ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : สรุปสาระสำคัญ พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.๒๕๔๐
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

สรุปสาระสำคัญ พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.๒๕๔๐

แชร์กระทู้นี้

สรุปพระราชบัญญัติ ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ . 2540
1. พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับเมื่อไหร่
ตอบ ใช้บังคับเมื่อพ้น 90 วัน นับแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ประกาศวันที่ 10 กันยายน 2540 มีผล 11 ธันวาคม 2540
2. ข้อมูลข่าวสาร หมายความว่าอย่างไร
ตอบ สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราว ข้อเท็จจริง ข้อมูล หรือ สิ่งใดๆไม่ว่าการสื่อความหมายนั้นจะทำ
ได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเอง หรือโดยผ่านวิธีการใดๆ และไม่ว่าการสื่อความหมายนั้นจะได้จัด
ทำไว้ในรูป เอกสาร แฟ้ม รายงาน หนังสือ แผนผัง แผนที่ ภาพวาด ภาพถ่าย ฟิล์ม การบันทึกภาพ
หรือ เสียง การบันทึกโดยโดยคอมพิวเตอร์ หรือวิธีอื่นใดที่ทำให้สิ่งที่บันทึกปรากฎได้
3. คนต่างด้าวหมายความว่าอย่างไร
ตอบ บุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทย และ ไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยและนิติบุคคลดังต่อไปนี้
1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่มีทุนเกินกึ่งหนึ่งเป็นของคนต่างด้าว
2. สมาคมที่มีสมาชิกเกินหึ่งหนึ่งเป็นคนต่างด้าว
3.สมาคมหรือมูลนิธิที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อประโยชน์ของคนต่างด้าว
4.นิติบุคคลตาม 1-3 ที่มีผู้จัดการหรือกรรมการ เกิน กึ่งหนึ่งเป็นคนต่างด้าว
4. ใครรักษาการ์ณตาม พ.ร.บ นี้
ตอบ นายกรัฐมนตรี
5. สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ตั้งอยู่ที่ไหน มีหน้าที่อะไรบ้าง
ตอบ ให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการขึ้น ใน สำนักงานปลัดสำนักนายก
รัฐมนตรี
มีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1. ปฎิบัติงานเกี่ยวกับงานวิชาการ
2 เป็นธุรการให้แก่ คณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร และ คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
3.ประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ และให้คำปรึกษาแก่เอกชน
6. หน่วยงานของรัฐต้องส่งข้อมูลในเรื่องใดบ้างลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา
ตอบ 1. โครงสร้าง และการจัดองค์กรในการดำเนินงาน
2. สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญและวิธีการดำเนินงาน
3.สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารหรือคำแนะนำในการติดต่อกับหน่วยงาน ของรัฐ
4. กฎ มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ คำสั่ง หรังสือเวียน ระเบียบ แบบแผน นโยบาย หรือการตีความ
ทั้งนี้ เฉพาะ ที่จัดให้มีขึ้นโดยสภาพอย่างกฎ เพื่อให้มีผลเป็นการทั่วไปต่อเอกชนที่เกี่ยวข้อง
5.ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารกำหนด
7. ข้อมูลที่ยังไม่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาจะนำมาใช้ได้หรือไม่
ตอบ ได้ แต่ในกรณีที่นำมาใช้บังคับในทางที่ไม่เป็นคุณแก่ผู้ใดไม่ได้
!!!! ระวัง !!!! มีข้อยกเว้นของข้อยกเว้นด้วยน่ะ ถ้าผู้นั้นรู้ถึงข้อมูลนั้นมาก่อนแล้ว สามารถใช้ได้
8. หน่วยงานของรัฐต้องจัดข้อมูลใดบ้างให้ประชาชนสามารถเข้าตรวจดูได้
ตอบ 1. ผลการพิจารณาหรือคำวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชน รวมทั้งความเห็นแย้งและคำสั่งที่เกี่ยว
ข้องในการพิจารณาวินิจฉัยดังกล่าว
2. นโยบายหรือการตีความที่ไม่เข้าข่ายต้องพิมพ์ลงในราชกิจจานุเบกษา
3. แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีที่กำลังดำเนินการ
4.คู่มือหรือคำสั่งเกี่ยวกับวิธีปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีผลกระทบถึงสิทธิหน้าที่ของเอกชน
5. สิ่งพิมพ์ที่ได้มีการอ้างอิงถึงมาตรา 7 ว.2
6.สัญญาสัมปทาน สัญาที่มีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอนหรือสัญญาร่วมทุนกับเอกชนในการ
จัดทำบริการสาธารณะ
7. มติคณะรัฐมนตรี หรือมติคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยกฎหมาย หรือ โดยมติคณะรัฐมนตรี
ทั้งนี้ให้ระบุรายชื่อรายงานทางวิชาการ รายงาน ข้อเท็จจริง หรือข้อมูลข่าวสารที่นำมาใช้ในการ
พิจารณาไว้ด้วย
8. ข้อมูลข่าวสารอื่นตาที่คณะกรรมการกำหนด
!!!! ระวัง !!!! ไม่เหมือนกับสิ่งที่ต้องประกาศในราชกิจน่ะ
9. ข้อมูลทั่ดให้ประชาชนเข้าดูได้หากมีส่วนที่ต้องห้ามมิให้เปิดเผยรวมอยู๋ด้วยต้องทำอย่างไร
ตอบ ให้ลบ หรือตัดทอน หรือทำโดยประการอื่นใดที่ไม่เป็นการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารนั้น
10. คนต่างด้าวมีสิทธิเข้าตรวจดูได้หรือไม่
ตอบ ได้ โดยให้เป็นไปตามที่กฎกระทรวงกำหนด
11. หากมีประชาชนขอข้อมูลข่าวสาร จะไม่ให้ได้หรือไม่
ตอบ ได้ ถ้าผู้นั้นขอจำนวนมาก หรือบ่อยครั้งโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
12. ในกรณีที่ประชาชนเห็นว่า ราชการไม่จัดพิมพ์ข้อมูลข่าวสาร หรือ ไม่จัดข้อมูลให้ประชาชนดู หรือไม่
จัดหาข้อมูลข่าวสารให้แก่ตน ต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ ให้ร้องเรียนต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร
13. เมื่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารได้รับเรื่องแล้วต้องทำอย่างไร
ตอบ ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่ได้รับเรื่อง แต่ในกรณีจำเป็นให้ขยายเวลาออก
ไปได้ แต่ต้องแสดงเหตุผลและรวมเวลาทั้งหมดแล้ว ต้องไม่เกิน 60 วัน
14. ข้อมูลข่าวสารที่ไม่สามารถเปิดเผยคือข้อมูลข่าวสารใด
ตอบ 1. ข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์
15. ข้อมูลข่าวสารที่ลักษณะใดที่รัฐอาจมีคำสั่งไม่ให้เปิดเผยก็ได้
ตอบ 1.การเปิดเผยจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
และความมั่นคงในทางเศรษฐกิจหรือการคลังของประเทศ
2. การเปิดเผยจะทำให้การบังคับใช้กฎหมายเสื่อมประสิทธิภาพ หรือไม่อาจสำเร็จตามวัตถุประสงค์
ได้ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับการฟ้องคดี การป้องกัน การปราบปราม การทดสอบ
การตรวจสอบ หรือการรู้แหล่งที่มาของข้อมูลข่าวสารหรือไม่ก็ตาม
3. ความเห็นหรือคำแนะนำภายในหน่วยงานของรัฐในการดำเนินการเรื่องหนึ่งเรื่องใด แต่ทั้งนี้ไม่
รวมถึงรายงานทางวิชาการ รายงานข้อเท็จจริง หรือข้อมูลข่าวสารที่นำมาใช้ในการทำความเห็นหรือ
คำแนะนำภายในดังกล่าว
4. การเปิดเผยจะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือความปลอดภัยของบุคคลหนึ่งบุคคลใด
5.รายงานการแพทย์หรือข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลซึ่งการเปิดเผยจะเป็นการรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคลโดยไม่สมควร
6. ข้อมูลข่าวสารของราชการที่มีกฎหมายคุ้มครองมิให้เปิดเผย หรือข้อมูลข่าวสาร
ที่มีผู้ให้มาโดยไม่ประสงค์ให้ทางราชการนำไปเปิดเผยต่อผู้อื่น
7. กรณีอื่นตามที่กำหนดให้พระราชกฤษฎีกา
!!! จะเห็นได้ว่า เป็นการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ ว่าจะเปิดหรือไม่เปิด!!!
16. หากมีคำสั่งไม่ให้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต้องทำอย่างไร
ตอบ คำสั่งไม่ให้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวจะกำหนดเงื่อนไขก็ได้ แต่ต้องระบุไว้ด้วยว่าเปิดเผยไม่ได้เพราะ
เป็นข้อมูลข่าวสารประเภทใด แลเพราะเหตุใด
17. หากผู้ขอไม่พอใจคำสั่งดังกล่าวต้องทำอย่างไร
ตอบ ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
18. ในกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐเห็นว่าการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการใดอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสีย
ของผู้ใดต้องทำอย่างไร
ตอบ ให้เจ้าหน้าที่รัฐแจ้งให้ผู้นั้นเสนอคำคัดค้านภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งต้องไม่น้อยกว่า 15 วัน
19. การทำคำคัดค้านทำอย่างไร
ตอบ ทำเป็นหนังสือถึงเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ
20. เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับคำคัดค้านแล้ว มีคำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้านจะเปิดเผยข้อมูลได้เลยหรือไม่
ตอบ ไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดเวลาอุทธรณ์ หรือจนกว่าคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
ได้มีคำวินิจฉัยให้เปิดเผยข้อมูลได้ แล้วแต่กรณี
21. กรณีเจ้าหน้าที่ไม่รับฟังคำคัดค้าน ผู้ยื่นคำคัดค้านต้องทำอย่างไร
ตอบ ให้ผู้นั้นยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารภายใน 15 วันนับแต่วันที่
ได้รับแจ้งคำสั่งนั้นโดยยื่นต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร
!!! ระวัง !!! อย่าจำสลับกับข้อ 12
22. คำว่า บุคคล ในเรื่องข้อมลข่าวสารส่วนบุคคล หมายความว่าอย่างไร
ตอบ บุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทยและบุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทยแต่ทีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
23. หน่วยงานของรัฐจะเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในความควบคุมของตนได้หรือไม่
ตอบ ไม่ได้หากปราศจากความยินยอมเป็นหนังสือของเจ้าของข้อมูล
24. ข้อมูลส่วนบุคคลสดที่หน่วยงานของรัฐสามารถเปิดเผยได้
ตอบ 1. ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานของตน เพื่อการนำไปใช้ตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐแห่งนั้น
2. เป็นการใช้ข้อมูลตามปกติภายในวัตถุประสงค์ของการจัดให้มีระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลนั้น
3. ต่อหน่วยงานของรัฐที่ทำงานด้วยการวางแผน หรือการสถิติ หรือสำมะโนต่างๆ ซึ่งมีหน้าที่ต้อง
รักษาข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลไว้ไม่ให้เปิดเผยต่อไปยังผู้อื่น
4.เป็นการให้เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย โดยไม่ระบุชื่อหรือส่วนที่ทำให้รู้ว่าเป็นข้อมูลข่าวสาร
ส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับบุคคลใด
5. ต่อหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร หรือหน่วยงานอื่นของรัฐตามมาตรา ๒๖ วรรคหนึ่ง
เพื่อการตรวจดูคุณค่าในการเก็บรักษา
6. ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อการป้องกันการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย การสืบสวน การ
สอบสวน หรือการฟ้องคดี ไม่ว่าเป็นคดีประเภทใดก็ตาม
7. เป็นการให้ซึ่งจำเป็น เพื่อการป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิตหรือสุขภาพของบุคคล
8. ต่อศาล และเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐหรือบุคคลที่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะขอข้อเท็จจริงดังกล่าว
9. (๙) กรณีอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
25. ในกรณีที่บุคคลใดเห็นว่าข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตนไม่ถูกต้องตามที่เป็นจริงต้องทำอย่างไร
ตอบ ให้ทำคำขอเป็นหนังสือให้หน่วยงานของรัฐที่ควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารแก้ไข เปลี่ยนแปลง
หรือ ลบ ข้อมูลข่าวสารนั้นได้
26. ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือลบข้อมูลข่าวสารให้ตรงตามคำขอ ต้องทำอย่างไร
ตอบ ให้ผู้นั้นมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูล ภายใน 30 วัน นับแต่ได้รับ
แจ้งคำสั่งไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสาร โดยยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร
27. ข้อมูลที่หน่วยงานราชการหรือหน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะเก็บรักษาหรือมีอายุครบกำหนดแล้วทำอย่างไร
ตอบ ให้ส่งมอบให้แก่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร หรือหน่วยงานของรัฐอื่นตามที่กำหนดไว้ใน
พระราชกฤษฎีกา
28. ข้อมูลข่าวสารของราชการมีกำหนดอายุกี่ปี
ตอบ 1. 75 ปี ถ้าเป็นข้อมูลข่าวสารของสถาบันพระมหากษัตริย์
2. 20 ปี ถ้าเป็นข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 15
29. หากเกินกำหนดอายุดังกล่าวจะขยายระยะเวลาได้หรือไม่
ตอบ ได้ ถ้าหากหากเห็นว่าข้อมูลนั้นยังไม่ควรเปิดเผย โดยการขยายระยะเวลานั้นให้กำหนดระยะเวลาไว้
แต่จะกำหนดเกินคราวละ 5 ปี ไม่ได้
30. จะไม่เก็บรักษาไว้ได้หรือไม่
ตอบ ได้ ถ้าคณะรัฐมนตรีออกระเบียบกำหนดให้ต้องทำลาย
31.คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ประกอบด้วยใครบ้าง
ตอบ 1. รัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน 2. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
3. ปลัดกระทรวงกลาโหม 4. ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 5.ปลัดกระทรวงการคลัง
6. ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ 7. ปลัดกระทรวงมหาดไทย 8. ปลัดกระทรวงพาณิชย์
9.เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา 10.เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
11.เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ 12.เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
13.ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ 14.ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
15.ผู้ทรงคุณวุฒิอื่นจากภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งอีก 9 คนเป็นกรรมการ
รวมเป็น 23 คน
32. ใครเป็นผู้แต่งตั้งเลขานุการ และ ผู้ช่วยเลขานุการ
ตอบ ให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งข้าราชการของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี 1 คนเป็น
เลขานุการ และอีก 2 คนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
33. คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารมีอำนาจหน้าที่อย่างไร
ตอบ 1. สอดส่องดูแล และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานของรัฐ
ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
2. ให้คำปรึกษาแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ เกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
ตามที่ได้รับคำขอ
3. เสนอแนะในการตราพระราชกฤษฎีกา และการออกกฎกระทรวง หรือระเบียบของคณะรัฐมนตรี
ตามพระราชบัญญัตินี้
4. พิจารณาและให้ความเห็นเรื่องร้องเรียนตามมาตรา ๑๓
5. จัดทำรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ เสนอคณะรัฐมนตรีเป็นครั้งคราวตาม
ความเหมาะสม แต่อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
6. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
7. ดำเนินการเรื่องอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย
8. มีอำนาจเรียกให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดมาให้ ถ้อยคำหรือให้ส่งวัตถุเอกสาร หรือพยานหลักฐานมาประกอบการพิจารณา
ได้ตามมาตรา 32
34. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ มีวาระกี่ปี
ตอบ คราวละ 3 ปี นับแต่ได้รับแต่งตั้ง
35. นอกจากพ้นตามวาระแล้ว จะพ้นตำแหน่ง ด้วยสาเหตุใดได้อีก
ตอบ 1. ตาย
2. ลาออก
3. คณะรัฐมนตรีให้ออกเพราะมีความประพฤติเสื่อมเสียบกพร่อง หรือ ไม่สุจริตต่อหน้าที่ หรือ
หย่อนความสามารถ
4. เป็นบุคคลล้มละลาย
5. เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
6. ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้
กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
36. การประชุมของคณะกรรมการจะต้องมีกรรมการมาประชุมกี่คนจึงจะครบองค์ประชุม
ตอบ ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
37. คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารคณะหนึ่งประกอบด้วยบุคคลกี่คน
ตอบ ไม่น้อยกว่า 3 คน โดยคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งตามข้อเสนอของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร โดยแต่งตั้งตามสาขา
ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของข้อมูลข่าวสาร เช่น ความมั่นคงของประเทศ เศรษฐกิจและการคลังของประเทศ
หรือการบังคับใช้กฎหมาย
38. คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารมีอำนาจอะไรบ้าง
ตอบ พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของ King หรือข้อมูลข่าวสารที่มีลักษณะห้ามมิให้เปิดเผย
หรือคำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้าน และ คำสั่งไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
39. ภายหลังคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารได้รับคำอุทธรณ์แล้วต้องส่งให้คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลภายในกี่วัน
ตอบ ภายใน 7 วันนับแต่ ได้รับคำอุทธรณ์
40. เมื่อคณะกรรมการวินิจัฉัยการเปิดเผยข้อมูลได้รับคำอุทธรณ์แล้ว ต้อง พิจารณาให้เสร็จภายในกี่วัน
ตอบ ภายใน 30 วัน ( มาตรา 37 ให้นำ ม. 13 ว.2 มาใช้บังคับโดยอนุโลม(ม.13 ว.2 กำหนดให้คณะกรรมการข้อมูลิจารณาให้
แล้วเสร็จใน 30 วัน กรณี อุทธรณ์ ไม่จัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร))
41. ภายหลังมีคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลแล้ว ผลเป็นอย่างไร
ตอบ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิฉัยการเปิดเผยข้อมูลถือเป็นที่สุด
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 
ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้