วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / ยุทธศาสตร์
****************************
วิสัยทัศน์
( Vision )
กำกับดูแลและบริหารการใช้จ่ายเงินของแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด
พันธกิจ
( Mission )
- กำหนดมาตรฐานหลักเกณฑ์แนวปฏิบัติด้านกฎหมายการคลังการ
บัญชีการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐการตรวจสอบภายในค่าตอบแทนและสวัสดิการ เงินนอกงบประมาณลูกจ้างและความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ให้สอดคล้องกับการรักษาวินัยและความยั่งยืนทางการคลัง
- บริหารเงินสดภาครัฐบริหารการรับ-จ่ายเงิน
ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้ระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย
- สนับสนุนการบริหารเศรษฐกิจการคลังในส่วนภูมิภาค
- พัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรภาครัฐทางด้านการบริหารการเงินภาครัฐ
- เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศทางการคลัง
ค่านิยม
ซื่อสัตย์โปร่งใส บริการด้วยใจ รักษา
ประเด็นยุทธศาสตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1
การเป็นกลไกหลักของนโนยบายการคลังที่ขับเคลื่อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
(Fiscal Stimulus)
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2
การปรับภาวะการคลังให้เข้าสู่สมดุล (Fiscal Consolidation)
ประเด็นยุทธสาสตร์ที่ 3
การเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กร (Strengthen the CGD Organization)
ประวัติ
********************
ใน พ.ศ.๒๔๑๖ (จ.ศ.๑๒๓๕)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงตราพระราชบัญญัติ
สำหรับหอรัษฎากรพิพัฒน
กำหนดให้มีเจ้าพนักงานบาญชีกลางเพื่อทำหน้าที่จัดบัญชีอากรทั้งปวงบรรดาที่ขึ้นอยู่ในหอรัษฎากรพิพัฒนให้เป็นหลักฐาน
จะได้ทราบฐานะการเงินของแผ่นดินได้แน่นอน โดยตั้งอยู่ในหอรัษฎาพิพัฒน
ในพระบรมมหาราชวัง
ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๑๘ (จ.ศ. ๑๒๓๗) ได้ทรงตราพระราชบัญญัติกรมพระคลังมหาสมบัติว่าด้วยกรมต่าง
ๆ ซึ่งจะเบิกเงินส่งเงิน เหตุผลในการตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้นมีว่า การภาษีอากรซึ่งเป็นเงินขึ้นสำหรับแผ่นดินได้จับจ่ายราชการ ทนุบำรุงบ้านเมือง และใช้จ่ายเป็นเบี้ยหวัดเงินเดือนข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือนนั้น
พระคลังมหาสมบัติยังไม่มีอย่างธรรมเนียมรับธรรมเนียมจ่ายเงินให้เรียบร้อย
เงินจึงได้ติดค้างเจ้าภาษีนายอากรเป็นอันมาก ไม่พอจับจ่ายใช้ราชการทนุบำรุงบ้านเมืองให้ราษฎรอยู่เย็นเป็นสุขยิ่งขึ้นได้
จึงทรงพระราชดำริปรึกษาพร้อมด้วยท่านเสนาบดีและเคาน์
ซิลลอร์ออฟสเตด ตั้งเป็นพระราชบัญญัตินี้ขึ้น
หลักการของพระราชบัญญัตินี้คือ การจัดระเบียบราชการในกรมพระคลังมหาสมบัติให้มีอธิบดีเป็นประธาน
และรองอธิบดีช่วยราชการท่านผู้เป็นอธิบดี มีเจ้าพนักงานใหญ่ ๕ นาย คือ
ปลัดอธิบดีนาย ๑ เจ้าพนักงานบาญชีกลางนาย ๑ เจ้าพนักงานบาญชีรับเงินนาย ๑
เจ้าพนักงานบาญชีจ่ายนาย ๑ เจ้าพนักงานเก็บเงินนาย ๑ กับให้มีเจ้าพนักงานเป็นรองเจ้าพนักงานใหญ่อีกนายละ
๑ คน พร้อมทั้งกำหนดอำนาจหน้าที่ของบรรดาเจ้าพนักงานขึ้นไว้โดยชัดแจ้ง
นอกจากนั้นยังกำหนดให้มีออดิตอเยเนอราล
เป็นเจ้าพนักงานสำหรับตรวจบาญชีและสิ่งของซึ่งเป็นรายขึ้นในแผ่นดินทุก ๆ ราย
และจัดวางระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อใช้ในกรมพระคลังมหาสมบัติ
(กรมพระคลังมหาสมบัติ คือ กระทรวงการคลังในปัจจุบัน)
อย่างไรก็ดี
การดำเนินงานของกรมพระคลังมหาสมบัติที่ตั้งขึ้นใหม่ ยังมีอุปสรรคและยังไม่เหมาะสม
เนื่องจากกิจการบ้านเมืองเจริญก้าวหน้ามากขึ้นและกรมพระคลังมหาสมบัติได้
รับการยกฐานะขึ้นเป็นกระทรวงแล้ว ดังนั้น ในปี ๒๔๓๓ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติพระธรรมนูญหน้าที่ราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติขึ้นเมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม ร.ศ.๑๐๙ (พ.ศ.
๒๔๓๓) กำหนดให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
มีหน้าที่สำหรับรับสำหรับจ่ายและรักษาเงินแผ่นดินทั้งสรรพราชสมบัติพัสดุทั้งปวงกับถือบาญชีพระราชทรัพย์สำหรับในกระทรวงสิทธิขาด
นับเป็นกรมเจ้ากระทรวงและกรมขึ้น รวมเป็นกรมใหญ่ ๑๓ กรม ดังนี้