ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : สรุปความรู้เรื่องกฎหมาย เบื้องต้น
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

สรุปความรู้เรื่องกฎหมาย เบื้องต้น

แชร์กระทู้นี้

ความรู้เรื่องกฎหมาย กฎหมาย คือ

บรรดาคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐหรือประเทศที่ใช้บังคับความประพฤติทั้งหลายของบุคคล
อันเกี่ยวด้วยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกัน
ถ้าใครฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะต้องมีความผิดและถูกลงโทษ
ในทางอาญาอาจจะมีโทษปรับเป็นเงินหรือโทษจำคุก ในทางแพ่งอาจจะถูกบังคับให้ชำระหนี้หรือชดใช้ค่าเสียหาย


ความหมายของกฎหมายตามแนวความคิดเดิม


1. กฎหมาย  คือ คำบัญชาของผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ


2. กฎหมาย  คือ คำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองว่าการแผ่นดินต่อราษฎรทั้งหลาย
เมื่อไม่ทำตามก็จะต้องถูกลงโทษ


ความหมายของกฎหมายตามแนวความคิดใหม่


1. กฎหมายคือ ระเบียบกฎเกณฑ์ซึ่งมีลักษณะเป็นสากลและพบเห็นได้ในทุกสังคม


2. กฎหมายคือ ระบบที่มีอำนาจโดยชอบธรรมซึ่งมีการรับรองไว้แล้ว


3. กฎหมาย คือกฎเกณฑ์สูงสุดของสังคมและเป็นตัวควบคุมกฎเกณฑ์อื่น ๆ


4. กฎหมายคือระบบกฎเกณฑ์ที่มีการจัดทำการตีความ และการใช้บังคับเป็นกิจจะลักษณะ
ตลอดจนมีวัตถุประสงค์ของโครงสร้างหลักเกณฑ์เจ้าหน้าที่และกระบวนการอันคำนึงถึงความสงบเรียบร้อย และความคิดเรื่องความยุติธรรม


ลักษณะสำคัญของกฎหมาย

1. กฎหมายจะต้องมาจากรัฏฐาธิปัตย์
หมายความว่า  ผู้บัญญัติกฎหมายต้องมีอำนาจในรัฐ   จะเป็นบุคคลหรือคณะบุคคล เช่น พระมหากษัตริย์ หัวหน้าคณะปฏิวัติหรือรัฐสภาที่มีอำนาจเด็ดขาดที่จะออกกฎหมายมาบังคับได้และรัฐหรือประเทศนั้น
ๆ จะต้องเป็นเอกราช มีอำนาจอธิปไตยของตนเองไม่เป็นอาณานิคมหรือเมืองขึ้นของประเทศอื่นใด
2.
 กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ทั่วไป
หมายความว่า กฎหมายจะต้องใช้บังคับได้ทุกสถานที่และแก่บุคคลทุกคนโดยเสมอภาค

3.
 กฎหมายเป็นข้อบังคับที่ใช้ได้เสมอไป
หมายความว่า
เมื่อได้มีการประกาศใช้กฎหมายเรื่องใดฉบับใดแล้ว  กฎหมายนั้นก็จะใช้ได้ตลอดไป จะเก่าหรือล้าสมัยอย่างไรก็ใช้บังคับได้อยู่   จนกว่าจะได้มีการประกาศยกเลิก เช่นพระราชบัญญัติตามช้างรัตนโกสินทรศก 127 เป็นต้นซึ่งปัจจุบันก็ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่
4.
 กฎหมายเป็นข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตามหมายความว่า  กฎหมายทุกฉบับประชาชนต้องปฏิบัติตาม  จะขัดกับผลประโยชน์ของตนอย่างไรหรือไม่เห็นด้วยกับกฎหมายฉบับนั้นก็ปฏิเสธไม่ได้เช่น กฎหมายกำหนดให้ผู้มีรายได้ต้องเสียภาษีอากร ชายไทยอายุย่างเข้า 21 ปีใน พ.. ใดต้องตรวจเข้ารับราชการทหาร เป็นต้น

บุคคลที่ถูกบังคับให้ต้องปฏิบัติจะปฏิเสธไม่ได้

5. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับหมายความว่า ผู้กระทำหรืองดเว้นกระทำตามที่กฎหมายกำหนดต้องถูกลงโทษ

เช่น กฎหมายกำหนดผู้มีรายได้ต้องเสียภาษีผู้นั้นต้องรับโทษปรับหรือถูกยึดทรัพย์สินมาขายหรือชำระค่าภาษี เป็นต้น


ที่มาของกฎหมาย

                1.กฎหมายลายลักษณ์อักษร คือ

กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติตามแบบพิธีและขั้นตอนที่กำหนดไว้ โดยตราขึ้นไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและประกาศให้ประชาชนทราบ
เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกากฎกระทรวง เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เป็นต้น
กฎหมายของไทยส่วนใหญ่ที่ศาลหรือผู้ใช้นำมาปรับแก่คดีคือกฎหมายลายลักษณ์อักษรเป็นสำคัญ

                2.กฎหมายจารีตประเพณี คือ

กฎหมายที่ไม่ได้มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
ประชาชนได้ประพฤติตามแบบอย่างกันมาเป็นเวลาช้านานโดยรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ดีงามและถูกต้อง
และรัฐใช้ข้อปฏิบัติเหล่านี้เสมือนกฎหมายอย่างหนึ่ง
โดยมีศาลยุติธรรมรับรองกฎหมายจารีตประเพณี


                3. หลักกฎหมายทั่วไป คือ หลักเกณฑ์ทั่ว ๆไป  ของกฎหมายที่ยึดหลักความเป็นธรรมซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปโดยศาลยุติธรรมเป็นผู้รับรองหลักกฎหมายว่ามีฐานะเป็นกฎหมายและมีผลบังคับใช้ได้


ประเภทและลำดับชั้นของกฎหมาย


 ประเภทของกฎหมาย
กฎหมายมี
3 ประเภทคือ


                                        1. กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชน ได้แก่ราษฎรทั่วไปในฐานะที่รัฐเป็นฝ่ายปกครองมีอำนาจเหนือกว่าราษฎร
กฎหมายมหาชนได้แก่กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายอาญา พระธรรมนูญศาลยุติธรรมกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง


                2.กฎหมายเอกชนเป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนต่อเอกชน ในฐานะเท่าเทียมกันกฎหมายเอกชนได้แก่กฎหมายแพ่ง และกฎหมายพาณิชย์


                3.กฎหมายระหว่างประเทศคือกฎหมายที่กำหนดตามความเกี่ยวพันระหว่างประเทศต่อประเทศหรือรัฐต่อรัฐแบ่งออกเป็น 3 แผนก คือ

                            3 .1 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

3 .2 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล

                            3.3 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา 

ลำดับชั้นของกฎหมาย


1. กฎหมายรัฐธรรมนูญคือ กฎหมายสูงสุดในการจัดระเบียบการปกครองประเทศ     ซึ่งจะวางระเบียบแห่งอำนาจสูงสุดของรัฐหรืออำนาจอธิปไตย

ได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการตลอดจนการกำหนดสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของชนชาวไทย

             2. พระราชบัญญัติ (...)คือกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา

เป็นกฎหมายหลักที่สำคัญที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบันพระราชบัญญัติเป็นกฎหมายที่มีลำดับชั้นรองลงมาจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติที่สำคัญที่รัฐสภาตราออกมาใช้บังคับ เช่นพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ
.. 2535 พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่
.. 2535 เป็นต้น

3.ประมวลกฎหมายคือกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่ได้บัญญัติหรือตราขึ้นโดยรวบรวมจัดเอาบทบัญญัติเกี่ยวกับกฎหมายที่เป็นเรื่องเดียวกันเอามารวบรวมเป็นหมวดหมู่

วางหลักเกณฑ์ให้อยู่ในที่เดียวกันและมีข้อความเกี่ยวเนื่องติดต่อกันอย่างเป็นระเบียบ
เช่น ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลรัษฎากร เป็นต
 ประมวลกฎหมายมีฐานะเท่าเทียมกับพระราชบัญญัติ     

4.พระราชกำหนด (...)คือกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีการตราพระราชกำหนดให้กระทำได้เฉพาะเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้และต้องเป็นกรณีเพื่อจะรักษาความปลอดภัยของประเทศหรือความปลอดภัยสาธารณะ

หรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ
หรือเป็นพระราชกำหนดเกี่ยวด้วยการภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดินและเมื่อได้ประกาศใช้แล้วต้องเสนอพระราชกำหนดนั้นต่อสภาทันทีถ้ารัฐอนุมัติก็มีผลใช้บังคับเป็นพระราชบัญญัติต่อไปถ้ารัฐสภาไม่อนุมัติก็ตกไป
แต่ถ้าไม่กระทบกระเทือนกิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่ใช้พระราชกำหนดนั้นการประกาศใช้พระราชกำหนดให้ประกาศในราช
-กิจจานุเบกษา
โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการ


5.พระราชกฤษฎีกา (..)

คือกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีพระราชกฤษฎีกาจะออกได้ต่อเมื่อพระราชบัญญัติซึ่งถือเป็นกฎหมายแม่บทให้อำนาจไว้

พระราชกฤษฎีกาจึงเป็นเสมือนกฎหมายที่ไม่สามารถจะออกมาให้ขัดหรือแย้งกับกฎหมายแม่บทและถ้ากฎหมายแม่บทถูกยกเลิก พระราชกฤษฎีกานั้นก็ถือว่าถูกยกเลิกไปด้วยการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา


6.กฎกระทรวง

คือกฎหมายที่รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติอันเป็นกฎหมายแม่บทออกมาเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินั้นๆกฎกระทรวงจึงเป็นกฎหมายบริวารที่กำหนดรายละเอียดของกฎหมายแม่บทอีกต่อหนึ่งกฎกระทรวงจะออกมาขัดแย้งกับกฎหมายแม่บทไม่ได้และถ้ากฎหมายแม่บทถูกยกเลิก

กฎกระทรวงนั้นถือว่าถูกยกเลิกไปด้วย คณะรัฐมนตรีเป็นอนุมัติกฎกระทรวงการประกาศใช้กฎกระทรวงให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

                        7. ประกาศระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งคือ    กฎหมายปลีกย่อยประเภทที่เป็นเรื่องเล็ก ๆ

น้อย ๆ  ได้แก่เรื่องที่เกี่ยวกับระเบียการปฏิบัติราชการภายในและการที่จะนำกฎหมายปลีกย่อยเหล่านี้ไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ต้องเป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแต่ถ้าในกฎหมายไม่ได้กำหนดเช่นนั้นก็อยู่ในดุลยพินิจของผู้มีอำนาจว่าการจะประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาหรือไม่ซึ่งประกาศ ระเบียบข้อบังคับ และคำสั่งเหล่านั้นก็เป็นกฎหมายได้เช่นกัน

 8. กฎหมายที่ออกโดยองค์กรปกครองตนเองได้แก่ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร

ข้อบัญญัติเมืองพัทยา ข้อบัญญัติจังหวัด  เทศบัญญัติ  และข้อบังคับสุขาภิบาลเป็นกฎหมายที่มีพระราชบัญญัติการจัดตั้งองค์กรปกครองตนเองอันเป็นการบริหารส่วนท้องถิ่นนั้นๆ ให้มีอำนาจออกกฎหมายบังคับใช้เฉพาะท้องถิ่นเท่านั้น


สรุปสาระสำคัญ


1.
 ลักษณะสำคัญของกฎหมายมี 5 ประเภท
1.กฎหมายต้องมาจากรัฎฐาธิปัตย์
2.
กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ทั่วไป
3.
กฎหมายเป็นข้อบังคับที่ใช้ได้เสมอไป
4.
กฎหมายเป็นข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตาม
5.
กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ
2.
 ที่มาของกฎหมายไทยได้แก่
1.
กฎหมายลายลักษณ์อักษร
2.
กฎหมายจารีตประเพณี
3.
กฎหมายทั่วไป
4.
ประเภทของกฎหมาย

ได้แก่กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา
กฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบข้อบังคับ คำสั่ง และกฎหมายที่ออกโดยองค์การปกครองตนเอง

สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 
ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
หน่วยที่ 1 พัฒนาการกำเนิดความคิดทางกฎหมาย
1.    การทำความเข้าใจความหมายของ “กฎหมาย” ต้องทำความเข้าใจในปรัชญากฎหมายในสำนักความคิดต่างๆ และจะทำให้ผู้ศึกษามีทัศนะคติที่กว้างขึ้น
2.    สำนักความคิดต่างๆ หมายถึงแนวคิดหรือทฤษฎีทางกฎหมายที่นักปราชญ์กฎหมายกลุ่มหนึ่งมีความคิดเห็นหรือความเชื่อตรงกัน แม้ว่าจะเกิดขึ้นต่างยุคต่างสมัยก็ตาม
3.    ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อกฎหมายมีส่วนสำคัญหลายประการ ทั้งแนวความคิดทางศาสนา จารีตประเพณี ความคิดเห็นของนักปรัชญากฎหมาย เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นล้วนเป็นปัจจัยที่สำคัญในการเกิดการเปลี่ยนแปลง การใช้และการพัฒนากฎหมาย
1.1    ประวัติสำนักความคิดต่างๆ ในทางกฎหมาย
1.    แนวความคิดของสำนักความคิดกฎหมายธรรมชาติ ให้ความสำคัญอยู่ที่การใช้เหตุผลของมนุษย์ตามธรรมชาติของมนุษย์ กฎหมายที่แท้จริงคือ เหตุผลที่ถูกต้อง สอดคล้องกับหลักธรรมชาติ ใช้ประโยชน์ให้สอดคล้องกับการใช้อำนาจโดยชอบธรรม เป็นกระแสความคิดหลักในระบอบเสรีประชาธิปไตยที่มุ่งเน้นในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและถูกใช้เป็นเครื่องมือในการใช้เหตุผลในการโต้แย้ง การใช้อำนาจรัฐ
2.    แนวความคิดของสำนักกฎหมายฝ่ายบ้านเมือง เน้นการมีระบบกฎหมายที่แน่นอน มีระเบียบและมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดการพัฒนาแนวความคิดทางการเมืองและทฤษฎีกฎหมายที่จะสนับสนุนความชอบธรรมของการใช้อำนาจโดยเด็ดขาดของรัฐ ในการตรากฎหมายต่างๆ ขึ้นใช้บังคับในการปกครองประเทศอย่างไม่มีข้อแม้ใดๆ
3.    แนวความคิดของสำนักความคิดทางกฎหมาย ฝ่ายคอมมิวนิสต์ให้ความหมายของกฎหมาย คือปรากฏการณ์ อันหนึ่งซึ่งเป็นผลสะท้อนมาจากการเมือง กล่าวคือ เศรษฐกิจและการเมืองต้องการจะแสดงคำสั่งคำบัญชาอย่างไร สิ่งที่แสดงออกมาคือกฎหมาย
4.    แนวความคิดของสำนักความคิดฝ่ายสังคมวิทยากฎหมายเห็นว่า หากกฎหมายมีสภาพที่ตรงต่อความจริงในสังคม ก็ควรมีการเปลี่ยนหลักแห่งกฎหมายทุกครั้งที่สังคมเปลี่ยนแปลง และหากผู้ใช้กฎหมายเข้าใจในบริบทของสังคม การใช้กฎหมายจะลดความขัดแย้ง รวมทั้งทำให้มีการพัฒนากฎหมายให้ดีขึ้น
1.1.1    ความหมายและความสำคัญของสำนักความคิดในทางกฎหมาย
การศึกษาและจำแนกความคิดในสำนักความคิดทางกฎหมายเป็นไปเพื่อประโยชน์ใด
สำนักความคิดทางกฎหมายสำนักต่างๆ เป็นพยายามสกัดเอาอุดมคติหรือคุณค่าที่แท้จริงหรือแก่นสารของกฎหมาย เพื่อพยายามหาคำตอบว่าด้วยความมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของกฎหมาย หรือบทบาทและหน้าที่ของกฎหมาย เพื่อหาหลักการพื้นฐานของกฎหมาย โดยวิธีการแสวงหาคำตอบที่แตกต่างกัน กลุ่มที่มีความคิดอย่างเดียวกันถึงแม้จะเกิดขึ้นก่อนหรือภายหลัง แต่หากมีความคิดเห็นที่สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน หรือเพื่อให้ทราบถึงแนวความคิดที่ส่งผล หรือมีอิทธิพลต่อระบบกฎหมายหรือหลักกฎหมายที่ใช้อยู่ในแต่ละยุคสมัย
1.1.2    สำนักความคิดกฎหมายธรรมชาติ (School of Natural Law)
แนวความคิดสำนักกฎหมายธรรมชาติสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างไร
สำนักความคิดกฎหมายธรรมชาติ   เน้นการใช้เหตุผลตามธรรมชาติเป็นหลักการพื้นฐานในการต่อสู้และปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์สามารถใช้ประโยชน์ ให้สอดคล้องกับการใช้อำนาจโดยชอบธรรมในระบบเสรีประชาธิปไตยที่มุ่งเน้นในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และถูกใช้เป็นเครื่องมือในการใช้เหตุผลในการโต้แย้งการใช้อำนาจของรัฐ
1.1.3    สำนักความคิดกฎหมายฝ่ายบ้านเมือง (School of Positive Law)
ประเทศไทยรับแนวความคิดสำหรับนักกฎหมายฝ่ายบ้านเมืองได้อย่างไร และส่งผลต่อแนวความคิดของนักกฎหมายไทยอย่างไร
การส่งนักเรียนไทยไปศึกษาต่อในประเทศอังกฤษในขณะที่คำสอนของออสติน ได้เป็นที่ยอมรับอย่างมากในวงการกฎหมายอังกฤษ ทำให้มีการนำสอนในประเทศไทย และส่งผลให้แนวความคิดดังกล่าวเป็นที่ยอมรับในระบบความคิดของนักกฎหมายไทยมาเป็นเวลานาน พิจารณาได้จากการบรรยายความหมายของกฎหมายทำให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า นักกฎหมายไทยหมกมุ่นกับการเล่นในตัวอักษรมากกว่าคุณค่าที่แท้จริงของกฎหมาย
1.1.4    สำนักความคิดกฎหมายฝ่ายคอมมิวนิสต์ (School of Communist Jurisprudence)
สำนักความคิดทางกฎหมายฝ่ายคอมมิวนิสต์เห็นว่ากฎหมายมีลักษณะและบทบาทอย่างไร
กฎหมายเป็น “ปรากฏการณ์” (Phenomenon) และไม่ยอมรับว่ากฎหมายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสังคมปรัชญากฎหมายของฝ่ายคอมมิวนิสต์ คือความไม่เชื่อในกฎหมาย ไม่เชื่อในกฎแห่งธรรมชาติ หรือสิ่งที่อยู่นอกเหนือขอบเขตของกฎหมายฝ่ายบ้านเมือง และแม้ภายในขอบเขตของกฎหมายฝ่ายบ้านเมืองเอง ฝ่ายคอมมิวนิสต์ก็ไม่เชื่อว่าสูงสุด หรือเป็นสิ่งสมบูรณ์ (The Absoluteness) สำหรับบทบาทของกฎหมายมีข้อสรุปหลายประการคือ
1.    กฎหมายเป็นผลผลิต หรือผลสะท้อนของโครงสร้างทางเศรษฐกิจหรือเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ
2.    กฎหมายเป็นเสมือนหนึ่งเครื่องมือหรืออาวุธที่ชนชั้นปกครองสร้างขึ้น เพื่อปกป้องอำนาจของตน
3.    ในสังคมคอมมิวนิสต์ที่สมบูรณ์ กฎหมายในฐานะที่เป็นเครื่องมือของการควบคุมสังคมจะเหือดหายและสูญสิ้นไป
1.1.5    สำนักความคิดกฎหมายฝ่ายสังคมวิทยา (School of Sociological Jurisprudence)
การศึกษาของสำนักความคิดทางกฎหมายฝ่ายสังคมวิทยา กฎหมายมีประโยชน์อย่างไร
การศึกษาในทางสังคมวิทยาจะช่วยอธิบายเหตุผล ของกฎเกณฑ์และเหตุผลของพฤติกรรมของคนในกลุ่มผลประโยชน์และบริบทของสังคมเพื่อใช้กฎหมายให้สอดคล้องกับจารีตประเพณี และวิถีชีวิตของคนส่วนใหญ่เป็นการลดความขัดแย้งระหว่างกฎหมายกับความประพฤติของบุคคล เป็นเครื่องช่วยให้การใช้กฎหมายเป็นธรรมขึ้น รวมทั้งช่วยการพัฒนากฎหมายให้ดีขึ้น โดยฝ่ายนิติบัญญัติ
1.1.6    สำนักความคิดกฎหมายฝ่ายสัจจนิยม (School of Realist Jurisprudence)
สำนักความคิดทางกฎหมายฝ่ายสัจจนิยม มองกฎหมายอย่างไร
สำนักความคิดทางกฎหมายฝ่ายสัจจนิยม สนใจในความเป็นจริง เพราะประเด็นข้อวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับกฎหมาย หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใช้กฎหมายก่อให้เกิดประสบการณ์ที่สั่งสมกันทำให้บุคคลผู้เกี่ยวข้องเกิดความสงสัยหรือคับข้องใจกับการหาเหตุผลของกฎหมาย จึงเกิดแนวความ คิดที่พยายามอธิบายหรือหาคำตอบที่มุ่งแยกแยะหาเหตุผลต่างๆ ว่าเหตุใดกฎหมายจึงบัญญัติเช่นนั้นหรือ ทำไมศาลจึงตัดสินเช่นนั้น โดยมีการนำวิธีการในวิชาอื่นๆ มาใช้อธิบายเรื่องต่างๆ ในทางกฎหมายด้วย
1.1.7    สำนักความคิดกฎหมายฝ่ายประวัติศาสตร์ (School of Historical Jurisprudence)
ซาวินยีมีความคิดเกี่ยวกับกฎหมายอย่างไร
ซาวินยีเห็นว่ากฎหมายมิได้เป็นเรื่องของเหตุผล แต่เพียงอย่างเดียว แต่เจือไปด้วยวัฒนธรรม และความรู้สึกร่วมกันเป็นเอกลักษณ์ของชนชาตินั้นๆ ตามอารมณ์ ความรู้สึกทางจิตใจของแต่ละชนชาติมีความแตกต่างกัน อารมณ์ ความรู้สึกที่ว่านี้คือ “จิตวิญญาณประชาชาติ” (Volksgeits หรือ The spirit of the people) และแสดงออกให้เห็นได้จากกฎหมายประเพณี (Gewohnheitsercht) และภาษา
1.1.8    แนวโน้มใหม่ๆ ในการพัฒนาความคิดทางกฎหมาย
แนวโน้มของการพัฒนา ความคิดทางกฎหมายในปัจจุบันมีแนวโน้มเป็นอย่างไร
แนวโน้มในปัจจุบัน คือการนำปรัชญากฎหมายธรรมชาติมาผสมกับปรัชญากฎหมายฝ่ายบ้านเมืองเพื่อหาส่วนที่ละม้ายกันและเป็นประโยชน์ต่อสังคมให้มากที่สุด ปรัชญาใหม่ไม่มีชื่อเรียกเป็นทางการ บางครั้งเรียกว่า ปรัชญากฎหมายฝ่ายบ้านเมืองแผนใหม่ (The modern positive law)
1.2    ความคิดในเชิงปรัชญากฎหมาย
1.    รัฎฐาธิปัตย์ คือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ แต่ต้องเป็นอำนาจด้วยความเป็นธรรม มิฉะนั้นอาจจะถูกล้มล้างได้
2.    ความยุติธรรม ตามความหมายโดยทั่วไปนั้นหมายถึง ความถูกต้อง ชอบด้วยเหตุผล ความหมายของความยุติธรรมนั้นยากที่จะให้คำนิยาม เพราะขึ้นอยู่กับคตินิยม ปรัชญาของแต่ละคน
3.    ดุลพินิจของผู้ใช้กฎหมาย ทำให้เกิดการบังคับใช้กฎหมาย และการเปลี่ยนแปลงในกฎหมาย
4.    กฎหมายเป็นเครื่องกำหนดระเบียบวินัยของสังคม ประชาชนทั้งหลายจึงต้องเคารพนับถือกฎหมาย ผู้บริหารประเทศย่อมไม่มีอำนาจตามอำเภอใจ ต้องเคารพกฎหมายเช่นกัน
1.2.1    รัฎฐาธิปัตย์
หลักนิติรัฐและหลักการแบ่งแยกอำนาจมีผลต่อการจำกัดการใช้อำนาจของรัฎฐาธิปัตย์อย่างไร
หลักนิติรัฐหมายถึงรัฐที่ปกครองตามหลักแห่งเหตุผลเพื่อให้การอาศัยอยู่ร่วมกันของมนุษย์เป็นไปด้วยความสงบสุข หลักการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยเป็นหลักการที่กำหนดขึ้นเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนจากการใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐ ประเทศที่ปกครองด้วยหลักการดังกล่าวจะส่งผลให้รัฎฐาธิปัตย์ไม่สามารถใช้อำนาจได้อย่างเต็มที่
1.2.2    ความยุติธรรม
อริสโตเติลได้กล่าวถึงความยุติธรรมอย่างไร
อยุติธรรมย่อมเกิดขึ้นเมื่อความเท่ากันถูกทำให้ไม่ทัดเทียมกัน และเมื่อความไม่เท่ากันถูกทำให้กลายเป็นความทัดเทียมกัน (In-just arises when equals are treated unequally, and also when unequals are treated equally) อริสโตเติลไม่ยอมรับว่าความยุติธรรมเป็นคุณธรรมดังที่เปลโตเข้าใจ แต่บอกว่าความยุติธรรมเป็นเรื่องของการจัดระเบียบความสัมพันธ์ของมนุษย์ในสังคม โดยถือหลักว่า สิ่งที่เหมือนกันควรได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกัน
1.2.3    ดุลพินิจของผู้ใช้กฎหมาย
การใช้ดุลพินิจของนักกฎหมายจะสอดคล้องกับความยุติธรรมในสังคมคืออะไร
การใช้ดุลพินิจจึงเป็นสิ่งสำคัญสุดยอดข้อหนึ่ง ในการอำนวยความยุติธรรมเมื่อใดที่กฎหมายเปิดโอกาสให้ใช้ดุลพินิจ นักกฎหมายควรใช้ดุลพินิจไปในทางสอดคล้องต่อ “มโนธรรม ศีลธรรม และความต้องการของสังคม”
1.2.4    การนับถือกฎหมาย
ประเทศที่เป็นนิติรัฐมีลักษณะอย่างไร
ประเทศที่เป็นนิติรัฐนั้นจะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
1.    ในประเทศนั้นกฎหมายจะต้องอยู่เหนือสิ่งใดทั้งหมด การกระทำต่างๆ ในทางปกครองโดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระทำของตำรวจจะต้องเป็นไปตามกฎหมายและชอบด้วยกฎหมาย หลักประกันสิทธิและเสรีภาพของราษฎรอยู่ที่กฎหมาย ถ้าเจ้าพนักงานของรัฐมากล้ำกลายสิทธิและเสรีภาพของราษฎร โดยไม่มีกฎหมายให้อำนาจ เจ้าพนักงานก็ย่อมมีความผิดอาญา
2.    ในประเทศที่เป็นนิติรัฐ ขอบเขตแห่งอำนาจหน้าที่ของรัฐย่อมกำหนดไว้แน่นอน เริ่มตั้งแต่การแบ่งแยกอำนาจและมีขอบเขตในการใช้อำนาจทั้งสามนี้ ถัดจากอำนาจรัฐ อำนาจของเจ้าพนักงานที่ลดหลั่นลงมาเป็นอำนาจที่วัดวัดได้ เป็นอำนาจที่มีขอบเขตเช่นเดียวกัน และต้องมีการควบคุมการใช้อำนาจภายในขอบเขตเท่านั้น
3.    ในประเทศที่เป็นนิติรัฐ ผู้พิพากษาต้องมีอิสสระในการพิจารณาพิพากษาคดี โดยจะต้องมีหลักประกันดังกล่าวไว้ในรัฐธรรมนูญและเพียงแต่รัฐได้จัดให้มีผู้พิพากษาเป็นอิสสระสำหรับพิจารณาคดีแพ่งและคดีอาญาเท่านั้น
1.3    ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาความคิดในทางกฎหมาย
1.    ศาสนาเป็นปัจจัยที่ให้ก่อให้เกิดกฎหมาย และมีอิทธิพลต่อการเกิดและการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย
2.    จารีตประเพณี เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดกกหมาย และมีอิทธิพลต่อการใช้กฎหมาย
3.    ความเห็นของนักกฎหมาย เป็นปัจจัยทำให้เกิดกฎหมาย และมีอิทธิพลต่อการใช้กฎหมาย
4.    เหตุการณ์ในสังคม มีส่วนทำให้เกิดกฎหมาย และมีอิทธิพลต่อการใช้กฎหมาย
1.3.1    ศาสนา
กฎหมายตราสามดวงของประเทศไทยมีคติความเชื่อในทางศาสนาอย่างไร
กฎหมายตราสามดวงของประเทศไทยประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนคือ พระธรรมศาสตร์และพระราชศาสตร์ เป็นกฎหมายที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาในการก่อกำเนิดขึ้น ผ่านคติความเชื่อในศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ พระธรรมศาสตร์เป็นส่วนที่เน้นอุดมคติในเรื่องความยุติธรรม ส่วนพระราชศาสตร์ซึ่งเป็นเรื่องของบรรดากฎหมาย อรรถคดี พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด และพระราชวินิจฉัยของพระมหากษัตริย์และยังได้กล่าวถึงลักษณะของการเป็นผู้พิพากษาที่ดีต้องยึดหลักอินทภาษ คือ เวลาพิจารณาคดีจะต้องปราศจากอคติ 4 คือ ฉันทาคติ (รัก) โทษาคติ (หลง) และภะยาคติ (กลัว) ล้วนแล้วมีความสอดคล้องกับความเชื่อในเรื่องสวรรค์และนรกในความเชื่อทางศาสนาทั้งสิ้น
1.3.2    จารีตประเพณี
จารีตประเพณีก่อให้เกิดกฎหมายได้อย่างไร
เมื่อจารีตประเพณีได้รับการยอมรับและยึดถือปฏิบัติ ก็จะมีการนำมาบัญญัติในกฎหมายลายลักษณ์อักษรขึ้น แต่จารีตประเพณีอีกส่วนหนึ่งที่ไม่ได้มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่สังคมก็ยังยอมรับปฏิบัติกันต่อมา มีผลในการยอมรับปฏิบัติเสมือนเป็นกฎเกณฑ์ตามกฎหมาย
1.3.3    ความเห็นของนักปรัชญาทางกฎหมาย
ความเห็นของนักปราชญ์ทางกฎหมายมีอิทธิพลต่อกฎหมายอย่างไร
ความเห็นของนักปรัชญาทางกฎหมายหรือนักปราชญ์ทางกฎหมาย หรือคำพิพากษาของศาลหรือระบบของกฎหมายอาจเกิดขึ้นจากข้อคิดเห็น ข้อโต้แย้งที่มีต่อตัวบทกฎหมายหรือคำพิพากษาของศาล หรือระบบของกฎหมายได้สร้างบทบาทและเปลี่ยนแปลงขึ้นในวงการกฎหมาย อาจส่งผลต่อระบบกฎหมายของประเทศ ระบบศาล หรือมีกฎหมาย หรือแก้ไขกฎหมาย
1.3.4    เหตุการณ์
เหตุการณ์และสภาพปัจจัยแวดล้อมส่งผลกระทบต่อกฎหมายอย่างไร
เหตุการณ์และสภาพปัจจัยแวดล้อมของสังคมหรือของประเทศ มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวบทกฎหมายหรือมีบทกฎหมายขึ้น หรืออาจส่งผลต่อการใช้ การตีความกฎหมายด้วย ดังเช่นการนำเทคโนโลยีโดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในชีวิตประจำวัน การพัฒนาทางเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคมก่อให้เกิดระบบอินเทอร์เนต ส่งผลให้ต้องมีการตรากฎหมายขึ้นรองรับ
แบบประเมินตนเองหน่วยที่ 1
1.    สำนักความคิดทางกฎหมายคือ แนวคิดหรือทฤษฎีทางกฎหมายของนักคิดทั้งหลายซึ่งมีความคิดเห็นตรงกัน แม้ว่าแต่ละคนหรือแนวความคิดแต่ละอย่างเกิดขึ้นต่างสมัยกันก็ตาม
2.    สำนักความคิดกฎหมายธรรมชาติมีแนวคิดเกี่ยวกับกฎหมายคือ กฎหมายต้องสอดคล้องกับธรรมชาติและความมีเหตุผล
3.    การถือว่า “กฎหมายที่สมบูรณ์ใช้การได้จริงและเป็นไปตามเจตจำนงของผู้มีอำนาจรัฐ” เป็นแนวคิดของสำนักความคิดกฎหมายฝ่ายบ้านเมือง
4.    แนวความคิดว่า “กฎหมายคือปรากฏการณ์อันหนึ่งซึ่งเป็นผลสะท้อนทางการเมือง” เป็นแนวคิดของสำนักความคิดทางกฎหมาย สำนักความคิดกฎหมายฝ่ายคอมมิวนิสต์
5.    การมุ่งหาความจริงว่าเพราะเหตุใดกฎหมายจึงบัญญัติเช่นนั้น และทำไมศาลจึงตัดสินคดีเช่นนั้นเป็นแนว ความคิดของ  สำนักความคิดกฎหมายฝ่ายสัจจะนิยม
6.    สำนักความคิดทางกฎหมายใดที่เป็นว่ากฎหมายเป็นสิ่งที่ค้นพบ ไม่ได้ถูกสร้างขึ้น มีลักษณะเฉพาะเช่นเดียวกับภาษา เป็นจิตวิญญาณของประชาชาติ สำนักความคิดกฎหมายฝ่ายนิยมประวัติศาสตร์
7.    รัฐาธิปัตย์ มีความหมายถุง ผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ
8.    กฎหมายจะสามารถใช้ให้เกิดความสงบสุขได้เมื่อ  ประชาชนและผู้มีอำนาจต่างเคารพนับถือกฎหมาย
9.    ศาสนามีผลต่อกฎหมายคือ (1)เป็นเครื่องกระตุ้นให้คนกระทำในสิ่งที่เหมาะสมหรือมีความประพฤติเหมาะสม (2) ศาสนาเป็นเครื่องควบคุมสังคมเช่นเดียวกับกฎหมาย (3) กฎหมายบางเรื่องมีที่มาจากหลักคำสอนทางศาสนา (4) การนับถือศาสนาส่งผลให้คนปฏิบัติสอดคล้องกับกฎหมาย
10.    จารีตประเพณีมีความสำคัญต่อกฎหมายคือ จารีตประเพณีเป็นบ่อเกิดของกฎหมาย
หน่วยที่ 2 วิวัฒนาการระบบกฎหมาย
1.    กฎหมายนั้นได้วิวัฒนาการมาจากระเบียบ ความประพฤติ ศีลธรรม จารีตประเพณี ศาสนา แล้วกลายเป็นมีสภาพบังคับได้
2.    ระบบกฎหมายไทยได้วิวัฒนาการมาเป็นขั้นตอนตามสภาพความเป็นเอกราชตลอดมา
3.    ในารพัฒนาระบบกฎหมายไทยให้ถึงเป้าหมายนั้น ย่อมมีปัญหาและอุปสรรคหลายประการ
2.1    วิวัฒนาการของระบบกฎหมายที่สำคัญของโลก
1.    ในสมัยดั้งเดิมนั้นยังไม่มีภาษาเขียน จึงต้องใช้คำสั่งของหัวหน้า ประเพณี ศีลธรรม ศาสนา และความเป็นธรรมตามความรู้สึกของมนุษย์ ให้มีสภาพบังคับตามนามธรรมเป็นกฎหมายได้
2.    เมื่อมนุษย์รู้จักภาษาเขียน ก็ได้เขียนบันทึกสิ่งที่บังคับตามนามธรรมขึ้นใช้ และต่อมาก็ได้พัฒนาขึ้นให้เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรหรือประมวลกฎหมาย
3.    ในบางประเทศ เช่น ประเทศอังกฤษ  ยังคงยึดจารีตประเพณีที่ปฏิบัติมา เป็นหลักกฎหมายและ อาศัยคำพิพากษาของศาลที่พิพากษาวางหลักใช้เป็นกฎหมายในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์
4.    กฎหมายในระบบอื่น เช่น กฎหมายสังคมนิยม กฎหมายอิสลาม ย่อมจัดอยู่ในระบบประมวลกฎหมาย
5.    เมื่อหลักกฎหมายของประเทศต่างๆ คล้ายคลึงกัน ย่อมใช้กฎหมายฉบับเดียวกันได้ นักกฎหมายก็สามารถใช้กฎหมายฉบับเดียวกันได้ทั่วโลก กลายเป็นหลักสากลขึ้น
2.1.1    กฎหมายในสังคมบรรพกาล
คำสั่งหัวหน้าเผ่าเป็นกฎหมายได้อย่างไร
เมื่อมีกรณีพิพาทหรือโต้แย้งเกิดขึ้น ผู้ที่เป็นหัวหน้าเผ่าจะต้องเป็นผู้ชี้ขาด ซึ่งต้องอาศัยความถูกต้องตามกฎเกณฑ์ การชีขาดดังกล่าวบังคับแก่คู่กรณีได้ โดยจะต้องปฏิบัติตามและเชื่อฟังคำชี้ขาดและกฎเกณฑ์เช่นนั้นจึงเป็นกฎหมาย
จารีตประเพณีเป็นกฎหมายได้อย่างไร
จารีตประเพณีเกิดจากพฤติกรรมการเลียนแบบของมนุษย์ตามความเคยชินที่คนในสังคมนั้นจะกระทำตามคนส่วนใหญ่ เมื่อพฤติกรรมเหล่านั้นได้มีการปฏิบัติต่อเนื่องกันมาเลื่อยๆ เป็นระยะเวลาอันยาวนานหากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ยอมประพฤติหรือปฏิบัติตามก็จะได้รับการตำหนิอย่างรุนแรงจากสังคม ในบางครั้งก็จะมีสภาพเป็นการลงโทษ ในที่สุดก็จะกลายเป็นหลักบังคับใช้กับประชาชนในถิ่นนั้นๆ และเป็นกฎหมายจารีตประเพณีโดยไม่รู้ตัว
2.1.2    วิวัฒนาการของระบบประมวลกฎหมาย
ระบบประมวลกฎหมายนั้นจะมีลักษณะอย่างไร
จะมีลักษณะเป็นรูปร่างของกฎหมาย 3 ประการคือ
1.    เป็นระบบกฎหมายที่มาจากกฎหมายโรมันและใช้กันอยู่ทั่วไปในยุโรป ซึ่งแตกต่างไปจากกฎหมายจารีตประเพณี
2.    เป็นการตั้งหลักเกณฑ์ที่ใช้บังคับถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งแตกต่างไปจากกฎหมายมหาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะแตกต่างไปจากกฎหมายอาญา
3.    เป็นกฎหมายที่มีสภาพบังคับซึ่งตรงข้ามกับกฎหมายพระหรือศาสนจักร
2.1.3    วิวัฒนาการของระบบคอมมอนลอว์
หลักเอ็คควีตี้ (Equity) หมายความว่าอย่างไร
เป็นการตัดสินที่อาศัยหลักมโนธรรม (Conscience) ที่ให้ความเป็นธรรมแก่คู่กรณี โดยคำนึงถึงประโยชน์สุขและความยุติธรรมในสังคมเป็นใหญ่
2.1.4    วิวัฒนาการของระบบกฎหมายอื่นๆ
สตาลินได้เปลี่ยนหลักการใหม่ของกฎหมายสังคมนิยมว่าอย่างไร
สตาลินได้เปลี่ยนหลักการใหม่ของกฎหมายสังคมนิยมว่า ความยุติธรรมมีอยู่เท่าที่กฎหมายกำหนดเท่านั้นและต้องเป็นกฎหมายที่รัฐบาลชั้นกรรมาชีพซึ่งอยู่ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์กำหนดขึ้นเท่านั้น
2.1.5    แนวโน้มของวิวัฒนาการของระบบกฎหมายในโลกปัจจุบัน
แนวโน้มของการวิวัฒนาการของระบบกฎหมายในโลกปัจจุบันนี้จะเป็นอย่างไร
แนวโน้มในการวิวัฒนาการของระบบกฎหมายในโลกปัจจุบันนี้ จะเป็นการใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ทั้งหมด โดยสามารถจะจัดรูปแบบและพัฒนาได้โดยฝ่ายนิติบัญญัติ โดยนักนิติศาสตร์ของประเทศต่างๆก็จะนำความคิดเห็นที่เป็นธรรมซึ่งมีอยู่โดยทั่วไป ไปบัญญัติใช้ในกฎหมายในประเทศของตนเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกัน ต่อไปนานเข้าหลักเกณฑ์ต่างๆของกฎหมายก็จะคล้ายคลึงกันทุกประเทศในโลกเกือบจะเรียกว่าใช้กฎหมายฉบับเดียวกันกัน ซึ่งนักกฎหมายก็จะสามารถใช้กฎหมายเรื่องเดียวกันได้ทั่วโลก ถือว่าเป็นหลักสากล
2.2    วิวัฒนาการของระบบกฎหมายไทย
1.    ระบบกฎหมายไทยก่อนที่ยังไม่มีภาษาเขียนเป็นหนังสือ ซึ่งเริ่มใช้ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ในสมัยสุโขทัยตอนปลาย และสมัยกรุงศรีอยุธยาจึงมีกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษรขึ้น
2.    ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ได้มีการจัดทำกฎหมาย ในรูปของประมวลกฎหมายไทยสำเร็จ เรียกว่า กฎหมายตราสามดวง
3.    ในปัจจุบันนี้ในประเทศไทยได้มีกฎหมายในรูปของประมวลกฎหมายครบถ้วน
2.2.1    ระบบกฎหมายก่อนกรุงรัตนโกสินทร์
ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเทียบได้กับกฎหมายอะไรที่สำคัญ และนักนิติศาสตร์เรียกว่ากฎหมายอะไร
ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเทียบได้กับมหากฎบัตร (Magna Carta) ของอังกฤษ ซึ่งของอังกฤษถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของอังกฤษ เพราะในศิลาจารึกมีข้อความที่เป็นหลักประกันสิทธิและเสรีภาพของราษฎรในสมัยนั้น และนักนิติศาสตร์บางท่านเรียกว่า “กฎหมายสี่บท” โดยเกี่ยวกับเรื่องกฎหมายมรดก กฎหมายที่ดิน กฎหมายวิธีพิจารณา และกฎหมายร้องทุกข์
2.2.2    ระบบกฎหมายต้นกรุงรัตนโกสินทร์
ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศไทยในระบบกฎหมายอะไร อย่างไร
ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศไทยได้ใช้ระบบประมวลกฎหมายหรือกฎหมายลายลักษณ์อักษรเพราะพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ชำระกฎหมายขึ้นใหม่โดยจัดทำเป็นประมวลกฎหมายขึ้นเรียกว่า “กฎหมายตราสามดวง” หรือ “ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1”
2.2.3    ระบบประมวลกฎหมายในประเทศไทย
ประเทศไทยในสมัยกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์ ใช้กฎหมายระบบใด
ในสมัยกรุงสุโขทัยนั้น สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นการใช้หลักกฎหมายทั่วไปที่เห็นว่าเป็นธรรมและใช้ระบบกฎหมายในสังคมบรรพกาล ต่อมาในสมัยพญาเลอไท มีหลักฐานว่าได้มีการจารึกในลักษณะเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร โดยปรากฏเป็นเรื่องๆไป และหลักฐานยังปรากฏอีกว่า ในสมัยกรุงสุโขทัยยังมีการใช้กฎหมายพระธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่สืบทอดมาจากมนูศาสตร์ของชาวฮินดู นอกจากนี้ ก็ยังใช้พระราชศาสตร์ คือคำสั่งของพระมหากษัตริย์เป็นกฎหมายอีกด้วย
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีหลักฐานปรากฏชัดว่าได้ใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษรอย่างสมบูรณ์ กฎหมายที่ใช้ก็คือ พระธรรมศาสตร์ อันเป็นหลักกฎหมายที่มีต้นกำเนิดมาจากอินเดีย นอกจากนี้ พระมหากษัตริย์ได้ทรงตรากฎหมายขึ้นเพื่อใช้บังคับแก่ราษฎร เรียกว่าพระราชศาสตร์ ซึ่งมีกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรอยู่หลายเรื่องด้วยกัน
ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์คงใช้กฎหมายเดิมของกรุงศรีอยุธยา แต่ต่อมาได้มีการตรากฎหมายจัดทำเป็นประมวลกฎหมายขึ้นเรียกว่า “กฎหมายตราสามดวง” หรือ “ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1” ทั้งนี้เพื่อปรับปรุงให้เกิดความยุติธรรมยิ่งขึ้น จึงเป็นการใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษร โดยตรงต่อมารัชกาลที่ 5 ได้เริ่มดำเนินการชำระกฎหมายขึ้นเป็นหมวดหมู่ในลักษณะของระบบประมวลกฎหมาย
ในปัจจุบันนี้ประเทศไทยได้ใช้กฎหมายในระบบประมวลกฎหมายหรือกฎหมายลายลักษณ์อักษรตามระบบที่ต่างประเทศยอมรับและพัฒนาแล้ว ซึ่งมีการออกกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษรในระบบรัฐสภาอย่างสมบูรณ์
2.3    ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาระบบกฎหมายไทย
1.    ปัจจุบันการศึกษาวิชานิติศาสตร์ได้กระจายอยู่ในหลายสถาบัน ทำให้เกิดแนวความคิดการใช้กฎหมายแตกต่างกัน เป็นภัยต่อแนวความคิดทางกฎหมายของประเทศเป็นอย่างยิ่ง
2.    การฝึกอาชีพทางกฎหมายมีแยกจากกัน แล้วแต่หน่วยงานในอาชีพนั้นไม่อาจจะพัฒนาความคิดทางกฎหมายไปในแนวทางเดียวกัน
3.    การร่างกฎหมายในปัจจุบันไม่เป็นไปตามระบบของการร่างกฎหมายที่ถูกต้อง จึงทำให้ขัดต่อหลักการและกฎหมายอื่น
4.    ประเทศไทยไม่มีระบบติดตามและประเมินผลการบังคับใช้กฎหมาย จึงมีกฎหมายบางฉบับไม่มีประชาชนปฏิบัติตาม
2.3.1    ระบบการศึกษานิติศาสตร์
การศึกษาทางนิติศาสตร์ที่จะทำให้กฎหมายได้มีการพัฒนาไปโดยถูกทางจะท้องทำอย่างไร
ย่อมขึ้นอยู่กับการเรียนการสอนที่ถูกต้องตามระบบของกฎหมายไทย โดยจะต้องมีการเรียน การสอนไปในทางเดียวกัน ให้ผู้ทำการศึกษากฎหมายมีแนวความคิดเห็นของตนเองเป็นอิสระ และต้องปลูกฝังนักกฎหมายให้มีคุณธรรมในการรับใช้ประชาชน ไม่ให้มีการเอารัดเอาเปรียบสังคม
2.3.2    สถาบันวิชาชีพกฎหมาย
การแยกฝึกอาชีพนักกฎหมายเป็นแต่ละสาขาอาชีพมีผลต่อการพัฒนากฎหมายอย่างไร
การฝึกอาชีพทางกฎหมายแต่ละสถาบันไม่อาจจะพัฒนาแนวความคิดทางกฎหมายไปในทางเดียวกันได้ เพราะแต่ละสถาบันมีความคิดเห็นของตนเอง จะเกิดความแตกต่างในการพัฒนากฎหมาย
2.3.3    กระบวนการนิติบัญญัติ
การบัญญัติกฎหมายแต่ละฉบับนั้นจะต้องอาศัยหลักอะไร
จะต้องร่างกฎหมายด้วยอาศัยหลักคุณธรรมและคำนึงถึงธรรมะเป็นสำคัญ โดยไม่ออกกฎหมายเพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้หนึ่งผู้ใดหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งโดยเฉพาะ
2.3.4    ระบบการติดตามและการประเมินผลการบังคับใช้กฎหมาย
เหตุใดที่ระบบกฎหมายไทยไม่พัฒนาไปเท่าที่ควร
เพราะฝ่ายนิติบัญญัติไม่มีระบบการติดตามและประเมินผลการบังคับใช้กฎหมายในประเทศไทยทำให้มีการออกกฎหมายและยกเลิกกฎหมายต่างๆอยู่เสมอ และบางครั้งกฎหมายออกมามากแต่ละฉบับจะขัดแย้งกัน
แบบประเมินตนเองหน่วยที่ 2
1.    ความคิดเห็นที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรมเป็น หลักกฎหมายทั่วไป
2.    แบบอย่างที่ปฏิบัติสอดคล้องต้องกันมาในท้องถิ่นใดเป็นเวลาช้านาน จนสามารถบังคับใช้กับประชาชนในท้องถิ่นนั้นเรียกว่า กฎหมายจารีตประเพณี
3.    กฎหมายฮินดู ถือว่าเป็นกฎหมายศาสนา
4.    ลักษณะของระบบประมวลกฎหมาย มาจากกฎหมายโรมัน ซึ่งมีสภาพบังคับได้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
5.    ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี ถือว่าเป็นวิวัฒนาการเบื้องต้นของระบบประมวลกฎหมาย
6.    กฎหมายที่ออกโดยรัฐอย่างสมบูรณ์ฉบับแรกคือ กฎหมายสิบสองโต๊ะ
7.    หลักคอมมอนลอว์ เป็นการตัดสินคดีที่ต้องมีเหตุผล
8.    หลักกฎหมายเอ็คคริตี้ ใช้ควบคู่กันไปกับ หลักคอมมอนลอว์
9.    พื้นฐานหลักกฎหมายคอมมอนลอว์ ได้มาจาก ผู้พิพากษา
10.    ในทางอาญา ในประเทศไทยใช้กฎหมายลักษณะ กฎหมายลายลักษณ์อักษร
11.    กฎหมายเกิดจาก แนวความคิดเพื่อสร้างหลักเกณฑ์ในการควบคุมมนุษย์ที่อยู่ในสังคม
12.    กฎหมายในสมัยบรรพกาลจะมีลักษณะ นามธรรม
13.    จารีตประเพณีมาจากลักษณะของ การที่คนประพฤติปฏิบัติตามแบบอย่างที่ปฏิบัติสอดคล้องต้องกันมาเป็นเวลาช้านาน หากผู้ใดฝ่าฝืนจะได้รับการตำหนิอย่างรุนแรง
14.    หลักกฎหมายทั่วไป เป็นกฎหมายดั้งเดิมของมนุษย์ในสังคม
15.    พระเจ้าฮัมมูราบี เป็นคนคิดว่าประชาชนไม่สามารถอยู่อย่างอิสระปลอดภัย โดยปราศจากกฎหมาย
16.    กฎหมายสิบสองโต๊ะ ถือได้ว่าเป็นการเริ่มต้นของวิชานิติศาสตร์ด้วยหลักการที่ว่า กฎหมายควรเป็นสิ่งเปิดเผยให้คนทั่วไปได้รู้ได้เห็นและศึกษาหาเหตุผลได้
17.    ในสมัยแองโกล-แซกซอน ศาลตัดสินโดยใช้หลัก กฎหมายจารีตประเพณี
18.    กฎหมายอิสลามจัดอยู่ในสกุล กฎหมายศาสนา
19.    แนวโน้มในการวิวัฒนาการของระบบกฎหมายในโลกปัจจุบันนี้จะใช้หลักกฎหมายระบบ ประมวลกฎหมายหรือซีวิลลอว์
หน่วยที่ 3 ที่มา ประเภท และศักดิ์ของกฎหมาย
1.    ที่มาของกฎหมาย ในระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร ระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ระบบกฎหมายสังคมนิยมนั้น ย่อมแตกต่างกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับพื้นฐานของระบบกฎหมายแต่ละระบบ
2.    การแบ่งประเภทของกฎหมาย อาจแบ่งออกได้เป็นหลายลักษณะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าจะยึดอะไรเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง
3.    กฎหมายที่ออกมาใช้ในสังคมนั้น เกิดจากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมายต่างกัน จึงมีลำดับความสำคัญไม่เท่าเทียมกัน
4.    กฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าหรือมีศักดิ์เท่ากันกับกฎหมายอีกฉบับหนึ่ง ย่อมแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกกฎหมายฉบับหลังนั้นได้
3.1    ที่มาของกฎหมาย
1.    ที่มาของกฎหมายย่อมมีความหมายแตกต่างกันไปตามระบบกฎหมาย
2.    ที่มาของกฎหมายในระบบลายลักษณ์อักษรนั้น ได้แก่ กฎหมายลายลักษณ์อักษร จารีตประเพณี และหลักกฎหมายทั่วไป
3.    ที่มาของกฎหมายในระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ จารีตประเพณี คำพิพากษาของศาล กฎหมายลายลักษณ์อักษร ความเห็นของนักนิติศาสตร์ และหลักความยุติธรรม
4.    ที่มาของกฎหมายในระบบกฎหมายสังคมนิยม คือ กฎหมายลายลักษณ์อักษร
3.1.1    ที่มาของกฎหมายในระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร
ลองบอกชื่อกฎหมายลายลักษณ์อักษร
รู้จักรูปแบบของกฎหมายดังต่อไปนี้
1)    รัฐธรรมนูญ เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2517
2)    ประมวลกฎหมาย เช่น ประมวลกฎหมายที่ดิน ประมวลรัษฎากร
3)    พระราชบัญญัติ เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองสัตว์ป่าสงวนแห่งชาติ พระราชบัญญัติบริษัทมหาชน พระราชบัญญัติส่งเสริมพาณิชย์นาวี
4)    พระราชกฤษฎีกา เช่น พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตควบคุมศุลกากร เป็นต้น
จารีตประเพณีที่กลายมาเป็นกฎหมาย
ตัวอย่างของจารีตประเพณีที่กลายมาเป็นกฎหมาย คือ การที่บุตรต้องอุปการะเลี่ยงดูบิดามารดาซึ่งได้นำไปบัญญัติใน ป.พ.พ. มาตรา 1563
การให้สินสอดที่ฝ่ายชายให้แก่ฝ่ายหญิงนั้นเป็นจารีตประเพณีหรือไม่ และฝ่ายหญิงจะเรียกร้องจากฝ่ายชายได้เสมอไปหรือไม่
การให้สินสอดเป็นจารีตประเพณี เพราะเข้าตามหลักเกณฑ์ทั้ง 4 ประการ แต่ก็มิใช่เป็นเรื่องที่ฝ่ายหญิงจะบังคับเอากับฝ่ายชายได้ เพราะเป็นเรื่องที่ฝ่ายชายต้องสมัครใจให้แก่ฝ่ายหญิงเพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรสด้วย (ป.พ.พ. มาตรา 1437)
ลองสำรวจดูสุภาษิตกฎหมายที่เคยทราบมาแล้ว
สุภาษิตกฎหมายที่เคยทราบมาแล้ว เช่น
1)    เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องให้ความยุติธรรมแก่คนที่เข้ามาหาศาล (ข้อ 13)
2)    ผู้พิพากษาที่ดีย่อมวินิจฉัยคดีตามหลักความยุติธรรมและความถูกต้อง และถือความยุติธรรมสำคัญกว่ากฎหมาย (ข้อ 24)
3)    ความทุจริตกับความยุติธรรมอยู่ด้วยกันไม่ได้ (ข้อ 59)
3.1.2    ที่มาของกฎหมายในระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
จารีตประเพณีมีความสัมพันธ์ต่อระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างไร
จารีตประเพณีเป็นต้นตอของกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อสมัยเริ่มแรกของระบบกฎหมายนี้ ศาลใช้จารีตประเพณีเป็นกฎหมายในการตัดสินคดีจารีตประเพณีจึงเป็นที่มาพื้นฐาน ของระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
เหตุผลสนับสนุนคำกล่าวที่ว่า“กฎหมายที่มาจากคำพิพากษาของศาลเป็นหลักเกณฑ์ที่มั่นคง เช่นเดียว กับหลักที่เกิดจากจารีตประเพณี”
คำพิพากษาของศาลในระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นหลักเกณฑ์ที่มั่นคง เนื่องจากศาลในระบบกฎหมายนี้ยึดถือหลักแนวบรรทัดฐานคำพิพากษาของศาล จึงทำให้คดีที่มีข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญอย่างเดียวกันได้รับการตัดสิน ให้มีผลอย่างเดียวกัน เมื่อเวลาผ่านไปหลักเกณฑ์ที่ศาลวางไว้ในการตัดสินคดีย่อมได้รับการยอมรับมากยิ่งขึ้น และกลายเป็นหลักกฎหมายที่มั่นคงในเวลาต่อมา
ในปัจจุบันกฎหมายลายลักษณ์อักษรกลับมีบทบาทสำคัญต่อระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษรไม่น้อยกว่ากฎหมายที่เกิดจากจารีตประเพณีและคำพิพากษาของศาลนั้นเป็นความจริงเพียงใด
ในสมัยที่โลกมีความเจริญก้าวหน้า การที่จะรอให้กฎหมายเกิดขึ้นจากจารีตประเพณีหรือคำพิพากษาของศาลในคดีที่ขึ้นสู่ศาลนั้นย่อมจะไม่ทันต่อความต้องการ จึงต้องออกกฎหมายล่วงหน้าเพื่อวางระเบียบและกฎเกณฑ์ในสังคม หากจะรอให้กฎหมายเกิดขึ้นเองจะไม่ทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
เอคควิตี้คืออะไร
เอคควิตี้ คือระบบกฎหมายที่เป็นส่วนหนึ่งในระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เอคควิตี้เป็นระบบที่ยึดถือหลักความยุติธรรม โดยมโนธรรมของผู้พิพากษาเป็นหลัก จึงก่อให้เกิดความยืดหยุ่นในการตัดสินคดีด้วยความเป็นธรรม โดยไม่ต้องอยู่ในกรอบของจารีตประเพณีหรือแนวบรรทัดฐานคำพิพากษาของศาล
ศาลไทยยอมรับนับถือคำพิพากษาของศาลในคดีก่อนเพียงใดหรือไม่
ศาลไทยอยู่ในระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร จึงไม่ถือว่าคำพิพากษาเป็นกฎหมายที่ศาลทำขึ้น ศาลคงยึดตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญในการตัดสินคดี แต่ก็คำนึงถึงผลและเหตุผลของคำพิพากษาในคดีก่อนอยู่บ้าง โดยเฉพาะคดีที่มีข้อเท็จจริงเช่นเดียวกับที่ศาลสูงเคยตัดสินไว้แล้ว แต่หากศาลล่าง (ที่อยู่ในชั้นต่ำกว่า) มีเหตุผลเป็นอย่างอื่น ก็อาจตัดสินให้เป็นอีกอย่างหนึ่งก็ได้ โดยไม่ต้อคำนึงถึงคำพิพากษาในคดีก่อนๆนั้น
ความเห็นของนักนิติศาสตร์นั้นจะได้รับการยอมรับจากศาลในการพิจารณาพิพากษาคดีเพียงใด
แม้ว่าความเห็นของนักนิติศาสตร์จะไม่เป็นที่มาของกฎหมายในระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษรแต่ความเห็น ของนักนิติศาสตร์ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในวงการกฎหมายโดยทั่วไป ก็อาจจะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจคดีต่อมา
3.1.3    ที่มาของกฎหมายในระบบกฎหมายสังคมนิยม
พิจารณาว่าการที่ระบบกฎหมายสังคมนิยมมีที่มาของกฎหมาย คือกฎหมายลายลักษณ์อักษรแต่เพียงอย่างเดียวนั้น จะสามารถให้ความยุติธรรมแก่อรรถคดีต่างๆได้เพียงพอหรือไม่
ในระบบกฎหมายสังคมนิยม ใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษรเป็นกลไกในการควบคุมสังคมให้เป็นไปตามที่วางเป้าหมายไว้ ความยุติธรรมจะมีเพียงใดย่อมขึ้นอยู่ความเป็นอิสระของศาลในการตัดสินคดี หากศาลต้องปฏิบัติตามนโยบายของพรรคคอมมิวนิสต์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โอกาสที่ประชาชนจะได้รับความยุติธรรมก็ย่อมน้อยลงได้ตามลำดับ
3.2    ประเภทของกฎหมาย
1.    การแบ่งประเภทของกฎหมาย อาจแบ่งได้หลายลักษณะทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า   จะยึดอะไรเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง
2.    กฎหมายนั้นอาจแบ่งได้อย่างคร่าวๆ เป็น 2 ประเภทคือ กฎหมายภายในและกฎหมายภายนอก
3.    กฎหมายภายในอาจแบ่งได้เป็น
1)    กฎหมายลายลักษณ์อัก และกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
2)    กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
3)    กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
4)    กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
4.    กฎหมายภายนอกอาจแบ่งออกได้เป็น
1)    กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
2)    กฎหมายระว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
3)    กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
3.2.1    บทนำ
การแบ่งกฎหมายภายในแบบใดที่ควรได้รับการยอมรับมากที่สุด เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
การแบ่งกฎหมายภายในเป็นกฎหมายมหาชนและกฎหมาเอกชน น่าจะได้รับการยอมรับมากที่สุดเพราะมีผลในการพิจารณาใช้หลักเกณฑ์ในการใช้และการตีความกฎหมาย เพื่อก่อให้เกิดความยุติธรรมแต่คดีตามลักษณะกฎหมาย
3.2.2    ประเภทของกฎหมายภายใน
Unwritten Law คือ อะไร
Unwritten Law คือกฎหมายที่ยังมิได้ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร
การแบ่งกฎหมายตามสภาพบังคับนั้นมีประโยชน์อย่างไรบ้าง
การแบ่งกฎหมายตามสภาพบังคับมีประโยชน์ในการพิจารณาคดีแยกคดีเพื่อฟ้องศาลได้ถูกต้องเช่น คดีแพ่งจะฟ้องศาลใดที่กฎหมายกำหนดได้บ้าง หรือคดีอาญาจะฟ้องศาลใดได้บ้าง
ถ้าไม่มีกฎหมายวิธีสบัญญัติจะเกิดผลประการใดบ้างต่อระบบกฎหมายของไทยในปัจจุบัน
ถ้าไม่มีกฎหมายวิธีสบัญญัติก็ไม่อาจดำเนินคดีในศาลต่างๆ ได้
การแบ่งกฎหมายออกเป็นกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนนั้นมีประโยชน์อย่างไรบ้าง
การแบ่งกฎหมายเป็นกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนนั้น ประเทศไทยยังไม่อาจมองเห็นประโยชน์ได้อย่างชัดเจน เพราะประเทศไทยยังไม่ได้แยกคดีที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายมหาชนให้ขึ้นศาลปกครอง ในปัจจุบันคดีส่วนใหญ่ขึ้นศาลยุติธรรม ยกเว้นบางคดีที่จัดตั้งศาลพิเศษไว้พิจารณาพิพากษาคดีโดยเฉพาะ
3.2.3    ประเภทของกฎหมายภายนอก
กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองมีความสำคัญและมีบทบาทต่อสังคมประชาชาติเพียงใด
กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองมีความสำคัญมาก เพราะเป็นกฎหมายที่กำหนดกฎเกณฑ์ที่ให้รัฐต่างๆ ได้ปฏิบัติตามเพื่อความสงบสุขของสังคมประชาชาติแต่ในปัจจุบัน กฎหมายนี้ขาดความศักดิ์สิทธิ์เพราะไม่มีองค์กรใดที่จะก่อให้เกิดสภาพบังคับ จึงกลายเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดความไม่สงบสุขขึ้นเสมอมา
กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลมีบทบาทต่อสังคมปัจจุบันเพียงใด
กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลมีบทบาทสำคัญต่อสังคมยุคปัจจุบัน ที่ประชาชนในแต่ละรัฐมีโอกาสติดต่อกัน หรือความสัมพันธ์กันในด้านต่างๆ ความสัมพันธ์ระหว่างคนต่างรัฐย่อมมีปัญหาที่จะใช้กฎหมายของรัฐใดบังคับ จึงต้องมีกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลขึ้น เพื่อแก้ปัญหาว่าจะใช้กฎหมายใดบังคับแก่ความสัมพันธ์เหล่านั้น
การจี้เครื่องบินจากประเทศอื่นแล้วมาร่อนลงในประเทศไทย แล้วบังคับเครื่องบินให้เดินทางต่อไปยังประเทศที่สาม ประเทศไทยจะมีสิทธิเรียกให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดน ตามกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญาหรือไม่
การจี้เครื่องบินเป็นการกระทำผิดกฎหมายตามอาญากฎหมายไทย หากผู้ร้ายที่กระทำผิดบังคับเครื่องบินไปประเทศที่สาม และประเทศที่สามมีข้อตกลงที่จะร่วมมือกันส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับประเทศไทย ก็อาจจะมีการส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้ แต่ความผิดนี้โดยปกติย่อมเป็นความผิดอาญาสากลซึ่งประเทศที่สามก็ย่อมจะลงโทษได้อยู่แล้ว เพราะเป็นความผิดที่กระทำอยู่ต่อเนื่องในอาณาเขตของประเทศนั้นด้วย
3.3    ศักดิ์ของกฎหมาย
1.    กฎหมายที่ออกมาใช้ในสังคมย่อมเกิดจากองค์กรต่างกัน  จึงมีลำดับความสำคัญไม่เท่าเทียมกันรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่สูงที่สุด จะมีกฎหมายอื่นมาขัดกับรัฐธรรมนูญไม่ได้
2.    กฎหมายที่ออกโดยรัฐสภา หรือรัฐธรรมนูญได้มอบอำนาจให้ตราขึ้นได้ในกรณีพิเศษ ตามความจำเป็นและตามเงื่อนไขที่กำหนด ย่อมมีศักดิ์สูงรองลงมาจากรัฐธรรมนูญ
3.    กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหาร โดยอาศัยอำนาจกฎหมายที่ออกโดยรัฐสภา ย่อมเป็นกฎหมายลำดับรองลงมาจากกฎหมายที่ออกโดยรัฐสภา
4.    กฎหมายที่ออกโดยองค์กรปกครองตนเอง โดยอาศัยอำนาจกฎหมายอื่น ย่อมมีศักดิ์ต่ำกว่ากฎหมายที่ออกโดยรัฐสภาหรือฝ่ายบริหาร
5.    การจัดลำดับของกฎหมายตามศักดิ์ ก็เพื่อให้ทราบว่ากฎหมายฉบับใดมีความสำคัญมากกว่ากัน และสามารถยกเลิกกฎหมายที่มีศักดิ์เท่ากันหรือต่ำกว่าได้ แต่ไม่สามารถยกเลิกกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าได้
3.3.1    การจัดลำดับความสำคัญของกฎหมาย
เหตุใดจึงต้องมีการจัดลำดับกฎหมายตามศักดิ์
การจัดลำดับของกฎหมายนั้นย่อมขึ้นอยู่กับว่ากฎหมายนั้นออกโดยองค์กรใด และองค์กรนั้นมีความสำคัญเพียงใด เมื่อออกกฎหมายมาแล้ว กฎหมายที่ออกมาโดยองค์กรที่มีอำนาจออกกฎหมายที่สูงกว่าย่อมมีศักดิ์สูงกว่ากฎหมายที่ออกโดยองค์กรที่ต่ำกว่า ย่อมไม่สามารถยกเลิกเพิกถอนกฎหมายที่ออกโดยองค์กรที่สูงกว่าซึ่งมีศักดิ์สูงกว่าได้
3.3.2    ประโยชน์ของการจัดลำดับของกฎหมายตามศักดิ์
หาตัวอย่างการออกกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายระดับเดียวกันมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง
การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะหุ้นบริษัทโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2521)
หาตัวอย่างการยกเลิกกฎหมายระดับเดียวกันมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง
พระราชบัญญัติแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2519) ยกเลิกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5
แบบประเมินตนเองหน่วยที่ 3
1.    กฎหมายในระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษรหรือซีวิลลอว์ มีที่มาจาก กฎหมายลายลักษณ์อักษร จารีตประเพณี และหลักกฎหมายทั่วไป
2.    ที่มาประการสำคัญของกฎหมายในระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (Common Law System) คือ จารีตประเพณีและคำพิพากษา
3.    ที่มาของกฎหมายในระบบกฎหมายสังคมนิยม (Socialist Law System) คือ กฎหมายลายลักษณ์อักษร
4.    ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จัดอยู่ในกฎหมายประเภท กฎหมายสารบัญญัติ
5.    ประมวลกฎหมายอาญาจัดอยู่ในกฎเภท กฎหมายมหาชน
6.    บริษัทไทยต้องการทำสัญญาค้าขายกับบริษัทญี่ปุ่น ต่างฝ่ายต่างต้องการใช้กฎหมายในประเทศของตนบังคับในสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างกัน กฎหมายที่ควรจะใช้บังคับกรณีที่มีความขัดแย้งกันนี้ คือ ประมวลกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
7.    นายตี๋ ถูกจับและดำเนินคดีข้อหาค้ายาเสพติดระหว่างคุมขังอยู่นายตี๋ เล็ดลอดหนีข้ามแดนออกไปมาเลเซียได้ ต่อมาตำรวจมาเลเซียส่งตัวนายตี๋มาให้รัฐบาลไทยดำเนินคดีและลงโทษต่อไป รัฐบาลมาเลเซียปฏิบัติตาม กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
8.    กฎบัตรสหประชาชาติหมายถึง กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
9.    การเรียงลำดับศักดิ์ของกฎหมายจากสูงไปต่ำ ควรเป็นดังนี้คือ รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา เทศบัญญัติ
10.    รัฐธรรมนูญ มีศักดิ์สูงกว่ากฎหมายใดๆทั้งสิ้น
หน่วยที่ 4 ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับศาสตร์อื่นๆ
1.    เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์มีความสำคัญที่จะทำให้เกิดแนวความคิดในการยกร่าง ปรับปรุง แก้ไขกฎหมาย ให้เป็นกติกาที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม
2.    รัฐศาสตร์เป็นศาสตร์ที่จัดระบบกลไกการปกครอง โดยมีกฎหมายเป็นเครื่องมือในการปกครองและการบริหารประเทศ
3.    เศรษฐศาสตร์เป็นศาสตร์ที่อาศัยกฎหมายในการกำหนดทิศทางและควบคุม ดูแลระบบเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม
4.    กฎหมายมีบทบาทในการควบคุมการศึกษาค้นคว้า พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อมิให้เกิดผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์โลก
4.1    กฎหมายกับประวัติศาสตร์
1.    เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอันเป็นประวัติศาสตร์ในสังคมหนึ่งนั้น ย่อมมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน และกฎหมายที่จะร่างขึ้นมาใช้ในอนาคต
2.    การศึกษาประวัติศาสตร์ในเชิงวิเคราะห์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่จะนำมายกร่างหรือปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ย่อมจะทำให้เกิดความชัดเจนในการยกร่างกฎหมาย หรือปรับปรุง แก้ไขกฎหมายให้เหมาะสมสอดคล้องกับวิถีของสังคมยิ่งขึ้น และทำให้สังคมได้รับประโยชน์จากกฎหมายมากยิ่งขึ้น
4.1.1    ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับประวัติศาสตร์
ยกตัวอย่างในอดีตที่มีผลต่อมาให้รัฐต้องออกกฎหมายมาควบคุม ดูแล รวม 2 เรื่อง
1)    กรณีปั่นหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ทำให้รัฐต้องปรับปรุงกฎหมายเดิม คือ พระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2518 มาเป็นกฎหมายใหม่ คือ พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2525 ซึ่งจะมีการลงโทษผู้ที่ปั่นหุ้นทั้งทางแพ่งและทางอาญา
2)    กรณีที่ประชาชนถูกธนาคารและสถาบันการเงินเอาเปรียบในเรื่องสัญญาต่างๆ ที่ทำกับธนาคารและสถาบันการเงิน จึงมีการแก้ไขกฎหมายพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2521 เพิ่มเติมหมวดที่คุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคมากขึ้น
4.1.2    การศึกษาประวัติศาสตร์ในเชิงวิเคราะห์เพื่อใช้ในการร่างและปรับปรุงกฎหมาย
วิจารณ์การยกร่างกฎหมายโดยไม่คำนึงถึงความเป็นมาในทางประวัติศาสตร์ เกิดผลเสียอย่างไร ยกตัวอย่างมา 1 ตัวอย่างด้วย
กรณีเขียนบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญเรื่องคุณสมบัติของวุฒิสมาชิกหรือกรณีการใช้กฎหมายแรงงานกับรัฐวิสาหกิจ
4.2    กฎหมายกับรัฐศาสตร์
1.    กฎหมายกับรัฐศาสตร์มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด รัฐศาสตร์จัดระบบกลไกการปกครองโดยให้มีกระบวนการนิติบัญญัติ ซึ่งก่อให้เกิดกฎหมายขึ้นมาใช้บังคับแก่ประชาชน และในขณะเดียวกัน กฎหมายก็เป็นเครื่องมือให้แก่การปกครองและการบริหารประเทศ
2.    กฎหมายที่เป็นเครื่องมือในการปกครองนั้น ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุด และกฎหมายรองลงมา คือ กฎหมายปกครอง และกฎหมายมหาชนอื่นๆ ที่จะช่วยให้การบริหารแผ่นดินบรรลุผลตามเป้าหมาย อันจะก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย ความอยู่ดีกินดี และความเป็นธรรมในสังคมไทย
4.2.1    ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับรัฐศาสตร์
วิชากฎหมายหรือนิติศาสตร์มีความสัมพันธ์กับวิชารัฐศาสตร์เพียงใด
ศาสตร์ทั้งสองตัวต้องพึ่งพาอาศัยกัน คือรัฐศาสตร์จะสร้างระบบและกลไกในกระบวนการนิติบัญญัติของรัฐ เพื่อออกกฎหมายใช้บังคับแก่ประชาชน ในขณะเดียวกันกฎหมายก็จะเป็นกลไกสำคัญในการเมืองการปกครองที่จะให้อำนาจรัฐในการออกกฎหมายภายใต้ความยินยอมของประชาชน
4.2.2    กฎหมายในฐานะเป็นเครื่องมือในการปกครอง
วิเคราะห์ว่ากฎหมายใดบ้างเป็นเครื่องมือในการปกครอง และกฎหมายใดมีความสำคัญสูงสุดในฐานะเป็นเครื่องมือในทางปกครอง
กฎหมายที่เป็นเครื่องมือในการปกครองคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายปกครองและกฎหมายมหาชนอื่นๆ
กฎหมายที่มีความสำคัญสูงสุดในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการปกครองคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
4.3    กฎหมายกับเศรษฐศาสตร์
1.    เศรษฐศาสตร์กับกฎหมายต่างเป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ที่มีความเชื่อมโยงกัน เศรษฐศาสตร์ต้องอาศัยออกกฎหมายในการสร้างความเป็นธรรมให้แก่สังคม และกฎหมายก็ต้องอาศัยหลักการในเศรษฐศาสตร์มาประกอบการยกร่างกฎหมาย
2.    กฎหมายเป็นเครื่องมือของรัฐในการกำหนดทิศทางในด้านเศรษฐกิจของประเทศ และใช้เป็นกลไกควบคุม ดูแลระบบเศรษฐกิจ รวมทั้งการสร้างความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนที่ไม่ถูกเอรัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ
4.3.1    ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับเศรษฐศาสตร์
กฎหมายและเศรษฐศาสตร์มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
กฎหมายมีส่วนเป็นกลไกสำคัญในการควบคุมระบบเศรษฐกิจทั้งในระดับเศรษฐกิจมหภาค คือระบบการเงินการคลังของประเทศและในระดับเศรษฐกิจจุลภาค คือกำกับดูแลให้ความเป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบการกับประชาชนผู้บริโภคสินค้าและบริการ
4.3.2    กฎหมายกับการกำกับ ดูแลระบบเศรษฐกิจ
ยกตัวอย่างกฎหมายที่กำกับดูแลเศรษฐกิจมา 2 ฉบับ
กฎหมายที่กำกับดูแลระบบเศรษฐกิจ คือ ประมวลรัษฎากร พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520  พระราชบัญญัติสถานสินเชื่อท้องถิ่น พ.ศ. 2518 พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พุทธศักราช 2475
4.4    กฎหมายกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1.    วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นศาสตร์ที่มนุษย์ได้ศึกษา ค้นคว้า และพัฒนา เพื่ออธิบายความเป็นไปของธรรมชาติและปากฎการณ์ต่างๆ และนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ให้แก่มนุษย์จึงต้องมีกรอบการใช้ประโยชน์ที่เหมาะสมแก่สภาพสังคม โดยอาศัยกฎหมายเป็นตัวกำหนดกรอบเพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในสังคม
2.    เมื่อมีเหตุการณ์เรื่องใดที่เกิดผลกระทบต่อสังคม ก็ควรจะต้องนำกฎหมายมาช่วยควบคุม กำกับดูแล เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น อันจะช่วยให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคม
4.4.1    ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กฎหมายมีบทบาทต่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างไร
กฎหมายมีบทบาทต่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีคือ
1)    ในด้านการควบคุมการศึกษาค้นคว้าและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้อยู่ในกรอบที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ และอยู่ในกรอบของศีลธรรมจรรยาอันก่อให้เกิดปัญหาแก่สังคม และ
2)    ในด้านการพิสูจน์พยานหลักฐานในคดีความ
4.4.2    กฎหมายกับการกำกับดูแลผลกระทบต่อสังคมอันเกิดจากวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
กฎหมายที่กำกับดูแลผลกระทบต่อสังคมอันเกิดจากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียกตัวอย่างมา 2 ฉบับ
พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2523 พระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พุทธศักราช 2498 พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2498 และพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 เป็นต้น
แบบประเมินตนเองหน่วยที่ 4
1.    การศึกษาประวัติศาสตร์มีส่วนช่วยในการศึกษาวิชากฎหมายเพราะว่า ช่วยให้เราเข้าใจเหตุผลของเรื่องราวที่เกิดขึ้น
2.    วิชาประวัติศาสตร์มีส่วนเกี่ยวข้องในการร่างและปรับปรุงกฎหมายคือ ใช้ประวัติศาสตร์มาประกอบการศึกษาและพิจารณาในการยกร่างกฎหมาย
3.    แนวความคิดที่ว่า “เมื่อประชาชนมอบอำนาจของตนให้รัฐแล้ว รัฐต้องมีหน้าที่ในการใช้อำนาจของรัฐเพื่ออำนวยประโยชน์ และก่อให้เกิดความมั่นคง ความผาสุกแก่ประชาชน” ข้อความนี้หมายถึง ทฤษฎีสัญญาประชาคม
4.    รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายที่มีความสำคัญสูงสุดในการบริหารราชการแผ่นดิน
5.    ความสัมพันธ์ระหว่างวิชานิติศาสตร์กับรัฐศาสตร์นั้นเปรียบเทียบกันแล้วจัดว่าเป็น ลักษณะคู่แฝด
6.    กฎหมายกับเศรษฐศาสตร์มีความสัมพันธ์กันคือ นำหลักเกณฑ์ในทางวิชาเศรษฐศาสตร์มาใช้เป็นหลักการและเหตุผลในการออกกฎหมาย
7.    กฎหมายฉบับที่ดูแลสภาพคล่องของการเงินของประเทศคือ พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485
8.    กรณีที่เป็นการพิสูจน์หลักฐานในทางวิทยาศาสตร์เช่น การพิสูจน์สาเหตุการตายของศพที่พบ
9.    การที่นักกฎหมายต้องเรียนรู้ศาสตร์อื่นๆ นอกเหนือจากวิชากฎหมายเพราะ ช่วยทำให้นักกฎหมายเข้าใจศาสตร์ต่างๆ และสามารถใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้ความเป็นธรรมได้ดียิ่งขึ้น
10.    กรณีที่ยังไม่มีกฎหมายใดที่จะช่วยลดผลกระทบต่อคนไทยและมนุษยชาติได้แก่ ภาวะเรือนกระจกบนโลก
หน่วยที่ 5 การใช้เหตุผลในทางกฎหมาย
1.    การนำกฎหมายมาใช้บังคับอาจมีผลกระทบหรือเกิดสภาพบังคับแก่บุคคล จำเป็นต้องมีการให้เหตุผลในการใช้บังคับกฎหมายที่ดี เป็นธรรม สมเหตุผล หรือรับฟังได้ เพื่อให้เกิดการยอมรับของสังคม และแก้ไขปัญหาได้ตรงกับสภาพปัญหาที่แท้จริง ซึ่งจะทำให้กฎหมายนั้นบรรลุวัตถุประสงค์และประสบผล
2.    เหตุผลในกฎหมายสามารถวิเคราะห์ได้จากเหตุผลของผู้ร่างกฎหมาย ความเป็นธรรมของตัวกฎหมายนั้นเองและนำผลการวิเคราะห์หาเหตุผลในกฎหมายมาใช้ประโยชน์ในการใช้กฎหมาย
3.    การใช้เหตุผลในการวินิจฉัยคดีเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยรักษาความเป็นธรรมให้แก่คู่ความ โดยที่ฝ่ายแพ้คดีและสังคมยอมรับ การใช้เหตุผลในคดีมีอยู่ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ในการต่อสู้คดีของคู่ความ การทำคำพิพากษา การทำความเห็นแย้งในคำพิพากษา และในการให้ความเห็นทางกฎหมายโดยทั่วไปด้วย
5.1    ความสำคัญของเหตุผลในทางกฎหมาย
1.    เหตุผลของกฎหมายที่ดีและเป็นธรรมที่มีมาจากแนวความคิดทางปรัชญา โดยนักปรัชญาและนักนิติปรัชญาได้พยายามพัฒนาแนวความคิดเกี่ยวกับเหตุผลในการตรากฎหมาย และการใช้กฎหมายมาโดยตลอด เพื่อให้ได้กฎหมายที่ดีและเป็นธรรมที่สุดแก่สังคม
2.    การใช้เหตุผลในทางกฎหมายที่ดีมีคุณลักษณะสำคัญประการหนึ่งคือ ความสมเหตุผลในทางตรรกวิทยา ซึ่งช่วยให้สามารถตรากฎหมายและนำกฎหมายมาใช้ในการแก้ไขปัญหาได้ตรงกับสภาพปัญหาที่แท้จริง ไม่เบี่ยงเบนไป
3.    การให้เหตุผลในกฎหมายมีความสำคัญ เนื่องจากเหตุผลที่ดี เป็นธรรม สมเหตุสมผล หรือรับฟังได้ ก่อให้เกิดความเป็นธรรมและการยอมรับของบุคคลที่เกี่ยวข้องและสังคม และแก้ไขปัญหาได้ตรงกับสภาพปัญหาที่แท้จริง ซึ่งจะทำให้กฎหมายนั้นบรรลุวัตถุประสงค์และประสบผล
5.1.1    ปรัชญากับกฎหมาย
ในปัจจุบันมีการนำหลักทฤษฎีทางปรัชญาใดมาใช้ในการให้เหตุผลทางกฎหมายอย่างไร
แนวความคิดคิดทางนิติปรัชญาที่ยังคงใช้อยู่ในการให้เหตุผลทางกฎหมายในปัจจุบัน เช่น แนวความคิดเกี่ยวกับหลักนิติรัฐ (Legal State) ซึ่งปัจจุบันมีการใช้เหตุผลทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐจะใช้อำนาจในทางที่ลิดรอนสิทธิและเสรีภาพของเอกชนได้ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายให้อำนาจไว้อย่างชัดเจนเท่านั้น
5.1.2    ตรรกวิทยากับกฎหมาย
การใช้เหตุผลในกฎหมายโดยใช้หลักตรรกวิทยามีความสำคัญอย่างไร
การใช้เหตุผลในกฎหมายโดยใช้หลักตรรกวิทยามีความสำคัญ เพราะทำให้เหตุผลที่ยกขึ้นกล่าวอ้างมีความสมเหตุผล และสามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงตามสภาพของปัญหาที่แท้จริง
5.1.3    แนวคิดและความสำคัญของเหตุผลในกฎหมาย
การใช้เหตุผลในกฎหมายที่ดีมีความสำคัญอย่างไร
การ
5.2    การวิเคราะห์หาเหตุผลในกฎหมาย
1.    กฎหมายสร้างขึ้นโดยผู้ร่างกฎหมายด้วยเหตุผลหรือเจตนารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยผู้ร่างกฎหมายจะกำหนดโครงสร้างและกลไกของกฎหมาย และเขียนบทบัญญัติเพื่อให้กฎหมายบรรลุเจตนารมณ์ตามที่ได้มุ่งหมายไว้ การจะหยั่งทราบเหตุผลในกฎหมายจึงสามารถกระทำได้โดยการค้นหาเหตุผลของผู้ร่างกฎหมายได้ทางหนึ่ง
2.    เมื่อกฎหมายได้ถูกตราขึ้นแล้ว นักกฎหมายฝ่ายหนึ่งเห็นว่าตัวกฎหมายนั้นเองเป็นสิ่งแสดงเจตนารมณ์ หรือเหตุผลในตัวเอง การวิเคราะห์หาเหตุผลของกฎหมายจึงพิจารณาได้จากความเป็นธรรมของกฎหมายนั้นเอง
3.    เหตุผลในกฎหมายจะถูกนำมาใช้เมื่อมีการใช้กฎหมาย เมื่อผู้ใช้กฎหมายได้ทำการวิเคราะห์เพื่อหาเหตุผลในกฎหมายได้โดยอาศัยกระบวนการต่างๆ แล้ว จะสามารถนำเหตุผลนั้นมาใช้อธิบายคำวินิจฉัยของตนทั้งในการพิจารณาคดี และการให้ความเห็นทางกฎหมายโดยทั่วไปอย่างสมเหตุสมผลและมีความเป็นธรรม
5.2.1    เหตุผลของผู้ร่างกฎหมาย
การวิเคราะห์หาเหตุผลของผู้ร่างกฎหมายมีประโยชน์ในการใช้เหตุผลในกฎหมายอย่างไร
การวิเคราะห์หาเหตุผลของผู้ร่างกฎหมายมีประโยชน์ในการใช้เหตุผลในกฎหมายเพราะจะทำให้วินิจฉัยคดีได้ตรงตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย มิใช่เป็นเหตุผลที่ผู้ใช้กฎหมายนึกคิดขึ้นเอง

5.2.2  เคราะห์หาเหตุผลจากความเป็นธรรมของกฎหมายสามารถพิจารณาได้จากสิ่งใด
การวิเคราะห์เหตุผลจากความเป็นธรรมของกฎหมาย สามารถพิจารณาได้จากตัวบทบัญญัติของกฎหมายนั้นเองตามทฤษฎีอำเภอการณ์ อย่างไรก็ดี ในการใช้กฎหมาย นักกฎหมายส่วนใหญ่มักพิจารณาประกอบกับเหตุผลของผู้ร่างกฎหมายและหลักการตีความกฎหมายต่างๆด้วย
5.2.3    การนำผลการวิเคราะห์หาเหตุผลในกฎหมายมาใช้ประโยชน์
เหตุผลในกฎหมายที่วิเคราะห์ได้สามารถนำมาใช้ได้เฉพาะในการพิจารณาคดีหรือไม่
เหตุผลในกฎหมายที่วิเคราะห์ได้ไม่เพียงสามารถใช้ได้ในการพิจารณาคดีเท่านั้น แต่สามารถนำไปใช้ในการให้ความเห็นทางกฎหมายของนักกฎหมายโดยทั่วไปได้
5.3    เหตุผลในการวินิจฉัยคดีและการให้ความเห็นทางกฎหมาย
1.    เมื่อบุคคลมีข้อพิพาททางกฎหมายต้อเสนอคดีต่อศาลเพื่อให้มีการวินิจฉัยชี้ขาด คู่ความแต่ละฝ่ายต่างมีสิทธิยกเหตุผลที่ตนเห็นว่าดีที่สุดในการต่อสู้คดีเพื่อโน้มน้าวให้ศาลเห็นว่าฝ่ายตนสมควรชนะคดี
2.    ประเทศไทยเป็นระบบที่ใช้ประมวลกฎหมาย (Civil Law) ตามหลักแล้วต้องพิจารณาข้อกฎหมายตามตัวบทกฎหมายโดยไม่จำเป็นต้องยึดถือแนวคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยเป็นบรรทัดฐาน อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติ คำพิพากษาที่มีการใช้เหตุผลที่ดี สมเหตุสมผล และเป็นธรรม สามารถนำมาเป็นแนวทางในการใช้เหตุผลในกฎหมายได้ในกรณีที่มีข้อเท็จจริงคล้ายคลึงกัน
3.    การให้เหตุผลในการเขียนคำพิพากษาหรือการให้ความเห็นทางกฎหมาย มีหลักการซึ่งต้องคำนึงถึงหลายประการ เช่นหลักหรือทฤษฎีกฎหมาย หลักการร่างกฎหมาย หลักการตีความกฎหมายและการอุดช่องว่างกฎหมาย และหลักอื่นๆ เช่น หลักตรรกวิทยา สามัญสำนึก และศีลธรรมเป็นต้น
4.    ในองค์คณะผู้พิจารณาคดีหรือผู้ให้ความเห็นทางกฎหมายอาจมีผู้ไม่เห็นด้วยกับความเห็นของอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเป็นฝ่ายข้างมาก กฎหมายให้สิทธิฝ่ายข้างน้อยในการแสดงความเห็นแย้ง เพื่อประโยชน์ในการทบทวน หรือตรวจสอบคำพิพากษา หรือความเห็นทางกฎหมายของฝ่ายข้างมาก
5.3.1    เหตุผลในการต่อสู้คดี
การใช้เหตุผลในการต่อสู้คดีมีหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับการใช้เหตุผลในทางกฎหมายอื่นหรือไม่
การใช้เหตุผลในการต่อสู้คดีมีหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับการใช้เหตุผลในทางกฎหมายอื่น เพราะเป็นการใช้กฎหมายเพื่อรักษาสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณี จึงต้องมีความสมเหตุสมผล เป็นธรรม และสามารถจูงใจให้ผู้อ่านคล้อยตามได้
5.3.2    แนวบรรทัดฐานแห่งคำพิพากษา
ในประเทศไทยสามารถยึดแนวบรรทัดฐานแห่งคำพิพากษาในการใช้เหตุผลทางกฎหมายได้หรือไม่
เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศในระบบกฎหมายซีวิลลอว์ หรือระบบประมวลกฎหมายจึงไม่จำเป็นต้องยึดแนวคำพิพากษาเป็นบรรทัดฐานในการใช้เหตุผลทางกฎหมายอย่างไรก็ดีคำพิพากษาที่มีการใช้เหตุผลที่ดี สมเหตุ สมผลและเป็นธรรมสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการใช้เหตุผลในกรณีที่มีข้อเท็จจริงคล้ายคลึงกันได้ในทางปฏิบัติ
5.3.3    เหตุผลในการเขียนคำพิพากษาและความเห็นทางกฎหมาย
การหาเหตุผลที่ดีมีน้ำหนักมาอธิบายให้ผู้เกี่ยวข้องยอมรับนับถือได้ จะต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์หรือเครื่องมือทางกฎหมายที่สำคัญอย่างใด
การหาเหตุผลที่ดี มีน้ำหนัก มาอธิบายให้ผู้เกี่ยวข้องยอมรับนับถือได้ จะต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์หรือเครื่องมือทางกฎหมายที่สำคัญดังต่อไปนี้ คือ
1)    หลักหรือทฤษฎีกฎหมาย
2)    หลักการร่างกฎหมาย
3)    หลักการตีความกฎหมายและการอุดช่องว่างกฎหมาย
4)    หลักอื่นๆ เช่น หลักตรรกวิทยา สามัญสำนึก หรือศีลธรรม
5.3.4    การเขียนความเห็นแย้งในคำพิพากษาหรือการให้ความเห็นทางกฎหมาย
การทำความเห็นแย้งมีประโยชน์อย่างไร
การทำความเห็นแย้งมีประโยชน์ในการทำคำพิพากษาหรือความเห็นทางกฎหมาย โดยเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ใช้กฎหมายมีการพิจารณาเรื่องนั้นๆ อย่างรอบด้าน และเลือกใช้เหตุผลทางกฎหมายที่เห็นว่าเหมาะสมและเป็นธรรมมากที่สุด
แบบประเมินตนเองหน่วยที่ 5
1.    เหตุที่กฎหมายจำเป็นต้องมีเหตุผลที่ดีคือ เพื่อให้กฎหมายนั้นเป็นที่ยอมรับของสมาชิกในสังคม
2.    เหตุผลที่ดีควรมีลักษณะดังนี้ (1) เป็นธรรม (2) รับฟังได้ (3) สมเหตุสมผล (4) มีข้อเท็จจริงสนับสนุนที่หนักแน่น
3.    หลักปรัชญาช่วยในการใช้กฎหมายมีเหตุผลที่ดีคือ เป็นเหตุผลที่มีความเป็นธรรมตามยุคสมัย
4.    หลักตรรกวิทยาช่วยให้กฎหมายมีเหตุผลที่ดีคือ (1) เป็นเหตุผลที่มีความสมเหตุสมผล (2) สอดคล้องกับความเห็นของนักปรัชญา (3) เป็นเหตุผลที่มีความเป็นธรรมตามยุคสมัย (4) สอดคล้องกับวิถีชีวิตของสมาชิกในสังคม
5.    การวิเคราะห์หาเหตุผลของกฎหมายสามารถศึกษาได้จาก (1) ผู้ร่างกฎหมาย (2) การอภิปรายในสภา (3) บันทึกหลักการและเหตุผล (4) รายงานการประชุมพิจารณาร่างกฎหมาย
6.    การค้นหาเหตุผลของกฎหมายตามทฤษฎีอำเภอการณ์คือการหาเหตุผลจาก ตัวบทบัญญัติของกฎหมายนั้นเอง
7.    การค้นหาเหตุผลเพื่อสร้างความเป็นธรรมควรพิจารณาจากเหตุผลของ ผู้ร่างกฎหมายประกอบกับตัวบทบัญญัติของกฎหมาย
8.    ผู้ที่สามารถใช้เหตุผลในทางกฎหมายได้คือ ทุกคนที่ใช้กฎหมาย
9.    ในการพิจารณาของศาลไทย ศาลไม่ต้องผูกพันตามแนวคำพิพากษาเพราะประเทศไทยเป็นระบบประมวลกฎหมาย
10.    การให้เหตุผลในการเขียนคำพิพากษาควรคำนึงถึงหลัก (1) หลักศีลธรรม (2) ทฤษฎีกฎหมาย (3) หลักตรรกวิทยา (4) หลักการตีความกฎหมายและการอุดช่องว่าง
11.    กฎหมายที่มีการตราโดยมีเหตุผลที่ดีมีประโยชน์คือ ทำให้กฎหมายสามารถอำนวยความเป็นธรรมได้เหมาะแก่กรณี
12.    เหตุผลที่ดีในการใช้กฎหมายมีที่มาจากหลักการคือ (1) ศีลธรรม (2) ปรัชญา (3) นิติปรัชญา (4) ตรรกวิทยา
13.    การศึกษารายงานการประชุมสภาในการพิจารณาร่างกฎหมายเป็นการค้นหา เหตุผลในลักษณะ เหตุผลของผู้ร่างกฎหมาย
14.    การทำความเข้าใจกฎหมายจากเนื้อความของกฎหมายเป็นการหาเหตุผลในลักษณะ เหตุผลของตัวกฎหมายนั้นเอง
15.    การค้นหาเจตนารมณ์ของกฎหมายที่นักกฎหมายส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นวิธีที่ดีคือ (1) ค้นหาจากผู้ร่างกฎหมาย (2) ค้นหาจากตัวกฎหมายนั้นเอง (3) ค้นหาจากความเห็นของนักวิชาการ (4) ค้นหาจากหลักการตีความกฎหมายทั่วไป
16.    การใช้เหตุผลในทางกฎหมายสามารถปรากฏได้ใน (1) การต่อสู้คดี (2) คำพิพากษาของศาล (3) บทบัญญัติของกฎหมาย (4) การให้ความเห็นทางกฎหมาย
17.    ลักษณะเฉพาะของศาลในระบบซีวิลลอว์ ศาลไม่ต้องผูกพันตามแนวบรรทัดฐาน
18.    การให้เหตุผลในการให้ความเห็นทางกฎหมายควรคำนึงถึงหลักในเรื่อง (1) หลักศีลธรรม (2) หลักตรรกวิทยา (3) หลักการร่างกฎหมาย (4) หลักหรือทฤษฎีกฎหมาย
หน่วยที่ 6 กฎหมายกับการพัฒนาสังคม
1.    สิทธิและเสรีภาพของบุคคลจะมีหลักประกันให้มั่นคงอยู่ได้ก็ต้องอาศัยกฎหมายเป็นสิ่งสำคัญ
2.    กฎหมายกับสังคมเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด การที่จะควบคุมสังคมได้ย่อมอาศัยกฎหมายเข้ามาช่วย
3.    ในกรณีที่สังคมจะพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ย่อมต้องอาศัยกฎหมาย สังคมจะเปลี่ยนแปลงไปได้อย่างมั่นคง
4.    กฎหมายมีความจำเป็นต้องตราออกมาควบคู่กับสังคมยุควิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เพื่อควบคุมการใช้เทคโนโลยีในทางที่ถูกที่ควร
5.1    กฎหมายกับหลักประกันสิทธิเสรีภาพ
1.    มนุษย์ต้องมีสิทธิต่างๆ อย่างที่มนุษย์มีกัน และจะต้องมีอยู่อย่างเท่าเทียมกัน ไม่ถูกกีดกัน การจำกัดสิทธิจะมีได้แต่กฎหมายเท่านั้น
2.    ประเทศไทยได้กำหนดหลักประกันสิทธิ เสรีภาพของปวงชนชาวไทยไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณา จักรไทย ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ
3.    การใช้สิทธิและเสรีภาพของมนุษย์ในสังคมจะต้องมีกฎหมายควบคุมเสมอ
5.1.1    สิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชนหมายถึงอะไร
สิทธิมนุษยชนหมายถึง สิทธิความเป็นมนุษย์หรือสิทธิในความเป็นคน อันเป็นสิทธิตามธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนที่เกิดมาก็มีสิทธิติดตัวมาตั้งแต่เกิด
5.1.2    หลักประกันสิทธิ เสรีภาพตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญได้กำหนดขอบเขตการใช้สิทธิและเสรีภาพของบุคคลไว้เพียงใด
รัฐธรรมนูญได้กำหนดขอบเขตการใช้สิทธิและเสรีภาพของบุคคลไว้ว่า บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมิได้
5.1.3    กฎหมายกับสังคม
กฎหมายกับสังคมมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
กฎหมายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสังคม ซึ่งกฎหมายจะต้องเกิดขึ้นเสมอพร้อมกันไปกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ซึ่งหากมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางชั่วร้าย กฎหมายจะต้องเข้าไปควบคุมสังคมนั้นให้ดี เมื่อสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปก็ต้องมีการแก้ไขกฎหมายให้ทันต่อเหตุการณ์นั้น กฎหมายจึงได้ออกมาตามการเปลี่ยนแปลงในทางสังคม ลักษณะของกฎหมายจึงต้องบัญญัติโดยคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคมในอนาคตจึงจะถือว่าเป็นกฎหมายที่ดี
5.2    กฎหมายกับการควบคุมสังคม
1.    กฎหมายมีความสำคัญต่อความสงบเรียบร้อยในสังคมเป็นอย่างยิ่ง เพราะกฎหมายสามารถควบคุมสังคมให้ตกอยู่ในความสงบเรียบร้อยได้
2.    ความเป็นธรรมในสังคมจะมีได้ต้องอาศัยความถูกต้องของกฎหมายเท่านั้น
3.    ปัญหาทุกปัญหาทางสังคมสามารถแก้ไขให้ยุติได้ด้วยกฎหมาย
5.2.1    กฎหมายกับความสงบเรียบร้อยของสังคม
กฎหมายเกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยของสังคมอย่างไร
ในแต่ละสังคมย่อมจะต้องมีกฎระเบียบ วินัย ทั้งนี้เพื่อให้สังคมนั้นมีความสงบเรียบร้อยได้ กฎ ระเบียบ วินัย เช่นว่านี้จะต้องมีสภาพบังคับในสังคมนั้นได้ จึงจะทำให้สังคมมีความสงบเรียบร้อย กรณีที่จะให้มีสภาพบังคับได้จะต้องตราขึ้นเป็นกฎหมาย เมื่อได้ตรากฎหมายขึ้นมาแล้ว ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามบทกฎหมายนั้นย่อมเป็นผู้ก่อความไม่เรียบร้อยขึ้น ก็จะต้องถูกลงโทษไม่ว่าจะเป็นทางแพ่งหรืออาญา ความสงบเรียบร้อยก็ย่อมจะมีขึ้นได้
5.2.2    กฎหมายกับความเป็นธรรมในสังคม
เมื่อความไม่เป็นธรรมในสังคมเกิดขึ้นจะแก้ไขด้วยกฎหมายอย่างไร เพราะอะไร
สังคมที่ขาดความเป็นธรรม การที่จะแก้ไขต้องออกกฎหมายมาแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิ่งไม่เป็นธรรมนั้น เพราะกฎหมายมีสภาพบังคับ สามารถออกกฎหมายให้ยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงการกระทำนั้นเสีย ความเป็นธรรมในสังคมนั้นก็จะเกิดขึ้น
5.2.3    กฎหมายกับการแก้ปัญหาในสังคม
กฎหมายช่วยแก้ไขปัญหาทางสังคมอย่างไร
เมื่อสังคมนั้นเกิดความขัดแย้งยากที่จะประสานให้เกิดความสามัคคีกันได้วิธีการที่จะขจัดปัญหาในทางสังคมได้จะต้องอาศัยกฎหมายเป็นสำคัญเพราะหากมีกฎหมายบัญญัติในปัญหานั้นไว้อย่างไรแล้วก็ต้องปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายหรือบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายนั้น ปัญหาข้อขัดแย้งก็เป็นอันยุติได้ หากมีปัญหาขึ้นแต่ยังไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้ง ก็สามารถตรากฎหมายเพื่อขจัดปัญหานั้นให้เสร็จสิ้นไปโดยปฏิบัติตามกฎหมาย กฎหมายจึงมีความสำคัญที่สามารถแก้ปัญหาในสังคมได้
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้