ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : แนวข้อสอบ กฎหมายอาญาทหาร
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

แนวข้อสอบ กฎหมายอาญาทหาร

แชร์กระทู้นี้

1.พลทหารดำ ทหารกองประจำการ สังกัด กองพันทหารราบที่ 1 กระทำความผิดอาญาที่มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ พ.ท.สุรศักดิ์ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 1 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาเห็นว่าเป็นการเล็กน้อยไม่สำคัญ จึงสั่งลงทัณฑ์ขังพลทหารดำ 5 วัน ดังนี้คำสั่งลงทัณฑ์ของ พ.ท.สุรศักดิ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

                ข้อกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญาทหาร

มาตรา 7 ได้กำหนดให้ผู้บังคับบัญชาตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหารมีอำนาจลงทัณฑ์แก่ทหารผู้กระทำผิดต่อวินัยทหารตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร ไม่ว่าเป็นการกระทำความผิดในหรือนอกราชอาณาจักร

มาตรา 8 ได้กำหนดให้ การกระทำผิดบางอย่าง ( 21 บทมาตรา ) ถ้าผู้บังคับบัญชาตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหารพิจารณาเห็นว่าเป็นการเล็กน้อยไม่สำคัญ ให้ถือว่าเป็นความผิดต่อวินัยทหาร และให้มีอำนาจลงทัณฑ์ตามมาตรา 7 เว้นแต่ผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร จะสั่งให้ส่งตัวผู้กระทำความผิดไปดำเนินคดีในศาลทหาร หรือจะมีการดำเนินคดีนั้นในศาลพลเรือนตามกฎหมายว่ายด้วยธรรมนูญศาลทหารจึงให้เป็นไปตามนั้น

มาตรา 9 ได้กำหนดให้ ความในมาตรา 8 ให้ใช้ตลอดถึงความผิดลหุโทษและความผิดที่เปรียบเทียบได้ตามกฎหมาย

ข้อพิจารณา การกระทำความผิดอาญาที่มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ  ถือเป็นความผิดลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 102                       ซึ่งถ้าผู้บังคับบัญชาตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร พิจารณาเห็นว่าเป็นการเล็กน้อยไม่สำคัญ ให้ถือว่าเป็นความผิดวินัยทหาร และผู้มีอำนาจบังคับบัญชาทหารมีอำนาจลงทัณฑ์ได้ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร

การที่พลทหารดำ ทหารกองประจำการ สังกัด กองพันทหารราบที่ 1  กระทำความผิดอาญาที่มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ  ถือว่า  พลทหารดำ กระทำความผิดอาญาฐานลหุโทษ ในกรณีนี้เมื่อผู้บังคับบัญชาพิจารณาเห็นว่าเป็นการเล็กน้อยไม่สำคัญ ก็ให้ถือว่าเป็นความผิดวินัยทหาร และให้มีอำนาจลงทัณฑ์แก่ทหารผู้กระทำผิดวินัยได้ ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร

ดังนั้น คำสั่งลงทัณฑ์ของ พ.ท.สุรศักดิ์ ที่สั่งลงทัณฑ์ขังพลทหารดำ 5 วัน จึงชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญาทหาร มาตรา 9 ประกอบด้วยมาตรา 7 และ 8

2. สิบตรีสุรศักดิ์  สังกัด กง.ทบ. กระทำความผิดอาญาที่มีโทษปรับสถานเดียว พล.ต.มานพ จก.กง.ทบ. เห็นว่าเป็นการเล็กน้อยไม่สำคัญ จึงสั่งลงทัณฑ์ขัง ส.ต.สุรศักดิ์ 3 วัน ดังนี้ คำสั่งของ พล.ต.มานพ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ข้อกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญาทหาร

มาตรา 7 กำหนดว่า ให้ผู้บังคับบัญชาทหารตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหารมีอำนาจลงทัณฑ์แก่ทหารที่กระทำผิดวินัยตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร ไม่ว่าเป็นการกระทำผิดในหรือนอกราชอาณาจักร.

มาตรา 8  กำหนดว่า การกระทำบางอย่าง (21 บทมาตรา )ถ้าผู้มีอำนาจบังคับบัญชาตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร พิจารณาเห็นว่าเป็นการเล็กน้อยไม่สำคัญ ให้ถือว่าเป็นความผิดต่อวินัยทหาร และให้มีอำนาจลงทัณฑ์ตามมาตรา 7 เว้นแต่ผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร จะสั่งให้ส่งตัวผู้กระทำความผิดไปดำเนินคดีในศาลทหาร หรือจะมีการดำเนินคดีนั้นในศาลพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหารจึงให้เป็นไปตามนั้น

มาตรา 9 กำหนดว่า  ความที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 ให้ใช้ได้ตลอดถึงความผิดลหุโทษและความผิดที่เปรียบเทียบได้ตามกฎหมาย

ข้อพิจารณา  การกระทำความผิดอาญาที่มีโทษปรับสถานเดียว เป็นความผิดที่เปรียบเทียบได้ตามกฎหมาย ซึ่งถ้าผู้บังคับบัญชาตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร พิจารณาเห็นว่าเป็นการเล็กน้อยไม่สำคัญ ให้ถือว่าเป็นความผิดวินัยทหาร และผู้มีอำนาจบังคับบัญชาทหารมีอำนาจลงทัณฑ์ได้ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร

กรณีที่ ส.ต.สุรศักดิ์  กระทำความผิดอาญาที่มีโทษปรับสถานเดียว ซึ่งเป็นความผิดที่เปรียบเทียบได้ตามกฎหมาย   พล.ต.มานพ จก.กง.ทบ. ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจบังคับบัญชาตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหารพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นการเล็กน้อยไม่สำคัญ ถือว่า ส.ต.สุรศักดิ์ กระทำผิดวินัยทหาร  พล.ต.มานพ จก.กง.ทบ. จึงมีอำนาจลงทัณฑ์ ส.ต.สุรศักดิ์ได้ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร

ดังนั้น การที่ พล.ต.มานพ จก.กง.ทบ. สั่งขัง ส.ต.สุรศักดิ์  3 วัน จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายอาญาทหาร มาตรา 9 ประกอบด้วยมาตรา 7 และ 8

                 3.พลทหาร สมชาย สังกัด กองพันบริการ กรมยุทธบริการทหาร ไม่พอใจนายสมหมายที่มักจะพูดจาข่มขู่รีดไถเงินพลทหาร สมชายเป็นประจำ ในวันเกิดเหตุ นายสมหมายได้มาหา พลทหาร สมชาย ที่กรมยุทธบริการทหาร และทำการข่มขู่เช่นเดิม พลทหาร สมชาย จึงได้ใช้มือชกใบหน้าของนายสมหมายจำนวน ครั้ง เป็นเหตุให้นายสมหมายได้รับบาดแผลฉีกขาด ต่อมา พันเอก สมศักดิ์ ผู้บังคับกองพันบริการ กรมยุทธบริการทหาร ทราบเรื่องจึงได้ดำเนินการสอบสวนจนเสร็จสิ้น และพิจารณาแล้วเห็นว่า เป็นเรื่องเล็กน้อยไม่สำคัญเนื่องจากพลทหาร สมชาย ไม่ได้เป็นผู้ก่อเหตุก่อนและชกเพียง  1 ครั้งเท่านั้น จึงดำเนินการเพื่อให้มีการลงทัณฑ์ทางวินัยทหารแทนการดำเนินคดีอาญาในศาล

ให้นักศึกษาวินิจฉัยว่า การดำเนินการเพื่อให้มีการลงทัณฑ์ของ พันเอก สมศักดิ์ นั้น ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อย่างไร

ข้อกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญาทหาร

มาตรา 8  กำหนดว่า  การกระทำบางอย่าง ( ใน 21 บทมาตรา ) ถ้าผู้มีอำนาจบังคับบัญชาตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร พิจารณาเห็นว่าเป็นการเล็กน้อยไม่สำคัญ ให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดวินัยทหาร และมีอำนาจลงทัณฑ์ตามมาตรา 7 เว้นแต่ผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร จะสั่งให้ส่งตัวผู้กระทำความผิดไปดำเนินคดีในศาลทหาร หรือจะมีการดำเนินคดีนั้นในศาลพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหารจึงให้เป็นไปตามนั้น

มาตรา 9 กำหนดว่า  ความที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 ให้ใช้ได้ตลอดถึงความผิดลหุโทษและความผิดที่เปรียบเทียบได้ตามกฎหมาย

ข้อพิจารณา  การกระทำความผิดเฉพาะบางฐานความผิด ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 ( 21 บทมาตรา ) ตามประมวลกฎหมายอาญาทหาร รวมทั้งการกระทำความผิดลหุโทษ และความผิดที่เปรียบเทียบได้ตามกฎหมาย ถ้าผู้บังคับบัญชาทหารตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร พิจารณาเห็นว่า เป็นการเล็กน้อยไม่สำคัญ ให้ถือว่าเป็นความผิดวินัยทหาร และให้ลงทัณฑ์ได้ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร

กรณี พลทหารสมชาย ได้ใช้มือชกใบหน้าของนายสมหมายจำนวน ครั้ง เป็นเหตุให้นายสมหมายได้รับบาดแผลฉีกขาด ถือว่า พลทหารสมชายได้กระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น เป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ซึ่งฐานความผิดนี้ไม่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 8 แห่งประมวลกฎหมายอาญาทหาร อีกทั้งมิได้เป็นความผิดลหุโทษเพราะมีโทษจำคุกสูงกว่าความผิดฐานลหุโทษและไม่เป็นความผิดที่เปรียบเทียบได้ตามกฎหมาย ดังนั้น การกระทำของพลทหารสมชาย จึงไม่ถือว่าเป็นการกระทำผิดวินัยทหาร และผู้บังคับบัญชาไม่มีอำนาจลงทัณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร

ดังนั้น การดำเนินการเพื่อให้มีการลงทัณฑ์ของ พันเอก สมศักดิ์ จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายอาญาทหาร มาตรา 8  ประกอบด้วยมาตรา 7 และมาตรา 9

 4. ศาลประจำหน่วยทหารกับศาลทหารชั้นต้นอื่นๆ มีความแตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย?

ศาลทหารในเวลาปกติแบ่งออกเป็น 3 ชั้น ( มาตรา 6 ) คือ

(1.) ศาลทหารชั้นต้น

(2) ศาลทหารกลาง

(3) ศาลทหารสูงสุด

เฉพาะศาลทหารชั้นต้น ยังแยกออกเป็น

(1) ศาลจังหวัดทหาร

(2) ศาลมณฑลทหาร

(3) ศาลทหารกรุงเทพ และ

(4) ศาลทหารประจำหน่วยทหาร ( มาตรา 7 )

ศาลประจำหน่วยทหารเป็นศาลทหารชั้นต้นที่ไม่ได้เกิดขึ้นมาได้อย่างถาวร เพราะจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อได้มีการจัดตั้งขึ้นภายใต้เงื่อนไขที่ว่า

(1) มีหน่วยทหารปฏิบัติหน้าที่อยู่นอกราชอาณาจักร หรือกำลังเดินทางเพื่อไปปฏิบัติหน้าที่นอกราชอาณาจักร

(2) หน่วยทหารนั้น มีกำลังทหารไม่น้อยกว่าหนึ่งกองพัน

(3) ได้มีการอนุมัติให้ตั้งศาลประจำหน่วยทหารขึ้นมาตามกฎหมาย

ศาลประจำหน่วยทหารจึงมีความแตกต่างไปจากศาลทหารชั้นต้นอื่นตรงที่ว่า

(1) ศาลประจำหน่วยทหารเป็นศาลทหารที่ไม่ได้ก่อตั้งขึ้นมาในลักษณะเป็นการถาวร แต่เป็นศาลทหารที่จะต้องเคลื่อนที่ไปตามหน่วยทหารนั้นๆ ส่วนศาลทหารชั้นต้นอื่น ( ศาลจังหวัดทหาร ศาลมณฑลทหาร ศาลทหารกรุงเทพ) เป็นก่อตั้งขึ้นมาในลักษณะเป็นการถาวร

(2) ศาลประจำหน่วยทหารเป็นศาลทหารที่มีกำหนดเขตอำนาจโดยไม่อาศัยพื้นที่เช่นเดียวกับศาลทหารกรุงเทพ ซึ่งแตกต่างไปจากศาลจังหวัดทหารและศาลมณฑลทหารที่กำหนดเขตอำนาจโดยอาศัยพื้นที่ แต่ทว่าศาลประจำหน่วยทหารกับศาลทหารกรุงเทพแตกต่างกันในเรื่องบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาล กล่าวคือ ศาลประจำหน่วยทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเฉพาะบุคคลที่สังกัดหน่วยทหารนั้นๆ ตกเป็นจำเลย ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 7(3) ส่วนศาลทหารกรุงเทพ บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะตกเป็นจำเลยจะเป็นบุคคลที่สังกัดหน่วยทหารใดๆ ก็ได้

(3) ศาลประจำหน่วยทหารเป็นศาลทหารชั้นต้นที่กฎหมายบัญญัติให้มีอำนาจพิจารณาคดีนอกราชอาณาจักรได้ ส่วนศาลทหารชั้นต้นอื่นไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษานอกราชอาณาจักร

(4) แตกต่างกันในเรื่องผู้รับมอบพระราชอำนาจในการแต่งตั้ง และถอดถอนตุลาการศาลทหาร ดังนี้

                (4.1) ผู้รับมอบพระราชอำนาจในการแต่งตั้ง และถอดถอนตุลาการศาลจังหวัดทหาร ได้แก่ ผู้มีอำนาจบังคับบัญชาจังหวัดทหาร ( ผบ.จทบ. )

                (4.2) ผู้รับมอบพระราชอำนาจในการแต่งตั้ง และถอดถอนตุลาการศาลมณฑลทหาร ได้แก่ ผู้มีอำนาจบังคับบัญชามณฑลทหาร ( ผบ.มทบ. )

 (4.3) ผู้รับมอบพระราชอำนาจในการแต่งตั้ง และถอดถอนตุลาการศาลทหารกรุงเทพ ได้แก่ รมว.กห.

                (4.4) ผู้รับมอบพระราชอำนาจในการแต่งตั้ง และถอดถอนตุลาการศาลประจำหน่วยทหาร ได้แก่ ผู้มีอำนาจบังคับบัญชาหน่วยทหารนั้นๆ

 

5. คดีใดบ้างที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร จงอธิบาย?

ศาลทหารซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติพระธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 สังกัดกระทรวงกลาโหม แบ่งออกเป็น 2  ประเภท คือ

1. ศาลทหารในเวลาปกติศาลทหาร และ

2. ศาลทหารในเวลาไม่ปกติ ( มาตรา 5 )

ศาลทหารในเวลาปกติ มีอำนาจ

1. พิจารณาพิพากษาวางบทลงโทษผู้กระทำผิดต่อกฎหมายทหารหรือกฎหมายอื่นในทางอาญา ในคดีซึ่งผู้กระทำผิดเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารขณะกระทำผิด

2. สั่งลงโทษบุคคลใดๆ ที่กระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (มาตรา 13 )

สำหรับศาลทหารในเวลาไม่ปกติ  ถ้าผู้มีอำนาจประกาศกฎอัยการศึก ได้ประกาศตามอำนาจในกฎหมายว่าด้วยกฎหมายอัยการศึกให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาอย่างใดอีก ก็ให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาตามประกาศนั้นด้วย

 

6. คดีใดบ้างที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร จงอธิบาย ?

คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ได้กำหนดไว้ใน มาตรา 14 แห่ง พระราชบัญญัติพระธรรมนูญศาลทหาร ดังนี้

(1) คดีที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน เช่น ทหารกับพลเรือนร่วมกันลักทรัพย์  หรือทหารกับพลเรือนต่างขับรถด้วยความประมาทเฉี่ยวชนกันเป็นเหตุให้ผู้โดยสารที่นั่งมาในรถถึงแก่ความตาย ดังนี้ ถือเป็นการกระทำผิดด้วยกัน คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ต้องดำเนินคดีในศาลพลเรือน ตามมาตรา 15

(2) คดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน เช่น พลทหาร ก. มีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งเป็นความผิด ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ แล้ว พลทหาร ก. ได้ใช้อาวุธปืนนั้นไปร่วมกับพวกซึ่งเป็นพลเรือนกระทำการปล้นทรัพย์ ดังนี้ คดีที่พลทหาร ก. มีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร เพราะไม่ได้ร่วมกระทำผิดกับพลเรือน ส่วนคดีที่พลทหาร ก. ไปร่วมกับพวกที่เป็นพลเรือนกระทำการปล้นทรัพย์ เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน กรณีคดีมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นคดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน จึงไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ต้องดำเนินคดีในศาลพลเรือน

(3) คดีที่ต้องดำเนินในศาลคดีเด็กและเยาชน ( ปัจจุบันคือศาลเยาวชนและครอบครัว) คดีดังกล่าวได้แก่ กรณีที่นักเรียนทหารกระทำความผิด ถ้าอายุในวันที่กระทำผิดยังไม่ครบสิบแปดปีบริบูรณ์ คดีไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารต้องดำเนินคดีในศาลคดีเด็กและเยาวชน ( ศาลเยาวชนและครอบครัว)

(4) คดีที่ศาลทหารเห็นว่าไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร  หมายความว่า คดีนั้นศาลทหารได้พิจารณาแล้ว และได้มีคำสั่งหรือคำพิพากษาว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารจะเนื่องจากกรณีใดก็ตาม กรณีดังกล่าวต้องดำเนินคดีในศาลพลเรือน

คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารนี้ ให้ดำเนินคดีในศาลพลเรือน และเมื่อศาลพลเรือนได้ประทับรับฟ้องไว้แล้ว แม้ปรากฏตามทางพิจารณาภายหลังว่า เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ศาลพลเรือนก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไปได้ ( มาตรา 15)


สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 
ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้