1.พ.ร.บ. ให้ไว้เมื่อใด และมีผลใช้บังคับเมื่อไหร่
ตอบ ให้ไว้วันที่ 8/11/2542 ให้ใช้บังคับวันถัดจากที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ปีที่ 54 ในรัชกาล
2. ใครรักษาการณ์ตาม พ.ร.บ. นี้ และมีอำนาจเช่นไร
ตอบ ม. 5 ให้ประธาน ป.ป.ช. รักษาการ์ณตาม พ.ร.บ.นี้ และมีอำนาจ ออก ประกาศ หรือ ระเบียบ กับ
แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยความเห็นชอบของ คณะกรรมการ ป.ป.ช.
3. ประกาศ / ระเบียบ ใช้บังคับได้เมื่อไหร่
ตอบ ประกาศ / ระเบียบมีผลเมื่อ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
4. คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีกี่คน ใครแต่งตั้ง และแต่งตั้งตามคำแนะนำของใคร
ตอบ ป.ป.ช. มี 9 คน ประธาน 1 กรรมการ 8 King แต่งตั้งตามคำแนะนำของ วุฒิสภา
5. ใครเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการ
ตอบ ประธานวุฒิสภา
6. ใครเป็นกรรมการสรรหา คณะกรรมการ ป.ป.ช.บ้าง
ตอบ ประธานศาลฏีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทน
และ ผู้นำฝ่ายค้าน
7. กระบวนการสรรหาทำอย่างไร และต้องยื่นเสนอแก่ใคร
ตอบ เลือกบุคคลที่มีความเหมาะสม โดยใช้มติ 2ใน 3 ของกรรมการสรรหา โดยการลงคะแนนโดย
เปิดเผย เมื่อได้รายชื่อครบทั้ง 9 คนแล้ว จัดทำบัญชีรายชื่อ ยื่นต่อประธานวุฒิสภา ภายใน
30 วัน นับแต่วันที่มีเหตุให้ต้องเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว
8. ถ้ากรรมการสรรหาในตำแหน่งใด ไม่มีหรือไม่สามารถปฎิบัติหน้าที่ได้ ทำอย่างไร
ตอบ ถ้าเหลืออยู่ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการสรรหา ให้คณะกรรมการสรรหาประกอบ
ด้วยกรรมเท่าที่เหลืออยู่
9. ถ้าสรรหาไม่ได้ภายในกำหนด 30 วัน ทำอย่างไร
ตอบ ให้ที่ ประชุมใหญ่ศาลฎีกา แต่งตั้งผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษา
ศาลฎีกา จำนวน 3 คน และ ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดแต่งตั้งตุลาการปกครองสูงสุด
จำนวน 2 คน เป็นกรรมการสรรหาแทน กรรมการชุดเดิม
10. เมื่อรายชื่อผู้ได้รับเลือกมาถึงประธานวุฒิแล้ว ประธานต้องทำอย่างไร
ตอบ ประธานวุฒิสภาต้องเรียกประชุมวุฒิสภา ภายใน 30 วันนับแต่ได้รับรายชื่อ เพื่อลงมติให้ความ
เห็นชอบ โดยการลงมติให้ใช้วิธีลงคะแนนลับ
11. ถ้าวุฒิสภาไม่เห็นชอบในรายชื่อใด ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้ทำอย่างไร
ตอบ ให้ส่งรายชื่อนั้นกลับไปยังคณะกรรมการสรรหาพร้อมด้วยเหตุผลเพื่อให้ดำเนินการสรรหา
ใหม่
12. ถ้ากรรมการสรรหาไม่เห็นด้วยกับวุฒิสภา ทำอย่างไร
ตอบ ต้องมีมติยืนยันเป็นเอกฉันท์ และให้ส่งรายชื่อนั้นให้ประธานวุฒิสภาเพื่อนำความกราบบังคม
ทูลแต่งตั้งต่อไป
13. ถ้ามติยืนยันไม่เอกฉันท์ต้องทำอย่างไร
ตอบ ถ้ามติไม่เอกฉันท์ ให้เริ่มกระบวนการสรรหาใหม่ ซึ่งต้องดำเนินการให้เสร็จภายใน 30 วัน
14. การเลือกประธาน ป.ป.ช. ต้องทำอย่างไร
ตอบ ให้ผู้ได้รับเลือกเลือกกันเอง แล้วแจ้งให้ประธานวุฒิสภาทราบ
15. คณะกรรมการ ป.ป.ช. ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
ตอบ ต้องมีคุณสมบัติตาม ม.9 ไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม ม.10 และไม่ฝ่าฝื่น ม.11
16. ถ้ากรรมการผู้ได้รับเลือก เป็นบุคคลตาม ม.11 ต้องทำอย่างไรก่อนเข้ารับตำแหน่ง
ตอบ ต้องลาออกจากตำแหน่งนั้นๆภายใน 15 วันแน่แต่ได้รับเลือก
17. ถ้ากรรมการผู้ได้รับเลือกไม่ลาออก จากการเป็นบุคคล ตาม ม.11 ภายใน 15 วันผลเป็นอย่างไร
ตอบ ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยได้รับเลือก หรือได้รับความเห็นชอบให้เป็นกรรมการ และให้ดำเนินการ
สรรหาใหม่ภายใน 30 วัน
18. กรรมการมีวาระการดำรงตำแหน่งได้กี่ปี และ กี่วาระ
ตอบ ดำรงตำแหน่ง 9 ปี นับแต่วันที King แต่งตั้ง และดำรงตำแหน่งได้ วาระเดียว
และถ้าพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ต้องปฎิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการใหม่จะเข้ารับหน้าที่
19. นอกจากหมดวาระแล้วจะพ้นตำแหน่งได้ในกรณีใดบ้าง
ตอบ 1. ตาย 2. 70 ปีบริบูรณ์ 3. ลาออก 4.ขาดคุณสบัติ ม.9 / มีลักษณะต้องห้าม ม.10
5.ฝ่าฝื่น ม.11 6.วุฒิสภมีมติให้พ้นจากตำแหน่ง 7.ต้องคำพิพากษาให้จำคุก
20. ถ้ามีกรณี ตามข้อ 19 ต้องหาคนมาทดแทนไหม
ตอบ ให้กรรมการที่เหลือปฎิบัติหน้าที่ต่อไปได้ โดยให้ถือว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. ประกอบด้วย
กรรมการเท่าที่มีอยู่ และให้ดำเนินการสรรหาใหม่ ภายใน 30 วัน
21. ถ้ามีเหตุให้ต้องสรรหา ป.ป.ช.แต่อยู่นอกสมัยประชุมของรัฐสภา ทำอย่างไร
ตอบ รอจนกว่าจะเปิดสมัยประชุม และสรรหาให้เสร็จภายใน30 วัน นับแต่เปิดประชุม
22. กรรมการ ป.ป.ช.ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของใครบ้าง และยื่นต่อใคร และยื่นเมื่อไหร่
ตอบ ยื่นบัญชีทรัพย์สินของ ตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ รวมถึงทรัพย์สินที่มอบหมาย
ให้อยู่ในความครอบครองหรือดูแลของบุคคลอื่นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
โดยยื่นต่อ ประธานวุฒิสภา เมื่อเข้ารับตำแหน่ง และ พ้นจากตำแหน่ง
23. บัญชีทรัพยสินที่ยื่นต่อประธานวุฒิสภาจะเปิดเผยได้หรือไม่
ตอบ ไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีที่ประธานวุฒิสภาจัดให้มีการตรวจสอบบัญชี หรือ เพื่อประโยชน์ในการ
พิจารณาพิพากษาคดีหรือการวินิจฉัยชี้ขาดและได้รับการการร้องขอจากศาล หรือผู้มีส่วนได้เสีย
หรือคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หรือ กรณีที่เจ้าของบัญชียินยอมให้มีการเปิดเผย
24. การเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินทำอย่างไร
ตอบ ให้ประธานวุฒิสภาประกาศในราชกิจจานุเบกษา
25. ใครบ้างมีสิทธิร้องขอให้วุฒิสภามีมติให้ ป.ป.ช.พ้นจากตำแหน่งได้ และร้องขอได้ในกรณีใดบ้าง
ตอบ 1. ส.ส. จำนวนไม่น้อยกว่า 1ใน 4 ของจำนวน ส.ส.ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ( 125 คน )
2. ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า20,000 คน
ร้องขอได้ในกรณีต่อไปนี้
1. กรรมการผู้ใดขาดความเที่ยงธรรมจงใจฝ่าฝื่นรัฐธรรมนูญ หรือ กฎหมาย หรือ
2. มีพฤติการ์ณที่เป็นการเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของการดำรงตำแหน่งอย่างร้ายแรง
26. คำร้องดังกล่าวต้องยื่นกับใคร และหากผิดจริงต้องใช้คะแนนเสียงเท่าใดจึงจะพ้นจากตำแหน่ง
ตอบ คำร้องต้องยื่นกับประธานวุฒิสภา
ต้องใช้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3ใน 4 ของจำนวน ส.ว.ที่มีอยู่ (113 คน)
27. กรณี ป.ป.ช.ร่ำรวยผิดปกติ ใครเป็นผู้ร้องขอ และร้องขอกับใคร ยื่นผ่านใคร
ตอบ ส.ส. , ส.ว. หรือ สมชิกของทั้งสองสภามีจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ในห้า ของจำนวนสมาชิกที่มีอยู่
ของทั้งสองสภา ( 130 คน )โดยคำร้องดังกล่าว ต้องระบุพฤติการ์ณที่กล่าวหาเป็นข้อๆให้ชัดเจน
และ ยื่นคำร้องต่อประธานวุฒิสภา เมื่อประธานวุฒิสภาได้คำร้องแล้ว ให้ส่งคำร้องดังกล่าว
ไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อพิจารณาพิพากษา
28. ถ้าศาลฎีกาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำสั่งรับคำร้อง ผลเป็นอย่างไร
ตอบ กรรมการผู้นั้นจะปฎิบัติหน้าที่ระหว่างนั้นไม่ได้ จนกว่าจะมีคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดี
อาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้ยกคำร้องดังกล่าว
29. ประธานศาลฎีกาและประธานศาลปกครองสูงสุดจะแต่งตั้งบุคคลมาเป็นกรรมการชั่วคราวได้ต่อเมื่อ
ตอบ มีกรรมการเหลืออยู่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
30. เมื่อมีคำสั่งยกคำร้องแล้ว ผลเป็นอย่างไร
ตอบ 1. กรณีมีบุคคลมาทำหน้าที่แทน ให้บุคคลนั้นหมดหน้าที่
2. กรรมการที่หยุดการปฎิบัติหน้าที่มีสิทธิได้รับเงินเดือน เงินประจำแหน่ง และประโยชน์อื่น
ในระหว่างที่ยุติการปฎิบัติหน้าที่นั้น เต็มจำนวน
31. อำนาจหน้าที่ ของ ป.ป.ช. มีอะไรบ้าง
ตอบ มีอำนาจตามมาตรา 19. ม.25 และหากเป็นการดำเนินคดีอาญาตาม พ.ร.บ.นี้ ก็มีอำนาจตาม ม.26
อีกด้วย (อ่านเองน่ะ 5 5 5 +)
32. ต้องมีกรรมการจำนวนเท่าใดมาประชุม จึงจะครบองค์ประชุม
ตอบ ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
33. การนัดประชุมต้องทำอย่างไร และใครเป็นผู้กำหนด
ตอบ การประชุมให้เป็นไปตาม ระเบียบการที่ คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด
การนัดประชุม ต้องทำเป็นหนังสือ และ แจ้งให้กรรมการทุกคนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วัน
34. จะไม่ทำเป็นหนังสือได้หรือไม่ และไม่แจ้งล่วงหน้า 3 วันได้หรือไม่
ตอบ ได้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วน ประธานกรรมการจะนัดประชุมเป็นอย่างอื่นก็ได้
35.ใครเป็นผู้มีอำนาจ ออกคำสั่ง เพื่อรักษาความเรียบร้อยในการประชุม ตามความจำเป็นได้
ตอบ ประธาน ป.ป.ช
36. ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมทำอย่างไร
ตอบ ให้กรรมการที่มาประชุม เลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธาน
37. การลงมติในการวินิจฉัย หรือ ให้ความเห็นชอบตาม พ.ร.บ.นี้ ให้ใช้คะแนนเสียงอย่างไร
ตอบ ให้ถือเสียงข้างมากของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
38. ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ทำอย่างไร
ตอบ ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
39. ถ้ามีความเห็นแย้งในการประชุมต้องทำอย่างไร
ตอบ ให้บันทึกความเห็นแย้งพร้อมทั้งเหตุผลไว้ในรายงานการประชุม
40 การปฎิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.บ. นี้ ใครมีฐานะใด
ตอบ ประธาน ป.ป.ช ,กรรมการ เป็นเจ้าพนักงานในการยุติธรรมตามกฎฆมาย
อนุกรรมการ พนักงานไต่สวน พนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นเจ้าพนักงานตาม ป.อาญา
41. ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต้องยื่นบัญชีของใครบ้าง และยื่นเมื่อไหร่บ้าง
ตอบ ยื่น ของ ตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ โดยแสดงรายการให้รวมทั้งทรัพย์สิน
และหนี้สินในต่างประเทศ และที่ได้มอบหมายให้ผู้อื่นครอบครองหรือดูแลแทนด้วย
โดยยื่นดังต่อไปนี้
1. ยื่นภายใน 30 วัน นับแต่เข้ารับตำแหน่ง
2. ยื่นภายใน 30 วันนับแต่พ้นจากตำแหน่ง
3. กรณีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตายในระหว่างดำรงตำแหน่งหรือก่อนยื่นหลังพ้น
จากตำแหน่ง ให้ทายาท ผู้จัดการมรดกยื่น ภายใน 90 วันนับแต่ตาย
4. ถ้าเป็น นายก รมต. ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
พ้นจากตำแหน่ง ต้องยื่น เมื่อครบ 1 ปี นับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่งอีกครั้ง ภายใน 30 วันนับแต่
ครบ 1 ปี
42. ถ้า ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจงใจไม่ยื่นภายในเวลาที่กำหนด หรือ จงใจยื่นด้วยข้อความอันเป็นเท็จ
หรือ ปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ ป.ป.ช. ต้องทำอย่างไร
ตอบ เสนอเรื่องให้ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
43. เมื่อศาลฎีกาฯวินิจฉัยแล้วมีผลอย่างไร
ตอบ ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งในวันที่ศาลฎีกาวินิจฉัย และห้ามมิให้ผู้นั้นดำรงตำแหน่งทางการเมือง
หรือดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมือง เป็นเวลา 5 ปี นับแต่มีคำวินิจฉัย ถ้าออกก่อนมีคำวินิจฉัย
หรือก่อน ป.ป.ช. รู้ 5 ปีนับแต่วันที่ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่ง
44. บัญชีทรัพย์สินของใครบ้างที่ต้องเปิดเผนให้สาธารณชนทราบ และต้องเปิดเผนภายในกี่วัน
ตอบ นายกรัฐมนตรี ส.ส. ส.ว. ไม่เกิน 30 วันนับแต่ครบกำหนดยื่น
45. บัญชีทรัพย์สินของผู้ดำรงตำแหน่งอื่นจะเปิดเผยได้ไหม
ตอบ ไม่ได้ เว้นแต่เพื่อประโยชน์ในการ พิจารณาพิพากษาคดีหรือการวินิจฉัยชี้ขาดและ
ได้รับการการร้องขอจากศาล หรือผู้มีส่วนได้เสีย หรือคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
หรือ กรณีที่เจ้าของบัญชียินยอมให้มีการเปิดเผย
46. การเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินทำอย่างไร
ตอบ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด โดยคำนึงถึงการคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคลด้วย
47.กรณียื่นบัญชีทรัพย์สินเพราะเหตุพ้นจากตำแหน่งหรือตาย ป.ป.ช. ต้องทำอย่างไร
ตอบ ตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินแล้วจัดทำรายงานผลการตรวจสอบ และประกาศ
รายงานผลการตรวจสอบดังกล่าว ในราชกิจจานุเบกษา !!!รายงานผลตรวจ ไม่ใช่บัญชีน่ะ!!!
48. กรณีผู้ดำรงตำแหน่งพ้นจากตำแหน่ง / ตาย จงใจไม่ยื่นบัญชี ป.ป.ช. ทำอย่างไร
ตอบ ป.ป.ช. มีอำนาจตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินและหนี้สิ้นของผู้ดำรงตำแหน่งทาง
การเมืองได้ โดยไม่ต้องอาศัยบัญชีที่จะต้องยื่น โดยเปรียบเทียบกับบัญชีที่ยื่นตอนเข้าดำรงตำแหน่ง
แล้วจัดทำผลรายงานการตรวจสอบและประกาศรายงานผลการตรวจสอบในราชกิจจานุเบกษา
!!! ระวัง ใช้กับ พ้นตำแหน่ง และ ตาย ไม่ใช่กับ พ้นแล้ว 1 ปีน่ะ !!!
49. การตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินเพื่อพิสูจน์ความถูกต้องและความมีอยู่จริง หรือการตรวจสอบความเปลี่ยน
แปลงของทรัพย์สิน จะกระทำได้เมื่อใด
ตอบ เมื่อได้ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินแล้ว
50. หากผู้ยื่นบัญชีทรัพย์สินมีพฤติการ์ณหรือมีเหตุอันควรสงสัยเกี่ยวกับการได้มาซึ่งทรัพย์สินและหนี้สินรายการ
ใดโดยไม่ชอบ หรือมีพฤติการ์ณอันควรเชื่อได้ว่าจะมีการ โอน ยัก ย้าย แฟรสภาพ หรือ ซุกซ่อนทรัพย์สิน หรือ
ปรากฎว่ามีการถือครองทรัพย์สินแทน อันมีลักษณะเป็นการมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ ป.ป.ช. มีอำนาจอย่างไร
ตอบ ป.ป.ช. อำนาจดำเนินการตรวจสอบธุรกรรมทางการเงินหรือการได้มาซึ่งทรัพย์สินนั้นได้
เพื่อร้องขอให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดิน โดยมีอำนาจเรียกข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรม
ทางการเงินของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชี จาก สำนักงานป้องกันและปราบปรามการ
ฟอกเงิน หรือ สถาบันการเงิน และผู้มีหน้าที่รายงานการทำธุรกรรมทางการเงิน แต่ในกรณีจำเป็น
เพื่อการตรวจสอบความถูกต้องและความมีอยู่จริง ให้ ป.ป.ช. สามารถใช้อำนาจของคณะกรรมการ
ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและคณะกรรมการธุรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและ
ปราบปรามการฟอกเงินได้ด้วย นอกจากนี้ยังมีอำนาจ ตาม ม. 25(1 - 3) และ ม.25/1 ด้วย