ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : พระราชบัญญัติซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ พ.ศ. 2547
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

พระราชบัญญัติซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ พ.ศ. 2547

แชร์กระทู้นี้

size="2">พระราชบัญญัติ
คุ้มครองการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ
ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์
ครั้งที่ ๑๓ ในประเทศไทย
พ.ศ. ๒๕๔๗
                       
 
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๗
เป็นปีที่ ๕๙ ในรัชกาลปัจจุบัน
 
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
 
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ ๑๓ ในประเทศไทย
 
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
 
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติคุ้มครองการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ ๑๓ ในประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๗”
 
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
 
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
“อนุสัญญา” หมายความว่า อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งทำขึ้นเมื่อวันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๖
 
มาตรา ๔ เพื่อให้การคุ้มครองการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ ๑๓ ในประเทศไทยบรรลุตามความมุ่งประสงค์ ให้บุคคลดังต่อไปนี้ที่เข้าร่วมและปฏิบัติหน้าที่ในการประชุมดังกล่าวได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันตามที่ระบุไว้ในบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยและสำนักเลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ เรื่องการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ ๑๓ ซึ่งทำขึ้นเมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๗
(๑) ผู้แทนของรัฐภาคีอนุสัญญาที่ได้รับแต่งตั้งโดยถูกต้อง
(๒) ผู้สังเกตการณ์และคณะเจ้าหน้าที่ขององค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษแห่งสหประชาชาติ และทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ รวมไปถึงผู้แทนของรัฐอื่นใดที่มิได้เป็นภาคีอนุสัญญาที่เข้าร่วมประชุมในฐานะผู้สังเกตการณ์
(๓) หน่วยงานหรือองค์กรที่มีคุณสมบัติเชี่ยวชาญเฉพาะทางในด้านการคุ้มครอง การอนุรักษ์ หรือการจัดการเกี่ยวกับสัตว์ป่าหรือพืชป่าตามประเภทที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๑ วรรคเจ็ด ของอนุสัญญาที่เข้าร่วมประชุมในฐานะเป็นผู้สังเกตการณ์
(๔) คณะเจ้าหน้าที่ของสำนักเลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ที่มาปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการประชุม
 
มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
 
 
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
วิษณุ เครืองาม
รองนายกรัฐมนตรี



หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) เมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๖ และโดยที่จะมีการประชุมภาคีอนุสัญญาฯ ครั้งที่ ๑๓ ในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ถึงวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ดังนั้น เพื่อให้การประชุมดังกล่าวของสำนักเลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์บรรลุตามความมุ่งประสงค์ สมควรให้ผู้เข้าร่วมการประชุมได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันตามที่ระบุไว้ในบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยและสำนักเลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) เรื่องการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ ๑๓ ลงวันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้