พระราชกฤษฎีกา
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
.....................................
1. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ไม่ใช้บังคับกับส่วนราชการใด
ตอบ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ส่วนราชการอยู่ในบังคับ ได้แก่ ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานอื่นของรัฐที่อยู่ในกำกับของราชการฝ่ายบริหาร) (ม. 4)
2. การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีคือการบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมาย 7 ประการ ได้แก่
ตอบ ได้แก้ 1. ประโยชน์สุขของประชาชน
2. เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
3. มีสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
4. ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
5. มีการปรับปรุงภารกิจส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
6. ประชาชนได้รับอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
7. มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ
(ม. 6 จำให้ดีนะ 7 เป้าหมายนี้)
3. ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ส่วนราชการจะต้องดำเนินการโดยถือว่าประชาชนเป็น............
ตอบ ศูนย์กลางที่จะได้รับบริการจากรัฐ ม. 8
4. การกำหนดภารกิจของรัฐและส่วนราชการต้องสอดคล้องกับแนวนโยบายใด
ตอบ แนวนโยบายแห่งรัฐและนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา ม. 8 (1)
5. ในกรณีที่ภารกิจใดมีผลกระทบต่อประชาชนก่อนเริ่มดำเนินการ กฎหมายกำหนดให้ ส่วนราชการต้องทำอย่างไรก่อน
ตอบ ส่วนราชการต้องดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนหรือชี้แจงทำความเข้าใจเพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงประโยชน์ที่ส่วนรวมจะได้รับจากภารกิจนั้น ม. 8 (3)
6. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ให้ความหมายของ “การบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน” ไว้ว่าอย่างไร
ตอบ การปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความผาสุกและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนความสงบและปลอดภัยของสังคมส่วนรวม ตลอดจนประโยชน์สูงสุดของประเทศ (ผาสุก เป็นอยู่ที่ดีสงบปลอดภัย และประโยชน์สุขของประเทศ) ม.7
7. เครื่องมือสำคัญในการบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ คือ
ตอบ แผนปฏิบัติราชการ ม. 9(1)
8. ตัวชี้วัดความสำเร็จของภารกิจ หรือ Key Performance Index (KPI) เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
ตอบ แผนการบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ม.9 (2) (เป็นส่วนสำคัญในการจัดทำแผนราชการ)
9. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 กำหนดให้ใช้ “การบริหารราชการรูปแบบบูรณาการร่วมกัน” ในกรณีใด
ตอบ ในกรณี ดังนี้ (ม. 10)
1. กรณีที่ภารกิจนั้น ๆ มีความเกี่ยวข้องกับหลายส่วนราชการหรือเป็นภารกิจที่ใกล้เคียงหรือต่อเนื่องกัน
2. กรณีการสนับสนุนการปฏิบัติราชการของผู้ว่าราชการจังหวัดหรือหัวหน้าคณะผู้แทนในต่างประเทศในการบริหารราชการของจังหวัดหรือในต่างประเทศแล้วแต่กรณี เพื่อให้สามารถใช้อำนาจตามกฎหมายได้ครบถ้วนตามความจำเป็นและบริหารราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
10. ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ (Knowledge Management) ย่อ KM) เพื่อให้สร้างองค์กรให้มีลักษณะ..........
ตอบ เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)
11. Performance agreement หมายถึง
ตอบ ข้อตกลงว่าด้วยผลงาน
12. หน่วยงานใดมีหน้าที่ร่วมกันจัดทำการบริหารราชการแผ่นดินเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา
ตอบ สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ ม. 13
14. หน่วยงานใดมีหน้าที่ร่วมกันพิจารณาจัดทำแผนนิติบัญญัติ
ตอบ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ม. 15
15. ในแต่ละปีงบประมาณ ส่วนราชการต้องจัดทำแผนใด เพื่อให้สำนักงบประมาณใช้เป็นกรอบในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ
ตอบ แผนการปฏิบัติราชการประจำปี (ม. 16)
16. การโอนงบประมาณภารกิจหนึ่งตามที่กำหนดในแผนปฏิบัติราชการไปดำเนินอย่างอื่น ซึ่งมีผลทำให้ภารกิจเดิมไม่บรรลุเป้าหมายหรือนำไปใช้ในภารกิจใหม่ที่มิได้กำหนดในแผนปฏิบัติราชการ จะกระทำได้หรือไม่ภายใต้เงื่อนไขใด
ตอบ กระทำได้ ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ปรับแผนปฏิบัติราชการแล้ว (ม. 18)
17. ส่วนราชการใดเป็นองค์กรที่กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำบัญชีต้นทุนในการบริการสาธารณะ
ตอบ กรมบัญชีกลาง (ม. 21)
18. เมื่อส่วนราชการคำนวณรายจ่ายต่อหน่วยงานบริการสาธารณะเสร็จแล้ว ให้รายงานแก่หน่วยงานใดทราบด้วย
ตอบ รายงานให้สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และ ก.พ.ร. ทราบ (ม. 21)
19. หน่วยงานใดมีหน้าที่ประเมินความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจของรัฐ
ตอบ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงบประมาณ (ม. 22)
20. ในการจัดซื้อหรือจัดจ้างกรณีใดไม่ต้องถือราคาต่ำสุดในการเสนอซื้อหรือจ้าง
ตอบ ในกรณีที่วัตถุประสงค์ในการซื้อเป็นเหตุให้ต้องคำนึงถึงคุณภาพและการดูแลรักษาเป็นสำคัญ
21. การอนุญาต อนุมัติ หรือการให้ความเห็นชอบระหว่างส่วนราชการ ให้ส่วนราชการที่มีอำนาจอนุญาต อนุมัติ หรือให้ความเห็นชอบดัลกล่าว แจ้งผลการพิจารณาให้ส่วนราชการที่ยื่นคำขอทราบภายในระยะเวลากี่วันนับแต่.....
ตอบ สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับขอ (ม. 24)
22. การพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาตามอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการมีหลักในการพิจารณาอย่างไร
ตอบ 1. ต้องพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดโดยเร็ว
2. การตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาใด ๆ ให้ดำเนินการเท่าที่จำเป็นไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ (ม. 25)
23. โดยปกติการพิจารณาวินิจฉัยปัญหาใดด้วยคณะกรรมการ เมื่อคณะกรรมการมีมติเป็นการใดแล้ว ให้มติของคณะกรรมการผูกพันส่วนราชการซึ่งมีผู้แทนร่วมเป็นกรรมการอยู่ด้วยแม้ว่าในการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องนั้นผู้แทนของส่วนราชการที่เป็นกรรมการจะมิได้เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยก็ตาม ความผูกพันที่ที่ว่านี้ มิให้ใช้บังคับการวินิจฉัยในปัญหาด้านใด
ตอบ ปัญหาด้านกฎหมาย (ม. 25)
24. ในกระทรวง ใครเป็นผู้มีหน้าที่จัดให้มีศูนย์บริการร่วม
ตอบ ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ และปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ จัดตั้งศูนย์บริการร่วมไว้ ณ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ หรือที่ว่าการกิ่งอำเภอ หรือสถานที่อื่นตามที่เห็นสมควร (ม. 32)
28. ศูนย์บริการร่วม (Service Link) มีแนวคิดในการจัดตั้งอย่างไร
ตอบ คือการนำภารกิจของส่วนราชการที่รับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารประชาชนในเรื่องเดียวกันหรือต่อเนื่องกัน มาไว้ ณ จุดเดียวกัน
29. หน่วยงานใดมีหน้าที่ตรวจสอบกฎหมายที่ไม่สอดคล้องหรือเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบันเพื่อแจ้งให้ส่วนราชการปรับปรุง ยกเลิกแก้ไข
ตอบ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (ม. 36)
30. (สืบเนื่องจากข้อ 29) ในกรณีที่ส่วนราชการได้รับการเสนอแนะไม่เห็นชอบด้วยกับคำเสนอแนะของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ต้องส่งเรื่องให้องค์กรพิจารณาวินิจฉัย
ตอบ คณะรัฐมนตรี (ม. 36)
31. องค์กรใดทำหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ
ตอบ คณะผู้ประเมินอิสระ (ม. 45)
32. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่จัดทำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามแนวทางพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 โดยอย่างน้อยต้องมีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ.......
ตอบ การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และการอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยมีกระทรวงมหาดไทยทำหน้าที่ดูแลและให้ความช่วยเหลือ
33. ในแต่ละปีเป้าหมายของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี มีเรื่องใดที่ควรจำบ้าง (โจทย์มักจะถามว่าเรื่องใดอยู่ในเป้าหมายใด)
ตอบ 1. เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
- การยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง
- การวิเคราะห์ผลดี ผลเสีย และการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ก่อนเริ่มดำเนินการใด ๆ
2. เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
- การจัดทำแผนปฏิบัติราชการ
- การบริหารรูปแบบบูรณาการร่วม
- การสร้างส่วนราชการให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
3. มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
- การจัดทำบัญชีต้นทุนในการบริการสาธารณะ
- การมีแผนลดรายจ่าย
- การประเมินความคุ้มค่า
4. ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
- การมอบอำนาจเพื่อให้เกิดความรวดเร็ว
- การนำเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ โทรคมนาคม เพื่อลดขั้นตอนในการปฏิบัติ ประหยัดค่าใช้จ่าย
- การจัดให้มีศูนย์บริการร่วม
5. มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
- การทบทวนภารกิจและยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็น
- การปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
6. ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
- การกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงาน
- การจัดให้มีเครือข่ายสาระสนเทศกลาง
7. มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ
- การประเมินผลราชการโดยผู้ประเมินอิสระ
- การจัดสรรเงินเพิ่มเพิเศษเป็นบำเหน็จความชอบ