size="2">พระราชบัญญัติ
จัดระเบียบกิจการแพปลา
พ.ศ. ๒๔๙๖
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๖
เป็นปีที่ ๘ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายจัดระเบียบกิจการแพปลา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ. ๒๔๙๖” มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้“กิจการแพปลา” หมายความว่า การกระทำอันเป็นปกติธุระอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้(ก) การให้กู้ยืมเงิน หรือให้เช่า ให้เช่าซื้อ ให้ยืมเรือ เครื่องมือทำการประมง หรือสิ่งอุปกรณ์การประมงเพื่อให้ผู้กู้ยืม หรือผู้เช่า ผู้เช่าซื้อ ผู้ยืม ประกอบกิจการประมงหรือทำการค้าสินค้าสัตว์น้ำ โดยมีข้อตกลงกันโดยตรงหรือโดยปริยายว่า ผู้กู้ยืม หรือผู้เช่า ผู้เช่าซื้อ ผู้ยืม จะต้องนำสินค้าสัตว์น้ำมาให้ผู้ให้กู้ยืม หรือผู้ให้เช่า ผู้ให้เช่าซื้อ ผู้ให้ยืม เป็นตัวแทนทำการขายสินค้าสัตว์น้ำนั้น(ข) การรับเป็นตัวแทนทำการขายสินค้าสัตว์น้ำของบุคคลอื่น(ค) การขายสินค้าสัตว์น้ำโดยวิธีขายทอดตลาด(ง) กิจการค้าสินค้าสัตว์น้ำ โดยวิธีอื่นใดตามที่จะได้มีพระราชกฤษฎีการะบุว่าเป็นกิจการแพปลา“สินค้าสัตว์น้ำ” หมายความว่า สัตว์น้ำตามความหมายแห่งกฎหมายว่าด้วยการประมง ไม่ว่ายังมีชีวิตอยู่หรือไม่ และรวมตลอดถึงผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำทุกชนิด ซึ่งเป็นวัตถุสินค้า“สะพานปลา” หมายความว่า สถานที่หรือบริเวณซึ่งได้มีประกาศให้เป็นที่ประกอบกิจการแพปลาตามพระราชบัญญัตินี้“ค่าบริการ” หมายความว่า เงินค่าจัดสถานที่และอำนวยความสะดวกในการซื้อขายสินค้าสัตว์น้ำที่สะพานปลา“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการองค์การสะพานปลา“ผู้อำนวยการ” หมายความว่า ผู้อำนวยการองค์การสะพานปลา“พนักงาน” หมายความว่า พนักงานองค์การสะพานปลา“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้“อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมการประมง“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และออกกฎกระทรวง กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ และกำหนดกิจการอื่นๆ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑องค์การสะพานปลา
มาตรา ๕ ให้จัดตั้งองค์การขึ้นองค์การหนึ่งเรียกว่า “องค์การสะพานปลา” มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้(๑) จัดดำเนินการและนำมาซึ่งความเจริญของสะพานปลา ตลาดสินค้าสัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมการประมง(๒) จัดดำเนินการหรือควบคุม และอำนวยบริการซึ่งกิจการแพปลา การขนส่งและกิจการอื่นๆ อันเกี่ยวกับกิจการแพปลา(๓) จัดส่งเสริมฐานะสวัสดิการ หรืออาชีพของชาวประมง และบูรณะหมู่บ้านการประมง(๔) จัดส่งเสริมสหกรณ์หรือสมาคมการประมงเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวแล้ว ให้องค์การสะพานปลามีอำนาจรวมถึง(๑) สร้าง ซื้อ จัดหา จำหน่าย เช่า ให้เช่า ถือกรรมสิทธิ์ หรือครอบครองซึ่งทรัพย์สินต่างๆ(๒) กู้ยืมเงินหรือยืมสิ่งของ ให้กู้ยืมเงินหรือให้ยืมสิ่งของ มาตรา ๖ ให้องค์การสะพานปลาเป็นนิติบุคคล มาตรา ๗ ให้องค์การสะพานปลาตั้งสำนักงานใหญ่ในจังหวัดพระนคร มาตรา ๘ องค์การสะพานปลาเห็นสมควรจัดตั้งสะพานปลาขึ้นสำหรับท้องที่ใด เมื่อได้อนุมัติจากรัฐมนตรีแล้ว ก็ให้ประกาศตั้งขึ้นได้การประกาศ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้สะพานปลาอยู่ในความดูแลและดำเนินการขององค์การสะพานปลา มาตรา ๙ ให้โอนกิจการ ทรัพย์สิน และหนี้สิน รวมทั้งบรรดาข้อสัญญาและภาระผูกพันทั้งสิ้น อันเกิดขึ้นจากการดำเนินการจัดตั้งแพปลาของกรมการประมงโดยงบประมาณแผ่นดิน ให้แก่องค์การสะพานปลา มาตรา ๑๐ ให้จ่ายเงินตามงบประมาณรายจ่ายวิสามัญลงทุนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๔๙๖ ของกรมการประมงที่เกี่ยวกับการดำเนินการจัดตั้งแพปลา ให้แก่องค์การสะพานปลา มาตรา ๑๑ ให้มีคณะกรรมการองค์การสะพานปลาขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยประธานกรรมการหนึ่งคน และกรรมการอื่นอีกไม่น้อยกว่าสี่คน แต่ไม่เกินหกคนให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการองค์การสะพานปลา มาตรา ๑๒ ประธานกรรมการและกรรมการต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย มาตรา ๑๓ ผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ ต้องห้ามมิให้เป็นประธานกรรมการหรือกรรมการ คือ(๑) เป็นพนักงาน หรือ(๒) มีส่วนได้เสียในสัญญากับองค์การสะพานปลาหรือในกิจการที่กระทำให้แก่องค์การสะพานปลา ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยทางอ้อม มาตรา ๑๔ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่วางนโยบายและควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการขององค์การสะพานปลา อำนาจหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึง(๑) วางข้อบังคับเกี่ยวกับการต่างๆ ตามความในมาตรา ๕(๒) วางข้อบังคับการประชุมและการดำเนินกิจการของคณะกรรมการ(๓) วางข้อบังคับว่าด้วยการบรรจุ การแต่งตั้ง และการถอดถอนพนักงาน(๔) วางข้อบังคับว่าด้วยระเบียบปฏิบัติงานขององค์การสะพานปลา และข้อบังคับว่าด้วยระเบียบวินัยและการลงโทษพนักงาน(๕) กำหนดอัตราเงินเดือนของพนักงาน มาตรา ๑๕ ให้ประธานกรรมการและกรรมการอยู่ในตำแหน่งมีกำหนดสองปี แต่อาจรับแต่งตั้งใหม่ได้ มาตรา ๑๖ ประธานกรรมการ และกรรมการ ย่อมพ้นจากตำแหน่งก่อนถึงวาระเมื่อ(๑) ตาย(๒) ลาออก(๓) คณะรัฐมนตรีให้ออก(๔) เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๓ในกรณีที่มีการพ้นจากตำแหน่งก่อนถึงวาระ ให้มีการแต่งตั้งประธานกรรมการ หรือกรรมการเข้าแทนได้ แล้วแต่กรณี ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเข้าแทนนี้ย่อมอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน มาตรา ๑๗ การประชุมของคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงเป็นองค์ประชุมได้เมื่อประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุม ให้กรรมการเลือกตั้งกันขึ้นเองเป็นประธานชั่วคราว มาตรา ๑๘ การลงมติวินิจฉัยข้อปรึกษาในคณะกรรมการ ให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ ถ้ามีเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นได้อีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด มาตรา ๑๙ ให้องค์การสะพานปลามีอำนาจเรียกเก็บเงินค่าบริการจากผู้ประกอบกิจการแพปลาได้ไม่เกินร้อยละสามของราคาสินค้าสัตว์น้ำที่ซื้อขายกันที่สะพานปลาหรือราคาที่พนักงานประเมินราคาตลาดในวันนั้น มาตรา ๒๐ ให้แบ่งเงินค่าบริการที่องค์การสะพานปลาเรียกเก็บตามความในมาตรา ๑๙ ไว้ร้อยละยี่สิบห้าของค่าบริการที่เก็บได้ทั้งหมด เพื่อใช้จ่ายในการส่งเสริมการประมงตามความในมาตรา ๕ (๓) และ (๔)การเก็บรักษาและการเบิกจ่ายเงินค่าบริการที่แบ่งไว้ในวรรคก่อน ให้เป็นไปตามระเบียบและวิธีการที่คณะกรรมการกำหนดด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี มาตรา ๒๑ ให้องค์การสะพานปลาจัดทำงบประมาณประจำปี แยกเป็นงบลงทุนและงบทำการ สำหรับงบลงทุนให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและให้ความเห็นชอบ ส่วนงบทำการให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบให้องค์การสะพานปลาเปิดบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคารตามระเบียบของคณะกรรมการ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี มาตรา ๒๒ รายได้ที่องค์การสะพานปลาได้รับในปีหนึ่งๆ เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายสำหรับดำเนินงาน ค่าภาระต่างๆ ที่เหมาะสม เช่น ค่าบำรุงรักษา ค่าเสื่อมราคา และเงินสมทบกองทุนสำหรับจ่ายสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานในองค์การสะพานปลา เงินสำรองธรรมดาซึ่งตั้งไว้เผื่อขาด เงินสำรองขยายงานและเงินลงทุนตามที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว เหลือเท่าใด ให้นำส่งเป็นรายได้ของรัฐแต่ถ้ารายได้มีจำนวนไม่พอสำหรับรายจ่ายดังกล่าว นอกจากเงินสำรองที่ได้ระบุไว้ในวรรคก่อน และองค์การสะพานปลาไม่สามารถหาเงินจากทางอื่น รัฐพึงจ่ายเงินให้แก่องค์การสะพานปลาเท่าจำนวนที่จำเป็น มาตรา ๒๓ ทุกปี ให้คณะกรรมการตั้งผู้สอบบัญชีคนหนึ่งหรือหลายคนเพื่อสอบและรับรองบัญชีเป็นปีๆ ไป แล้วนำเสนอรัฐมนตรีเพื่อเสนอต่อไปยังคณะรัฐมนตรีพร้อมด้วยรายงานกิจการประจำปี ซึ่งให้กล่าวถึงผลงานในปีที่ล่วงแล้ว และให้มีคำชี้แจงเกี่ยวกับนโยบายของคณะกรรมการ โครงการ และแผนงานที่จะจัดทำในภายหน้าห้ามมิให้ตั้งประธานกรรมการ กรรมการ หรือพนักงานเป็นผู้สอบบัญชีเมื่อรัฐมนตรีร้องขอ ให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจบัญชีขององค์การสะพานปลา มาตรา ๒๔ ให้คณะกรรมการเป็นผู้แทนองค์การสะพานปลาในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก แต่คณะกรรมการจะมอบหมายให้ผู้อำนวยการ หรือพนักงานอื่นใดขององค์การสะพานปลาเป็นผู้แทนก็ได้ มาตรา ๒๕ ให้คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนผู้อำนวยการด้วยความเห็นชอบจากรัฐมนตรี มาตรา ๒๖ ให้ผู้อำนวยการเป็นผู้บริหารกิจการขององค์การสะพานปลา ตามนโยบายและระเบียบข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนดหรือมอบหมาย มาตรา ๒๗ ประธานกรรมการ และกรรมการย่อมได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๒๘ ประธานกรรมการ กรรมการ ผู้อำนวยการและพนักงาน อาจได้รับเงินรางวัลตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด หมวด ๒
กิจการแพปลา
มาตรา ๒๙ ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการแพปลา เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตและเสียค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๓๐ ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการเป็นผู้ขายทอดตลาดสินค้าสัตว์น้ำที่สะพานปลา เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตและเสียค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๓๑ ให้อธิบดี โดยอนุมัติรัฐมนตรี มีอำนาจออกข้อกำหนดดังต่อไปนี้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(๑) ให้ผู้ประกอบกิจการแพปลาประกอบกิจการที่สะพานปลา และปฏิบัติตามระเบียบและเงื่อนไขที่กำหนด(๒) อัตราอย่างสูงสำหรับค่านายหน้า ค่าขนส่ง และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ผู้ประกอบกิจการแพปลาจะพึงเรียกจากเจ้าของสินค้าสัตว์น้ำและผู้ซื้อสินค้าสัตว์น้ำ(๓) วิธีการขายทอดตลาด และการกำหนดหน่วยของน้ำหนักหรือปริมาณสินค้าสัตว์น้ำ(๔) การจอดเรือ การขนส่ง และการจราจรที่สะพานปลา(๕) ให้ผู้ประกอบกิจการแพปลาทำบัญชีและเอกสารเป็นภาษาไทยตามแบบซึ่งกำหนดไว้ มาตรา ๓๒ ให้อธิบดี โดยอนุมัติรัฐมนตรี มีอำนาจกำหนดแบบพิมพ์ให้
ผู้ประกอบกิจการแพปลากรอกรายการ ข้อความ จำนวน ปริมาณ ชนิด ราคาสินค้า และอื่นๆ ได้ผู้ประกอบกิจการแพปลาต้องกรอกคำตอบลงในแบบพิมพ์นั้นตามความเป็นจริงพร้อมทั้งลงชื่อกำกับ และจัดการยื่นตามกำหนดเวลาและวิธีการ ณ สถานที่ดังที่กำหนดไว้ใน
แบบพิมพ์นั้นเพื่อประโยชน์แก่การตรวจสอบรายการในแบบพิมพ์ที่กรอกยื่นดังกล่าว เมื่ออธิบดีเห็นสมควร มีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปทำการตรวจสอบสมุดบัญชีหรือเอกสารต่างๆ ในที่ทำการของผู้ประกอบกิจการแพปลาได้ในระหว่างเวลาราชการ ให้
ผู้ประกอบกิจการแพปลาอำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการนี้ แต่ในการตรวจสอบนี้ต้องไม่เป็นการขัดขวางต่อกิจการงานของผู้ประกอบกิจการแพปลา มาตรา ๓๓ ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการแพปลาไม่ยอมขายทอดตลาดสินค้าสัตว์น้ำ รัฐมนตรี หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรี มีอำนาจสั่งให้องค์การสะพานปลาดำเนินการขายทอดตลาดสินค้าสัตว์น้ำที่สะพานปลาเสียเองก็ได้ มาตรา ๓๔ รัฐมนตรีมีอำนาจที่จะสั่งยกเว้น หรือลดค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้แก่สหกรณ์การประมงได้ตามที่เห็นสมควร มาตรา ๓๕ ห้ามมิให้ผู้ประกอบกิจการแพปลาที่สะพานปลารับซื้อสินค้าสัตว์น้ำเสียเอง เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากเจ้าของสินค้าสัตว์น้ำนั้น ในกรณีเช่นนี้ ห้ามมิให้เรียกเก็บค่านายหน้าจากเจ้าของสินค้าสัตว์น้ำนั้น มาตรา ๓๖ ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการแพปลา หรือผู้ขายทอดตลาดสินค้า
สัตว์น้ำกระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้ หรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ หรือไม่ชำระค่าบริการตามที่องค์การสะพานปลาเรียกเก็บ หรือไม่ยอมขายทอดตลาด ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งให้หยุดกระทำกิจการโดยมีกำหนดเวลา หรือสั่งเพิกถอนใบอนุญาตได้ในการที่อธิบดีจะสั่งดังกล่าวในวรรคก่อน ให้ส่งคำตักเตือนเป็นหนังสือให้ผู้ประกอบกิจการแพปลาหรือผู้ขายทอดตลาดสินค้าสัตว์น้ำปฏิบัติการให้ถูกต้องภายในเวลาอันสมควรที่กำหนดให้เสียก่อน มาตรา ๓๗ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ยอมออกใบอนุญาตให้ก็ดี หรือในกรณีที่อธิบดีสั่งให้หยุดกระทำกิจการแพปลา หรือหยุดขายทอดตลาดสินค้าสัตว์น้ำ หรือสั่งเพิกถอนใบอนุญาตก็ดี ผู้ขออนุญาตหรือผู้ถูกสั่งเช่นว่านั้น มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ โดยยื่นคำอุทธรณ์ต่ออธิบดีภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ทราบคำสั่ง ให้อธิบดีส่งคำอุทธรณ์นั้นไปยังรัฐมนตรีภายในเจ็ดวัน นับแต่วันได้รับคำอุทธรณ์คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด
หมวด ๓
บทกำหนดโทษ
มาตรา ๓๘ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๙ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่ต่ำกว่าห้าพันบาทแต่ไม่เกินกว่าหนึ่งหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ มาตรา ๓๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๐ มาตรา ๓๕ หรือฝ่าฝืนข้อกำหนดของอธิบดีออกตามความในมาตรา ๓๑ (๑) (๒) (๓) และ (๕) หรือขัดขวางการขายทอดตลาดสินค้า
สัตว์น้ำโดยองค์การสะพานปลา ตามความในมาตรา ๓๓ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ มาตรา ๔๐ ผู้ใดไม่กรอกแบบพิมพ์ยื่น หรือแกล้งกรอกแบบพิมพ์ที่อธิบดีกำหนดไม่ครบถ้วน หรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของอธิบดีว่าด้วยการกรอกแบบพิมพ์นั้น หรือกรอกแบบพิมพ์เช่นว่านั้นโดยรู้อยู่ว่าเป็นเท็จ หรือไม่ยอมให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบสมุดบัญชีหรือเอกสารตามคำสั่งของอธิบดี หรือไม่อำนวยความสะดวกในการตรวจสอบเช่นว่านั้นตามความในมาตรา ๓๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท มาตรา ๔๑ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อกำหนดของอธิบดีออกตามความในมาตรา ๓๑ (๔) มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท หมวด ๔
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๔๒ ผู้ประกอบกิจการแพปลาและผู้ขายทอดตลาดสินค้าสัตว์น้ำที่กระทำการอยู่แล้วก่อนวันใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามความในพระราชบัญญัตินี้ภายในหกสิบวัน นับตั้งแต่วันใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้เป็นต้นไป ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
จอมพล ป. พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรี