ข้อที่ 1. จงบอกความหมายของ “ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง” ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
ตอบ…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
ข้อที่ 2. ตามมาตราที่ 6 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงใดรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ตอบ…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
ข้อที่ 3. การแต่งตั้งนายทะเบียน พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน และผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ใด
ตอบ…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
ข้อที่ 4. สำนักงานคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจหน้าที่ ??
ตอบ…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
.
ข้อที่ 5. สำนักงานผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน มีอำนาจหน้าที่ ??
ตอบ…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
ข้อที่ 6. ตามมาตราที่ 10สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ยี่สิบคนขึ้นไปต้องจัดให้มี??
ตอบ…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
ข้อที่ 7. ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอย่างน้อยต้องมี รายละเอียดอะไรบ้าง
ตอบ…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
ข้อที่ 8. ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง มีผลใช้บังคับภายในกี่วัน??
ตอบ…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
ข้อที่ 9. ตามมาตราที่ 13ในกรณีที่ลูกจ้างเป็นผู้แจ้งข้อเรียกร้องนายจ้างของตนเอง ลูกจ้างต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
ข้อที่ 10. ตามมาตราที่ 18หากนายจ้างหรือสมาคมนายจ้างกับลูกจ้าง หรือสหภาพแรงงานสามารถตกลงเกี่ยวกับข้อเรียกร้องตามมาตรา 13 ได้แล้วต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป
ตอบ…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
เฉลยแนวข้อสอบพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
ข้อที่ 1. ตอบ “ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง” หมายความว่า ข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง หรือระหว่างนายจ้างหรือสมาคมนายจ้างกับสหภาพแรงงานเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
ข้อที่ 2. ตอบ มาตรา 6 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ข้อที่ 3. ตอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
มาตรา 6 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และ ให้มีอำนาจ ดังต่อไปนี้
(1) แต่งตั้งนายทะเบียน พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน และผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
(2) ออกกฏกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
การแต่งตั้งตาม (1) ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
กฏกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
ข้อที่ 4. ตอบ ตามมาตราที่ 8 สำนักงานคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) ดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงเบื้องต้นเกี่ยวกับคำร้องและข้อพิพาทแรงงาน
(2) ดำเนินการให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
(3) อำนาจหน้าที่อื่น
ข้อที่ 5. ตอบ ตามมาตราที่ 9 สำนักงานผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) จัดทำบัญชีรายชื่อและคุณสมบัติของผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานเพื่อเสนอให้คู่กรณีเลือกตั้ง
(2) ควบคุมและดำเนินการทางวิชาการและธุรการเกี่ยวกับการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน
ข้อที่ 6. ตอบ สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ยี่สิบคนขึ้นไปจัดให้มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้ทำเป็นหนังสือในกรณีเป็นที่สงสัยว่า ในสถานประกอบกิจการนั้นมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง หรือไม่ ให้ถือว่าข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่นายจ้างต้องจัดให้มีตามกฏหมายว่าด้วยการ คุ้มครองแรงงาน เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามพระราชบัญญัตินี้
ข้อที่ 7. ตอบ ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอย่างน้อยต้องมีข้อความ ดังต่อไปนี้
(1) เงื่อนไขการจ้างหรือการทำงาน
(2) กำหนดวันและเวลาทำงาน
(3) ค่าจ้าง
(4) สวัสดิการ
(5) การเลิกจ้าง
(6) การยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ของลูกจ้าง
(7) การแก้ไขเพิ่มเติมหรือการต่ออายุข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
ข้อที่ 8. ตอบตามมาตราที่ 12 ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง มีผลใช้บังคับภายในระยะเวลาที่นายจ้าง และลูกจ้างได้ตกลงกัน
ข้อที่ 9. ตอบตามมาตราที่ 13 ในกรณีที่ลูกจ้างเป็นผู้แจ้งข้อเรียกร้อง ข้อเรียกร้องนั้นต้องมีรายชื่อและลายมือชื่อของ ลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องไม่น้อยกว่าร้อยละสิบห้าของลูกจ้างทั้งหมด ซึ่งเกี่ยวข้องกับ ข้อเรียกร้องนั้น
ข้อที่ 10. ให้ทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้น เป็นหนังสือลงลายมือชื่อนายจ้างหรือผู้แทนนายจ้าง และผู้แทนลูกจ้างหรือกรรมการของ สหภาพแรงงาน แล้วแต่กรณี และให้นายจ้างประกาศข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดย เปิดเผยไว้ ณ สถานที่ที่ลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องทำงานอยู่เป็นเวลาอย่างน้อย สามสิบวัน โดยเริ่มประกาศภายในสามวัน นับแต่วันที่ได้ตกลงกั