รถแทรกเตอร์
หมายถึง ยานที่สามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยตัว โดยจะถูกใช้เป็นตัวต้นกำลังในการทำการเกษตร โดยเริ่มจากการเตรียมพื้นดิน การปลูก การบำรุงรักษา ฉีดยา ฉีดปุ๋ย ตลอดจนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต เป็นต้น
แทรคเตอร์สำหรับการเกษตรและรถไถเดินตาม
รถแทรกเตอร์
รถแทรกเตอร์ คือ ยานพาหนะชนิดพิเศษที่สามารถส่งกำลังออกไปยังเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการเกษตร เช่น ไถหัวหมู ไถกระทะ ไถดินดาน เครื่องพ่นสารเคมีเพื่อทำให้การปฏิบัติงานในการเกษตรบรรลุผลสำเร็จ
การส่งผ่านกำลังของรถแทรกเตอร์ออกไปใช้ประโยชน์ ส่วนใหญ่มี 2 ทาง ดังต่อไปนี้
1. ทางล้อ ทำให้ล้อยึดแน่นอยู่กับดิน ขณะที่รถแทรกเตอร์กำลังปฏิบัติงาน ทำให้รถแทรกเตอร์ดัน หรือฉุดเครื่องมือได้
2. ทางเพลาอำนวยกำลัง ทำให้รถแทรกเตอร์ส่งกำลังออกไปขับเครื่องมือทุ่นแรงในการเกษตรชนิดอื่นได้ เช่น เครื่องสูบน้ำ เป็นต้น
กำลังของรถแทรกเตอร์ได้มาจากเครื่องยนต์ ซึ่งมักจะเรียกเป็นแรงม้าหรือกิโลวัตต์ (1 แรงม้า = 746 วัตต์ และ 1 กิโลวัตต์ = 1000 วัตต์) รถแทรกเตอร์มีกำลังให้เลือกใช้ได้ตั้งแต่ขนาด 3 แรงม้า (2.238 กิโลวัตต์) จนถึงขนาดใหญ่ 300 แรงม้า (223.8 กิโลวัตต์)
ลักษณะทั่วไป
รถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตรมีรูปร่างหลายแบบ แต่ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยเครื่องยนต์ต้นกำลัง อุปกรณ์พ่วงลากและขับหมุนเครื่องมือทุ่นแรง
โดยทั่วไป รถแทรกเตอร์มีลักษณะดังต่อไปนี้
1. เครื่องยนต์มีรอบต่ำแต่มีแรงบิดสูง ทั้งนี้เพราะต้องการให้เกิดแรงฉุดลากที่มีประสิทธิภาพในการทำงาน
2. ล้อหลังใหญ่และหน้ากว้าง เพื่อรับน้ำหนักที่เกิดขึ้นในขณะทำงาน นอกจากนั้นยังทำให้ แรงเสียดทานเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลให้แรงฉุดลากเพิ่มขึ้นด้วย
3. ตัวถังรถสูง เพื่อให้วิ่งเข้าไปทำงานระหว่างแถวพืชและคันดิน หรือร่องคูได้สะดวก
4. มีอุปกรณ์ที่ให้ความปลอดภัย เช่น กระจกกว้างมองเห็นได้รอบด้าน เบาะนั่งสบาย ลุกออกสะดวกและรวดเร็วในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ โครงหลังคาแข็งแรง
ประเภทของรถแทรกเตอร์
การแบ่งประเภทของรถแทรกเตอร์ขึ้นอยู่กับกำลังของเครื่องยนต์ ถ้ากำลังของเครื่องยนต์ต่ำกว่า 25 แรงม้า (18.65 กิโลวัตต์) เรียกว่ารถแทรกเตอร์ขนาดเล็ก ถ้ากำลังของเครื่องอยู่ระหว่าง 25 แรงม้าถึง 50 แรงม้า (18.65 กิโลวัตต์ ถึง 37.3 กิโลวัตต์) เรียกว่ารถแทรกเตอร์ขนาดกลาง ส่วนรถแทรกเตอร์ขนาดใหญ่ คือรถที่มีกำลังเครื่องยนต์มากกว่า 50 แรงม้า (37.3 กิโลวัตต์) ขึ้นไป
รถแทรกเตอร์ตีนตะขาบเป็นรถขนาดใหญ่มาก ใช้สำหรับทำงานหนัก เช่น ทำถนน สร้างเขื่อน และเปิดป่า กำลังที่ใช้ฉุดและดันเครื่องมือทุ่นแรงได้มาจากเครื่องยนต์ และการตะกุยดินของล้อตีนตะขาบ ซึ่งมีหน้าสัมผัสที่ยึดพื้นที่ไว้ได้มากกว่าล้อยาง แต่โดยปกติเกษตรกรจะไม่ซื้อรถประเภทนี้ เพราะมีราคาแพงถ้าจำเป็นที่จะใช้งานก็อาจจะเช่า หรือว่าจ้างจากบริษัทผู้รับเหมาได้ อีกทั้งยังเสียค่าใช้จ่ายต่ำอีกด้วย อย่างไรก็ตามรถแทรกเตอร์ประเภทนี้เหมาะสำหรับงานปรับพื้นที่ การจัดรูปที่ดิน และงานป่าไม้
รถแทรกเตอร์ขนาดกลางและขนาดใหญ่ เป็นที่นิยมใช้กันมากในงานเกษตร โดยได้มีการปรับปรุงให้เหมาะสมกับการทำงานประเภทต่างๆ
รถแทรกเตอร์เหล่านี้ส่วนใหญ่ใช้ล้อยางซึ่งปรับระยะห่างได้ โดยอาจจะปรับให้กว้างหรือแคบได้ตามระยะห่างของแถวพืชที่ปลูก
รถแทรกเตอร์แบบล้อยางแบ่งออกเป็นแบบขับเคลื่อน 2 ล้อ และแบบขับเคลื่อน 4 ล้อ โดยที่แบบขับเคลื่อน 2 ล้อ จะมีขนาดล้อหน้าเล็กกว่าแบบขับเคลื่อน 4 ล้อ และเป็นแบบที่นิยมใช้กันมาก อย่างไรก็ตามรถแทรกเตอร์ขับเคลื่อน 4 ล้อจะมีแรงฉุดลาก ประสิทธิภาพของการขับเคลื่อน และการเลี้ยวดีกว่า เมื่อเปรียบเทียบรถแทรกเตอร์ 2 คันที่มีน้ำหนักเท่ากัน
นอกจากนั้นยังสามารถติดตั้งเครื่องมือทุ่นแรงในการเกษตรเข้ากับรถแทรกเตอร์ประเภทนี้ได้ โดยติดกับระบบแขนยกอุปกรณ์แบบ 3 จุด (Three point linkage) ส่วนการบังคับให้อุปกรณ์สูงขึ้นจากพื้นดิน หรือลดลงนั้น อาศัยคันบังคับของระบบไฮดรอลิก
การใช้ระบบไฮดรอลิกกับอุปกรณ์ที่ติดตั้งไว้ได้ประโยชน์หลายประการ แต่ประการที่สำคัญคือ ให้ความสะดวกในการนำอุปกรณ์จากไร่หนึ่งไปยังอีกไร่หนึ่ง อีกทั้งยังทำให้การกลับรถบริเวณท้ายไร่รวดเร็วขึ้น และประหยัดเนื้อที่อีกด้วย
รถแทรกเตอร์ขนาดเล็กเป็นรถแทรกเตอร์ที่มีราคาถูกและนิยมใช้กันมากในฟาร์มขนาดเล็ก
รถไถเดินตาม เป็นรถแทรกเตอร์ที่มีขนาดเล็กที่สุดและถูกที่สุด แต่เนื่องจากว่าผู้ปฏิบัติงานต้องเดินตามหลังเพื่อบังคับรถชนิดนี้ จึงทำให้การปฏิบัติงานในไร่นาน่าเบื่อ
ส่วนประกอบและการทำงาน
(1) เครื่องยนต์ต้นกำลัง
เครื่องยนต์ต้นกำลังของเครื่องมือทุ่นแรงในการเกษตร ตลอดจนรถแทรกเตอร์ โดยทั่วไปคือเครื่องยนต์จุดระเบิดภายใน หรือเครื่องยนต์ดีเซล กำลังที่ได้จากเครื่องยนต์ชนิดนี้จะถูกถ่ายทอดไปยังชิ้นส่วนและระบบต่างๆ เช่น ล้อขับเคลื่อนหลัง เพลาอำนวยกำลัง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
เครื่องยนต์ดีเซล เป็นเครื่องยนต์ที่มีการเผาไหม้ภายในอีกประเภทหนึ่งที่น้ำมันดีเซล หรือน้ำมันโซล่า จะถูกผสมกับอากาศที่กำลังถูกอัดตัวอย่างรุนแรง และมีความร้อนสูงภายในห้องเผาไหม้ กลายเป็นเชื้อระเบิดที่มีความร้อนสูง โดยการฉีดน้ำมันที่มีความดันสูงให้เป็นฝอยอย่างละเอียดและรุนแรงภายในกระบอกสูบ เพื่อทำให้น้ำมันกับอากาศที่มีความร้อนสูงนั้นได้ผสมกันอย่างหมดจด จนกลายเป็นเชื้อระเบิดเกิดการระเบิดขึ้นอย่างรุนแรงและให้กำลังงานสูงในที่สุด ซึ่งจะทำให้เครื่องยนต์เกิดการทำงานขึ้นตามจังหวะของการทำงานนั้นๆ ของเครื่องยนต์ เช่น จังหวะดูด จังหวะอัด
โดยปกติน้ำมันดีเซลความดันต่ำจากถัง จะถูกบังคับให้เคลื่อนที่ไปโดยผ่านกรรมวิธีต่างๆของระบบส่งน้ำมันเชื้อเพลิง จนกลายเป็นน้ำมันที่สะอาดและมีความดันสูง เพื่อที่จะส่งไปยังหัวฉีด ให้ฉีดออกผสมกับอากาศที่มีความร้อนสูง กลายเป็นเชื้อระเบิดที่ร้อนจนเกิดการระเบิดขึ้นตรงตามกำหนดเวลาอย่างถูกต้อง สำหรับอากาศที่ถูกอัดจนมีความร้อนสูงภายในกระบอกสูบนั้น มาจากอากาศในบรรยากาศซึ่งถูกดูดให้เคลื่อนที่ผ่านเข้ามาสู่กระบอกสูบ และผสมกับน้ำมันดีเซลภายในห้องเผาไหม้ในที่สุด ของเสียที่เกิดขึ้นจากการระเบิดภายในกระบอกสูบ จะถูกผลักดันให้ออกจากกระบอกสูบอย่างรวดเร็วตามจังหวะการทำงานของเครื่องยนต์ ผ่านท่อไอเสีย และออกสู่บรรยากาศภายนอก เครื่องยนต์ดีเซลจำแนกออกเป็นเครื่องยนต์หมุนเร็ว เครื่องยนต์หมุนปานกลาง และเครื่องยนต์หมุนช้า
เครื่องยนต์ดีเซลหมุนช้าคือ เครื่องยนต์ที่เพลาข้อเหวี่ยงหมุนไม่เกินนาทีละ 500 รอบต่อนาที
เครื่องยนต์ดีเซลหมุนปานกลาง เป็นเครื่องยนต์ที่เพลาข้อเหวี่ยงหมุนอยู่ระหว่าง 500-1000 รอบต่อนาที
เครื่องยนต์ดีเซลหมุนเร็ว หมายถึงเครื่องยนต์ที่เพลาข้อเหวี่ยงหมุนเร็วกว่า 1000 รอบต่อนาที
คุณสมบัติของเครื่องยนต์ดีเซล
1. เป็นเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลหรือน้ำมันโซล่าเป็นเชื้อเพลิง
2. อากาศบริสุทธิ์เท่านั้นที่เข้าไปภายในกระบอกสูบในจังหวะดูดของการทำงานของเครื่องยนต์
3. ปั้มน้ำมันความดันสูง เป็นตัวทำให้น้ำมันเชื้อเพลิงความดันต่ำเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงความดันสูง
4. หัวฉีดเป็นตัวฉีดให้น้ำมันพุ่งเข้าไปภายในห้องเผาไหม้ของกระบอกสูบเป็นฝอยที่ละเอียดและรุนแรง
5. เป็นเครื่องยนต์ที่ทำให้เกิดอัตราการอัดตัวของอากาศในกระบอกสูบสูง
ข้อดีของเครื่องยนต์ดีเซล
1. เป็นเครื่องยนต์ที่สามารถใช้ได้กับน้ำมันข้นที่มีราคาถูกได้
2. เครื่องยนต์ขนาดเท่ากัน เครื่องยนต์ดีเซลจะเป็นเครื่องยนต์ที่ให้กำลังม้าสูงกว่าเนื่องจากเป็นเครื่องที่ให้อัตราการอัดตัวของอากาศสูงกว่า
3. ไม่มีระบบจุดระเบิดของเครื่องยนต์ที่ประกอบด้วยกระแสไฟฟ้า และมีอุปกรณ์น้อยชิ้น
4. การจุดระเบิดก่อนเวลาหรือการชิงจุดของเชื้อระเบิดมีน้อย และหลีกเลี่ยงได้
5. เป็นเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงได้อย่างประหยัด และสามารถควบคุมการใช้น้ำมันได้อย่างแน่นอน
ข้อเสียของเครื่องยนต์ดีเซล
1. เป็นเครื่องยนต์ที่มีน้ำหนักต่อกำลังม้าสูง
2. เครื่องยนต์มีราคาแพง เพราะต้องออกแบบและสร้างให้มีความแข็งแรงสูงเนื่องจาก เครื่องยนต์ให้กำลังม้าสูง
3. การสั่นสะเทือนของเครื่องยนต์สูง และมีเสียงดังมาก
4. อุปกรณ์ในระบบน้ำมันเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์มีราคาสูง
5. เครื่องยนต์ติดยากเมื่อเครื่องยนต์สึกหรอ หรือเครื่องยนต์เสียกำลังอัดลงบ้าง ในฤดูหนาวที่อากาศเย็น
(2) ระบบถ่ายทอดกำลัง
เครื่องยนต์จะถ่ายทอดกำลังไปยังล้อ เพลาอำนวยกำลัง ปั้มไฮดรอลิค และอื่นๆ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ สำหรับส่วนประกอบที่สำคัญของระบบนี้มีดังนี้
คลัช
คลัชในรถแทรกเตอร์ประกอบด้วยคลัชขับเคลื่อนและคลัชเพลาอำนวยกำลัง คลัชขับเคลื่อนซึ่งทำหน้าที่ตัดและต่อการส่งกำลังจากเครื่องยนต์ไปขับล้อให้รถแทรกเตอร์เคลื่อนที่ คลัชเพลาอำนวยกำลังทำหน้าที่ตัดและต่อการส่งกำลังจากเครื่องยนต์ไปหมุนเพลาอำนวยกำลัง เพื่อส่งกำลังออกไปใช้ภายนอกรถแทรกเตอร์
เกียร์
เกียร์คือส่วนที่ทำหน้าที่แบ่งขั้นความเร็ว และเพิ่มกำลังฉุดลากของล้อรถแทรกเตอร์ โดยปกติถ้าใช้เฟืองเกียร์ที่มีอัตราการทดรอบสูง ความเร็วรอบของล้อจะต่ำแต่มีกำลังฉุดลากสูง ในทางตรงกันข้าม ถ้าต้องการให้รถแทรกเตอร์วิ่งเร็วที่สุด ก็ต้องใช้เฟืองเกียร์ที่ให้อัตราการทดรอบต่ำหรือไม่ต้องมีการทดรอบเลย เครื่องยนต์หมุนด้วยความเร็วเท่าไร ล้อก็หมุนด้วยความเร็วเท่านั้น ซึ่งในกรณีเช่นนี้ในรถแทรกเตอร์ไม่มีความเร็วสูงถึงขั้นนี้ อย่างไรก็ตามเมื่อล้อหมุนด้วยความเร็วสูงกำลังฉุดลากก็จะต่ำ
เฟืองท้าย
จำหน่ายเอกสารเตรียมเสอบ พลขับรถแทรกเตอร์ ของทหารทุกหน่วยงาน
สั่งซื้อที่
ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724 Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3 ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2
ธ.กสิกรไทย ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay
ผลงานการสอบได้ของลูกค้า
ติดตามข่าวการสอบราชการที่ https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่ www.ข้อสอบงานราชการไทย.com