1. นายแสวงได้รับการบรรจุแต่งตั้งเป็นพลตำรวจใหม่และให้ไปปฏิบัติหน้าที่สถานีตำรวจภูธร
แห่งหนึ่ง นายแสวงต้องการที่จะมีเพื่อนที่จริงใจ นายแสวงต้องใช้หลักธรรมใด
ก. อิทธิบาท 4 ข. สังคหวัตถุ 4
ค. อริยสัจ 4 ง. กาลามสูตร
ตอบ ข. สังคหวัตถุ 4 คือ เป็นหลักธรรมที่ยึดเหนี่ยวจิตใจคน ประกอบด้วย คือ 1. การให้
เป็นคนเอื้อเฟื้อ 2. ปิยวาจา คือ การกล่าวคำสุภาพ 3. อัตถจริยา คือ การประพฤติ
และ 4. สมาบัต คือการทำตนเสมอต้นเสมอปลาย
2. เมื่อตรัสรู้แล้ว ทรงเรียกพระองค์ว่า “ สัมมาสัมพุทธ ” หมายความว่าอย่างไร
ก. ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ข. ผู้ปฏิบัติทางสายกลาง
ค. ผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ง. ผู้นำเวไนยสัตว์ ให้พ้นจากกองทุกข์
ตอบ ค. สัมมาสัมพุทธ แปลว่า ผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง
3. บุคคลใดได้ชื่อว่า “ สัมมาทิฐิ ” หรือความเห็นชอบในการดำเนินชีวิตประจำวัน
ก. เชื่อว่าการศึกษาเป็นบันไดนำไปสู่ความสำเร็จ
ข. คิดจะเลิกเที่ยวกลางคืนและไม่เล่นการพนัน
ค. เปิดร้านขายอาหารกลางคืนด้วยความขยันอดทน
ง. งดเหล้าในช่วงเข้าพรรษา
ตอบ ก. สัมมาทิฐิ (ความเห็นชอบ) มีความเห็นที่ถูกต้อง ตามทำนองคลองธรรม เช่น
ในเรื่องบาป บุญว่ามีจริง เชื่อว่าการศึกษาเป็นบันไดนำไปสู่ความสำเร็จ
4. ผู้ที่พยายามเลิกสูบบุหรี่ เลิกกินเหล้า และทำให้สำเร็จ ถือว่ามีอริยมรรคข้อใด
ก. สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีพชอบ) ข. สัมมากัมมันตะ (การกระทำ)
ค. สัมมาวายามะ (ความเพียรพยายาม) ง. สัมมาทิฐิ (ความเห็นชอบ)
ตอบ ค. สัมมาวายามะ (ความเพียรพยายาม) คือ มีความเพียรพยายามที่จะทำสิ่งที่ถูกต้อง
ดีงามและชอบธรรม
5. ปัญญาที่เกิดขึ้นจากการพิจารณา คือปัญญาประเภทใด
ก. ปัญญาแท้ ข. สตุมยปัญญา
ค. จินตามยปัญญา ง. ภาวนามยปัญญา
ตอบ ค. จินตามยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดขึ้นจากการคิด พิจารณา ไตร่ตรอง หาเหตุผล
6. ปัญญาที่เกิดจากการลงมือปฏิบัติ คือ
ก. ปัญญาแท้ ข. สตุมยปัญญา
ค. จินตามยปัญญา ง. ภาวนามยปัญญา
ตอบ ง. ภาวนามยปัญญา คือ ปัญญาหรือความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติ
7. ข้อใดเป็น “ปัญญาสิกขา” ตามหลักพระพุทธศาสนา
ก. ลูกคิดหาวิธีประหยัดค่าใช้จ่ายของตน ข. พ่อแม่ นั่งสมาธิทุกวันก่อนนอน
ค. ฆราวาส กำลังท่องศีล 5 ง. นักกีฬาคิดหาวิธีที่จะเอาชนะคู่ต่อสู้
ตอบ ก. ปัญญาสิกขา คือ การศึกษาในเรื่องปัญญา คนที่มีปัญญาจะมีความรู้ ความเข้าใจ
ในสิ่งต่างๆ ตามสภาพที่เป็นจริง ทำให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข
ดังนั้น ตามปัญญา ลูกคิดหาวิธีประหยัดค่าใช้จ่ายของตน จึงเป็นปัญญาสิกขา
ตามหลักพระพุทธศาสนา
8. ชาวพุทธที่รู้ดีว่าการดื่มน้ำเมา เที่ยวกลางคืน และเล่นการพนัน เป็นสาเหตุแห่งความหายนะ
ถือว่าเป็นผู้มีปัญญาประเภทใด
ก. ปัญญารู้จักเหตุและโทษของความเสื่อม (อปายโกศล)
ข. ปัญญารู้จักเหตุและประโยชน์ของความเจริญ (อายโกศล)
ค. ปัญญารู้จักเหตุและอายความเสื่อมและรู้วิธีสร้างความเจริญ (อุปายโกศล) ง. ปัญญาที่เกิดจากการฝึกอบรมสมาธิภาวนา (ภาวนามยปัญญา)
ตอบ ก. ปัญญารู้จักเหตุแห่งความเสื่อม (อปายโกศล) คือรู้ว่าสิ่งใดเป็นความเสื่อม มีสาเหตุ
เกิดจากอะไร
9. ปัญญาที่ได้จากการฟังคำบรรยายและอ่านตำรา เรียกว่า
ก. ปัญญาแท้ ข. สตุมยปัญญา
ค. จินตามยปัญญา ง. ภาวนามยปัญญา
ตอบ ข. สตุมยปัญญา คือ ปัญญาหรือความรู้ที่เกิดจากการฟังและการอ่าน
10. ในขณะที่ประเทศปากีสถาน ได้ประสบปัญหาแผ่นดินไหว จนเป็นเหตุตึกถล่มทับผู้คนจำนวนมาก
และได้มีประเทศต่างๆให้ความช่วยเหลือ ประเทศที่ให้ความช่วยเหลือ ถือว่ายึดถือหลักธรรมตาม
ข้อใด
ก. อิทธิบาท 4 ข. สังคหวัตถุ 4
ค. ธรรม 4 ง. อคติ 4
ตอบ ข. สังคหวัตถุ 4 คือ เป็นหลักธรรมเพื่อการสงเคราะห์ ช่วยเหลือผู้อื่นเป็นหลักธรรม
ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจคน ประกอบด้วย 1. ทาน 2. ปิยวาจา 3. อัตถจริยา 4. สมานัตตา
11. ผู้ขับขี่รถยนต์ตามท้องถนนหลวง ต้องมีสติรู้ตัวตื่นอยู่เสมอว่ากำลังทำอะไรอยู่ ไม่ใจลอย
เพื่อป้องกันมิให้เกิดอุบัติเหตุ ถือว่ามี “ อริยมรรค ” ข้อใด
ก. สัมมากัมมันตะ (การกระทำชอบ) ข. สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ)
ค. สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ) ง. สัมมาสติ (ความระลึกชอบ)
ตอบ ง. สัมมาสติ ( ความระลึกชอบ) หมายถึง สติรู้ตัวตื่นอยู่เสมอ เช่นรู้ว่าขณะนี้กำลังทำ
อะไรอยู่ กำลังพูดอะไร กำลังคิดอะไร ทำให้สามารถควบคุมตนเองได้
12. หลักธรรมตามข้อใดที่ช่วยปลูกฝังให้พลตำรวจเป็นคนมีระเบียบวินัย
ก. อิทธิบาท 4 ข. สติ ทมะ ขันติ
ค. ศีล ศรัทธา จาคะ ง. อริยสัจ 4
ตอบ ข. หลักธรรมที่ช่วยปลูกฝังให้พลตำรวจเป็นคนมีระเบียบวินัย คือ สติ หมายถึง
ความระลึกได้ ทมะ คือ การฝึกฝนการข่มใจ ฝึกวินัย ปรับตัว รู้จักควบคุมจิตใจ
ขันติ คือ ความอดทน
13. สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เรียกว่าอย่างไร
ก. อริยะสัจ 4 ข. การดับกิเลสกองทุกข์โดยสิ้นเชิง
ค. โอวาทปาฏิโมกข์ ง. มรรคมีองค์แปด
ตอบ ก. สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ต่อมาได้เรียบเรียงเป็นขั้นตอน เรียกว่าอริยสัจ 4 ได้แก่
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค แสดงถึงกระบวนการเกิดทุกข์ และวิธีการดับทุกข์
ของมนุษย์ เมื่อตรัสรู้แล้วทรงเรียกพระองค์ว่าสัมมาสัมพุทธะ แปลว่า ผู้ตรัสรู้ชอบ
ด้วยพระองค์เอง
14. ข้อใดจัดเป็น “ โลกุตตรปัญญา ” ตามแนวทางพระพุทธศาสนา
ก. เชี่ยวชาญในวิชาชีพของตนอย่างถึงแก่น
ข. ฉลาดในศิลปวิทยาการทางโลก
ค. รอบรู้ในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า
ง. รู้เหตุแห่งความเสื่อมและหลีกเลี่ยงให้พ้น
ตอบ ค. ปัญญาธรรม (โลกุตตรปัญญา) คือ ปัญญารอบรู้ในหลักธรรมคำสอนของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งแต่หลักธรรมเบื้องต้นไปจนถึงขั้นสูงสุด
15. สำหรับพิธีทอดกฐิน ของพุทธศาสนิกชนนั้น ระยะเวลาที่ถวายผ้ากฐิน คือข้อใด
ก. เริ่มตั้งแต่วันอาสาฬหบูชา เป็นต้นไป เป็นเวลา 1 เดือน
ข. เริ่มตั้งแต่วันเข้าพรรษา เป็นต้นไป เป็นเวลา 1 เดือน
ค. เริ่มตั้งแต่วันออกพรรษา เป็นต้นไป เป็นเวลา 1 เดือน
ง. เริ่มตั้งแต่วันวิสาขบูชา เป็นต้นไป เป็นเวลา 1 เดือน
ตอบ ค. ระยะเวลาที่ถวายผ้ากฐิน กำหนดเวลาของพิธีถวายผ้ากฐิน เริ่มตั้งแต่วันออกพรรษา
เป็นต้นไป เป็นเวลา 1 เดือน (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12)
16. ก่อนจะเสด็จออกผนวช มีเทวทูตทั้ง 4 มาปรากฏภายให้พระสิทธัตถะได้เห็นความจริงของ
ชีวิต คือข้อใด
ก. คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ ข. เด็กทารก หนุ่มสาว วัยกลางคน และคนชรา
ค. คนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย ง. พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ และศูทร
ตอบ ก. เทวทูตทั้ง 4 ซึ่งได้แก่ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ เป็นสาเหตุที่ทำให้
พระพุทธเจ้าทรงเสด็จออกผนวช เนื่องจากทรงได้เห็นว่าเป็นความจริงแห่งชีวิต
ของมนุษย์และต้องการที่จะหลุดพ้นจากสิ่งเหล่านี้
17. หลักคำสอนในพระพุทธศาสนาเน้นให้ยึด “ ทางสายกลาง ” หมายถึงข้อใด
ก. ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายสันโดษ
ข. ใช้ปัญญาและความเพียรแก้ไขปัญหาชีวิต
ค. ปฏิบัติตามหลักอริยมรรค หรือมรรคมีองค์ 8
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ค. หลักคำสอนในพระพุทธศาสนามีข้อปฏิบัติให้ยึดหลักความพอดี ไม่มาก ไม่น้อย
ไม่ตึง หรือไม่หย่อนจนเกินไปที่เรียกว่า “ทางสายกลาง” (มัชฌิมาปฏิปทา) ได้แก่
การปฏิบัติตามหลักอริยมรรค หรือมรรคมีองค์ 8
18. พระพุทธศาสนาเปรียบ “ปัญญา” ประดุจเป็นแสงสว่างเพราะเหตุใด
ก. สร้างความบริบูรณ์ในทรัพย์สิน
ข. นำทางชีวิตให้สุขสงบและเจริญรุ่งเรื่อง
ค. รักษาตัวให้รอดพ้นจากปากเหยี่ยวปากกา
ง. ส่งเสริมความก้าวหน้าทางการศึกษา
ตอบ ข. การที่พระพุทธศาสนาเปรียบปัญญาประดุจเป็นแสงสว่างเพราะว่า ปัญญานั้น
นำทางชีวิตให้สุขสงบและเจริญรุ่งเรือง
19. ปัญญาที่เกิดจากการคิดค้นด้วยตนเอง คือข้อใด
ก. สุตมยปัญญา ข. จินตามยปัญญา
ค. ภาวนามยปัญญา ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ข. ปัญญาที่เกิดจากการคิดค้นด้วยตนเอง เรียกว่า จินตามยปัญญา เป็นการนำสิ่งที่ได้เห็น
ได้ยิน ได้อ่าน และได้รับรู้จากสื่อต่างๆ นำมาพิจารณาไตร่ตรองด้วยเหตุผล คิดค้น
และแสวงหาคำตอบด้วยตนเองจนเข้าใจชัดเจนและกลายเป็นปัญญาความรอบรู้
ที่แท้จริงในเรื่องๆ นั้น
20. ในกรณีที่ตำรวจเข้าเป็นผู้ไกล่เกลี่ยระหว่างผู้เสียหายกับผู้กระทำผิด ตำรวจดังกล่าวจะมี
หลักธรรมใด เพื่อให้คู่กรณีได้รับความเป็นธรรมมากที่สุด
ก. เมตตา ข. กรุณา
ค. มุทิตา ง. อุเบกขา
ตอบ ง. พรหมวิหาร 4 คือ ธรรมเครื่องอยู่อย่างประเสริฐ เป็นหลักธรรมประจำใจเพื่อ
ความประพฤติที่บริสุทธิ์ ดำเนินชีวิตตนเอง และปฏิบัติต่อผู้อื่นโดยธรรม
ประกอบด้วย 1. เมตตา คือ ความรักใคร่ ปรารถนาดี 2. กรุณา คือ สงสาร
3. มุทิตา คือ ความยินดีในเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีความสุข 4. อุเบกขา คือ วางใจเป็นกลาง
ดังนั้นตำรวจควรมีอุเบกขาประจำใจ
จำหน่ายเอกสารข้อสอบพลตำรวจ กลุ่มงานอำนวยการและสนับสนุน
รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ รวมแนวข้อสอบเก่าเด็ดๆๆ และข้อสอบที่ออกบ่อยมาก
- แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไปทางคณิตศาสตร์
- แนวข้อสอบวิชาภาษาไทย
- แนวข้อสอบความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
- แนวข้อสอบสังคมและวัฒนธรรมจริยธรรม
- แนวข้อสอบ วิชาภาษาอังกฤษ
- แนวข้อสอบระเบียบงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 และแก้ไขเพิ่มเติม
- แนวข้อสอบเก่าสายอำนวยการและสนับสนุน ปี 2555
จำหน่ายเอกสารข้อสอบพลตำรวจ กลุ่มสายงานป้องกันปราบปราม
รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ รวมแนวข้อสอบเก่าเด็ดๆๆ และข้อสอบที่ออกบ่อยมาก
- แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไปทางคณิตศาสตร์
- แนวข้อสอบวิชาภาษาไทย
- แนวข้อสอบวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
- แนวข้อสอบจริยธรรมและกฎหมายที่ประชาชนควรรู้
- แนวข้อสอบ วิชาภาษาอังกฤษ
- แนวข้อสอบสายป้องกันและปราบปราม ปี 2555
สั่งซื้อที่
ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724 Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3 ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2
ธ.กสิกรไทย ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay
ผลงานการสอบได้ของลูกค้า
ติดตามข่าวการสอบราชการที่ https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่ www.ข้อสอบงานราชการไทย.com