ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : แนวข้อสอบตัวแทนประกันชีวิต ใหม่ล่าสุด
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

แนวข้อสอบตัวแทนประกันชีวิต ใหม่ล่าสุด

แชร์กระทู้นี้

1. นาง ก.
เป็นตัวแทนประกันชีวิตบริษัท หนึ่ง จำกัด
ซึ่งเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงมานาน ทำให้หาลูกค้าได้ง่าย
แต่บริษัทนี้ขายกรมธรรม์แบบที่ต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยสูงกว่าบริษัท สอง
จำกัด นาง ก. ต้องการเป็นตัวแทนประกันชีวิตบริษัท สอง จำกัด ด้วย
เนื่องจากมีแบบการประกันภัยที่จ่ายเบี้ยประกันภัยน้อยกว่าบริษัท หนึ่ง
จำกัด และนาง ก. ทราบดีว่า บริษัท หนึ่ง จำกัด
คงไม่ยินยอมให้เป็นตัวแทนประกันชีวิตบริษัท สอง จำกัด
ด้วยดังนั้นจึงชักชวนให้น้องสาวมาสมัครเป็นตัวแทนประกันชีวิตบริษัท สอง
จำกัด โดยนาง ก. เป็นผู้ขายประกันชีวิตแทนน้องสาว นาง ก.
จะพิจารณาว่าลูกค้ารายใดควรจะทำประกันชีวิตกับบริษัท หนึ่ง จำกัด หรือ
บริษัท สอง จำกัด การกระทำของนาง ก.
ถูกหรือผิดจรรยาบรรณผู้ประกอบอาชีพตัวแทนประกันชีวิต


ก. ถูก เพราะมีความซื่อสัตย์ต่อบริษัทประกันชีวิต


ข. ผิด เพราะไม่แจ้งแก่ลูกค้าว่าเป็นตัวแทนประกันชีวิตของบริษัทใด


ค. ถูก เพราะเป็นการตั้งใจให้บริการที่ดีแก่ลูกค้า เพื่อรักษาผลประโยชน์ของลูกค้า


ง. ผิด เพราะขาดความซื่อสัตย์ต่อบริษัทและผู้เอาประกันภัย


2. นาย ก.
เป็นตัวแทนประกันชีวิตบริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่งประพฤติผิดจรรยาบรรณ
โดยชักชวนให้เพื่อนชื่อนาย ข. ซึ่งกำลังตกงานเนื่องจาก เศรษฐกิจตกต่ำ
มาช่วยขายประกันชีวิตให้ตน โดยมีเงื่อนไขว่า ถ้า นาย ข. หาลูกค้าได้ 1 ราย
ตนจะจ่ายเงินให้ 1,500 บาท หลังจากที่ นาย ข. หาลูกค้าได้ 2-3 ราย
ก็เกิดความคิดว่า
ถ้าตนเป็นตัวแทนประกันชีวิตก็คงจะได้รับผลตอบแทนมากกว่านี้
จึงสอบเข้าเป็นตัวแทนประกันชีวิต บริษัทเดียวกับ นาย ก. โดยไม่ได้บอกให้นาย
ก. รู้ เมื่อนาย ก. มีลูกค้าประสงค์จะทำประกันชีวิต นาย ก. ก็ให้ นาย ข.
ไปช่วยอธิบายเรื่องการทำประกันชีวิตให้ลูกค้า
และเมื่อลูกค้าตกลงทำประกันชีวิต นาย ข.
จะให้ลูกค้ากรอกใบคำขอทำประกันชีวิตเป็นลูกค้าของตน และกลับมาบอกนาย ก. ว่า
ลูกค้าไม่ยอมทำประกันชีวิตแล้ว ท่านคิดว่าการกระทำของนาย ข.
ผิดจรรยาบรรณหรือไม่


ก. ผิด เพราะ นาย ข. ไม่ซื่อสัตย์ต่อเพื่อนร่วมงาน


ข. ผิด เพราะ นาย ข. ไม่ซื่อสัตย์ต่อผู้เอาประกันภัย


ค. ไม่ผิด เพราะ นาย ข. ไม่จำเป็นต้องบอกใครๆ ว่าตนเป็นตัวแทนประกันชีวิต


ง. ไม่ผิด เพราะ ผู้เอาประกันภัยตกลงทำประกันชีวิตกับนาย ข. เอง


3. นาย ก. ตกลงทำประกันชีวิต และได้ชำระเบี้ยประกันภัยผ่าน นาย ข.
ซึ่งเป็นตัวแทนประกันชีวิต นาย ข. เห็นว่า การชำระเบี้ยประกันภัยมีระยะ
เวลาผ่อนผัน 30 วัน จึงนำเงินนั้นไปใช้ส่วนตัว และนำส่งบริษัทภายหลัง
โดยไม่เกินระยะเวลาผ่อนผันนั้น ท่านคิดว่าการกระทำของนาย ข. ถูก หรือไม่


ก. ถูก เนื่องจากไม่เกิดผลเสียต่อ นาย ก. และบริษัท


ข. ผิด เนื่องจาก นาย ข. ไม่ซื่อสัตย์ต่อ นาย ก. และบริษัท


ค. ผิด เนื่องจาก นาย ข. ควรบอกกล่าว นาย ก. ก่อน


ง. ไม่มีข้อถูก


จรรยาบรรณเรื่องที่ 2 “ให้บริการที่ดีอย่างสม่ำเสมอ
และชี้แจงให้ผู้เอาประกันภัยทราบถึงสิทธิและหน้าที่
เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้เอาประกันภัย”

4. ส่วนใหญ่เมื่อตัวแทนประกันชีวิตขายกรมธรรม์ประกันชีวิตไปแล้ว

ในปีต่อไปตัวแทนประกันชีวิตมักจะละเลยไม่ไปบริการเก็บเบี้ยประกันภัยทั้ง ๆ
ที่บอกกับผู้เอาประกันภัยว่าจะเป็นผู้มาเก็บเบี้ยประกันภัยเอง
ถามว่าการละเลยไม่ไปเก็บเบี้ยประกันภัยของตัวแทนประกันชีวิตเป็นการขาด
จรรยาบรรณหรือไม่


ก. ขาดจรรยาบรรณ เพราะไม่มีความหมั่นเพียรในการให้บริการ


ข. ขาดจรรยาบรรณ เพราะไม่มีความซื่อสัตย์ต่อผู้เอาประกันภัย


ค. ไม่ขาดจรรยาบรรณ เพราะเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยที่จะต้องไปชำระเบี้ยเอง


ง. ถูกทั้ง ก. และ ข.


5. ปัญหาที่ตัวแทนประกันชีวิตไม่มาเก็บเบี้ยประกันภัย
และให้บริการแก่ผู้เอาประกันภัย โดยที่ผู้เอาประกันภัยไม่ทราบถึงผลเสียนั้น
ท่านมีความ
เห็นว่า


ก. ตัวแทนควรแจ้งให้ผู้เอาประกันภัยทราบล่วงหน้าว่าการมาเก็บเบี้ยประกันภัย
เป็นเพียงการให้บริการ ถ้าตัวแทนไม่มาเก็บเบี้ยประกันภัยตามกำหนด
เป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยต้องส่งเบี้ยประกันภัยให้ถึงบริษัท


ข. เป็นหน้าที่ของตัวแทนที่ต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นหากไปเก็บเบี้ยประกันภัยไม่ตรงตามกำหนด


ค. เป็นการกระทำที่ผิดจรรยาบรรณในข้อที่ไม่ให้บริการที่ดีอย่างสม่ำเสมอ และไม่ชี้แจงให้ผู้เอาประกันภัยทราบถึง สิทธิและหน้าที่


ง. ถูกทั้งข้อ ก. และ ข้อ ค.

6. ตัวแทนประกันชีวิตมีการให้บริการผู้เอาประกันภัยอย่างไร

ก. ให้บริการอย่างดีในปีแรก สำหรับปีต่อ ๆ ไปไม่จำเป็นแล้ว เพราะผู้เอาประกันภัยต่างก็รู้หน้าที่ของตนแล้ว


ข. ช่วยกรอกใบคำขอแทนผู้ขอเอาประกันภัย เพื่อจะได้ไม่รบกวนเวลาผู้เอาประกันภัย และเป็นการบริการที่ดี


ค. ให้การบริการต่อผู้เอาประกันภัยที่จ่ายเบี้ยประกันสูงมากกว่าที่จ่ายเบี้ยประกันภัยต่ำ ทั้งนี้เพื่อความยุติธรรมต่อ ทุกฝ่าย


ง. ให้การบริการผู้เอาประกันภัยอย่างสม่ำเสมอ


จรรยาบรรณเรื่องที่ 3 “รักษาความลับอันมิควรเปิดเผยของผู้เอาประกันภัยและของบริษัทต่อบุคคลภายนอก”


7. นาง ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิตบริษัทแห่งหนึ่ง ได้ชักชวนให้นาย ข.
ซึ่งเป็นเพื่อนทำประกันชีวิต ต่อมานาย ข. ป่วยเป็นวัณโรค เมื่อนาย ก.
ทราบว่า นาย ข. ป่วยเป็นโรคติดต่อ ก็ได้นำเรื่องที่นาย ข.
ป่วยไปเปิดเผยต่อบุคคลภายนอก การกระทำของนาย ก.
ผิดจรรยาบรรณตัวแทนประกันชีวิตหรือไม่


ก. ไม่ผิด เพราะนาย ข. เป็นโรคติดต่อที่สามารถรักษาให้หายได้


ข. ผิด เพราะเปิดเผยความลับของผู้เอาประกันภัยต่อบุคคลภายนอก


ค. ไม่ผิด เพราะนาย ก. พูดความจริง


ง. ผิด เพราะทำให้สังคมรังเกียจนาย ข.


8. นาย ก. เป็นตัวแทนของบริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่ง
และได้ทราบข่าวจากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ว่าบริษัทประกันชีวิตที่ตนเองทำ
งานอยู่นั้นมีฐานะไม่ค่อยจะมั่นคง เนื่องจากมีการทุจริตกันภายใน
จึงได้นำเรื่องดังกล่าวไปแจ้งแก่นาย ก.
ซึ่งเป็นเพื่อนกันและกำลังจะทำประกันชีวิตกับบริษัทนี้ การกระทำของนาย ก.
นั้น ผิดจรรยาบรรณและศีลธรรมหรือไม่


ก. ไม่ผิด เพราะ นาย ก.พูดความจริง


ข. ไม่ผิด เพราะนาย ก. พูดไปโดยมิได้ตั้งใจให้เกิดผลเสียแก่บริษัท


ค. ผิด เพราะการนำเรื่องดังกล่าวไปบอกแก่ นาย ข. เป็นผลทำให้ นาย ข. ไม่ทำประกันชีวิตกับบริษัท


ง. ผิด เพราะไม่รักษาความลับอันไม่ควรเปิดเผยของบริษัทต่อบุคคลภายนอก


9. นาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิตได้ชักชวน นาย ข.ทำประกันชีวิตและนาย ข.
ได้ระบุให้ภรรยาน้อยเป็นผู้รับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ นาย ก.
ได้นำเรื่องนี้ไปเล่าให้พี่สาวของตน ซึ่งเป็นภรรยาหลวงนาย ข. ฟัง นาย ก.
กระทำผิดจรรยาบรรณอาชีพตัวแทนประกันชีวิตหรือไม่


ก. ไม่ผิด เพราะนาย ก. นำความลับของนาย ข. ไปเล่าให้พี่สาวฟัง


ข. ไม่ผิด เพราะนาย ก.พูดความจริงที่พึงเปิดเผยกับผู้ที่เกี่ยวข้องได้


ค. ผิด เพราะนาย ก. ไม่ซื่อสัตย์กับนาย ข.


ง. ผิด เพราะนาย ก. นำเรื่องซึ่งได้รับรู้มาจากใบคำขอเอาประกันชีวิตของนาย ข. ไปเปิดเผยต่อบุคคลอื่น


จรรยาบรรณเรื่องที่ 4
“เปิดเผยข้อความจริงของผู้เอาประกันภัยในส่วนที่เป็นสาระสำคัญเพื่อการ
พิจารณารับประกัน หรือเพื่อความสมบูรณ์แห่งกรมธรรม์”


10. นาย ก. เป็นตัวแทนของบริษัทประกันชีวิตแต่ตนเองเป็นโรคร้ายแรง
จึงได้ติดต่อนาย ข. ตัวแทนประกันชีวิต
ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทว่าจะกรอกในใบคำขอเอาประกันชีวิตอย่างไรดี นาย ข.
จึงแนะนำให้ควรปกปิด
เพราะมิฉะนั้นแล้วบริษัทประกันภัยจะไม่รับทำประกันชีวิตหรือไม่ก็เรียกเบี้ย
ประกันชีวิตสูงขึ้น ท่านคิดว่า นาย ข.
ผิดจรรยาบรรณการเป็นตัวแทนประกันชีวิตหรือไม่


ก. ไม่ผิด เพราะนาย ก.เป็นเพื่อนสนิทของตนซึ่งต้องให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน


ข. ไม่ผิด เพราะการช่วยเหลือคนตกทุกข์แม้จะไม่ใช่เพื่อนของตนเป็นสิ่งที่สมควรอยู่แล้ว


ค. ผิด เพราะไม่เปิดเผยข้อความจริงผู้เอาประกันภัย ส่วนที่เป็นสาระสำคัญ อาจทำให้สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะได้


ง. ผิด เพราะไม่รักษาผลประโยชน์ของบริษัทประกันชีวิตซึ่งเป็นนายจ้างของตน


11. เพราะเหตุใดการเปิดเผยข้อความจริงของผู้เอาประกันภัยในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ
เพื่อการพิจารณารับประกันภัยหรือเพื่อความสมบูรณ์แห่งกรมธรรม์
เป็นหนึ่งในจรรยาบรรณของตัวแทนประกันชีวิต

ก. เพราะข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญของผูเอาประกันภัย เช่น ประวัติสุขภาพ

เป็นข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการพิจารณา ของบริษัทว่าจะรับ ประกันภัยหรือไม่
และจะกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยอย่างไร

ข. การช่วยเหลือปกปิดความจริงอันเป็นสาระสำคัญของผู้เอาประกันภัย
หากบริษัททราบความจริงในภายหลังอาจใช้สิทธิบอกล้างโมฆียะกรรม
ทำให้ลูกค้าไม่ได้ประโยชน์ จากการทำประกันชีวิต

ค. การช่วยปกปิดข้อมูล
เพียงเพื่อหวังค่าบำเหน็จเป็นการไม่ซื่อสัตย์ทั้งต่อตัวแทนเอง
ต่อผู้เอาประกันภัย และต่อบริษัท และทำลายภาพพจน์ของธุรกิจโดยส่วนร่วม

ง. ถูกทุกข้อ


12. ในจรรยาบรรณของตัวแทนประกันชีวิต
ข้อที่ให้เปิดเผยข้อความจริงของผู้เอาประกันภัยในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ
เพื่อการพิจารณารับประกันภัย หรือเพื่อความสมบูรณ์แห่งกรมธรรม์นั้น คำว่า
ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ หมายถึง


ก. ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับผู้เอาประกันภัย


ข. ทุกเรื่องที่มีตามในใบคำขอ


ค. ทุกเรื่องที่ตัวแทนประกันชีวิตทราบ


ง. ทุกเรื่องที่บริษัททราบ


13. นาง ก. ป่วยเป็นโรคมะเร็งในขั้นเริ่มต้น ได้เรียกนาย ข.
ลูกชายซึ่งเป็นตัวแทนประกันชีวิตของบริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่ง
ให้มาทำประกันชีวิต เพื่อที่เมื่อตนตายไปนาย ข. และน้องๆ
จะได้เงินก้อนหนึ่งไปทำการค้า นาย ข. จึงได้ทำประกันชีวิตให้นาง ก.
โดยกรอกข้อความในใบคำขอว่าไม่ได้ เจ็บป่วย หลังจากนั้นอีก 4 ปี นาง ก.
ถึงแก่ความตาย บริษัทได้จ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่นาย ข. และน้อง ๆ
การกระทำของนาย ข. ผิด จรรยาบรรณและศีลธรรมตัวแทนประกันชีวิตหรือไม่


ก. ผิด เพราะไม่เปิดเผยข้อความจริงของผู้เอาประกันภัย ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญเพื่อการพิจารณารับประกันหรือ เพื่อความสมบูรณ์ของสัญญา


ข. ไม่ผิด เพราะลูกกตัญญูต้องเชื่อฟังพ่อแม่ และทำตามคำขอร้องของแม่
ประกอบกับในกรณีนี้ไม่ว่าจะเจ็บป่วย หรือไม่ บริษัทก็
ต้องจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยอยู่ดีเพราะเกิน 2 ปีแล้ว
บริษัทไม่มีสิทธิบอกล้างสัญญา


ค. ไม่ผิด เพราะทำให้คำขอร้องของแม่เป็นจริง และช่วยให้น้อง ๆ มีเงินทุนในการทำการค้า


ง. ผิด เพราะไม่มีความซื่อสัตย์ต่อบริษัทประกันชีวิต


จรรยาบรรณเรื่องที่ 5
“ไม่เสนอแนะผู้ขอเอาประกันภัยทำประกันภัยเกินความสามารถในการชำระเบี้ย
ประกันภัย หรือเสนอขายนอกเหนือเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์”


14. นาย ก. ชักชวนให้นาย ข. ทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัทแห่งหนึ่ง นาย
ข. ตกลงใจจะทำประกันชีวิต และต้องการทุนประกันสูง ๆ ทำให้ต้อง
จ่ายเบี้ยประกันภัยที่สูงเกินความสามารถที่จะจ่ายได้นาย ก. ควรแนะนำ นาย ข.
อย่างไร


ก. ไม่ต้องแนะนำ ทำตามความต้องการของนาย ข.


ข. แนะนำให้นาย ข. แจ้งรายได้สูงกว่าความเป็นจริง


ค. แนะนำนาย ข. ให้ใช้สิทธิในการชำระเบี้ยประกันภัยช้า เนื่องจากมีช่วงเวลาผ่อนผันการชำระเบี้ยประกันภัย


ง. แนะนำให้นาย ข. ทำประกันภัยตามความสามารถในการชำระเบี้ยประกันภัย


15. นาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิตของบริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่ง
ได้เสนอขายแบบประกันชีวิตให้นาย ข. ผู้สนใจจะทำประกันชีวิต โดยได้อธิบาย
ถึงความคุ้มครอง เงื่อนไข สิทธิ
ของกรมธรรม์ประกันภัยแต่ละแบบที่บริษัทมีปรากฏว่านาย ข.
ต้องการความคุ้มครองมากกว่าแบบประกันชีวิตที่ บริษัทมี นาย ก.
จึงได้เสนอแนะบริษัทให้ออกกรมธรรม์ประกันภัยให้มีความครองตามที่ผู้สนใจทำ
ประกันชีวิตต้องการ ท่านคิดว่าการกระทำของ นาย ก. เป็นอย่างไร


ก. ถูกต้อง เหมาะสมกับการเป็นตัวแทนประกันชีวิตที่ดี


ข. ถูกต้อง เหมาะสมกับการเป็นตัวแทนประกันชีวิตที่ดี เพราะไม่หลอกลวงผู้ขอทำประกันภัย


ค. ถูกต้อง เหมาะสมกับการเป็นตัวแทนประกันชีวิตที่ดี เพราะรักษาผลประโยชน์ให้แก่ลูกค้า


ง. ถูกต้อง เหมาะสมกับการเป็นตัวแทนประกันชีวิตที่ดี เพราะรักษาผลประโยชน์ให้แก่บริษัท

สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 
ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
1. ข้อใดคือความหมายของการประกันชีวิต
ก. วิธีการที่คนกลุ่มหนึ่งร่วมกันป้องกันภัยที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ข. วิธีการที่คนกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันเพื่อช่วยกันเฉลี่ยภัยจากการเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ และทุพพลภาพ
ค. วิธีการที่คนกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันเพื่อช่วยกันเพื่อช่วยกันเฉลี่ยภัยทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ง. วิธีการที่คนกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันเพื่อลดความเสี่ยงภัยที่จะเกิดขึ้น
2. ประโยชน์ของการประกันชีวิตคือ
ก. ช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
ข. เป็นหลักประกันให้แก่ครอบครัว
ค. ช่วยลดความเสี่ยงไม่ให้ธุรกิจต้องประสบปัญหาในการดำเนินงาน
ง. ถูกทั้งข้อ
3. บริษัทประกันชีวิตใช้วิธีการใดในการกระจายความเสี่ยงภัยจากการรับประกันชีวิต
ก. เรียกเก็บเบี้ยประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยเพิ่มขึ้น
ข. รับประกันชีวิตเป็นจำนวนน้อยเพื่อจะได้ลดความเสี่ยงภัยจากการรับประกันชีวิต
ค. รับประกันชีวิตเป็นจำนวนมากเพื่อจะได้เฉลี่ยภัยที่เกิดขึ้นจากการรับประกันชีวิต
ง. รับประกันชีวิตเป็นจำนวนน้อยและเก็บเบี้ยประกันภัยสูง
4. ในการทำประกันชีวิตนั้น ท่านสามารถจะเอาประกันชีวิตบุคคลอื่นได้ ถ้าท่านมีส่วนได้เสียในชีวิตของบุคคลนั้น บุคคลใดในข้อต่อไปนี้ที่มี ส่วนได้เสียในชีวิตซึ่งกันและกัน
ก. สามีภรรยา
ข. พนักงานขับรถและพนักงานเก็บค่าโดยสาร
ค. คู่หมั้น
ง. ข้อ ก. และ ค. ถูก
5. หลักการประกันชีวิตนั้น สัญญาประกันชีวิตจะเกิดขึ้นได้ต้องมีความสุจริตใจต่อกันอย่างยิ่ง ข้อใดต่อไปนี้ขาดหลักการดังกล่าว
ก. ผู้เอาประกันภัยให้ผู้อื่นกรอกใบคำขอเอาประกันชีวิตแทน
ข. ผู้เอาประกันภัยแถลงข้อความเท็จในใบคำขอเอาประกันชีวิต
ค. ผู้เอาประกันภัยแถลงอายุคลาดเคลื่อนโดยไม่ได้เจตนา
ง. ผู้เอาประกันภัยระบุชื่อผู้รับประโยชน์เป็นบุตรนอกสมรส
6. กรณีที่บริษัทประกันชีวิตตรวจสอบพบว่าผู้เอาประกันภัยแถลงข้อความเท็จซึ่งเป็นสาระสำคัญภายใน 1 ปี บริษัทประกันชีวิตสามารถ ดำเนินการอย่างไร
ก. บอกล้างสัญญา
ข. คืนเบี้ยประกันภัยที่รับไว้ทั้งหมดแก่ผู้เอาประกันภัย
ค. บอกล้างสัญญาและคืนมูลค่าใช้เงินสำเร็จแก่ผู้เอาประกันภัย
ง. บอกล้างสัญญาและคืนเบี้ยประกันภัยทั้งหมดให้แก่ผู้เอาประกันภัย
7. จำนวนเงินที่ผู้รับประกันภัยจะต้องจ่ายให้ผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์นั้น เป็นข้อใด
ก. จำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย
ข. จำนวนเงินที่ผู้รับประกันภัยเห็นสมควรกับสาเหตุการเสียชีวิต
ค. จำนวนเงินที่ผู้รับประกันภัยกำหนด
ง. จำนวนเงินที่ผู้รับประโยชน์เห็นควรได้รับ
8. เงื่อนไขข้อใดที่บริษัทประกันชีวิตใช้เป็นเกณฑ์ในการจ่ายเงินตามกรมธรรม์
ก. การมีชีวิตอยู่ของผู้เอาประกันภัยหรือการเสียชีวิตของผู้เอาประกันภัย
ข. การมีชีวิตอยู่ของผู้เอาประกันภัยและการมีชีวิตอยู่ของผู้รับประโยชน์
ค. การเสียชีวิตของผู้เอาประกันภัยและการมีชีวิตอยู่ของผู้รับประโยชน์
ง. ไม่มีข้อใดถูก
9. การประกันชีวิตต่างกับการประกันวินาศภัย คือ
ก. การประกันชีวิตจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัย เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต ส่วนการประกันวินาศภัยจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามความเสียหายที่แท้จริงไม่ว่าจำนวนเงินเอาประกันภัยจะเป็นเท่าไร
ข. การประกันชีวิตจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัย เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต ส่วนการประกันวินาศภัยจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามความเสียหายที่แท้จริง แต่ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัย
ค. การประกันชีวิตจ่ายเงินตามเบี้ยประกันภัยที่จ่ายไป เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต ส่วนการประกันวินาศภัยจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามความเสียหายที่แท้จริงไม่ว่าจำนวนเงินเอาประกันภัยจะเป็นเท่าไร
ง. การประกันชีวิตจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัย เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต ส่วนการประกันวินาศภัยจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามเบี้ยประกันภัยที่จ่ายไป แต่ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัย
10. ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันชีวิต จะเป็นบุคคลใดดังต่อไปนี้
ก. สามีหรือภรรยาของผู้เอาประกันภัยเท่านั้น
ข. บุคคลที่มีส่วนได้เสียกับผู้เอาประกันภัยเท่านั้น
ค. ทายาทของผู้เอาประกันภัยเท่านั้น
ง. บุคคลใดก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้เอาประกันภัยจะระบุให้เป็นผู้รับประโยชน์และได้รับความเห็นชอบจากบริษัท
11. ประเภทของการประกันชีวิตแบ่งเป็น
ก. สามัญ อุตสาหกรรม กลุ่ม
ข. มีเงินปันผล ไม่มีเงินปันผล
ค. ตลอดชีพ สะสมทรัพย์ ชั่วระยะเวลา
ง. ประเภทรายได้ประจำ ประเภทเงินรายปี ประเภทรายได้ครึ่งปี
12. ข้อใดต่อไปนี้ข้อใดเป็นลักษณะของการประกันชีวิตประเภทสามัญ
ก. การประกันชีวิตรายบุคคล มีระยะเวลารอคอย และระยะเวลาผ่อนผันการชำระเบี้ยประกันภัย
ข. ชำระเบี้ยประกันภัยรายเดือน รับประกันชีวิตเป็นกลุ่ม จำนวนเงินเอาประกันภัยต่ำ
ค. การประกันชีวิตรายบุคคล จำนวนเงินเอาประกันภัยสูงไม่ตรวจสุขภาพ มีระยะเวลารอคอย
ง. เป็นการประกันชีวิตรายบุคคล จำนวนเงินเอาประกันภัยค่อนข้างสูง และอาจมีการตรวจสุขภาพ
13. การประกันชีวิตประเภทอุตสาหกรรมมีลักษณะตรงกับข้อใด
ก. จำนวนเงินเอาประกันภัยต่ำ ชำระเบี้ยประกันภัยรายเดือน มีระยะเวลารอคอย
ข. กำหนดให้จ่ายเบี้ยประกันภัยเป็นงวดรายปี ราย 6 เดือน ราย 3 เดือน
ค. ผู้เอาประกันภัยจะต้องชำระเบี้ยประกันภัยกับบริษัทประกันภัยโดยตรงเท่านั้น
ง. จำนวนเงินเอาประกันภัยต่ำ มีระยะเวลารอคอย 2 ปี มีระยะเวลาผ่อนผัน 60 วัน
14. การประกันชีวิตประเภทใดที่ไม่มีการตรวจสุขภาพ
ก. ประเภทสามัญ ประเภทอุตสาหกรรม
ข. ประเภทสามัญ ประเภทกลุ่ม
ค. ประเภทอุตสาหกรรม
ง. ถูกทั้ง 3 ข้อ
15. การประกันชีวิตประเภทอุตสาหกรรม มีระยะเวลารอคอยกี่วัน
ก. 90 วัน
ข. 120 วัน
ค. 150 วัน
ง. 180 วัน
16. การประกันชีวิตประเภทกลุ่มมีลักษณะอย่างไร
ก. บริษัทจะออกกรมธรรม์ประกันภัยให้กับสมาชิกคนละกรมธรรม์
ข. บริษัทจะออกใบสำคัญในการประกันชีวิตให้สมาชิกทุกคนภายใต้กรมธรรม์หลัก
ค. บริษัทออกกรมธรรม์หลักให้สมาชิกและออกใบสำคัญประกันชีวิตให้นายจ้าง
ง. ข้อ ก. และ ค. ถูก
17. การประกันชีวิตประเภทกลุ่มที่มีนายจ้างและลูกจ้างร่วมกันชำระเบี้ยประกันภัย โดยหลักทั่วไปแล้วจะต้องมีลูกจ้างเข้าร่วมทำประกันชีวิตเป็น จำนวนเท่าใด
ก. ไม่น้อยกว่า 75% ของลูกจ้างทั้งหมด
ข. ไม่น้อยกว่า 75% ของลูกจ้างที่มีสิทธิทำประกันชีวิตทั้งหมด
ค. 100% ของลูกจางทั้งหมด
ง. 100% ของลูกจ้างที่มีสิทธิทำประกันชีวิตทั้งหมด
18. ใครเป็นผู้มีหน้าที่เรียกร้องผลประโยชน์ตามสิทธิกรมธรรม์ประกันภัยประเภทกลุ่ม
ก. ผู้รับประโยชน์
ข. ลูกจ้างที่ทำประกันชีวิต
ค. นายจ้างหรือผู้ถือกรมธรรม์
ง. ทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรมธรรม์
19. เงินปันผลที่บริษัทจ่ายให้แก่ผู้เอาประกันภัยได้มาจาก
ก. เงินส่วนเกินซึ่งเกิดจากการดำเนินงานของบริษัท
ข. เงินที่บริษัทจัดสรรไว้ตามเงื่อนไขกรมธรรม์
ค. เงินสำรองประกันชีวิตของบริษัท
ง. ถูกทุกข้อ
20. การประกันชีวิตชนิดมีเงินปันผล และชนิดไม่มีเงินปันผล มีลักษณะที่แตกต่างกันคือ
ก. ระยะเวลาของการชำระเบี้ยแตกต่างกัน
ข. ระยะเวลาคุ้มครองแตกต่างกัน
ค. จำนวนเงินเอาประกันภัยแตกต่างกัน
ง. อัตราเบี้ยประกันภัยแตกต่างกัน
21. บริษัทใช้หลักเกณฑ์ใดจ่ายเงินปันผลสำหรับกรมธรรม์ประกันภัยชนิดมีเงินปันผลแก่ผู้เอาประกันภัย
ก. จ่ายให้ทุกกรมธรรม์หากปรากฏว่าปีนั้นบริษัทมีผลกำไร
ข. จ่ายให้ทุกกรมธรรม์ เพราะบริษัทได้จัดสรรเงินส่วนนี้ไว้แล้ว
ค. จ่ายให้กับกรมธรรม์ที่มีจำนวนเงินเอาประกันภัยสูง
ง. จ่ายให้กับกรมธรรม์ที่ระบุไว้ตามเงื่อนไขกรมธรรม์
22. การประกันชีวิตแบ่งออกเป็นกี่แบบตามการแบ่งขั้นพื้นฐาน
ก. 2 แบบ คือ มีเงินปันผล ไม่มีเงินปันผล
ข. 3 แบบ คือ สามัญ อุตสาหกรรม กลุ่ม
ค. 4 แบบ คือ ชั่วระยะเวลา ตลอดชีพ สะสมทรัพย์ แบบเงินได้ประจำ
ง. ถูกทั้ง ข้อ ก. ข. และ ค.
23. ข้อใดต่อไปนี้ข้อใดเป็นลักษณะของการประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา
ก. จ่ายเงินให้เมื่อสัญญาครบกำหนด
ข. จ่ายเงินให้เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตภายในระยะเวลาที่กำหนด
ค. จ่ายเงินให้เมื่อสัญญาครบกำหนดหรือผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต
ง. ถูกทุกข้อ
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
1. ผู้มีอำนาจเพิกถอนใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิต คือ

ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

ข. นายทะเบียน

ค. ปลัดกระทรวงพาณิชย์

ง. ไม่มีข้อถูก

2. บริษัทประกันชีวิต ให้ผู้ที่มิได้มีใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิต ชักชวนให้ทำสัญญากับบริษัทโดยจ่ายบำเหน็จให้กับบุคคลดังกล่าว ได้หรือไม่

ก. ได้ถ้าบริษัทแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนประกันชีวิตของบริษัทแล้ว

ข. ได้ เนื่องจากพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 มิได้ห้ามไว้

ค. ไม่ได้ ถือว่าเป็นความผิด ตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551

ง. ถูกทั้งข้อ ก. และข้อ ข.

3. ค่าธรรมเนียมต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตตามกฎกระทรวงซึ่งออกตามเงื่อนไขในพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประเภท 1 ปี

ก. 100 บาท

ข. 150 บาท

ค. 200 บาท

ง. 300 บาท

4. พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นไว้เพื่อวัตถุประสงค์ในการควบคุม

ก. บริษัทได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันภัย

ข. สาขาของบริษัทประกันชีวิต

ค. ตัวแทนประกันชีวิตและนายหน้าประกันชีวิต

ง. ถูกทุกข้อ

5. ค่าธรรมเนียมต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตตามกฎกระทรวงซึ่งออกตามเงื่อนไขในพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประเภท 5 ปี

ก. 200 บาท

ข. 400 บาท

ค. 600 บาท

ง. 800 บาท

6. สาขาของบริษัทประกันชีวิต หมายถึง

ก. สำนักงานที่แยกออกจากสำนักงานใหญ่ของบริษัท ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างใด โดยไม่จำเป็นต้องได้รับค่าใช้จ่ายจากบริษัท

ข. สำนักงานที่แยกออกจากสำนักงานใหญ่ของบริษัทไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างใด และได้รับเงินค่าใช้จ่ายจากบริษัทไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม

ค. สำนักงานที่แยกออกจากสำนักงานใหญ่ของบริษัทไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างใด และได้รับเงินค่าใช้จ่ายจากบริษัทหรือไม่ก็ตาม

ง. ไม่มีข้อใดถูก

7. ตัวแทนที่ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิต และได้ยื่นคำขอต่อใบอนุญาตในปีที่ 3 นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตในคราวต่อไปจะมีกำหนดอายุกี่ปี

ก. สองปี

ข. สามปี

ค. สี่ปี

ง. ห้าปี

8. บริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันชีวิตได้ ต้องวางหลักทรัพย์ไว้กับผู้ใด

ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

ข. ปลัดกระทรวงการคลัง

ค. นายทะเบียน

ง. ถูกทุกข้อ

9. ผู้ที่เป็นตัวแทนประกันชีวิตของบริษัทใดอยู่แล้ว อาจขอรับใบอนุญาตตัวแทนประกันชีวิตของบริษัทอื่นอีกได้หรือไม่

ก. ได้ โดยผู้ขอต้องยื่นหนังสือแสดงความยินยอมของบริษัทที่เป็นตัวแทนประกันชีวิตอยู่แล้วพร้อมด้วยตัวหนังสือแสดงความต้องการของบริษัทใหม่

ข. ได้

ค. ไม่ได้ เนื่องจากพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 ห้ามไว้

ง. ไม่มีข้อใดถูก

10. บริษัทประกันชีวิตต้องวางเงินสำรองประกันภัยไว้กับนายทะเบียนสำหรับกรมธรรม์ประกันภัยที่ยังมีความผูกพันอยู่ โดยต้องวางเงินสำรองไว้กับนายทะเบียนหรือไม่

ก. ไม่ต้องวางเงินสำรอง ถ้ามีการวางหลักทรัพย์ประกันไว้

ข. ไม่ต้องวางเงินสำรอง

ค. ต้องวางเงินสำรองไว้กับนายทะเบียนเป็นมูลค่าไม่เกินร้อยละยี่สินห้าของเงินสำรองประกันภัยที่บริษัทต้องจัดสรรไว้

ง. ต้องวางเงินสำรองไว้กับกระทรวงการคลัง

11. ใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิต

ก. เป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้รับใบอนุญาต

ข. อาจนำไปให้บุคคลอื่นใช้เพื่อขอรับค่าบำเหน็จจากบริษัท

ค. อาจให้บุคคลอื่นยืมไปแสดง เพื่อชักชวนทำประกันชีวิต

ง. ไม่มีข้อใดถูก

12. บริษัทประกันชีวิตลงทุนประกอบธุรกิจอื่นใด ได้หรือไม่

ก. ได้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

ข. ได้ ตามที่ปลัดกระทรวงพาณิชย์กำหนด

ค. ได้ ตามที่อธิบดีกรมการประกันภัยกำหนด

ง. ได้ ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด

13. นายสมศักดิ์ ได้สอบผ่านความรู้เกี่ยวกับการประกันชีวิต แต่ยังไม่ได้ยื่นขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตต่อนายทะเบียน จะชักชวนให้บุคคลอื่นทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัทได้หรือไม่

ก. ได้ เพราะสอบผ่านความรู้เกี่ยวกับการประกันชีวิตแล้ว

ข. ได้ เพราะได้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตแล้ว

ค. ไม่ได้ เพราะยังไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตของบริษัท

ง. ไม่ได้ เพราะยังไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตจากนายทะเบียน

14. กรมธรรม์ประกันภัย รวมทั้งเอกสารประกอบหรือแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัย ที่บริษัทออกให้แก่ผู้เอาประกันภัย ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ใด

ก. นายทะเบียน

ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

ค. ปลัดกระทรวงการคลัง

ง. ถูกทั้งข้อ ก. และข้อ ข.

15. การขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตจะขอรับใบอนุญาตแบบตลอดชีพได้หรือไม่

ก. ได้ ถ้าผู้ขอรับใบอนุญาตร้องขอ และนายทะเบียนอนุญาต

ข. ได้ ถ้าผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี

ค. ไม่ได้

ง. ถูกทั้งข้อ ก. และข้อ ข.

16. บริษัทจะตั้งหรือมอบหมายให้บุคคลใดบ้าง เป็นผู้รับชำระเบี้ยประกันภัยแทน

ก. พนักงานของบริษัท ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงิน

ข. ตัวแทนประกันชีวิตของบริษัท

ค. นายหน้าประกันชีวิต

ง. ถูกทุกข้อ

17. เมื่อได้มีการออกใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตแล้ว นายทะเบียนจะต้องแจ้งให้บริษัทประกันชีวิตที่ได้แสดงความต้องการที่จะรับเป็นตัวแทนประกันชีวิตของบริษัททราบหรือไม่

ก. ไม่ต้องแจ้งให้ทราบ

ข. ต้องแจ้งให้ทราบ

ค. จะแจ้งหรือไม่แจ้งให้บริษัททราบก็ได้

ง. ไม่มีข้อถูก

18. บริษัทจะตั้งหรือมอบหมายให้บุคคลใดบ้าง เป็นผู้รับชำระเบี้ยประกันภัยแทน

ก. พนักงานของบริษัท ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงิน

ข. ตัวแทนประกันชีวิตของบริษัท

ค. นายหน้าประกันชีวิต

ง. ถูกทุกข้อ

19. ตัวแทนประกันชีวิตอาจทำสัญญาประกันชีวิตในนามของบริษัทได้เมื่อใด

ก. ได้รับมอบอำนาจด้วยวาจาจากบริษัท

ข. ได้รับมอบอำนาจเป็นหนังสือจากบริษัท

ค. ได้รับมอบอำนาจเป็นหนังสือจากฝ่ายทะเบียนตัวแทน

ง. ถูกทั้งข้อ ก. และข้อ ข.

20. นายจอห์นชาวสหรัฐอเมริกา สามารถทำประกันชีวิตกับบริษัทประกันชีวิตในเมืองไทย โดยกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัย 100,000 เหรียญสหรัฐ ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ก. ไม่ได้ เพราะนายจอห์นเป็นชาวต่างชาติ

ข. ไม่ได้ เพราะกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยเป็นเงินตราต่างประเทศ

ค. ได้ เพราะไม่มีกฎหมายห้ามชาวต่างชาติทำประกันชีวิต

ง. ได้ เพราะไม่มีกฎหมายห้ามกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยเป็นเงินตราต่างประเทศ

21. ตัวแทนประกันชีวิต ผู้ใดทำสัญญาประกันชีวิตโดยไม่ได้รับมอบอำนาจเป็นหนังสือจากบริษัทมีโทษอย่างไร

ก. จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ข. ปรับไม่เกินสองแสนบาท

ค. ปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

ง. ไม่มีข้อถูก

22. สนธยาอายุ 18 ปี ตาบอดตั้งแต่กำเนิด สนธยาสามารถจะเป็นตัวแทนประกันชีวิตได้หรือไม่?

ก. ไม่ได้ เพราะพิการตาบอดจึงขาดคุณสมบัติ

ข. ไม่ได้ เพราะยังไม่บรรลุนิติภาวะ

ค. ได้ หากผ่านการสอบความรู้เกี่ยวกับการประกันชีวิต

ง. ได้ หากผู้ปกครองยินยอม

23. นายแดง เป็นตัวแทนประกันชีวิต ได้ย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ต่างประเทศ ดังนี้จะมีผลต่อใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตหรือไม่

ก. ไม่มีผล

ข. ขาดคุณสมบัติในการเป็นตัวแทนประกันชีวิต

ค. ทำให้หมดสิทธิในการต่ออายุใบอนุญาตในปีถัดไป

ง. ไม่มีข้อใดถูก

24. แดงไม่ได้รับอนุญาตให้เป็นตัวแทน แต่ทำการชักชวนให้ขาวทำประกันชีวิตกับบริษัทผลจะเป็นอย่างไร?

ก. สัญญาประกันชีวิตตกเป็นโมฆียะ

ข. สัญญาประกันชีวิตสมบูรณ์

ค. แดงมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

ง. ถูกทั้ง ข. และ ค.

25. นายขาว ตัวแทนประกันชีวิตถูกฟ้องคดีฐานปล้นทรัพย์ ศาลยกฟ้อง นายขาวขาดคุณสมบัติในการขอใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตหรือไม่

ก. ขาดคุณสมบัติ

ข. ไม่ขาดคุณสมบัติ เนื่องจากไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในคดีดังกล่าว

ค. พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 ไม่ได้บัญญัติไว้

ง. ไม่มีข้อใดถูก

26. ผู้ใดหากประสงค์จะเป็นตัวแทนประกันชีวิต จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องสอบความรู้เกี่ยวกับการประกันชีวิต

ก. ผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาเอก และศึกษาวิชาประกันชีวิตไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

ข. ผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโท และศึกษาวิชาประกันชีวิตไม่น้อยกว่า 10 หน่วยกิต

ค. ผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี และศึกษาวิชาประกันชีวิตไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต

ง. ถูกทุกข้อ

27. นายก. ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิต และจะขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตได้อีกหรือไม่

ก. ได้ เพราะพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 มิได้ห้ามไว้

ข. ไม่ได้ เพราะพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ห้ามไว้

ค. เมื่อได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยสิ้นสุดลงทันที

ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง

28. กรณีใดที่รัฐมนตรีอาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิต

ก. บริษัทหยุดประกอบธุรกิจประกันชีวิตโดยไม่มีเหตุอันควร

ข. บริษัทประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทน

ค. การที่บริษัทประกอบธุรกิจประกันชีวิตต่อไปจะทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้เอาประกันภัย

ง. ถูกทุกข้อ

29. บริษัทประกันชีวิตที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันชีวิตตามพระราชบัญญัติประกันยชีวิต พ.ศ. 2535 จะประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยด้วย โดยมิได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยได้หรือไม่

ก. ได้ เพราะได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันชีวิตแล้ว

ข. ไม่ได้ เพราะกฎหมายห้ามไว้

ค. ได้แต่ต้องได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตมาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ปี

ง. ถูกทั้งข้อ ก. และข้อ ข.

30. แดงทำประกันชีวิตกับบริษัท A โดยมีดำเป็นตัวแทน ต่อมาดำย้ายไปเป็นตัวแทนบริษัท B ดำจึงแนะนำให้แดงมาทำประกันชีวิตกับบริษัท B และเลิกส่งเบี้ยประกันภัยกับบริษัท A ท่านเห็นว่าข้อใดถูกต้อง

ก. หากแดงปฏิบัติตามคำแนะนำของดำ แดงจะเสียประโยชน์ของตนเอง

ข. การกระทำของดำจะต้องถูกนายทะเบียนเพิกถอนใบอนุญาต

ค. ถูกทั้ง ก. และ ข.

ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง

31. บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายเงินหรือทรัพย์สินอื่นในล่วงหน้าให้แก่บุคคลใดเป็นค่านายหน้าหรือค่าตอบแทนสำหรับงานที่จะทำให้แก่บริษัทได้หรือไม่

ก. ไม่ได้ เพราะ พระราชบัญญัติประกันชีวิตห้ามไว้

ข. ไม่ได้ เว้นแต่ไดรับความเห็นชอบจากนายทะเบียน

ค. ได้ เพราะ พระราชบัญญัติประกันชีวิตไม่ได้ห้ามไว้

ง. ไม่มีข้อใดถูก

32. บริษัทประกันชีวิตจะกระทำการต่อไปนี้ไม่ได้

ก. จ่ายผลประโยชน์อื่นใดให้แก่ตัวแทน นอกเหนือจากเงินบำเหน็จที่พึงจ่ายตามปกติ

ข. รับชำระเบี้ยประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยต่ำกว่าจำนวนที่ต้องชำระ

ค. จ่ายเงินล่วงหน้าเพื่อเป็นค่านายหน้าหรือค่าตอบแทนงานที่จะทำให้แก่บริษัท

ง. ถูกทุกข้อ

33. บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายเงินหรือทรัพย์สินใดให้ตัวแทนประกันชีวิตได้หรือไม่

ก. ได้ ถ้าเป็นค่าจ้างหรือค่าบำเหน็จที่พึงจ่ายตามปกติ

ข. ได้ในทุกกรณี

ค. ไม่ได้ นอกจากได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน

ง. ไม่ได้ทุกกรณี

34. ผู้ที่ถูกศาลพิพากษาจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดดังต่อไปนี้ จะทำให้ขาดคุณสมบัติในการขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตคือ

ก. ลักทรัพย์

ข. ชิงทรัพย์

ค. ยักยอกทรัพย์

ง. ถูกทุกข้อ

35. บริษัทประกันชีวิตจะออกกรมธรรม์ประกันภัยโดยระบุจำนวนเงินอันพึงใช้ให้เป็นเงินตราต่างประเทศแก่ผธู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ได้หรือไม่

ก. ได้ ถ้าได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน

ข. ไม่ได้ เพราะพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 ห้ามไว้

ค. ได้ ถ้าได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง

ง. ได้ ถ้าได้รับเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

36. ค่าสมัครสอบความรู้เพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนหรือนายประกันชีวิต คือ

ก. 100 บาท

ข. 150 บาท

ค. 200 บาท

ง. 250 บาท

37. ในกรณีที่บริษัทออกกรมธรรม์ประกันภัย โดยใช้แบบหรือข้อความที่นายทะเบียนมิได้ให้ความเห็นชอบผู้เอาประกันภัยจะเลือกให้บริษัทต้องรับผิดชอบอย่างไร

ก. ให้บริษัทต้องรับผิดชอบตามกรมธรรม์ประกันภัย

ข. บอกเลิกสัญญาประกันชีวิต และให้คืนเบี้ยประกันภัยทั้งหมด

ค. ถูกทั้งข้อ ก. และข้อ ข.

ง. ไม่มีข้อใดถูก

38. ตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2551 (ฉบับที่ 2) ห้ามมิให้บริษัทประวิงการใช้เงินแก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ คำว่าประวิงการใช้เงินหมายถึง

ก. ถ่วงเวลาในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

ข. หน่วงเวลาโดยการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนล่าช้า

ค. ไม่ประสงค์ที่จะจ่ายค่าสินไหมทดแทน การจ่ายไม่เป็นไปตามเงื่อนไขกรมธรรม์

ง. ถูกทั้งข้อ ก และ ข

39. การเปิดกิจการรับประกันภัย โดยไม่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิต เป็นความผิดพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 หรือไม่

ก. ไม่เปิดความผิด

ข. เป็นความผิด โดยต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ค. เป็นความผิด โดยต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงห้าแสนบาท

ง. ไม่มีข้อใดถูก

40. อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิต กำหนดโดยอะไร

ก. กฎกระทรวง

ข. ประกาศกระทรวง

ค. ประกาศนายทะเบียน

ง. ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย

47. นาย ก. เป็นโรคความดันโลหิตสูงได้ทำประกันชีวิตโดยแถลงในใบคำขอเอาประกันชีวิต ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง บริษัทจะคิดเบี้ยประกันภัยอย่างไร

ก. ในอัตราปกติ เพราะได้แถลงตามความจริงแล้ว

ข. ในอัตราที่สูงกว่าปกติ เพราะมีโอกาศเสียชีวิตสูงกว่าคนที่ไม่ได้เป็นโรคความดันโลหิตสูง

ค. ในอัตราปกติ เพราะโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่คนทั่วไปมีโอกาสเป็นได้
ง. ในอัตราต่ำกว่าปกติ เพราะผู้ขอเอาประกันภัยมีความซื่อสัตย์ในการแถลงความจริง
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
1.) นาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิตของบริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่ง มีความสามารถในการหาประกันชีวิตได้ตรงตามเป้าหมายของบริษัทเป็นประจำและต่อเนื่องมาโดยตลอดจนได้ชื่อว่าเป็นตัวแทนดีเด่นของบริษัททุกปี แต่แล้วเหตุการณ์ที่ใครไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น นาย ก. ประสบอุบัติเหตุต้องนอนรักษาตัวอยู่เกือบ 2 เดือน ทำให้ไม่สามารถออกไปหาประกันได้ ภรรยานาย ก. ซึ่งเป็นตัวแทนประกันชีวิต เกรงว่าสามีจะเสียงานและไม่ประสงค์จะให้ผู้ทำประกันภัยต้องรอนานเพราะขาดการติดต่อ จึงได้ขอรายชื่อผู้ที่สนใจจะทำประกันภัยจากสามี และได้ช่วยหาประกันภัยให้กับสามีซึ่งนอนป่วย จนกระทั่งสามีหายและออกหาประกันภัยได้ตามปกติ ท่านคิดว่าการกระทำของสามีและภรรยาคู่นี้เป็นอย่างไร

ก. ไม่มีความซื่อสัตย์ต่อผู้เอาประกันและเพื่อนร่วมอาชีพ

ข. ไม่มีความซื่อสัตย์ต่อบริษัทประกันภัย

ค. ไม่มีความซื่อสัตย์ต่อบริษัทประกันภัย เพื่อนร่วมอาชีพและผู้เอาประกันภัย

ง. ไม่มีความซื่อสัตย์ต่อเพื่อนร่วมงาน

2.) ในฐานะที่ท่านเป็นตัวแทนประกันชีวิต ท่านควรปฏิบัติดังนี้

ก. ไม่ควรให้ผู้เอาประกันภัยทราบถึงสิทธิของตน ทั้งนี้เพื่อรักษาผลประโยชน์ของบริษัท

ข. ร่วมกับผู้เอาประกันภัยปกปิดความจริงเรื่องสุขภาพ เพื่อจะได้มีการตกลงการทำประกันชีวิตกับบริษัท

ค. หากผู้เอาประกันภัยไม่ได้สอบถามถึงสิทธิและหน้าที่ของตน ก็ไม่จำเป็นต้องชี้แจงเพราะอาจทำให้เกิดความรำคาญ

ง. ให้การบริการผู้เอาประกันภัยอย่างสม่ำเสมอและชี้แจงให้ผู้เอาประกันภัยทราบถึงสิทธิและหน้าที่เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้เอาประกันภัย

3.) นาย ก. เป็นตัวแทนของบริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่ง และได้ทราบข่าวจากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ว่าบริษัทประกันชีวิตที่ตนเองทำงานอยู่นั้นมีฐานะไม่ค่อยจะมั่นคง เนื่องจากมีการทุจริตกันภายใน จึงได้นำเรื่องดังกล่าวไปแจ้งแก่นาย ข. ซึ่งเป็นเพื่อนกันและกำลังจะทำประกันชีวิตกับบริษัทนี้ การกระทำของนาย ก. นั้น ผิดจรรยาบรรณและศีลธรรมหรือไม่

ก. ไม่ผิด เพราะนาย ก. พูดความจริง

ข. ไม่ผิด เพราะนาย ก. พูดไปโดยมิได้ตั้งใจให้เกิดผลเสียแก่บริษัท

ค. ผิด เพราะการนำเรื่องดังกล่าวไปบอกแก่นาย ข. เป็นผลทำให้นาย ข. ไม่ทำประกันชีวิตกับบริษัท

ง. ผิด เพราะไม่รักษาความลับอันไม่ควรเปิดเผยของบริษัทของบริษัทต่อบุคคลภายนอก

4.) ผู้ที่เป็นตัวแทนประกันชีวิตควรแนะนำผู้ที่จะมาเอาประกันชีวิตอย่างไร จึงจะถือว่ามีจรรยาบรรณที่ดี

ก. ให้ความช่วยเหลือผู้ประกันภัยในการทำประกันชีวิตกับบริษัทอื่น หากบริษัทที่ตนเป็นตัวแทนอยู่ปฏิเสธการรับการประกันชีวิต

ข. แนะนำให้ผู้เอาประกันภัยเปิดเผยข้อความจริงที่เป็นสาระสำคัญเพื่อการพิจารณารับประกันชีวิต

ค. ในการเปิดเผยข้อความจริงหากบริษัทที่รับประกันชีวิตไม่ได้สอบถามก็ไม่จำเป็นต้องเปิดเผยข้อความจริง

ง. ถูกทั้ง ข้อ ก. ข.และ ค.

5.) นาย ก. เป็นหนี้กับสถาบันการเงินแห่งหนึ่งเป็นจำนวนมากจึงต้องการทำประกันชีวิตที่มีจำนวนทุนประกันภัยสูง ซึ่งคาดว่าอาจจะมีปัญหาในการจ่ายค่าเบี้ยประกันภัย นาย ข. ซึ่งเป็นตัวแทนประกันชีวิตในการรับประกันชีวิตนี้ ควรแนะนำนาย ก. อย่างไร

ก. แนะนำให้นาย ก. หารายได้พิเศษเพิ่มเติมมาจ่ายค่าเบี้ยประกันภัย

ข. แนะนำให้นาย ก. ทำประกันชีวิตตามจำนวนทุนประกันชีวิตที่ตนสามารถจ่ายเบี้ยประกันภัยได้

ค. แนะนำให้นาย ก. หาคนรู้จักมาช่วยจ่ายค่าเบี้ยประกันภัย

ง. แนะนำให้นาย ก. ทำประกันชีวิตไปก่อน แล้วค่อยหาวิธีแก้ปัญหาภายหลัง

6.) ข้อใดถูกต้อง

ข้อหนึ่ง : การไม่ลดหรือเสนอที่จะลดค่าบำเหน็จ เพื่อจูงใจให้เอาประกันชีวิตเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ

ข้อสอง : การที่แนะนำให้ผู้เอาประกันภัยทำประกันภัยด้วยทุนประกันภัยที่สูง โดยไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงจำนวนเบี้ยประกันภัยที่ต้องชำระเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ เพราะทำให้ผู้เอาประกันภัยได้รับผลประโยชน์มากที่สุด

ก. ข้อ หนึ่ง. ถูก ข้อ สอง. ผิด

ข. ถูกทั้ง หนึ่ง. และ สอง.

ค. ข้อ หนึ่ง. ผิด ข้อ สอง. ถูก

ง. ผิดทั้งข้อ หนึ่ง. และ สอง.

7.) นางสาว ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิต มีความประสงค์จะขายประกันชีวิตให้กับเพื่อน ซึ่งเคยเรียนสถาบันเดียวกันแต่ทราบว่าเพื่อนได้ทำประกันชีวิตอยู่กับบริษัทหนึ่งแล้ว นางสาว ก. จึงบอกให้เพื่อนยกเลิกกรมธรรม์เดิม แล้วมาทำประกันชีวิตกับบริษัทที่ตนสังกัดอยู่ ท่านคิดว่านางสาว ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิตที่ดีหรือไม่

ก. ดี เพราะจะได้บริการเพื่อนได้สะดวก

ข. ดี เพราะนางสาว ก. มีความซื่อสัตย์ต่อบริษัทที่ตนสังกัดอยู่

ค. ดี เพราะทำให้ผู้เอาประกันภัยได้รับผลประโยชน์มากขึ้น

ง. ไม่ดี เพราะมีพฤติกรรมขัดต่อหลักจรรยาบรรณที่ว่าไม่แนะนำให้ผู้เอาประกันภัยสละกรมธรรม์เดิมเพื่อทำสัญญาใหม่

8.) นาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิตบริษัท หนึ่ง จำกัด ได้เสนอขายแบบการประกันชีวิตแบบหนึ่งให้แก่นาง ข. และโอ้อวดแก่นาง ข. ว่าเป็นแบบการประกันชีวิตที่ดี ผลประโยชน์แบบนี้ไม่มีบริษัทใดมีผลประโยชน์ดีกว่านี้อีกแล้ว และเป็นบริษัทเดียวที่ได้รับอนุญาตจากกรมการประกันภัยให้ขายได้ การกระทำเช่นนี้เป็นการผิดจรรยาบรรณและศีลธรรมหรือไม่

ก. ผิด เพราะเป็นการกล่าวในเชิงทับถมบริษัทประกันชีวิตอื่น

ข. ผิด เพราะมีความซื่อสัตย์ต่อบริษัท

ค. ไม่ผิด เพราะไม่ได้กล่าวทับถมบริษัทประกันชีวิตอื่น

ง. ไม่ผิด เพราะที่นาย ก. พูดเป็นความจริง

9.) บริษัท หนึ่งประกันชีวิต จำกัด ได้จัดให้มีการอบรมสัมมนาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้แก่ตัวแทนประกันชีวิตของบริษัทอยู่อย่างสม่ำเสมอ และก็มีตัวแทนส่วนใหญ่ที่สนใจเข้าร่วมอบรมสัมมนา แต่มีตัวแทนฯ คนหนึ่งไม่เคยร่วมอบรมสัมมนาเลย เพราะคิดว่าเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น และทำให้เสียเวลาขาดรายได้ในการขายประกันชีวิต การที่ตัวแทนฯ ผู้นั้นกระทำเช่นนั้น เป็นการกระทำผิดจรรยาบรรณและศีลธรรมหรือไม่

ก. ไม่ผิด เพราะมีอาชีพเป็นตัวแทนประกันชีวิตต้องขยันขายประกันชีวิต

ข. ไม่ผิด เพราะเป็นคนซื่อสัตย์ ขยันหมั่นเพียรในวิชาชีพของตน

ค. ผิด เพราะการเป็นตัวแทนประกันชีวิตที่ดี ต้องหมั่นศึกษาหาความรู้ในวิชาชีพเพิ่มเติมอยู่เสมอ

ง. ผิด เพราะอาจทำให้ขายประกันชีวิตสู้ตัวแทนฯคนอื่นไม่ได้

10.) ตัวแทนประกันชีวิตที่ดีนั้น

ก. จะต้องประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมประเพณีอันดีงาม ทั้งธำรงไว้ซึ่งเกียรติ ศักดิ์ศรี และคุณธรรมแห่งอาชีวปฏิญาณ

ข. จะต้องซื่อสัตย์ต่อบริษัทประกันชีวิตมากกว่าผู้เอาประกันภัย

ค. จะต้องขายประกันชีวิตให้ได้มากที่สุดเพื่อต้องการเงินค่าบำเหน็จเพียงอย่างเดียว

ง. ถูกทั้งข้อ ก. ข. และ ค.

11.) ข้อใดคือความหมายของประกันชีวิต

ก. วิธีการที่คนกลุ่มหนึ่งร่วมกันป้องกันภัยที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ข. วิธีการที่คนกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันเพื่อช่วยกันเฉลี่ยภัยจากการเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะและทุพพลภาพ

ค. วิธีการที่คนกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันขึ้นเพื่อช่วยกันเฉลี่ยภัยทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ง. วิธีการที่คนกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันเพื่อลดความเสี่ยงภัยที่เกิดขึ้น

12.) ประโยชน์ของการประกันชีวิตคือ

ก. ช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

ข. เป็นหลักประกันให้แก่ครอบครัว

ค. ช่วยลดความเสี่ยงไม่ให้ธุรกิจต้องประสบปัญหาในการดำเนินงาน

ง. ถูกทุกข้อ

13.)บริษัทประกันชีวิตใช้วิธีการใดในการกระจายความเสี่ยงภัยจากการรับประกันชีวิต

ก. เรียกเก็บเบี้ยประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยเพิ่มขึ้น

ข. รับประกันชีวิตเป็นจำนวนน้อยเพื่อจะได้ลดความเสี่ยงภัยจากการรับประกันชีวิต

ค. รับประกันชีวิตเป็นจำนวนมากเพื่อจะได้เฉลี่ยภัยที่จะเกิดขึ้นจากการรับประกันชีวิต

ง. รับประกันชีวิตเป็นจำนวนน้อยและเก็บเบี้ยประกันภัยสูง

14.) ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันชีวิต จะเป็นบุคคลใดต่อไปนี้

ก. สามีหรือภรรยาของผู้เอาประกันภัยเท่านั้น

ข. บุคคลที่มีส่วนได้เสียกับผู้เอาประกันภัยเท่านั้น

ค. ทายาทของผู้เอาประกันภัยเท่านั้น

ง. บุคคลใดก็ได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้เอาประกันภัยจะระบุให้เป็นผู้รับประโยชน์และได้รับความเห็นชอบจากบริษัท

15.) ประเภทของการประกันชีวิตแบ่งเป็น

ก. สามัญ อุตสาหกรรม กลุ่ม

ข. มีเงินปันผล ไม่มีเงินปันผล

ค. ตลอดชีพ สะสมทรัพย์ ชั่วระยะเวลา

ง. ประเภทรายได้ประจำ ประเภทเงินรายปี ประเภทรายได้ครึ่งปี

16.) การประกันชีวิตประเภทอุตสาหกรรม มีระยะเวลารอคอยกี่วัน

ก. 90 วัน

ข. 120 วัน

ค. 150 วัน

ง. 180 วัน

17.) การประกันชีวิตชนิดมีเงินปันผล และชนิดไม่มีเงินปันผล มีลักษณะที่แตกต่างกันคือ

ก. ระยะเวลาของการชำระเบี้ยแตกต่างกัน

ข. ระยะเวลาคุ้มครองแตกต่างกัน

ค. จำนวนเงินเอาประกันภัยแตกต่างกัน

ง. อัตราเบี้ยประกันภัยแตกต่างกัน

18.) ผู้เอาประกันภัยได้ทำประกันชีวิตและซื้อสัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองการเสียชีวิตและสูญเสียอวัยวะจากอุบัติเหตุ เมื่อผู้เอาประกันภัยประสบอุบัติเหตุทำให้สูญเสียขาทั้ง 2 ข้าง และอีก 5 วันต่อมาก็เสียชีวิต ดังนั้นบริษัทจะจ่ายเงินให้ผู้รับประโยชน์เป็นจำนวนเงินเท่าใด

ก. จ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยอุบัติเหตุ

ข. จ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยและจำนวนเงินเอาประกันภัยอุบัติเหตุ

ค. จ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยและ 2 เท่าของจำนวนเงินเอาประกันภัยอุบัติเหตุเนื่องจากถ้าผู้เอาประกันภัยสูญเสียอวัยวะ ตั้งแต่ 2 แห่งขึ้นไปก็จะได้จำนวนเงินเอาประกันภัยอุบัติเหตุ อีกทั้งผู้เอาประกันภัยก็มาเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ดังนั้นบริษัทจะต้องจ่าย 2 เท่าของจำนวนเงินเอาประกันภัยอุบัติเหตุรวมกับจำนวนเงินเอาประกันภัย

ง. จ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัย

19.) โดยทั่วไปในสัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพนั้นบริษัทจะไม่จ่ายผลประโยชน์ให้แก่ผู้เอาประกันภัยสำหรับการรักษาพยาบาลในฐานะคนไข้ในของโรงพยาบาลหากผู้เอาประกันภัยเจ็บป่วยภายในกำหนดกี่วันนับแต่วันทำสัญญาหรือวันต่ออายุครบสัญญา

ก. 15 วัน

ข. 30 วัน

ค. 60 วัน

ง. 75 วัน

20.) บุคคลดังต่อไปนี้ ผู้ใดเป็นผู้ให้ข้อมูลที่ใช้ในการพิจารณารับประกันชีวิตเบื้องต้น

ก. แพทย์

ข. นักคณิตศาสตร์ประกันภัย

ค. ตัวแทนประกันชีวิต

ง. พนักงานของบริษัท

21.) อาชีพของผู้เอาประกันภัยที่แตกต่างจะมีผลต่อการพิจารณารับประกันชีวิตของบริษัทหรือไม่

ก. ไม่มีผล เพราะการพิจารณารับประกันชีวิตขึ้นอยู่กับสุขภาพของผู้เอาประกันภัย

ข. มีผล เพราะอาชีพบางอาชีพมีความเสี่ยงภัยสูง

ค. มีผล ถ้ามีจำนวนเงินเอาประกันภัยสูง

ง. ไม่มีผลต่อการพิจารณารับประกันภัย

22.) ค่าใช้จ่ายที่นักคณิตศาสตร์ประกันภัยใช้เป็นปัจจัยในการกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัย คือ

ก. ค่าบำเหน็จ ค่าบำเหน็จผู้บริหารตัวแทนประกันชีวิต

ข. ค่าใช้จ่ายดำเนินงานประกันชีวิตต่างๆ

ค. ค่าตรวจโรค ค่าขยายงาน

ง. ค่าใช้จ่ายตามข้อ ก. ข้อ ข. และข้อ ค.

23.) โดยทั่วไปมูลค่ากรมธรรม์ ประกันภัยของการประกันภัยชีวิตประเภทสามัญได้แก่

ก. มูลค่าเวนคืนเงินสด มูลค่าขยายเวลา มูลค่าไถ่ถอน

ข. มูลค่าเวนคืนเงินสด มูลค่าขยายเวลา มูลค่าใช้เงินสำเร็จ

ค. มูลค่าใช้เงินสำเร็จ มูลค่าเงินกู้ มูลค่าขยายเวลา

ง. มูลค่าอัตโนมัติ มูลค่าไถ่ถอน มูลค่าขยายเวลา

24.) นาย ก. ทำประกันชีวิตประเภทอุตสาหกรรม 15/15 จำนวนเงินเอาประกัน 50,000 บาท เริ่มทำประกันชีวิตเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2540 ต่อมาวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2541 นาย ก. ขอยกเลิกกรมธรรม์ เพื่อรับเงินสดได้หรือไม่

ก. ไม่ได้ เพราะนาย ก. ยังไม่ได้เสียค่าประกัน

ข. ได้เงินคืนเท่ากับเบี้ยประกันชีวิต

ค. ไม่ได้ เพราะกรมธรรม์ ของนาย ก. ยังไม่มีมูลค่าเวนคืนเงินสด

ง. ได้เงินคืนเท่ากับเบี้ยประกันชีวิตหักค่าใช้จ่ายของบริษัท

25.) เมื่อผู้เอาประกันภัยได้ขอเปลี่ยนเป็นกรมธรรม์ใช้เงินสำเร็จแล้ว

ก. กรมธรรม์ประกันภัยสิ้นผลบังคับ

ข. กรมธรรม์ยังคงให้ความคุ้มครองต่อไปตามระยะเวลาคุ้มครองเดิม แต่จำนวนเงินเอาประกันภัยลดลง

ค. จำนวนเงินเอาประกันภัยลดลงและระยะเวลาความคุ้มครองลดลง

ง. กรมธรรม์ประกันภัยคงมีผลบังคับอยู่ต่อไปในระยะเวลาที่สั้นกว่าเดิม และจำนวนเงินเอาประกันภัยลดลงด้วย
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้