ความรู้เกี่ยวกับ
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร : ธ.ก.ส.
BANK FOR AGRICULTURE AND AGRICULTURAL CO OPERATIVES
***************************************************************************
ที่ตั้ง : 469 ถนนนครสวรรค์ แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพ 10300
เว็บไซต์ :
www.baac.or.thE-mail :
contact@baac.or.thCall Center : 0 2555 0555 บริการ 24 ชั่วโมง ทุกวัน
ศูนย์บริการลูกค้า : 1593 บริการ ในวันและเวลาทำการ
**********************************************************************
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / ทิศทางยุทธศาสตร์/ เป้าหมาย
****************************
วิสัยทัศน์ ( Vision )
"เป็นธนาคารพัฒนาชนบทที่มั่นคง มีการจัดการที่ทันสมัย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรรายย่อย"
พันธกิจ ( Mission )
เพื่อก้าวสู่การเป็นธนาคารพัฒนาชนบทเต็มรูปแบบ ธ.ก.ส. ได้กำหนดพันธกิจสำคัญไว้ 4 ประการ คือ
1) บริการสินเชื่อครบวงจร เพื่อเสริมสร้างโอกาสและสนับสนุนเกษตรกรจนสามารถเพิ่ม
ผลผลิต ได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ
2) พัฒนาการเรียนรู้ด้านการจัดการทรัพยากร เพื่อให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
3) บริหารจัดการเงินทุน ให้เพียงพอและมีต้นทุนที่เหมาะสมต่อการดำเนินงาน
4) พัฒนาบริการใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ
ค่านิยมองค์กร (Core Value)
ธ.ก.ส. ยึดมั่นในหลักการบริหารงาน SPARK เพื่อช่วยสะท้อนความรับผิดชอบขององค์กร ที่มีต่อประชาชน สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเป็นตัวขับเคลื่อนในการดำเนินการตามพันธกิจให้บรรลุวิสัยทัศน์อันพึงประสงค์ ประกอบด้วย
1) ความยั่งยืน (Sustainability: S) ความยั่งยืนทั้งขององค์กร ธ.ก.ส. ลูกค้า ผู้ถือหุ้น สังคม และ
สิ่งแวดล้อม
2) การมีส่วนร่วม (Participation: P) การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders)
3) ความสำนึกในหน้าที่ความรับผิดชอบ (Accountability: A) ความสำนึกในหน้าที่ความ
รับผิดชอบของคณะกรรมการและบุคลากร
4) ความเคารพและให้เกียรติ (Respect: R) ความเคารพและให้เกียรติต่อตนเองและผู้อื่น
5) การส่งเสริมและยกระดับความรู้ (Knowledge: K) การส่งเสริมและยกระดับความรู้ให้เป็น
ธนาคารแห่งการเรียนรู้
ทิศทาง นโยบาย และแผนงานที่สำคัญ
ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน ปีบัญชี 2555-2559
ธ.ก.ส. น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงหลักการบริหารจัดการที่ดี (Good Governance) ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Social Responsibility) มาเป็นแนวทาง ในการขับเคลื่อนภารกิจองค์กร ธ.ก.ส. อย่างบูรณาการ ภายใต้วิสัยทัศน์และพันธกิจ เพื่อพัฒนาภาคการเกษตรและภาคชนบทให้เป็นสังคมอุดมปัญญา เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยให้ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร? โดย ธ.ก.ส. สร้างโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุน พัฒนาเกษตรกรและเครือข่าย สร้างมูลค่าเพิ่มทางการตลาดและหาแนวทางประกันความเสี่ยงให้กับลูกค้า? จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานไว้? 5 ?ด้าน ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 สนับสนุนสินเชื่อเชิงรุกอย่างมีคุณภาพ
เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้เกษตรกรรายย่อย ธ.ก.ส. จึงสนับสนุนการให้บริการด้านสินเชื่อโดยเฉพาะสินเชื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตตลอด Value Chain ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยใช้เครือข่ายธุรกิจชุมชน และขบวนการสหกรณ์เป็นกลไกในการขับเคลื่อนควบคู่กับการพัฒนาองค์ความรู้แก่เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร และสนับสนุนให้ลูกค้ามีการประกันความเสี่ยงและความเสียหาย ทั้งด้านชีวิต ด้านอาชีพ และด้านรายได้ รวมทั้ง การปรับปรุงกระบวนการสินเชื่อทุกขั้นตอนให้มีประสิทธิภาพเพื่อรองรับการเปลี่ยนโครงสร้างทางการเงินภาคชนบท
ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับลูกค้า
เสริมสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยการพัฒนาชุมชนเกษตรให้เป็นเครือข่ายเกื้อกูลกันและกันผ่านศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ธ.ก.ส. และสถาบันพัฒนาเกษตรกรและชนบท? และพัฒนาเกษตรกรรายคนให้มีการจัดการการผลิตที่ทันสมัย มีคุณภาพ และเสริมสร้างการรวมกลุ่มผลิตเพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรอง รวมทั้ง พัฒนาทักษะของสถาบันเกษตรกรด้านการจัดการทางธุรกิจและการตลาดเพื่อเพิ่มศักยภาพการจัดการสู่สากล
ยุทธศาสตร์ที่ 3 บริหารเงินทุนให้สมดุลและเพียงพอ
มุ่งเน้นการเติบโตด้านเงินฝากด้วยการรักษาลูกค้าเดิมและขยายฐานลูกค้าใหม่ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยการบริหารความสัมพันธ์และกระตุ้นการออมอย่างต่อเนื่อง โดยกำหนดอัตราผลตอบแทนที่สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยในตลาด ตลอดจนเพิ่มช่องทางและความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงิน
พัฒนาผลิตภัณฑ์ และธุรกรรมบริการใหม่ ๆ ให้ตอบสนองความจำเป็นและความต้องการของลูกค้า โดยนำเทคโนโลยีและระบบงานธุรกิจหลัก (CBS) มาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ และดำเนินโครงการธนาคารใกล้บ้านโดยร่วมมือกับเครือข่ายชุมชนเพื่อลดต้นทุนในการเดินทางของลูกค้า
ยุทธศาสตร์ที่ 5 จัดการองค์กรสู่ความเป็นเลิศ
ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการองค์กรที่ดีตามกรอบ Good Governance Risk Management Compliance (GRC) ด้วยการมีแผนแม่บทในการดำเนินงานและบริหารจัดการเชิงบูรณาการใช้การวิจัยนำการพัฒนา จัดตั้งสถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (BAAC Academy) เพื่อส่งเสริมพนักงานให้ทำงานอย่างมืออาชีพ และพัฒนาการประชาสัมพันธ์สื่อสารภาพลักษณ์องค์กรเพื่อสร้างภาพจำที่ดีต่อลูกค้า ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย และสังคม
วัตถุประสงค์ ธ.ก.ส.
1) ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร หรือสหกรณ์การเกษตรสำหรับการ
(1) ประกอบอาชีพเกษตรกรรมหรืออาชีพที่เกี่ยวเนื่องกับเกษตรกรรม
(2) ประกอบอาชีพอย่างอื่นเพื่อเพิ่มรายได้
(3) พัฒนาความรู้ในด้านเกษตรกรรมหรืออาชีพอย่างอื่นเพื่อเพิ่มรายได้หรือพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรหรือครอบครัวของเกษตรกร
(4) ดำเนินกิจการตามโครงการที่เป็นการส่งเสริมหรือสนับสนุนการประกอบ เกษตรกรรม ซึ่งเป็นการดำเนินการร่วมกับผู้ประกอบการ เพื่อเพิ่มรายได้หรือพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรหรือครอบครัวของเกษตรกร
2) ประกอบธุรกิจอื่นอันเป็นการส่งเสริมหรือสนับสนุนการประกอบเกษตรกรรม
3) ดำเนินงานเป็นสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาชนบท โดยให้ความช่วยเหลือทางการเงินหรือการบริหารจัดการแก่บุคคล กลุ่มบุคคล ผู้ประกอบการ กองทุนหมู่บ้าน หรือชุมชน รวมทั้งองค์กรที่จัดตั้งขึ้นในรูปแบบใด ที่มีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนการประกอบอาชีพของเกษตรกรหรือชุมชน ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาผลผลิต หรือผลิตภัณฑ์ของเกษตรกร หรือชุมชนให้มีประสิทธิภาพทั้งในด้านการลงทุน การผลิต การแปรรูป และการตลาด หรือเพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีความเข้มแข็งในด้านเศรษฐกิจหรือเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต
4) ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สหกรณ์ เพื่อใช้ดำเนินงานภายใต้ขอบเขตวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งสหกรณ์