียนมาจากพวกตำแหน่งจ่าจังหวัด  (คนละพวกกับจ่าทหาร) , ปลัดอำเภอ ผู้ตรวจราชการส่วนท้องถิ่น ป้องกันจังหวัด เสมียนตราจังหวัด, ปลัดอำเภอ ผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ

            หลักสูตรโรงเรียนนายอำเภอนี้ เมื่อเรียนจบแล้วท่านก็จะแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งนายอำเภอ (ซีเตี้ย) ต่อไป แต่บางครั้งบางคราวก็ยังอาจจะไม่ได้เป็นนายอำเภอในทันที อย่างเช่น ใน ๒-๓ รุ่นหลังๆนี้ เรียนจบออกมาแล้ว ก็ยังต้องไปเป็นปลัดอำเภอก่อนอีกประมาณปีกว่าๆ ถึงจะเป็นนายอำเภอ

            พี่สมหวัง นักเรียนนายอำเภอรุ่นที่แล้วกล่าวเอาไว้ในวันรายงานตัวทันทีว่า "พวกเรา นอ.๒๗ นี้เตรียมตัวเตรียมใจได้เลยเรียนจบแล้วทางกรมมีอัตราว่างบรรจุให้ทันทีเลย ๖๐ ตำแหน่ง"

            "ตำแหน่งอะไรล่ะพี่"

            " ปลัดอำเภอซี ๗ ไง"

            โรงเรียนที่ ๓ คือ โรงเรียนปลัดอำเภอ โรงเรียนนี้จะดำเนินการฝึกวิทยายุทธให้กับพวกปลัดอำเภอที่ยังอ่อนวัยไม่แก่ วัด เพื่อให้ไปเป็นปลัดอำเภอที่ดี ฉะนั้นการฝึกฝนของโรงเรียนนี้จึงจัดอยู่ในลักษณะที่ว่าค่อนข้างเน้นความหนัก พอสมควร คือ เรียนหนัก วิ่งหนัก เล่นหนัก ฝึกหนัก ฉะนั้นจึงไม่มีปัญหาที่ว่าจะกินหนักและดื่มหนักด้วย

            ๓ โรงเรียนที่กล่าวถึงข้างต้น จะเป็นโรงเรียนที่ฝึกเฉพาะผู้ชายเท่านั้น ส่วนโรงเรียนนี้ที่จะเขียนถึงต่อไปมักจะมีผู้หญิงเรียนเป็นส่วนมาก นั่นคือ โรงเรียนข้าราชการฝ่ายปกครอง การฝึกอบรมของโรงเรียนนี้ในระยะหลังๆจะเป็นการฝึกในหลักสูตรเสมียนตราอำเภอ เป็นส่วนมาก  ที่สำคัญก็คือ ผู้เข้าเรียนส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิง มีผู้วิจัยไว้ว่า ในแต่ละรุ่นจะมีผู้เข้าเรียนเป็นหญิงร้อยละ ๙๐ เปอร์เซ็นต์ เมื่อมีหลักสูตรนี้เข้ามาอบรมเรียนทีไร บรรดาพวกที่เรียนหลักสูตร นปส., นอ.  รวมทั้งหลักสูตรปลัดอำเภอทั้งหลายต่างรู้สึกกระชุ่มกระชวยกันเป็นการใหญ่ บรรดาพวกที่ห่างบ้านห่างเมียมารู้สึกคึกคักกันทีเดียว  ห้องเรียนของหลักสูตรนี้มักจะมีแขกไปเยี่ยมเยียนเสมอ ซึ่งก้ไม่ใช่ใครหรอก บรรดาสิงห์เฒ่าสิงห์หนุ่มทั้งหลายเหล่านี้นี่เอง ข้ออ้างที่ใช้ในการเยี่ยมคือ เพื่อที่จะได้รู้จักกันไว้ ต่อไปอาจจะได้อยู่อำเภอเดียวกัน (มีหลายคนเลยไปถึงขั้นอยากให้ไปอยู่บ้านเดียวกันด้วย ถ้าไม่เกรงใจคนที่บ้าน)

           เนื่องจากโรงเรียนนี้หลักสูตรส่วนใหญ่จะมีสาวๆ เข้าเรียนนี่เอง พวกเราทั้งหลายจึงพร้อมใจกันเรียกผู้อำนวยการโรงเรียนนี้ว่า "ป๋า" โดยพร้อมเพรียงกัน (คำว่า "ป๋า" ในที่นี้จะเป็นป๋าโดยตำแหน่ง และขอยืนยันว่าไม่เกี่ยวกับป๋าคนอื่นๆ แต่อย่างใด)
  
         ยังมีโรงเรียนอีก ๒ โรงเรียน คือ โรงเรียนข้าราชการส่วนท้องถิ่น และโรงเรียนการป้องกันฝ่ายพลเรือนซึ่งจะขอยกยอดไปกล่าวถึงในคราวหลัง คราวนี้จะขอว่าถึงในส่วนที่เกี่ยวกับโรงเรียนนายอำเภอเสียที

            ในการเล่าเรียนในโรงเรียนนายอำเภอแต่ละรุ่นนั้น มีการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด ในรุ่นแรกๆนั้น เมื่อเริ่มตั้งโรงเรียนใหม่ๆ ใช้ระยะเวลาเรียนกันรุ่นละ ๑ ปีเต็มๆ ระยะหลังลดลงมา จนกระทั่งในปัจจุบันเรียนกันรุ่นละ ๗ เดือนแต็มๆ ซึ่งในการเรียนนั้นจะแบ่งเป็นการเรียนในห้องเรียนประมาณ ๕ เดือน ไปฝึกลูกเสือ ๑๐ วัน ดูงานตามภาคต่างๆทุกภาค และก็ไปดูงานต่างประเทศด้วย ประมาณ ๓๐ วัน ไปฝึก อส. อีก ๑ เดือน


            การที่จะเข้าเป็นนักเรียนนายอำเภอนั้น นักเรียนนายอำเภอรุ่นแรกๆ หลายท่านบอกว่าในยุคสมัยของท่านนั้นต้องถึงขั้นขอร้องให้เข้ามาเรียนกัน (เนื่องจากว่าในยุคแรกๆนั้นคนที่เข้าเรียนส่วนใหญ่จะเป็นนายอำเภอกันแล้ว) บางครั้งก็ต้องมีการขู่กันว่าถ้าไม่มาเข้าเรียนจะไม่แต่งตั้งให้เป็นปลัด จังหวัด

            นายอำเภอรุ่นอาวุโสท่านหนึ่งกล่าวให้ฟังว่า "สมัยผมเข้าโรงเรียนนั้น ทางกรมฯ ต้องมีหนังสือไปเรียนเชิญให้มาเข้าโรงเรียนกันเลยทีเดียว หนังสืออย่างเดียวไม่พอ มีทั้งโทรเลข โทรศัพท์ ไปสั่งผู้ว่าฯ ให้ลากตัวมาเข้าเรียนให้ได้ เพราะตอนนั้นผมเป็นนายอำเภอแล้วทางแถวชายแดนภาคอีสาน พอเรียนจบแล้ว กรมฯ ก็ปรารถนาดี ย้ายผมจากชายแดนอีสานมาเป็นนายอำเภอชายแดนกรุงเทพฯ คือ ที่พระประแดงได้ ๒ ปีย้ายผมมาอยู่ที่ป้อมปราบสตรีพ่าย (ท่านเรียกของท่านอย่างนั้นจริงๆ)

            ปัจจุบันท่านนักเรียนนายอำเภอรุ่นอาวุโสท่านนี้ เป็นข้าราชการระดับสูงของกรุงเทพมหานคร ผมเองก็ลืมถามท่านไปว่า ปัจจุบันท่านปราบสตรีพ่ายไปกี่รายแล้ว

            ผิดกับในยุคปัจจุบัน การเข้าเป็นนักเรียนนายอำเภอนั้น ค่อนข้างเป็นเรื่องที่ยากลำบากพอสมควร เพราะในแต่ละปี โรงเรียนนายอำเภอจะเปิดรับปีละ ๑ รุ่นๆละไม่เกิน ๖๐ คน แต่มีผู้ที่มีความประสงค์ต้องการเข้าเรียนถึงประมาณ ๗-๘๐๐ คน (อย่างรุ่นล่าสุดก็ ๗๕๖ คน) ดังนั้น ขั้นตอนการคัดเลือกจึงอยู่ในลักษณะที่ค่อนข้างสุดขีดและสุดโหดกันเลยทีเดียว

            กรรมวิธีในการคัดเลือกบุคคลที่จะเข้ามาเป็นศิษย์โรงเรียนนายอำเภอนั้น ท่านกำหนดไว้ว่าบุคคลที่จะมีสิทธิเข้าเรียนในโรงเรียนนายอำเภอนั้นต้องมี คุณสมบัติ คือ

            ๑. จะต้องเป็นข้าราชการระดับ ๖
            ๒. ได้รับเงินเดือนตั้งแต่ขั้น ๘,๐๕๕ บาทขึ้นไป
            ๓. เป็นข้าราชการกรมการปกครองมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒ ปี
            ๔. อายุไม่เกิน ๕๗ ปี
            ๕. ข้อนี้สำคัญมาก ระบุไว้ว่าเป็นชาย

            กรรมวิธีในการคัดเลือกแต่ละปีนั้น เริ่มด้วยการที่กรมการปกครองจะสำรวจและประกาศรายชื่อผู้ที่มีคุณสมบัติครบ ตามหลักเกณฑ์ในข้อทั้ง ๕ ข้างต้น ซึ่งจะต้องมีคุณสมบัติครบทั้ง ๕ ข้อ จะขาดข้อใดข้อหนึ่งไปไม่ได้เลย จากนั้นก็จะดำเนินการสอบข้อเขียนแล้วคัดเลือกผู้ที่ผ่านการสอบไว้ ๓๐ คน จากนั้นก็ดำเนินการสอบคัดเลือกผู้ที่มีพฤติกรรมและบุคลิกภาพที่เหมาะสมที่ สุดอีก ๓๐ คน รวมกันเป็น ๖๐ คน แล้วนำมาสอบสัมภาษณ์อีกครั้งเพื่อคัดเลือกเอาบุคคลที่เหมาะสมจริงๆเข้าเป็น "นักเรียนนายอำเภอ"

            นายอำเภอหลายท่านได้เคยบอกว่า "พี่เองนั้นมันสู้กับเค้าทางสายสอบไม่ได้ ก็ต้องพยายามหาทางสายคัดเลือก เช่นดูว่าตนเองปีนี้เงินเดือนเท่าไหร่ พยายามทำผลงานความดีความชอบให้มาก ระวังอย่าให้มีเรื่องทางวินัยเกิดขึ้น  ซึ่งเมื่อทำอย่างนี้ได้แล้ว ก็นำมาเทียบเคียงกับของเพื่อนฝูงที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดเดียวกัน ซึ่งถ้าหากดูแล้วเราพอมีความหวัง  ก็จะต้องนำไปเทียบพวกที่อยู่จังหวัดข้างเคียงอีกด้วย เรียกว่าหาข่าวข้อมูลกันอย่างเต็มที่ทีเดียว  ถ้าหากเปรียบเทียบดูแล้วสู้ไม่ได้ก็ต้องทำใจ และพยายามทำงานให้ดีต่อไป เพื่อที่ปีต่อไปมันจะเป็นโอกาสของเราบ้าง

            เฮ้อ กว่าจะเดินทางมาถึงขั้นนี้ได้ เหนื่อยจริงๆ

            - ๒ -


            วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๐ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐลงประกาศผลรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกและการสอบข้อเขียน เข้าโรงเรียนนายอำเภอ รุ่นที่ ๒๗ จำนวน ๖๐ คน และให้ผู้มีรายชื่อดังกล่าวไปสอบสัมภาษณ์ในวันที่ ๒๖-๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๐ ที่วิทยาลัยการปกครองฝ่ายฝึกอบรมและพัฒนา  อำเภอธัญบุรี ปทุมธานี

            การประกาศรายชื่อของหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวเป็นการดับความคิดฝันของคน จำนวนหกร้อยกว่าคนที่ไม่ผ่านการคัดเลือกในรอบแรกคราวนี้ ทำให้ความคิดฝันที่จะเห็นตนเองดำรงตำแหน่งนายอำเภอโดยเร็วนั้น จะต้องรอคอยไปอีกอย่างน้อย ๑ ปี เพราะต้องไปเตรียมตัวสอบใหม่ในปีหน้า

            สำหรับผู้ที่มีชื่อผ่านการสอบและผ่านการคัดเลือกในครั้งแรกจำนวน ๖๐ คนนั้น ก็ยังไม่อาจแสดงความดีใจให้กับตัวเองให้มากนัก เพราะยังมีขั้นตอนของการสอบอีกขั้นตอนหนึ่งคือ การสอบประเมินสัมภาษณ์ (กรมการปกครองใช้คำนี้) นั่นเอง

            กรรมวิธีการสอบประเมินสัมภาษณ์นั้นกรมการปกครองได้แจ้งให้ผู้เข้าสอบทราบว่า จะทำการสอบเพื่อดูบุคลิกภาพท่าทางและที่สำคัญที่สุดก็คือ มีการทดสอบสมรรถภาพร่างกายด้วย เพื่อที่จะคัดตัวบุคคลที่พิจารณาเห็นว่าไม่เหมาะสมตัดออกไปอีกบ้าง และหวังว่าจะได้แต่นายอำเภอที่มีบุคลิกที่ดีเด่นต่อไป

            จากการชี้แจงของกรมการปกครองที่แจ้งออกไปนี้สร้างอาการสั่นประสาทหวาดผวาแก่ ผู้ที่จะต้องเข้าสอบทั้ง ๖๐ คนนี้เป็นยิ่งนัก เพราะถ้าหากการสอบประเมินสัมภาษณ์ครั้งนี้ตนเองเกิดพลาดท่าเสียทีสอบไม่ผ่าน ในรอบนี้  ก็คงจะมีอาการประสาทรับประทานกันไปเลยแน่แท้ เหล้ายาปลาปิ้งที่เคยดื่มและกินกันบ่อยๆในช่วงนี้ก็จำต้องงดลง อดกลั้นกันเป็นการชั่วคราว เรียกได้ว่า เป็นการอดเปรี้ยว (ปาก) ไว้กินหวาน (ความจริงไม่ได้หวานแต่อย่างใด) กันนั่นเอง เพราะถ้าหากดื่มแล้วไปมีอาการขวางหูขวางตาชาวบ้าน พอดีพอร้ายอนาคตที่ยาวไกลก็จะมีอันหดสั้นลงเสียก่อนที่ได้เป็นนายอำเภอ มันก็จบลงเท่านั้นเอง

            สิ่งที่สำคัญที่สุดในช่วงระยะเวลาใกล้สอบเข้าโรงเรียนนายอำเภออีกเรื่อง หนึ่ง ก็คือ พึงระวังอย่าให้มีเรื่องจำพวกวินัย ถูกตั้งกรรมการสอบสวนในเรื่องต่างๆ เรื่องคดีอาญาคดีแพ่งทั้งหลายพึงระวังอย่าให้ตกเป็นจำเลยในช่วงนี้ โดยเฉพาะเรื่องชู้สาว อย่าให้มันพากันมารุมเร้าร้องทุกข์กันในช่วงนี้ก็แล้วกัน เพราะถ้าหากเกิดมีเรื่องขึ้นมาในช่วงนี้ละก็ ไอ้ความหวังความฝันที่เคยฝันไว้รับรองได้เลยว่าพัง และจบเกมส์กันแน่นอน

            ร่นพี่ผมคนหนึ่ง มีข่าวคราวขึ้นชื่อในเรื่องนี้ทุกคราวเมื่อถึงฤดูกาลสอบและคัดเลือกเข้า โรงเรียนนายอำเภอ ก็เนื่องจากปัญหาที่ตนเองแอบไปมีบ้านเล็กเอาไว้แล้วก็ทอดทิ้งคุณนายบ้านใหญ่ คุณนายบ้านใหญ่รู้ข่าวก็ยื่นคำขาดถ้า ถ้าไม่เลิกกับนังนั่นละก็ จะร้องเรียนถึงผู้ใหญ่ในกรมฯ และลงหนังสือพิมพ์ รุ่นพี่ผมคนนี้ยอมทำตามที่บ้านใหญ่ยื่นคำขาด ปรากฏว่าบ้านใหญ่ก็คืนดีกันไป ทีนี้ปรากฏว่าเรื่องมันไม่เงียบอย่างนั้นซีครับ บ้านเล็กซึ่งเป็นฝ่ายถูกตัดสัมพันธ์ไมตรีเป็นฝ่ายร้องเรียนขึ้นมา ทำหนังสือร้องเรียนถึงผู้ใหญ่ระดับจังหวัดระดับกรมกันเลย เล่นเอารุ่นพี่ผมปีนั้นมีเรื่องราวฉาวโฉ่และทำให้อดเข้าโรงเรียนนายอำเภอไป ปีแรกผ่านไป พอปีที่สอง พวกเล่นฟ้องศาลเป็นความทางอาญากันเลย เรียกได้ว่างานนี้กว่าจะจบเกมเล่นเอารุ่นพี่ผมคนนั้นจนกระทั่งเดี๋ยวนี้ก็ ยังไม่ได้เข้าโรงเรียนนายอำเภอกับเขาเลย

            ส่วนรุ่นพี่ผมอีกท่านหนึ่ง สมัยที่ท่านรับราชการเป็นปลัดอำเภออยู่ทางเมืองเหนือนั้น มีอยู่วันหนึ่งท่านเผลอไปลงนามอนุญาตให้ทำไม้ในเขตพื้นที่ป่าสงวนเข้า เรื่องมันเงียบไม่เคยมีเรื่องมาเลย จนกระทั่งรุ่นพี่ผมคนนั้นย้ายออกมาจากอำเภอนั้นไปแล้ว ย้ายไปอยู่ที่อื่นอีกหลายอำเภอ และจนกระทั่งมีสิทธิที่จะสอบเข้าโรงเรียนนายอำเภอ เรื่องมันเกิดแดงขึ้นมาก็เพราะว่ามีชาวบ้านร้องเรียน เรื่องนี้ปรากฏกลายเป็นเรื่องราวใหญ่โต ผลปรากฎว่างานนี้แรงมาก รุ่นพี่ผมคนนั้นแทนที่จะได้เข้าโรงเรียนนายอำเภอก็ต้องไปเข้าเรือนจำแทน

            ขอย้อนกลับเข้ามาถึงเรื่องการสอบสัมภาษณ์เข้าโรงเรียนนายอำเภออีกครั้ง ในเรื่องที่แจ้งให้ทราบว่ามีการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายด้วยนั้น ทำให้บรรดาผู้ที่จะต้องเข้าสอบทั้ง ๖๐ คนเร่งรีบดำเนินการฟิตตัวเองอย่างเร่งด่วนเท่าที่เวลาจะมีอำนวยให้เลยที เดียว  ปรากฏว่ามีหลายท่านที่อุดมไปด้วยไขมันบางท่านอาจจะลืมไปแล้วว่า "เอว" ของตนเองเคยมีลักษณะอย่างไร  บางท่านก็ฟิตซ้อมจนลืมสภาพสังขารของตนเอง คิดไปว่าเป็นการฟิตซ้อมเตรียมไปแข่งโอลิมปิคไปโน่น จากการที่ซ้อมจนกระทั่งไม่เจียมสังขารนั้น หลายท่านลูกเมียต้องขู่ว่าอย่าซ้อมให้มากนัก เพราะเดี๋ยวจะไม่ได้เข้าโรงเรียนนายอำเภอ จะต้องเข้าโรงพยาบาลหรือไม่ก็เข้าไปนอนที่วัดแทน ซึ่งจะก่อความเดือดร้อนแก่ลูกเมียเป็นอย่างยิ่ง

            เช้าวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๐ บริเวณอาคารโรงเรียนนักปกครองระดับสูง (สถานที่สอบ) คึกคักตั้งแต่เวลาก่อน ๑๖.๐๐ น. ทั้งนี้เพราะกรรมการสอบฝ่ายจัดสถานที่สอบ ผู้เข้าสอบและกองเชียร์ (คือบรรดาเมียที่ขับรถมาส่งผัวเข้าสอบนั่นแหละ) ต่างเตรียมตัวกันมาพร้อม ผู้เข้าสอบทุกคนพร้อมใจกันแต่งเครื่องแบบราชการกันมาโดยมิได้นัดหมายกันเลย เครื่องราชอิสรยาภรณ์แถบเข็มเครื่องหมายป้ายชื่อ หัวเข็มขัด ได้รับการขัดสีฉวีวรรณกันอย่างเอี่ยมอ่องเต็มที่ เพื่อหวังจะให้เป็นที่ต้องตาต้องใจแก่ท่านกรรมการสอบสัมภาษณ์ ซึ่งหมายถึงว่าคะแนนที่จะได้ก็มีโอกาสมากขึ้น

            คณะกรรมการประเมินสัมภาษณ์นั้น ก็ประกอบด้วยตัวอธิบดีกรมการปกครองเป็นประธาน นอกจากนั้นก็มีรองอธิบดีทั้ง ๓ คน ผู้อำนวยการกองอัตรากำลังและส่งเสริมสมรรถภาพ ผู้อำนวยการกองต่างๆ ตลอดจนหัวหน้าฝ่ายในกองอัตรากำลัง ฯ เรียกได้ว่าเตรียมกันมาเพียบพร้อมเพื่องานนี้โดยเฉพาะเลยทีเดียว

            การประเมินสัมภาษณ์นั้น นอกจากจะใช้เวลายืดเยื้อยาวนานถึงสองวันเพี่อเป็นการเขย่าขวัญสั่นประสาทกัน แล้ว กรมฯ ยังบังคับให้ผู้เข้าสอบนอนพักในที่เดียวกัน  คือที่อาคารสถานที่สอบ และตัวคณะกรรมการก็นอนพักกันที่นั่นด้วย เรียกได้เลยว่างานนี้เอากันหนักหน่วงเลยทีเดียว

            กรรมวิธีในการสัมภาษณ์นั้น มีทั้งการให้ตอบคำถาม วิจารณ์หนังสือ เขียนบทความ พูดในที่ชุมชน ทดสอบสมรรถภาพร่างกายโดยการวิ่ง แล้วที่ทำให้ค่อนข้างทรมานใจกันอย่างยิ่งก็คือ มีการจัดงานเลี้ยงต้อนรับผู้เข้าสอบในคืนวันแรกด้วย ปรากฏว่ารายการนี้เป็นการทรมานใจพวกคอทองแดง เพราะว่าเห็นขวดเหล้าตั้งวางอยู่แล้วไม่กล้าดื่มกัน เนื่องจากเกรงว่าคณะกรรมการประเมินสัมภาษณ์จะให้คะแนนตกเอา

            นักเรียนนายอำเภอหลายท่านมาบ่นเอาทีหลังว่า "ประสาทพี่เครียดเอามากๆ ก็เมื่อตอนมาสอบสัมภาษณ์นี่แหละ ๒ วันที่มาอยู่นี่กินก็กินไม่ได้ ถ่ายก็ถ่ายไม่ออก เล่นเอาท้องผูกกันไปเลยทีเดียว คำถามคำตอบแต่ละครั้งค่อนข้างเกร็งกันพอสมควร ยิ่งตอนงานเลี้ยงนั่นยิ่งหนักใหญ่ คิดดูซิว่าขวดเหล้าตั้งวางอยู่ตรงหน้าไม่กล้าดื่มเลย จะหลบหน้านายขึ้นไปนอนบนห้องก่อนก็ไม่ได้ เพราะท่านเล่นประกาศบังคับให้ผู้เข้าสอบอยู่ในงานเลี้ยงทุกคนเสียด้วย เล่นเอาพี่อึดอัดแทบแย่"

            ในการสอบวิ่งนั้น มีการกำหนดระยะทางวิ่งเอาไว้ ๑ กิโลเมตร ให้วิ่งภายในเวลา ๗ นาที ก็ปรากฏว่ารายการนี้นักวิ่งส่วนใหญ่ที่เคยฟิตซ้อมกันมาอย่างเต็มที่นั้นเกิด อาการเกรงกลัวศักดิ์ศรีกัน เลยมีมติตกลงกันว่าแต่ละกลุ่มที่วิ่งนั้นจะต้องวิ่งเกาะกลุ่มกันให้ตลอด  เพื่อจะได้เข้าเส้นชัยพร้อมกันและคะแนนจะไม่ต่างกันมากนัก แต่ถึงแม้จะฮั้วกันอย่างนี้แล้ว บางคนก็ยังมีปัญหาจนได้ เช่น รายของพี่สมหวัง ซึ่งมีบุคลิกลักษณะส่วนสัด ๔๐-๕๐-๔๐ คือรูปร่างอ้วนมาก พี่สมหวังถึงกับเดินบ่นอุบออกมาจากสนามเมื่อวิ่งเสร็จว่า

            "ไอ้ห่ - ไม่รู้มันจัดยังไงของมัน พี่ถึงโดนไปวิ่งกับไอ้กลุ่มพวกที่มันผอมๆกันทั้งนั้นเลย ไล่ตามแม่ -มันกว่าจะทัน แทบตาย"

            ๑๖.๐๐ น. ของวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๐ ภายในห้องเรียงของอาคาร นปส. เวลาที่ระทึกใจก็มาถึง ท่านอธิบดีกรมการปกครองรับซองประกาศผลการสอบจากคณะกรรมการประเมินสัมภาษณ์ แล้วประกาศว่า


            "น้องๆ นักปกครองที่รักทั้งหลาย กรมการปกครองขอประกาศให้ทราบว่าการสอบสัมภาษณ์ครั้งนี้ ไม่มีใครสอบตกเลย ขอให้น้องๆ ทุกคนกลับไปบ้านเตรียมเก็บข้าวของมาเข้าโรงเรียนได้"

            ไชโย ได้เป็นนักเรียนนายอำเภอกันแล้ว....
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้