ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดรับสมัครสอบ จำนวน 11 อัตรา 4 – 11 สิงหาคม 2558
decho ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดรับสมัครสอบ จำนวน 11 อัตรา 4 – 11 สิงหาคม 2558

แชร์กระทู้นี้

“กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม”

ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม รับสมัครพนักงานราชการ
ระดับการศึกษา: ปริญญาตรี  
อัตราเงินเดือน: 18,000
อัตราว่าง: 11
ปฏิบัติงานที่: หลายจังหวัด
เปิดรับสมัครตั้งแต่:  4 – 11 สิงหาคม 2558
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**

วิธีการสมัครงานพนักงานราชการ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม :ตนเอง  
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ: 
สอบวันที่: 
ประกาศผลสอบ
 ดาวน์โหลดประกาศรับสมัครสอบ คลิกที่นี่

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ

- ความรู้เกี่ยวกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

- แนวข้อสอบเกี่ยวกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

- แนวข้อสอบความสามารถทางคณิตศาสตร์

- แนวข้อสอบการวิเคราะห์และสรุปเหตุผล

- แนวข้อสอบเหตุการปัจจุบัน 

- แนวข้อสอบภาษาไทย

- แนวข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษ

(เลือกตามตำแหน่งที่สอบ)

1 นักวิชาการอุตสาหกรรม

2 นิติกร

3 นักวิชาการพัสดุ

นักวิชาการอุตสาหกรรม (ด้านออกแบบผลิตภัณฑ์) 


ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่  โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย  ในราคาเพียงชุดละ   399 บาท 

ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +VCD ภาษาอังกฤษ   ราคา 679 บาท
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ 
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 ธ.กสิกรไทย
 
 สาขาบิ๊กซีขอนแก่น ชื่อบัญชี 
decho  ออมทรัพย์ 
โอนเงินแล้วแจ้งที่  decho.by@hotmail.com

decho ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
แนวข้อสอบ  
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535
********************

1.    “พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535”  มีผลบังคับใช้เมื่อใด
ก. เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวัน  นับตั้งแต่วันประกาศราชกิจจานุเบกษา
ข. วันถัดไป  นับตั้งแต่วันประกาศราชกิจจานุเบกษา
ค. เมื่อพ้นกำหนดสิบวัน  นับตั้งแต่วันประกาศราชกิจจานุเบกษา
ง. เมื่อพ้นกำหนดสามสิบวัน  นับตั้งแต่วันประกาศราชกิจจานุเบกษา
ตอบ    ก.  เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวัน  นับตั้งแต่วันประกาศราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 2  พระราชพระราชบัญญัตินี้ให้บังคับใช้เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวัน  นับตั้งแต่วันประกาศราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
2.    พระราชบัญญัติโรงงาน  มีผลให้ยกเลิกพระราชบัญญัติ  ฉบับใดบ้าง
ก. พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512
ข. พระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2511    
ค. พระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2518
ง. พระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2522
ตอบ    ก.  พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512
มาตรา 3  ให้ยกเลิก
-    พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512
-    พระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2518
-    พระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522
3.    พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้กับโรงงานของทางราชการ  เพื่อเหตุผลใด
ก. เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในประเทศ
ข. เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศ
ค. เพื่ออำนวยความสะดวกแก่หน่วยงานราชการ
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ    ข.  เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศ


มาตรา 4  พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่โรงงานของทางราชการที่ดำเนินการโดยทางราชการ  เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศ  แต่ในการประกอบกิจการนี้ไปเป็นแนวทางในการดำเนินงาน
4.    โรงงาน หมายความว่าอย่างไร
ก. อาคาร สถานที่ หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมห้าแรงม้า
ข. อาคาร สถานที่ หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมสิบแรงม้า
ค. อาคาร สถานที่ หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมสิบห้าแรงม้า
ง. อาคาร สถานที่ หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมยี่สิบแรงม้า
ตอบ    ก.  อาคาร สถานที่ หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมห้าแรงม้า
มาตรา 5  ในพระราชบัญญัตินี้
“โรงงาน”  หมายความว่า  อาคาร สถานที่ หรือที่ยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมตั้งแต่ห้าแรงม้าหรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่ห้าแรงม้าขึ้นไป  หรือใช้คนงานตั้งแต่เจ็ดคนขึ้นไป  โดยใช้เครื่องจักรหรือไม่ก็ตามสำหรับทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง ทดสอบ ปรับปรุง แปรสภาพ ลำเลียง เก็บรักษา หรือทำลายสิ่งใดๆ  ทั้งนี้ ตามประเภทหรือชนิดของโรงงานที่กำหนดในกฎกระทรวง
“ตั้งโรงงาน”  หมายความว่า  การก่อสร้างอาคารเพื่อติดตั้งเครื่องจักรสำหรับประกอบกิจการ โรงงาน หรือนำเครื่องจักร สำหรับประกอบกิจการโรงงานมาติดตั้งในอาคารสถานที่หรือยานพาหนะที่จะประกอบกิจการ
“ประกอบกิจการโรงงาน”  หมายความว่า  การทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง ทดสอบ ปรับปรุง แปรสภาพ ลำเลียง เก็บรักษา หรือทำลายสิ่งใดๆ ตามลักษณะกิจการของโรงงานแต่ไม่รวมถึงการทดสอบเดินเครื่องจักร
“เครื่องจักร”  หมายความ  สิ่งที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนหลายชิ้นสำหรับใช้ก่อกำเนิดพลังงาน  เปลี่ยนหรือแปรสภาพพลังงาน  หรือส่งพลังงาน  ทั้งนี้ ด้วยกำลังน้ำ ไอน้ำ ลม ก๊าซไฟฟ้า หรือพลังงานอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน  และหมายความรวมถึงเครื่องอุปกรณ์ไฟลวีล ปุลเล สายพาน เพลา เกียร์ หรือสิ่งอื่นที่ทำงานสนองกัน
“คนงาน”  หมายความว่า  ผู้ซึ่งทำงานในโรงงาน  ทั้งนี้ ไม่รวมถึงผู้ซึ่งทำงานฝ่ายธุรการ
“ผู้อนุญาต”  หมายความว่า  ปลัดกระทรวงหรือผู้ซึ่งปลัดกระทรวงมอบหมายตามเหมาะสม
“ใบอนุญาต”  หมายความว่า  ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน
“พนักงานเจ้าหน้าที่”  หมายความว่า  ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
“ปลัดกระทรวง”  หมายความว่า  ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
“รัฐมนตรี”  หมายความว่า  รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
5.    ในพระราชบัญญัติฉบับนี้รัฐมนตรีหมายถึงบุคคลใด
ก.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวง54.    กลาโหม
ข.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวง56.    อุตสาหกรรม
ค.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวง58.    มหาดไทย
ง.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวง60.    การคลัง61.    
ตอบ      ข.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม          ดูคำอธิบายข้อข้างต้น
6.    ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตาม มาตรา 8(1) (2) (3) (4) (5) หรือ (8) หรือประกาศของรัฐมนตรีที่ออกตามกฎกระทรวงดังกล่าว  ต้องระวางโทษตามข้อใด
ก. จำคุกไม่เกินห้าเดือน
ข. จำคุกไม่เกินหกเดือน
ค. ปรับไม่เกินสอง65.    แสนบาท
ง. ปรับไม่เกินสามแสนบาท
ตอบ    ค.  ปรับไม่เกินสองแสนบาท
มาตรา 45  ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตาม มาตรา 8(1) (2) (3) (4) (5) หรือ (8) หรือประกาศของรัฐมนตรีที่ออกตามกฎกระทรวงดังกล่าว  ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท
7.    โรงงานจำพวกที่ 2  ได้แก่โรงงานประเภทใด
ก. โรงงานที่สามารถประกอบกิจการโรงงานได้ทันทีตามความประสงค์
ข. โรงงานที่เมื่อจะประกอบกิจการโรงงานต้อง78.    แจ้งให้ผู้อนุญาตทราบก่อน
ค. โรงงานที่การตั้งโรงงานจะต้องได้รับใบอนุญาตก่อนจึงจะดำเนินการได้
ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง91.    
ตอบ    ข.  โรงงานที่เมื่อจะประกอบกิจการโรงงานต้องแจ้งให้ผู้อนุญาตทราบก่อน
มาตรา 7  ให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดให้โรงงานตามประเภทชนิดหรือขนาดใดเป็นโรงงานจำพวกที่ 1  โรงงานจำพวกที่ 2  หรือโรงงานจำพวกที่ 3 แล้วแต่กรณี  โดยคำนึงถึงความจำเป็นในการควบคุมดูแล  การป้องกันเหตุเดือดร้อนรำคาญ  การป้องกันความเสียหาย  และการป้องกันอันตรายตามระดับความรุนแรงของผลกระทบที่จะมีต่อประชาชนหรือสิ่งแวดล้อม  โดยแบ่งออกเป็นดังนี้
- โรงงานจำพวกที่ 1  ได้แก่  โรงงานประเภท  ชนิด  และขนาดที่สามารถประกอบกิจการโรงงานได้ทันทีตามความประสงค์ของผู้ประกอบกิจการโรงงาน
- โรงงานจำพวกที่ 2  ได้แก่  โรงงานประเภท  ชนิด  และขนาดที่เมื่อจะประกอบกิจการโรงงานต้องแจ้งให้ผู้อนุญาตทราบก่อน
- โรงงานจำพวกที่ 3  ได้แก่  โรงงานประเภท  ชนิด  และขนาดที่การตั้งโรงงานจะต้องได้รับใบอนุญาตก่อนจึงจะดำเนินการได้เมื่อมีประกาศของรัฐมนตรีตาม มาตรา 32 (1) ให้โรงงานที่กำหนดในประกาศดังกล่าวเป็นโรงงานจำพวกที่ 3 ด้วย
8.    โรงงานมีกี่จำพวก
    ก. โรงงานมีสองจำพวก
    ข. โรงงานมีสามจำพวก
    ค. โรงงานมีสี่จำพวก
    ง. โรงงานมีห้าจำพวก
    ตอบ    ข.  โรงงานมีสามจำพวก    ดูคำอธิบายข้อข้างต้น
9.    เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการประกอบกิจการให้รัฐมนตรีออกกฎกระทรวงเพื่อให้โรงงานจำพวกใดจำพวกหนึ่งปฏิบัติตามข้อใด
ก. กำหนดลักษณะ  ประเภทหรือชนิดของเครื่องจักรที่นำมาใช้
ข. กำหนดคุณวุฒิของผู้จะเข้ามาปฏิบัติงานในโรงงาน
ค. กำหนดมาตรฐานและวิธีการควบคุมการปล่อยของเสีย
ง. ถูกทั้งข้อ ก. และ ค.
ตอบ    ง.  ถูกทั้ง ข้อ ก. และ ค.
มาตรา 8  เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการประกอบกิจการให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อให้โรงงานจำพวกใดจำพวกหนึ่งหรือทุกจำพวกตาม มาตรา 7 ต้องปฏิบัติตามในเรื่องดังต่อไปนี้
-    กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับที่ตั้งของโรงงาน  สภาพแวดล้อมของโรงงานลักษณะอาคารขอโรงงานหรือลักษณะภายในของโรงงาน
-    กำหนดลักษณะ  ประเภทหรือชนิดของเครื่องจักร  เครื่องอุปกรณ์หรือสิ่งที่ต้องนำมาใช้ในการประกอบกิจการโรงงาน
-    กำหนดให้มีคนงานซึ่งมีความรู้เฉพาะตามประเภท  ชนิดหรือขนาดของโรงงานเพื่อปฏิบัติหน้าที่หนึ่งหน้าที่ใดประจำโรงงาน
-    กำหนดหลักเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติ  กรรมวิธีการผลิตและการจัดให้มีอุปกรณ์หรือเครื่องมืออื่นใด  เพื่อป้องกันหรือระงับ  หรือบรรเทาอันตราย  ความเสียหายหรือความเดือดร้อนที่อาจเกิดแก่บุคคลหรือทรัพย์สินที่อยู่ในโรงงานหรือที่อยู่ใกล้เคียงกับโรงงาน
-    กำหนดมาตรฐานและวิธีการควบคุมการปล่อยของเสียมลพิษหรือสิ่งใดๆ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งเกิดขึ้นจากการประกอบกิจการโรงงาน
-    กำหนดการจัดให้มีเอกสารที่จำเป็นประจำโรงงานเพื่อประโยชน์ในการควบคุมหรือตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมาย
-    กำหนดข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับการประกอบกิจการโรงงานที่ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องแจ้งให้ทราบเป็นครั้งคราว  หรือตามระยะเวลาที่กำหนดไว้
-    กำหนดการอื่นใดเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยในการดำเนินงานเพื่อป้องกันหรือระงับ  หรือบรรเทาอันตราย  หรือความเสียหายที่อาจเกิดจากการประกอบกิจการโรงงานกฎกระทรวงตามวรรคหนึ่งจะกำหนดให้ยกเว้นโรงงานประเภท  ชนิด  หรือขนาดใดจากการต้องปฏิบัติในเรื่องหนึ่งเรื่องใดก็ได้  และกฎกระทรวงดังกล่าวจะสมควรกำหนดให้เรื่องที่เป็นรายละเอียดทางด้านเทคนิค  หรือเป็นเรื่องที่ต้องเปลี่ยนแปลงรวดเร็วตามสภาพสังคม  ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาก็ได้
10.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมมีอำนาจตามข้อใด
ก. กำหนดลักษณะ  ประเภทหรือชนิดของเครื่องจักรที่นำมาใช้
ข. กำหนดมาตรฐานและวิธีการควบคุมการปล่อยของเสีย
ค. กำหนดข้อมูลที่จำเป็นในการแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ    ง.  ถูกทุกข้อ          ดูคำอธิบายข้อข้างต้น
decho ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
111111111111
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้