แนวข้อสอบพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒
1. ระเบียบฉบับนี้ให้ประกาศยกเลิกระเบียบฉบับใด
ก. พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.
๑๔๗๘
ข. พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๐๔
ค. ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑๙๒ ลงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๕
ง. พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างในเขตเกิดเพลิงไหม้
พ.ศ. ๒๓๗๗
ตอบ ค.
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑๙๒
ลงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๕
มาตรา ๓ ให้ยกเลิก
(๑) พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.
๒๔๗๙
(๒) พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๐๔
(๓) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑๙๒ ลงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๕
(๔) พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างในเขตเพลิงไหม้
พ.ศ. ๒๔๗๖
(๕) พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างในเขตเกิดเพลิงไหม้
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๙๖
2. ผู้รักษาการตามระเบียบฉบับนี้คือใคร
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ข. ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ค. อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
ง. ผู้ว่าราชการจังหวัด
ตอบ ก.
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
มาตรา ๔ ในพระบัญญัตินี้
“รัฐมนตรี” หมายความว่า
รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง
(๑) กำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ หรือยกเว้นค่าธรรมเนียม
(๒) กำหนดแบบคำขออนุญาต ใบอนุญาต
ใบรับรอง ใบแทน
ตลอดจนแบบของคำสั่งหรือแบบอื่นใดที่จะใช้การปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
(๓) กำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น
เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
3. นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระแล้ว
กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจะสามารถพ้นจากตำแหน่งได้ในกรณีใด
ก. ลาออก
ข. รัฐมนตรีให้ออก
ค. เป็นบุคคลล้มละลาย
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.
ถูกทุกข้อ
มาตรา ๑๖ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตาม มาตรา
๑๕
กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่ง
เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) รัฐมนตรีให้ออก
(๔) เป็นบุคคลล้มละลาย
(๕) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๖) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
4. พระราชบัญญัติฉบับนี้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาวันที่เท่าใด
ก. วันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๒
ข. วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๒
ค. วันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๒
ง. วันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๒
ตอบ ข.
วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๒
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา และจะใช้บังคับในท้องที่ใด มีบริเวณเพียงใด ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
“สำหรับเขตท้องที่ที่ได้มีการประกาศให้ใช้บังคับผังเมืองรวมตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองหรือเขตท้องที่ที่ได้เคยมีการประกาศดังกล่าว
ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้บังคับตามเขตของผังเมืองรวมนั้น โดยไม่ต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
สำหรับอาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารชุมนุมคนและโรงมหรสพ
ให้ใช้บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้บังคับไม่ว่าท้องที่ที่อาคารนั้นตั้งอยู่จะได้มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้หรือไม่ก็ตาม”
(มาตรา ๒ “วรรคสองและวรรคสาม”
เพิ่มเติม โดย พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๓ มาตรา ๔)
(*ประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษา ๙๖/๘๐/๑พ วันลงราชกิจจานุเบกษา ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๒)
5. ผู้ใดมิได้รื้อถอนอาคารตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม
มาตรา 42
โดยมิได้อยู่ในระหว่างการอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ต้องระวางโทษตามข้อใด
ก. จำคุกไม่เกินสองเดือน
ข. จำคุกไม่เกินสี่เดือน
ค. จำคุกไม่เกินหกเดือน
ง. จำคุกไม่เกินแปดเดือน
ตอบ ค.
จำคุกไม่เกินหกเดือน
“มาตรา 66 ทวิ
ผู้ใดมิได้รื้อถอนอาคารตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม มาตรา 42
โดยมิได้อยู่ในระหว่างการอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นอกจากต้องระวางโทษตามวรรคหนึ่งแล้ว ผู้ฝ่าฝืนยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกินสามหมื่นบาท
จนกว่าจะได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น”
(“มาตรา 66 ทวิ” บัญญัติเพิ่ม โดย พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 23)
6. อาคารสูง
หมายความว่าอย่างไร
ก. อาคารที่มีความสูงตั้งแต่ยี่สิบสามเมตรขึ้นไป
ข. อาคารที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบกิจการหลายประเภท
ค. อาคารหรือส่วนใดของอาคารที่บุคคลอาจเข้าไปภายในชุมนุมได้ตั้งแต่ห้าร้อยคนขึ้นไป
ง. พื้นที่หรือสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่จอดรถ
ตอบ ก.
อาคารที่มีความสูงตั้งแต่ยี่สิบสามเมตรขึ้นไป
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
“อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ
คลังสินค้า สำนักงาน
และสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ และหมายความรวมถึง
(๑) อัฒจันทร์หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นเพื่อใช้เป็นที่ชุมนุมของประชาชน
(๒) เขื่อน สะพาน อุโมงค์ ทางหรือท่อระบายน้ำ
อู่เรือ คานเรือ ท่าน้ำ ท่าจอดเรือ รั้ว กำแพง
หรือประตูที่สร้างขึ้นติดต่อหรือใกล้เคียงกับสาธารณะ หรือสิ่งที่สร้างขึ้นให้บุคคลทั่วไปใช้สอย
(๓) ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้าย
ก. ที่ติดหรือตั้งไว้เหนือที่สาธารณะและมีขนาดเกินหนึ่งตารางเมตร หรือมีน้ำหนักรวมทั้งโครงสร้างเกินสิบกิโลกรัม
ข. ที่ติดหรือตั้งไว้ในระยะห่างจากที่สาธารณะซึ่งเมื่อวัดในทางราบแล้ว
ระยะห่างจากที่สาธารณะมีน้อยกว่าความสูงของป้ายนั้นเมื่อวัดจากพื้นดิน และมีขนาดหรือมีน้ำหนักเกินกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๔) พื้นที่หรือสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่จอดรถ ที่กลับรถ
และทางเข้า-ออกของรถสำหรับอาคารที่กำหนดตาม มาตรา ๘ (๙)
(๕) สิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ทั้งนี้
ให้หมายความรวมถึงส่วนต่างๆ ของอาคารด้วย
“ “อาคารสูง” หมายความว่า
อาคารที่บุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ที่มีความสูงตั้งแต่ยี่สิบสามเมตรขึ้นไป การวัดความสูงของอาคารให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงพื้นดาดฟ้า
สำหรับอาคารทรงจั่วหรือปั้นหยาให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงยอดผนังของชั้นสูงสุด
“อาคารขนาดใหญ่พิเศษ” หมายความว่า
อาคารที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อใช้พื้นที่อาคารหรือส่วนใดของอาคารเป็นที่อยู่อาศัยหรือประกอบกิจการประเภทเดียวหรือหลายประเภท
โดยมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกันตั้งแต่หนึ่งหมื่นตารางเมตรขึ้นไป
“อาคารชุมนุมคน” หมายความว่า
อาคารหรือส่วนใดของอาคารที่บุคคลอาจเข้าไปภายในเพื่อประโยชน์ในการชุมนุมคนที่มีพื้นที่ตั้งแต่หนึ่งพันตารางเมตรขึ้นไป หรือชุมนุมคนได้ตั้งแต่ห้าร้อยคนขึ้นไป
“โรงมหรสพ” หมายความว่า
อาคารหรือส่วนใดของอาคารที่ใช้เป็นสถานที่สำหรับฉายภาพยนตร์ แสดงละคร
แสดงดนตรี
หรือการแสดงรื่นเริงอื่นใด
และมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดให้สาธารณชนเข้าชมการแสดงนั้นเป็นปกติธุระ โดยจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม”
“นิยาม “อาคารสูง”
“อาคารขนาดใหญ่พิเศษ”
“อาคารชุมนุมคน” “โรงมหรสพ” เพิ่มเติม โดย พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๔๓ มาตรา ๕)
7. ในกรณีที่ใบอนุญาตหรือใบรับรองสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระสำคัญ
ให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในกี่วัน
ก. 15 วัน นับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ข. 20 วัน นับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ค. 25 วัน นับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ง. 30 วัน นับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ตอบ ก.
15 วันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
มาตรา ๓๙ ในกรณีที่ใบอนุญาตหรือใบรับรองสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระสำคัญ
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือใบรับรองยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนใบรับรองต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุด
การขอรับใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนใบรับรอง และการออกใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนใบรับรอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
ใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนใบรับรอง
ให้มีผลตามกฎหมายเช่นเดียวกับใบอนุญาตหรือใบรับรอง แล้วแต่กรณี
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบนายช่างโยธา กรมธนารักษ์ ใหม่ล่าสุด
รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ
- ความรู้เกี่ยวกับกรมธนารักษ์
- แนวข้อสอบช่างโยธา 250 ข้อ
- แนวข้อสอบความเหมาะสมกับตำแหน่ง_กรมธนารักษ์
- แนวข้อสอบการควบคุม การบริหารงานก่อสร้าง
- แนวข้อสอบพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522
- ถาม – ตอบ โครงสร้างและคอนกรีต
- การคำนวณโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก
- การเตรียมงานก่อสร้าง
- การบริหารงานก่อสร้าง
ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงชุดละ 399 บาท
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 ธ.กสิกรไทย
สาขาบิ๊กซีขอนแก่น ชื่อบัญชี เดโช พระกาย ออมทรัพย์
โอนเงินแล้วแจ้งที่ decho.by@hotmail.com