ถาม – ตอบ
เรื่องโรคระบาดและการควบคุมโรค
1. การสื่อสารการระบาด
มีความสำคัญอย่างไร
ตอบ การสื่อสารการระบาดเป็นเรื่องใหม่ที่ทุกคนต้องเผชิญทุกๆ
วัน และต้องเผชิญในสถานการณ์ที่
ต่างๆ กันเพราะฉะนั้นการที่จะเจอโจทย์หรือสิ่งต่างๆ
ที่ไม่เหมือนกันก็ย่อมเป็นไปได้มาก
การสื่อสารการระบาดมีความสำคัญมากต่อการควบคุมป้องกันควบคุมโรค
ยิ่งไปกว่านั้นอาจช่วยในการป้องกันความตื่นตระหนกที่อาจสร้างความเสียหายรุนแรงซ้ำเติมตามมา
ซึ่งในบางครั้งอาจเสียหายมากกว่าผลการระบาดนั้นๆ เช่น
อาจทำให้เศรษฐกิจการส่งออกการท่องเที่ยวหยุดชะงัก การเดินทาง การบินหยุดดำเนินการ
ฯลฯ ดังนั้น SRRT ต้องเรียนรู้ให้เข้าใจ
สามารถใช้ศิลปะการสื่อสารให้เป็นประโยชน์
เพราะนอกจากจะป้องกันความเสียหายดังกล่าวได้แล้ว
ยังสื่อให้ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องเข้าใจถูกต้องถึงต้นเหตุที่เกิดการระบาด
และช่วยกันแก้ปัญหาได้ตรงจุดอย่างพร้อมเพรียง
เป็นผลให้การระบาดสิ้นสุดลงได้อย่างรวดเร็ว
2. จงอธิบายเกี่ยวกับทักษะและศักยภาพทางด้านระบาดวิทยา
ตอบ 1. มีทักษะในการสอบสวนโรคเบื้องต้น
1. ศักยภาพในเรื่องของการเฝ้าระวังโรคและพัฒนาศักยภาพด้านข่าวกรอง
สามารถทราบได้ว่าเหตุการณ์ใดปกติและเหตุการณ์ใดไม่ปกติ
2. ทักษะการทำงานเป็นทีมและการจัดการ
การรับมือการระบาดไม่สามารถทำได้คนเดียว
ต้องอาศัยทีมเนื่องจากการระบาดมีระยะเวลายาวนาน
3. ทักษะด้านการสื่อสาร
การทำงานถ้าสื่อสารกับประชาชนไม่ได้ สื่อสารกับสื่อมวลชนไม่ได้สื่อสารกับใครไม่ได้
ก็จะก่อให้เกิดปัญหาในการทำงานขึ้นได้
ในแต่ละประเทศทั่วโลกก็มีการพัฒนาขึ้น บางประเทศเป็นทีม RRT ไม่มี
SRRT การพัฒนาสมาชิกทีมต้องเลือกคนที่มีทักษะและศักยภาพหลายอย่างมารวมกัน
เช่น นักระบาดวิทยา 1 คน นักสื่อสาร 2
คน นักสุขาภิบาล 1 คน เป็นต้น
เพราะว่าแต่ละประเภทมีศักยภาพแตกต่างกัน
3. EMERGENCY กับ CRISIS มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
ตอบ ความหมายของ EMERGENCY AND
PUBLIC HEALTH EMERGENCY
1. เป็นเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด
ผิดปกติจากที่เคยเป็น และเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว บางทีไม่รู้ว่ามันคืออะไร (Un-expected, Unusual, Rapid occurrence)
2. มีความรุนแรงถึงแก่ชีวิต
อัตราการตายสูง
3. มีผลกระทบใหญ่หลวงต่อประชาชนจำนวนมาก
4. แพร่กระจายได้รวดเร็ว
เกี่ยวข้องกับอาหาร การเดินทางและการพานิช ค้าขาย ส่งออก Potential
spread, quick and relate to Food, Travel and Trade มีโอกาสแพร่กระจายกว้างอย่างรวดเร็ว
5. ยา/มาตรการป้องกันหรือรักษา หรือการลดผลกระทบ
อาจไม่ได้ผล ไม่มี หรือเข้าไม่ถึง เช่น ไม่มีวัคซีนไม่มียา ไม่มีหมอ
ไม่มีพยาบาลที่จะดูแลเรื่องนี้ได้ ก็ถือว่าเป็นเรื่องอันตรา
ความหมายของ CISIS, AND PUBLIC HEALTH EMERGENCY/CRISIS
อาจสรุปได้ 9
ข้อ ดังนี้
1. Unexpected, Unusual, Rapid occurrence
2. Potential Seriousness, Fatality
3. Large Impact, population at risk-large มาก
มีผลกระทบขนาดใหญ่ ประชาชนมีโอกาสสูงที่
จะได้รับผลกระทบ
4. Potential Spread, quick and relate to Food, Travel
and Trade มีโอกาสแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว
5. ยา/มาตรการป้องกัน
หรือรักษา หรือการลดผลกระทบ อาจไม่ได้ผล/ไม่มี/หรือเข้าไม่ถึง
6. Potential Panics ความแตกตื่น
7. Nation Wide Impact เป็นระดับชาติ เช่นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009
8. ควบคุมได้ยาก
หรือควบคุมไม่ได้ (Out of control)
9. ผลกระทบหลายด้าน
รุนแรง ยาวนาน
โดยธรรมชาติของระดับความรุนแรงของเหตุการณ์
การระบาดเริ่มต้นจากเหตุการณ์การเกิดโรคในระดับปกติก่อน
ต่อมาเริ่มผิดปกติเป็นการระบาดแล้วก็ยังไม่เกิดอะไรที่เป็นผลให้เกิดภาวะฉุกเฉิน
ถ้ามีการสื่อสารที่ดี ถือเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรีบแก้ไขให้ได้ ไม่เช่นนั้นจะลุกลามกลายเป็นภาวะวิกฤตดังตัวอย่าง
Hepatitis A ปนเปื้อนในมันฝรั่งแช่แข็ง หรือ Salmonella ปนเปื้อนในไข่ หรือในถั่วลิสงที่ขายไปทั่วโลก หรือ Shigellosis จากข้าวโพดอ่อนที่ผลิตในประเทศไทยส่งไปตะวันตก ฯลฯ
4. โรคหัด (Measles) พบมากในวัยใด
ตอบ โรคหัดเป็นโรคไข้ออกผื่น (Exanthematous fever) ที่พบบ่อยในเด็กเล็ก
นับว่าเป็นโรคที่มีความสำคัญมากโรคหนึ่ง
เพราะอาจมีโรคแทรกซ้อนทำให้ถึงเสียชีวิตได้
5. โรคหัดติดต่อสามารถติดต่อกันทางใดบ้าง
ตอบ โรคหัดติดต่อกันได้ง่ายมาก โดยการไอ จาม
หรือพูดกันในระยะใกล้ชิด เชื้อไวรัสจะกระจายอยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูก
น้ำลายของผู้ป่วย และเข้าสู่ร่างกายโดยทางการหายใจ บางครั้งเชื้ออยู่ในอากาศ
เมื่อหายใจเอาละอองที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส (air borne) เข้าไปก็ทำให้เป็นโรคได้
ผู้ติดเชื้อจะเป็นโรคเกือบทุกราย ถ้าไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคเด็กมีโอกาสจะเป็นหัดได้เมื่อภูมิคุ้มกันที่ผ่านมาจากแม่หมดไปเมื่ออายุประมาณ
6-9 เดือน อายุที่พบบ่อยคือ 1-6
ปีถ้าไม่มีภูมิต้านทานจะเป็นได้ทุกอายุ ในประเทศไทย
เริ่มให้วัคซีนป้องกันหัดในเด็กอายุ 9-12 เดือน เมื่อ
พ.ศ. 2527และให้วัคซีนรวมหัด คางทูม หัดเยอรมัน (MMR) ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
1 (ป.1) เมื่อ พ.ศ. 2540
ทำให้อุบัติการณ์ของโรคลดลงเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 5
ปี แต่ก็ยังพบโรคได้ประปราย และมีการระบาดเป็นครั้งคราวในชนบท
ผู้ป่วยที่พบส่วนใหญ่จะเป็นเด็กที่ยังไม่ได้รับวัคซีน
หรือเป็นในกลุ่มผู้ใหญ่มากขึ้น
ผู้ป่วยหัดจะมีเชื้อไวรัสในลำคอและแพร่เชื้อได้ในระยะจาก
1-2 วัน ก่อนที่จะเริ่มมีอาการ (3
ถึง 5 วันก่อนผื่นขึ้น) ไปถึงระยะหลังผื่นขึ้นแล้ว 4วัน
ระยะฟักตัวของโรค
จากที่เริ่มสัมผัสโรคจนถึงมีอาการประมาณ 8-12 วัน
เฉลี่ยจากวันที่สัมผัสจนถึงมีผื่นเกิดขึ้นประมาณ 14 วัน
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบนักวิชาการสาธารณสุข กรมควบคุมโรค
รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ
- ความรู้เกี่ยวกับกรมควบคุมโรค
- เก็งแนวข้อสอบกรมควบคุมโรค (อัตนัย)
- แนวข้อสอบนักวิชาการสาธารณะสุข
- เทคนิคการสอบสัมภาษณ์
เลือกตามตำแหน่งที่สอบ
- นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ (บัญชี ก)
- นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ (บัญชี ข)
- นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ (บัญชี ค)
สั่งซื้อที่
ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724 Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3 ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2
ธ.กสิกรไทย ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay
ผลงานการสอบได้ของลูกค้า
ติดตามข่าวการสอบราชการที่ https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่ www.ข้อสอบงานราชการไทย.com