กระทู้จากผู้ใหญ่ถาปัตย์ ไร้สังกัด (12/11/42)
วิศวกร ส.ย.สามารถเซ็นต์แบบควบ โดยไม่ต้องมีสถาปนิกเซ็นต์แบบ ผมออกแบบโครงการต่างๆ แล้งไปจ้างให้ วิศวกร ส.ย.คำนวณและเซ็นต์แบบควบ โดยไม่มี สถาปนิก (ผมยังไม่สามารถเซ็นต์แบบได้ มีแต่ออกแบบอย่างเดียว อยากทราบว่า วิศวกร ส.ย. มีอำนาจในการเซ็น๖์แบบควบ สถาปนิค ได้ในขอบเขตแค่ใหน และหาซื้อ หนังสือ เกียงกับความรู้ต่างๆ ที่ได้ถามไปแล้ง ได้ที่ใหน ราคาเท่าไร ขอบคุณ กับคำตอบของทุก ทุกคน มา ณ ที่นี้ด้วย
วิญญู วานิชศิริโรจน์ (14/11/42)
ตามกฎกระทรวงฉบับที่9 2542 ออกตาม พรบ.วิชาชีพสถาปัตยกรรมฯ
ข้อ3 เรื่องสถาปัตยกรรม หลัก มีข้อยกเว้นอาคารที่ไม่ต้องมีสถาปนิกเซ็น หลายอาคาร เช่น บ้านพื้นที่ไม่เกิน 150 ตารางเมตร โรงนาพื้นที่ไม่เกิน 400 ตารางเมตร เป็นต้น หมายความว่า อาคารแบบนี้ ใครเซ็นเป็นผู้ออกแบบก็ได้ ไม่ต้องเป็นสถาปนิกที่ได้รับใบอนญาต ครับ ( แต่ไม่เกี่ยวกับ วิศวกรรม ควบคุมนะครับ ) คนละเรื่องกัน
หาอ่านเรื่องละเอียดได้ที่ กฎหมายอาคารของสมาคมสถาปนิกสยามฯ เล่ม 3 /2542หน้า 20-37
ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ (17/11/42)
ขอแสดงความคิดเห็น และกล่าวถึงข้อมูลเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ครับ
1.) ศักดิ์ของท่านเจ้าของกระทู้ และของวิศวกรระดับสามัญ เท่าเทียมกันหากพิจารณาเรื่องการปฎิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม เพราะทั้ง ๒ ท่าน นั้นมิได้ มีใบอนุญาต ประกอบวิชา ชีพสถาปัตยกรรม ด้วยกันทั้งคู่ จึงไม่มีผู้ใดจะลงนามในงาน "สถาปัตยกรรมควบคุม" ได้ทั้งคู่ครับ แต่กรุณาแยกคำว่า "ความสามารถ" ที่มีออกจาก "มีใบประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม" เพราะบางท่านอาจจะมีความสามารถแต่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพ แต่บางท่านมีใบประกอบวิชาชีพ แต่ไม่มีความสามารถ ตามที่น่าจะ มีศักดิ์ใน ใบประกอบวิชาชีพ ก็ได้
2.) วินาทีนี้น่าจะพิจารณาตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๖ และ ๗ ตาม พรบ.ควบคุมวิชาชีพสถาปัตยกรรม ซึ่งออกเมื่อปี ๒๕๒๑ ว่า ผู้ที่ไม่ได้เป็นสถาปนิก (ไม่มีใบประกอบวิชาชีพ สถาปัตยกรรม) นั้นสามารถออกแบบอะไรได้บ้าง ซึ่งอาจจะสรุปโดยเคร่าได้ดังต่อไปนี้ครับ สามารถออกแบบอาคารพักอาศัยได้ไม่เกิน ๑,๐๐๐ ตรม. (หนึ่งพัน) และ ออกแบบตึกแถว ได้สูงไม่เกิน ๓ ชั้น (รวมถึงอาคารทางด้านการเกษตรขนาดย่อมบางอย่าง) .....นอกเหนือจากนี้จะต้องมีสถาปนิก (ลงทะเบียน) เป็นผู้ออกแบบและลงนาม ดังนั้น หาก "งาน" ที่ท่านเจ้าของกระทู้กล่าวถึง อยู่ในขอบเขต (ไม่เกิน) ตามที่ผมได้กล่าวไป ทั้งท่านเจ้าของกระทู้ และวิศวกร ผู้นั้น (รวมถึงคนขายเต้าฮวยปากซอย และ แม่ค้าขายส้มตำ ท้ายซอย) ก็มีศักดิ์และสิทธิ์ ดำเนินการได้
3.) กฎกระทรวงฉบับที่ ๙ ยังไม่ใช้ตอนนี้ เพราะมีบทเฉพาะกาลอลุ้มอะหล่วยได้จนถึงเดือนมีนาคม ๒๕๔๔ จึงจะใช้ หากตอนนี้มีปัญหาที่จะต้องพิจารณา กรุณาใช้กฎกระทรวงฉบับที่ ๖ และ ๗ พิจารณาไปก่อนครับ
จึงเรียนมาเพื่อทราบ หากต้องการรายละเอียดใดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อได้โดยตรงที่
yodyiam@hotmail.com อย่างไม่ต้องเกรงใจใดๆครับ
--------------------------------------------------------------------------------
คำถามจาก creative (14/10/42)
ทำไมต้องสอบ กส. ใบอนุญาตนั้นสำคัญมากนักหรือกับการสร้างสรร ทำไมถึงต้องตะเกียกตะกายนักหนา
เอก (14/10/42)
ถ้าคุณอยากสร้างสรร ก็จงสร้างกันไปเถอะ ตราบใด งานสร้างสรรของคุณยังแค่บนกระดาษ อาจใส่กรอบไว้ดูเล่น หรือออกแสดงงาน ในที่ต่างๆ แล้วชื่นชม โอ้...ช่างสร้างสรร อะไรเช่นนี้ ในกรณีนี้ ใบ กส.ไม่มีความจำเป็น แต่ถ้างานสร้างสรรของคุณ ต้องเอาไปสร้างจริงๆ สร้างอยู่ในชุมชน ในเมือง(ในป่า ไม่ว่ากัน) เมื่อนั้นแหละ ถ้าคุณไม่มีความรู้(ที่ กส.รับรอง) ไม่มีประสพการณ์เพียงพอ สิ่งสร้างสรร ของคุณอาจสร้างความเดือดร้อน ให้สภาพแวดล้อม(จราจรติดขัด ปล่อยของเสีย ใช้พลังงานเกินความจำเป็น กระจกสะท้อนแสงและความร้อนให้ชาวบ้านรอบข้าง) อาจสร้างความเดือดร้อนให้เพื่อนบ้านข้างเคียง และ อาจสร้างความเดือดร้อน ให้เจ้าของอาคาร และ ผู้อยู่อาศัยในอาคารนั้นๆ ท้ายสุด ผู้ได้รับความเดือดร้อน อาจแบ่งปันความทุกข์นั้น ให้คุณผู้ออกแบบ อันสร้างสรรนั้นก็ได้ ในการทำงาน ด้านนี้มิใช่ แค่สร้างสรร คุณต้อง มีความรู้ในหลายๆด้านนอกเหนือจากงานออกแบบ เพียงอย่างเดียวนะครับ
double P (15/10/42)
อาชีพสถาปนิกเป็นอาชีพที่ต้องรับผิดชอบต่อสาธารณะ ใบประกอบวิชาชีพเป็นหลักประกันเพียง "อย่างเดียว" ที่รับรอง ว่าเรามีความรู้ ความสามารถ เพียงพอ ที่จะรับผิดชอบ ต่อผล ทาง ด้านความปลอดภัย และ ความเหมาะสม ที่จะเกิด กับสาธารณะ โดยเฉพาะภายใต้เงื่อนไขตามกฏหมายครับ
--------------------------------------------------------------------------------
คำถามจาก พชระ (27/02/42)
เด็กจบใหม่ควรไปสอบ ก.ส. ไหมเนี่ย ตอนนี้หางานออกแบบยากเต็มที ก.ส. ก็ยังไม่ได้สอบเลย ว่าจะไม่สอบแล้วนะ เพราะสอบได้ ก็ไม่ได้นำไปใช้ทำงานด้านออกแบบอยู่ดี
Yodyiam Teptaranon (01/03/42)
ก่อนอื่น ผมคิดว่าคำว่าการปฎิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม มิได้แปลความให้เป็นเพียง การออกแบบสถาปัตยกรรม อย่าง ในยุคฟองสบู่ เขาแปลกัน แล้วละ ครับ ส่วนที่ คุณพชระว่าน่าจะไปสอบ กส. หรือไม่ ผมคิดว่ามี องค์ประกอบ สามส่วนที่เหมือนรูกลางกระดาษ 3 แผ่น หากเมื่อไรเราปรับรูนั้นให้ตรงกันได้ เราก็จะเห็นทะลุกระดาษไปได้ครับ รูทั้ง 3 ก็คือ
ความอยากจะเป็น ความสามารถที่มี โอกาสอำนวย โดยทั้ง 3 อย่างต้องการ เวลา เป็นเครื่องมือในการปรับรูให้ตรงกัน
คุณพชระ ลองถามตัวเองว่าความอยากจะเป็นจริงๆคืออะไร ความสามารถผมว่าคุณไม่น่าจะมีปัญหาอะไรนักหนา ส่วนโอกาสนั้น ก็ต้องจ้อง ดูแสวงหา เหมือนกัน แต่อย่าลืมว่า "เวลา" เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดเหมือนกัน และระยะเวลาที่ปัจเจกบุคคลที่ต้องเสียไป ย่อมไม่เท่ากันอยู่แล้วครับ .. เมื่อ คุณพชระ วิเคราะห์ ตรงนี้แล้ว ผมเชื่อว่าคำถามที่ว่าจะสอบ กส. หรือไม่ จะมีคำตอบผุดขึ้นมาเองกระมังครับ
หมายเหตุ .....คุณพชระ ลองไปเปิดสมุดเลคเชอร์เมื่อ ๒ ปีที่แล้ว ครั้งเมื่อพี่มติ ตั้งพานิช (ไปพร้อมกับอาจารย์นคร ศรีวิจารณ์) พูดเอาไว้ซิครับ ผมว่าพี่มติท่านตอบคำถามไว้เรียบร้อยแล้วส่วนหนึ่งครับ อาจารย์พิพัฒน์และผม ยังมีโน๊ตไว้เลยครับ
--------------------------------------------------------------------------------
กระทู้จาก จิ้มก้อง (26/02/42)
สอบสัมภาษณ์ ก.ส.รุ่นล่าสุด ทำอย่างงี้ได้ยังไง เพื่อน ๆ ที่เพิ่งผ่านก.ส. เล่าให้ฟังว่า วันสัมภาษณ์ ไปถึงก็ได้รับกระดาษคนละใบ ให้เอามาเติมคำตอบ เสร็จ แล้วก็เอาไปส่ง เป็นอันว่า จบพิธีสัมภาษณ์ แล้วจะมี"วันสัมภาษณ์" ไปเพื่ออะไรกันละคะ ไม่เอาไปใส่ในการสอบข้อเขียนเสียเลยล่ะ สงสัยจริง ๆ ค่ะ คราวก่อน ยังมีคณะกรรมการมาสัมภาษณ์เป็นเรื่องเป็นราวและดูตั้งใจมากอยู่เลยนะคะ
Yodyiam Teptaranon (01/03/42)
อ่านคำถามคำตอบนี้ครั้งแรก ไม่อยากจะออกความเห็นเลยครับ เพราะรู้สึกเสียดสีและไม่ค่อยสร้างสรรนัก แต่พออ่านอีกหลายๆรอบ ก็ตัดสินใจเขียน นี่แหละครับ ผมสรุปอย่างนี้นะครับ
เรื่องตรงนี้บังเอิญผมอยู่ในเหตุการณ์พอดี เพราะเมื่อทราบผลของผู้สอบผ่านข้อเขียนปีนี้ ๓๐๐ ท่านแล้ว ก็มีการพิจารณากันในกรรมการ กส. (ซึ่งผมเป็น คนหนึ่ง ในนั้นเหมือนกัน) ที่ประชุมมีนโยบายที่อยากจะให้ผู้ที่สอบผ่านข้อเขียน ถ้าเข้ามาสอบสัมภาษณ์ก็น่าจะให้ผ่านทั้งหมด เหมือนกับ การสอบ เมื่อสอง ครั้งที่แล้ว ซึ่งผมเอง ไม่เห็นด้วย เพราะรู้สึกเหมือนกับการเล่น ปาหี่สถาปนิก ชอบกล เพราะ หากมีการสอบ ก็ต้องมีมาตรฐานที่ว่า ผ่าน หรือ ไม่ผ่าน ไม่ใช่เวลามาแสดงละคอนกัน ซึ่งที่ประชุม บังเอิญเห็นด้วยกับความคิดนี้
แต่เจ้าหน้าที่ของกองงาน กว.กส. แจ้งว่าตามกฎระเบียบจะต้องมีการสอบสัมภาษณ์ เพราะว่าเป็นกฎระเบียบที่บัญญัติไว้ทางราชการ ก็เลยต้อง มีการ พิจารณาต่อ ต้องใช้กฎหมายเรื่องการเอื้อประโยชน์ ต่อผู้เข้าสอบ และตีความเรื่องสัมภาษณ์ว่าเป็นเอกสารได้ จึงออกมาเป็นแบบที่ว่านี้ ทำ ให้ท่าน เจ้าของ กระทู้ อารมณ์ไม่ค่อยดียังไงครับ
หากมีคำถามหรือความคิดเห็นจะแนะนำประการใด กรุณาอย่าเกรงใจที่จะคุยกันครับ แต่ขอกรุณาใช้ชื่อจริงกับกระทู้แบบนี้จะดีที่สุดครับ และ ขอความกรุณา อย่าเสียดสีเลยนะครับ ออกมายืนกลางแดด ให้คนรอบข้างเขาเห็นชัดๆดีกว่ากระมังครับ
--------------------------------------------------------------------------------
คำถาม จาก สรชัย กรณ์เกษม (06/06/42)
พี่ยอดเยี่ยมครับ มีคำถามเกี่ยวกับวิธีการประเมินผลการสอบครับ อยากทราบเพื่อจะได้เข้าใจถึงบทเคราะห์ที่พี่รวบรวมไว้น่ะครับ (หรือพี่พอจะกรุณาสรุปคร่าวๆถึงหลักการก็ได้ครับ)
1. การสอบผ่านหรือไม่ผ่านในแต่ละวิชา ใช้อะไรเป็นเกณฑ์ครับ (ทั้งปรนัยและอัตนัย) ถ้าเป็นปรนัย คงไม่ใช่ได้ 50 จาก 100 ถือว่าผ่านใช่มั้ยครับ หรือถ้าเป็นอัตนัย ใช้ผู้ตรวจกี่ท่านครับ แล้วเกณฑ์คะแนนอย่างไร? อ้อ!! แล้วอัตราส่วนคำถามปรนัยกับอัตนัยเป็นอย่างไรครับ?
2. มีข้อสอบปีก่อนๆเป็นตัวอย่างมั้ยครับ ถ้ามีหาดูได้จากที่ไหนครับ?
3. ความยากง่ายของข้อสอบวัดอย่างไรกันครับ
ขอเบาะๆ แค่นี้ก่อนนะครับ อยากทราบพื้นฐานข้อมูลก่อน เพื่อจะได้ช่วยกันวิเคราะห์ต่อๆไปครับ...ขอบพระคุณมากครับ
ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ (07/06/42)
เรียนคุณสรชัย ขอเริ่มด้วยการตอบปัญหาเป็นข้อๆเลยดีกว่านะครับ แล้วค่อยกันเรื่องอื่นภายหลัง
๑. เรื่องของผลการสอบ นั้นสามารถดูได้ที่รายละเอียดซึ่งคุณพชระช่วยทำบันทึกเอาไว้ และแปลเป็นกราฟให้ด้วยแล้วครับ
http://www.asa.or.th/News/General/graph.html ๒. ข้อสอบมีตัวอย่าง (เปิดเผย) หาดูได้ทั่วไป เช่นในห้องสมุดทุกมหาวิทยาลัย (ผมส่งไปให้หมดแล้ว) หรือที่สมาคมสถาปนิกสยามฯ แต่คุณอยู่ถึงเมืองลุงแซมก็ยากหน่อยละครับ แต่ถ้าคุณสรชัยบอกที่อยู่มาจะเมล์ส่งไปให้ หรือหากไม่ใช่เรื่องยากมาก (ผมไม่ทราบจริงๆว่ายากหรือง่ายแค่ไหน) ฝากคุณพชระ (ถ้าว่าง) เอาลงในเมนท์เพจของสมาคมฯ ก็ไม่เลวนัก
๓. ความยากง่ายของข้อสอบวัดโดยกลุ่ม Brain Strom ที่มีนักวิชาชีพและครูบาอาจารย์ทางการศึกษา เป็นผู้ประเมินครับ (ไม่แน่ใจว่าตอบคำถามตรงหรือเปล่า หากไม่ตรงช่วยถามมาใหม่ด้วยน้อ) ถ้าเอาเกณท์การปฎิบัติวิชาชีพจริงตามกฎกระทรวงว่าภาคีสถาปนิกทำอะไรได้แต่ผู้เดียว ในความคิดของผมคิดว่าข้อสอบค่อนข้างง่ายมากๆ แต่ถ้าเอาเกณท์ของบัณฑิตจบใหม่ที่ไม่มีประสพการณ์เลยมาวัด ผมว่าก็เคี้ยวยากอยู่นา
ผมคิดว่า "การสอบ กส." เป็นการวัดผลเพื่อสร้างมาตรฐานที่เท่าเทียมกันของทุกคน แต่ไม่ใช่เกณท์มาตรฐานที่สามารถวัดทุกสิ่งทุกอย่างได้ (เหมือนกับการสอบเคนชิกุชิของญี่ปุ่น หรือ เอไอเอ ของอเมริกา หรือแม้กระทั่งกรรมการควบคุมการโยธาย่างกุ้งของประเทศพม่า ฯลฯ) ดังนั้นข้อสอบจึงต้องระมัดระวังให้ "เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด" ซึ่งที่พยายามทำกันก็คือต้องสร้างกลุ่ม Brain Strom ให้มีความหลากหลายอย่างยิ่ง ทั้งเพศ วัย สถาบัน การปฎิบัติวิชาชีพ ฯลฯ รวมถึงต้องจัดตั้งคณะทำงานอีกหลายชุด เพื่อเกิดการตรวจสอบทุกอย่าง ....ก็อย่างที่ผมบอกละครับว่า หลายๆสิบชีวิต เข้ามาร่วมทำกันตรงนี้แหละครับ .....และหวังว่าอีกหลายชีวิต ก็คงจะต้องรบกวนกันจากผู้คนแถวนี้ล่ะครับ
ขอพอแค่นี้ก่อนนะครับ เรื่องการออกข้อสอบนี้ ผมคงจะมาตั้งกระทู้ถามเป็นเรื่องเป็นราวอีกครั้ง เพราะตอนนี้ก็กำลังสรุปวันสอบอยู่ ครั้งแรก ก็ตั้งอาทิตย์ สุดท้าย ของ เดือนธันวาคม ก็ติดเรื่องเดินทางปีใหม่สำหรับผู้อยู่ต่างจังหวัด ก็เลยเลื่อนมาอาทิตย์รองสุดท้าย .....นี่เพิ่งทราบจากท่านคณบดีขอนแก่นว่า ขอนแก่นเลื่อนจากอาทิตย์ที่ ๒ เป็นอาทิตย์ที่ ๓ แล้วเรื่องการรับพระราชทานปริญญา ก็คงจะต้องเลื่อนไปวันที่ ๑๓-๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๒ กระมัง (ท่านอาจารย์อินทิรา ซึ่งเป็นรองประธานจัดสอบ กำลังตรวจสอบอย่างขมักเขม้นกับทุกมหาวิทยาลัยอยู่ครับ)
--------------------------------------------------------------------------------
คำถามจาก สรชัย กรณ์เกษม (08/06/42)
ขอบคุณพี่ยอดเยี่ยมครับ คำถามข้อแรกผมคงไม่เครียร์เท่าไหร่ครับ ที่จริงตั้งใจจะถามว่า เกณฑ์ที่วัดว่าสอบผ่านกับไม่ผ่านดูอย่างไร ส่วนกราฟนั้นคงจะเป็นจำนวนอัตราส่วน(%)ของผู้ที่สอบผ่านในแต่ละวิชาต่อของผู้เข้าสอบ
แต่คำตอบข้อที่สามเกี่ยวกับความยากง่าย ผมค่อนข้างเคลียร์ถึงกลยุทธ์ในการวัดผล (ที่ใช้ความหลากหลายของสมอง) กระบวนการกลั่นกรองคงมีมากอยู่แล้ว ไม่น่าห่วงครับ ตอนแรกๆเพียงแต่ข้องใจ เพราะไม่แน่ใจว่า"การสอบผ่าน" วัดที่คะแนนมากน้อยหรืออย่างไร หรือวัดที่ค่าเฉลี่ยของกลุ่มผู้สอบ ไม่ทราบว่ายิ่งสับสนรึปล่าวครับ??
ขอยกตัวอย่างเช่น ถ้าสมมติมีคะแนนสอบแต่ละวิชาเต็ม 100 และเกณฑ์ผ่านคือต้องได้ 70คะแนนเป็นอย่างน้อย แล้ว"อะไร" คือเกณฑ์ 70 ที่ว่า...ทำไมต้อง 70??? แล้วทำไมถึงผิดพลาดได้ 30??? อะไรทำนองนี้ (เป็นแค่ตัวอย่างนะครับ) เพราะจริงๆเกณฑ์อาจจะอยู่ที่อื่นๆ (ซึ่งผมไม่ทราบ) สงสัยจริงๆครับ
ส่วนตัวอย่างข้อสอบ คงมิบังอาจรบกวนขนาดต้องส่งมาถึงที่นี่หรอกครับ แต่ถ้าได้ไว้ในเวปไซท์ คงจะเป็นประโยชน์กับทุกๆท่านด้วย ขอบคุณมากๆนะครับพี่ยอด
ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ (09/06/42)
เรียนคุณสรชัย คะแนนผ่าน = 60% ครับ ตรงนี้เป็นกฎหมายนมนานแล้ว ซึ่งกลุ่มระดมสมองเราก็คิดกันว่าทำไมต้อง ๖๐ (เพราะการผิดพลาดถึง ๔๐ มันอาจจะไม่ใช่เรื่องเล็กเลย) แต่การแก้กฎหมายก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้กฎหมายที่ไป "จำกัดสิทธิผู้อื่น" แค่ให้มีการสอบก็มีผู้ไม่เห็นด้วยหลายคนแล้ว อีกทั้งยังมีคำถามอีกว่า ทำไมถึงจัดสอบเฉพาะ "สถาปนิกเด็ก" แล้วสถาปนิกแก่ๆ (อย่างคุณอย่างผม) ทำไม่ไม่สอบด้วยล่ะ
การแก้ไขที่กลุ่มระดมสมองเขาสรุปในตอนแรกก็คือ อยากจะให้มีข้อสอบบางข้อเป็น Check Point ที่เป็นความ "ต้องรู้" serious สำหรับสถาปนิก หากใคร ไม่ผ่านเช็คพ๊อย ตรงนั้สัก ๒-๓ ข้อก็ให้ "ไม่ผ่าน" .......แต่ก็ทำไม่ได้ เพราะไม่มีระเบียบหรือกฎข้อไหนให้อำนาจตรงนี้ไว้ (เบื่อไม๊ครับ) แต่หลังจาก พยายาม หาทางออก กันอยู่พักใหญ่ ก็เลยเกิดเช๊คพ๊อยใหม่ขึ้นมา แทนที่จะให้ไม่ผ่านในหัวข้อที่สำคัญแล้วปรับตก กลายเป็นว่า หาก ใคร ผ่านหัวข้อที่สำคัญตรงนี้ ก็ให้ "บวกคะแนนเพิ่ม" เข้าไปให้ฟรีๆอีก (แปลว่าเกณท์ผ่านคือ ๖๐ แต่คะแนนเต็มไม่ใช่ ๑๐๐ ก็ได้ อาจจะเป็น ๑๐๕ ก็ได้ครับ) ...เวียนหัวกับการแก้ปัญหาแบบไทยๆที่เอากฎหมายเป็นสรณะไม๊ ...แต่ก็ยังดี เพระทำให้ผู้ที่มีภูมิพื้นฐานสถาปัตยกรรมแน่น แต่อาจจพลาดในข้ออื่น ได้มีโอกาสเป็น "สถาปนิก" ได้ครับ
เอาแค่นี้ก่อนดีไม๊ เดี๋ยวจะต้องวิ่งออกไปประชุม(อีกแล้ว) คุณสรชัยช่วยกรุณาติดตามเรื่องนี้หน่อย (การสอบ กส.) นะครับ ขอเป็น กลุ่มระดมสมองด้วย อีกคนก็แล้วกันครับ แล้วผมจะตั้งกระทู้เรื่องระดมสมองข้อสอบ กส. ในที่นี้ต่อไปครับ
ปล. เรื่องโดนกวนโอ้ยบ้างนั้น อย่าไปซีเรียสเลย เป็นประสาทไปเปล่าๆน่า "นักรบทั้งหลายเมื่อออกรบก็ต้องมีแผลอยู่แล้ว สำคัญแต่ว่าให้บาดแผลนั้นมันอยู่ข้างหน้า ถ้าบาดแผลอยู่ข้างหลัง เขาไม่เรียกว่านักรบหรอกครับ"
--------------------------------------------------------------------------------
คำถามจาก วิชิต หอยิ่งสวัสดิ์ (02/09/42)
ผมได้ข่าวมาว่าปีหน้าจะมีการจัดตั้งสภาสถาปนิกขึ้นมาและการสอบ ก.ส.. อาจจะถูกยกเลิกไปด้วย ไม่ทราบว่าถ้าปีนี้ผมสอบ ก.ส. แล้วยังเก็บวิชาที่สอบผ่านได้ไม่ครบอยากถามผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องว่า ปีหน้าผมยังสามารถใช้สิทธิในวิชาที่ผมสอบผ่านมาได้ในนับคะแนนต่อหรือว่าจะยกเลิกคะแนนที่ผมเก็บมาได้ทั้งหมดแล้ว มาใช้เงื่อนใขในการสอบในปีหน้าครับ พูดง่ายๆก็คือ ถ้าเก็บไม่ครบทุกวิชาในปีนี้ ปีหน้าผมต้องมาเริ่มที่ศูนย์ใหม่อีกครั้งหรือเปล่าผมอยากรู้จริงๆนะครับ
ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์(02/09/42)
ตาม พรบ.สภาสถาปนิก กำหนดไว้ว่า กฎกระทรวง หรือข้อบังคับ หรือคำสั่ง ต่างๆของกระทรวง หรือของกรรมการ กส. จะยังคงไว้ทั้งหมดทั้งสิ้น ยกเว้นจะมีการเปลี่ยนแปลงโดยกรรมการชุดใหม่ หรือคณะรัฐมนตรีในเรื่องของการสอบนี้ เชื่อมั่น 100% ว่าทุกอย่างที่ได้ทำไปแล้วจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง เพราะหากเปลี่ยนแปลง โลกคงจะแตก ครับ โดนผู้ที่ได้สิทธิเดิมไว้แล้ว เคาะโลกครับ
--------------------------------------------------------------------------------
คำถามจาก gobgab (08/08/42)
ผมเรียนจบสถาปัตยกรรมภายใน ปัจจุบันทำงานในบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ตำแหน่ง "สถาปนิก" ตอนนี้เจ้านายต้องการให้ไปสอบใบ กส.ไม่ทราบว่าต้องทำอย่างไรบ้าง
ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ (08/08/42)
1. ถ้าสอบในกรณี "สถาปัตยกรรมหลัก" ต้องตรวจสอบกับสถาบันที่จบมาครับ แต่คาดว่า ไม่น่าจะมีหลักสูตรเพียงพอตามที่เขากำหนดครับ (หมายถึงคุณสมบัติตามมาตรา ๑๙ (ข) และ (ค) น่ะครับ)
2. ถ้าเป็นกรณีใบประกอบวิชาชีพตาม กฎกระทรวงฉบับที่ ๙ "สถาปัตยกรรมมัณฑนศิลป์" ตอนนี้ยังไม่มีการออกข้อบังคับ จึงยังไม่มีการสอบหรือมีใบอนุญาตครับ (มีบทเฉพาะกาลไว้ ๒ ปีครับ) ทั้งนี้แนะนำให้ลองติดต่อกับ TIDA สมาคมมัณฑนากร ครับ
มีคำถามใดเพิ่มเติม กรุณาอย่าเกรงใจที่จะถามครับ ผมตอบไม่ได้ ก็จะพยายามแนะนำหน่วยงานที่น่าจะมีคำตอบให้ครับ
--------------------------------------------------------------------------------
กระทู้:จาก adisak73.hotmail.com (07/09/42)
เรื่องประเภทของการสอบ กส. ครับ การขออณุญาติสอบ กส. ตามวิชาชีพสถาปัตยกรรมประเภทภาคี มีแบบ ก,ข และ ค. นั้นทาง กส. แบ่งแยกประเภทอย่างไรบ้างครับ ขอบคุณครับ
เกิด (08/09/42) เด็กเก่า (08/09/42) นที (08/09/42) เล็กแห้ง (09/09/42)
ภาคีสถาปนิกมีประเภทเดียว แต่การขอรับใบอนุญาตมี 3-4 เงื่อนไข
1. ประเภท (1)ก จบปริญญาตรี สถ.เพียว ไม่ต้องมีผลงานออกแบบหรือประสพการณ์มีสิทธิสอบได้เลย
2. ประเภท (1)ข . จบครุสถาปัตย์ ส่วนประเภท จบตรีครุถาปัตย์ จบ ปวสมีผลงานและผ่านงานออกแบบไม่น้อยกว่า 2 ปีมีสิทธิขอทดสอบ จบตรีครุถาปัด เทียบเท่าอนุปริญญา หรือ ปวส. ตาม 19 (ข) มีสิทธิสอบเมื่อเรียนจบ เพราะมีประสพการณ์ครบ ๒ ปี เท่ากับเวลาที่ใช้เรียน แต่ต้องหาคนเซ็นรับรอง
3. ประเภท.(1)ค. น่ะจบ ปวช. สถาปัตย์ มีผลงานและผ่านงานออกแบบประกอบวิชาชีพตามหลักเกณ์ที่กำหนดในกฏกระทรวงไม่น้อยกว่า 3 ปี มีสทธิขอทดสอบ
ขอเพิ่มเติมข้อมูลอีกนิดนะครับ ไม่ว่าจะเป็นประเภท 19 (ก) (ข) หรือ (ค) ต้องเป็นผู้ที่จบจากสถาบันที่ กส. รับรองแล้วเท่านั้นนะครับ จึงจะมีสิทธิ์สอบขอรับใบอนุญาต จาก กส.ได้
ต้องการรายละเอียด ค้นดูในหนังสือ "คู่มือสถาปนิก 2537" หรือ "กฎหมายอาคาร อาษา 2538" ในหัวข้อ "พระราชบัญญัติ วิชาชีพสถาปัตยกรรม พ.ศ.2508 มาตราที่ 19"
--------------------------------------------------------------------------------
จาก เกรียงไกร พ. (14/09/42)
ได้ทราบข่าวจากเพื่อนที่ต้องสอบ ก.ส. มาว่า การที่ปีหน้าสภาสถาปนิกจะเกิดขึ้นแล้วจะทำให้การสอบ ก.ส.ครั้งที่จะถึงนี้เป็นครั้งสุดท้ายนั้น
1. หากการสอบครั้งหน้านี้ยังสอบไม่ผ่านนั้น(มีวิชาที่สอบผ่านแล้ว) จะทำให้ต้องมาเริ่มสอบใหม่หมดเลยหรือไม่(ต้องสอบใหม่ทั้ง6วิชา)ทั้งที่ยังสอบไม่ครบ 4 ปี
2. มีอีกกระแสบอกว่า จะไม่ต้องเริ่มสอบใหม่หมด แต่จะซับซ้อนในการติดต่อเพื่อสอบ(วุ่นวายเพราะระบบหรือเปล่าไม่ทราบ) ขอช่วยชี้แจงเหตุผลอย่างระเอียดด้วย เนื่องจากทางก.ส.นั้นไม่ค่อยทราบรายละเอียดเท่าไหร่ บอกว่าให้ติดต่อกับทางสมาคมฯ
3. และอีกประการคือ สภาสถาปนิกจะออกข้อสอบเองหรือไม่(เพื่อนบอกว่าเพราะเหตุนี้จึงต้องทำการเริ่มสอบใหม่ทั้ง 6 วิชา) เพราะถ้าเป็นด้วยสาเหตุนี้ กระผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง เนื่องจากข้อสอบเดิมทางอาจารย์จากสถาบันต่างๆก็เป็นผู้ออกข้อสอบอยู่แล้วมิใช่หรือ
ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ (14/09/42)
ผมเชื่อว่าจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเรื่องการสอบ ไม่ว่าจะมีสภาสถาปนิกหรือไม่ก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ได้เคยสอบไปแล้ว และผู้ที่กำลังจะสอบปีนี้ (ปีหน้าไม่ทราบครับ) ไม่ต้องห่วงอะไรครับ วิชาใดที่สอบผ่านไปแล้ว ไม่มีการต้องสอบใหม่แน่นอน (ถ้ามีใครมาเปลี่ยนเงื่อนไขตรงนี้ ผมจะช่วยเป็นปาก เป็นเสียง เป็นกำลังให้อีกคนครับ) ส่วนเรื่องการออกข้อสอบโดยสภาสถาปนิก (เมื่อมีสภาฯเรียบร้อยแล้ว) ก็คงต้องเป็นอย่างนั้นกระมังครับ .....ย้ำ ..แต่การสอบที่ผ่านมา จะไม่มีการถูกยกเลิกแน่ๆครับ ....ไม่งั้นคงจะโลกแตกได้นาครับ
--------------------------------------------------------------------------------
จาก ผู้ยังไม่สิ้นหวัง (14/09/42)
ผมเป็นผู้หนึ่งที่ไม่ได้จบปริญญาตรีสถาปัตย์ แต่ผมมีวุฒิที่สามารถสอบ กส. ได้ ผมอยากทราบว่า เมื่อมีการก่อตั้งสถาปนิกสภาเรียบร้อยแล้ว การกำหนดระยะเวลาในการสอบ กส. ๖ วิชาภายใน ๔ ปี ยังเป็นเหมือนเดิมหรือไม่ และถ้าผมไม่สามารถสอบได้ภายในระยะเวลา ๔ ปี ผมสามารถสอบใหม่ได้หรือไม่ครับ รวมถึงรุ่นพี่ๆที่สอบไม่ผ่านไปแล้วด้วยนะครับ
ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ (15/09/42)
เรียนท่านผู้ถามครับ ผมตอบไม่ได้จริงๆครับว่า เมื่อมีสภาสถาปนิกแล้ว อะไรจะเปลี่ยนไปบ้าง และตอนนี้ยังไม่มีความคิดจะไปเป็นกรรมการสภาด้วยครับ แต่เชื่อมั่นว่า "สิทธ์ใดที่เคยมี และได้ใช้สิทธิ์นั้นไปแล้ว (ทั้งหมดหรือบางส่วน) จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง" แน่ๆเลยครับ ขอให้กำลังใจ และอวยพรให้สอบผ่านอย่างสบายๆ เป็นการล่วงหน้านะครับ
--------------------------------------------------------------------------------
กระทู้จาก สงกรานต์ จอมเดช (28/04/42)
ต้องการสมัครสอบ กส. (สถานที่ และ หลักฐาน ) จบ ปวส. ครับ
สมาชิก 5412 (29/04/42)
สมัครสอบ ก.ส.ที่ สำนักงานคณะกรรมการ ก.ส. ถนนวิสุทธิ์กษัตริย์ ปากซอยเป็นที่ตั้งโรงแรมตรังโฮเต็ล หรือติดต่อผ่านทางสมาคมฯสอบถามพื่แดง(อ.อินทิรา)ถึงคุณสมบัติของผู้ที่จะขอสอบ ก.ส.เสียก่อน หลักฐานประกอบด้วย
1.รูปถ่าย
2.ใบรับรองแพทย์
3.Transcrips ฉบับจริง และสำเนา 1 ฉบับ
4. ใบรับรองการจบการศึกษา หรือปริญญาบัตร
จำได้เพียงเท่านี้คงพอจะเป็นประโยชน์บ้าง
วิษณุ เจริญวิถี (28/04/42)
ผมว่าทางที่ดีคุณสงกรานต์ สอบถามไปยังสมาคมฯเองดีกว่าครับ และอีกอย่างคุณต้องเช็คไปยัง กส. ด้วยว่าสถาบันที่คุณจบมาทาง กส. ได้รับรองหลักสูตรหรือยัง และคุณยังต้องมีประสบการณ์ การทำงานอย่างน้อย อีก 3 ปี
xxx (03/05/42)
การสอบก.ส.ในปีนี้จะจัดสอบกันครั้งเดียว เริ่มสมัครสอบวันที่ 1-15 ก.ย.42 โน่นแนะค่ะ แล้วก็จะไปสอบราวๆเดือนธันวาคม สถานที่สมัครก็ที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ส.ข้างต้น
--------------------------------------------------------------------------------
กระทู้จาก tintin (24/03/42)
จบแล้วทำงานมา 10 กว่าปี อยากไป Upgrade เป็นสามัญ ช่วยแนะนำหน่อยครับ ตั้งแต่จบมา ผมทำงานบริษัทรับเหมาก่อสร้าง(ของ ญี่ปุ่น) มาตลอด อยู่ Site คุมงานมา 7-8 Project มีทั้ง Factory , Warehouse , Office ผลงานส่วนใหญ่จะเป็นการคุมงาน (ผมก็อยู่ site office ตลอด จบเป็นงาน ๆ ไม่ได้วิ่งรอก)
โชคดีด้วยที่ยังใช้เวลาช่วงนั้นไปเรียนต่อปริญญาโทที่จุฬามาได้อีกใบนึงโดยที่มันไม่ไล่ออกซะก่อน(บริษัทผมมันไม่ค่อยสนับสนุนให้คนไปเรียนต่อด้วยสิครับ สมัยนั้น มันบอกว่า เราต้องการคุณในวุฒิแค่ปริญญาตรีตอนรับคุณเข้ามา ถ้าคุณทำเสียงานเพราะการไปเรียน เราก็ไม่ต้องการคุณ แสบจริง ๆ) มีงานออกแบบที่ Office ให้ผม In charge ก็คือ Clear แบบ Shop Drawing แล้วก็ Clear Design กับลูกค้า ซึ่งการ Clear แบบ นั้นคือ ทำ Requirement ให้เป็นรูปธรรม จากแค่พื้นที่ ๆ ต้องการเท่านี้ ๆ Finishing อย่างนี้ ๆ Structure อย่างนี้ ๆ ฯลฯ ออกมาเป็นแบบ ก่อสร้าง ข้อมูลทั้งหมดจะถูกส่งกลับไปที่ Tokyo ไปทำ Contract Drawing กันที่นั่น เสร็จแล้วก็ส่งกลับมาขออนุญาต โดย Drawing ที่ใช้เป็น Drawing ที่เขียนส่งมาจากที่ญี่ปุ่น อันเดียวกับที่ใช้ทำ Contract เอาอันนั้นแหละไปขอ ผมก็มาลงชื่อเป็น Architect In charge แล้วก็ส่งไปขออนุญาต
โดยที่ลงชื่อคุมงาน Project นั้นด้วย อยู่ตลอดจน Handing Over งาน แล้วก็ไปเริ่มงานใหม่เป็นวัฎจักรดังนี้เกือบ 10 ปี งานส่วนใหญ่ทั้งหมดผมจะขออนุญาตก่อสร้างกับการนิคมอุตสาหกรรมครับ งานส่วนตัวมีบ้านญาติแค่หลังเดียว นั่นก็ไม่มีปัญหาอะไรเพราะออกแบบจริง ๆ เขียนแบบเอง คุมก่อสร้างเองด้วยจนเสร็จ
ผลงานของผมเท่าที่ผ่านมาดังกล่าว ถ้าจะเอาไป Apply เลื่อนขั้นเป็น สามัญ สถาปนิก ใช้ได้หรือเปล่าครับ เพราะบอกตามตรง Office ผมไม่ใช่ Office Design งานที่รับผิดชอบอยู่นั้นตลอด 10 ปีไม่เคยเปลี่ยนงานเลย ก็มีอยู่เท่านี้จริง ๆ ไม่ทราบว่าเข้าข่ายสามารถอ้างอิงได้หรือไม่ ต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง ต้องสอบอะไรหรือเปล่า มีสัมภาษณ์อะไรไหม ที่ต้องมาขอตอนนี้ เพราะท่าทางบริษัทผมมันจะแย่แล้วครับ เดี๋ยวหาผลงานอ้างอิงไม่ได้ ถ้ามันเจ๊งไปแล้วลอยแพพนักงาน อย่างน้อยเอาผลงานมาใช้ซะก่อนตอนที่ยังพอไขว่คว้าได้ตอนนี้ ไม่งั้น 10 ปีที่ผมอยู่นี่ไม่ได้อะไรขึ้นมาเลย น่าเสียดายครับ ตอนทำงานอยู่ก็ไม่ได้เป็นพระเอก เป็นพระรองตลอด (ก็ทำกับบริษัทรับเหมานี่ครับ) ขอขอบคุณล่วงหน้าสำหรับผู้ที่จะผ่านเข้ามาให้คำแนะนำทุกท่านครับ
สมาคมสถาปนิกฯ(24/03/42)
ทางก.ส.เป็นผู้พิจารณาเรื่องการเลื่อนขั้น สอบถามได้ที่ก.ส. เบอร์โทรศัพท์ 281-1421 ต่อการเลื่อนประเภท
คมกฤช ชูเกียรติมั่น (25/03/42)
ผมขอเล่าประสบการณืที่เคยขอเลื่อนวุฒิจากภาคีเป็นสามัญ ดังนี้ครับ (เท่าที่พอจำได้)
1) คุณ tintin ตรวจสอบว่าคุณ tintin เซ็นต์แบบผุ้ออกแบบคนเดียวหรือไม่ หากใช่ ให้ถือว่างานนั้นได้ 100 ตะแนน (100%) หากเซ็นต์ร่วมกับผู้อื่น ถ้าเป็นหัวหน้างาน ได้ 60 คะแนน (หากจำไม่ผิด) หากเป็นผู้ร่วม ได้ 40 คะแนน เข้าใจว่าเป็นการคุมงานก็ได้ โดยส่วนใหญ่ภาคีมักเป็นผู้ร่วมออกแบบเนื่องจากข้อจำกัดของวุฒิในการเซ็นต์งาน สำหรับงานที่อยู่ในข่ายที่นำมาเป็นข้อมูลการยื่นต้องเป็นงานที่สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว เพราะจะต้องมีแบบและรูปถ่ายยื่นประกอบด้วย
2) คิดอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ได้ครบ 700 คะแนนเมื่อไหร่ก็สามารถยื่นคำร้องขอเลื่อนวุฒิได้ โดยมีเอกสารที่ควรเตรียมดังนี้
2.1) แบบไขต้นฉบับของงานที่จะนำมาขอยื่น ซึ่งมีลายเซ็นต์ของคุณ tintin ในฐานะผุ้ออกแบบ หรือควบคุมงาน เพราะ กส. จะประทับตราว่าแบบนี้ได้ผ่านการนำามาใช้ขอเลื่อนวุฒิแล้ว
2.2) นำแบบของงานที่ใช้ขอเลื่อนวุฒิทั้งมหด ถ่ายสำเนาเป็น A4 พร้อมรูปถ่ายของงานที่เสร็จแล้วทั้งภายนอกและภายใน ให้ทราบพอประมาณว่างานเสร็จ ไม่มีปัญหาใดๆ เข้าเล่มให้เรียบร้อย
2.3) กรอกใบคำร้องขอเลื่อนวุฒิ ซึ่งไปเอาได้ที่ กส. อยู่แถวๆบางขุนพรหม (ถ้าผมเรียกไม่ผิด) เบอร์โทรตามที่สมาคมแจ้งข้างต้น
3) จะต้องมีผู้ลงนามรับรองคุณ tintin โดยเป็นสถาปนิกขั้นสูงกว่า (รายละเอียดอันนี้ลืมไปแล้วครับว่าต้องลงนามในที่ใดบ้าง คุณ tintin คงต้องสอบถามเพิ่มเติม)
4) จะมีการนัดวันจาก กส. (หากเอกสาร OK) เพื่อซักถาม เหมือนสอบสัมภาษณ์ครับ เพื่อจะซักถามให้แน่ใจว่าเราเป็นผู้ออกแบบ และควบคุมงานนั้นจริงๆ ไม่ใช่ไปยืมแบบคนอื่นมาขอเลื่อนวุฒิ
เป็นข้อมูลเท่าที่ผมจำได้ครับ รายละเอียดคงต้องถาม กส.แล้วละครับ ไม่ทราบว่าจะมีการเพิ่มรายละเอียดอะไรอีกหรือเปล่า
ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ (26/03/42)
เรียนคุณ tintin
ขออนุญาตตอบประเด็นคำถามของคุณตินตินออกเป็น ๒ ประเด็นครับ ประเด็นแรกเป็นเรื่องของการจะเลื่อนวุฒิเป็นสามัญสถาปนิก ส่วนประเด็นที่สอง เป็นเรื่องข้อแนะนำส่วนตัวในฐานะที่อาวุโสกว่า และทำงานเกี่ยวข้องกับการอำนวยการก่อสร้าง(เพื่อเลี้นงชีพ)เหมือนกัน
ข้อมูลเกี่ยวกับการเลื่อนขั้นสถาปนิก สาระทั้งหมดได้รวบรวมอยู่ใน หนังสือคู่มือสถาปนิก 2537 จัดพิมพ์โดยสมาคมสถาปนิกฯ เมื่อปี ๒๕๓๗ และตอนนี้หนังสือเล่มนี้ยังมีขายอยู่ที่สมาคมฯ คุณตินติน (หรือทินทิน) สามารถเปิดดูได้โดยเริ่มตั้งแต่หน้า ๗๔ เป็นต้นไป (หรือจะไปที่สมาคมแล้วขอถ่ายเอกสารก็ได้กระมังครับ) ถ้าไม่มีเวลาผมสรุปให้ดังนี้ก็แล้วกันครับ (เฉพาะสำหรับการเลื่อนขั้นจากภาคีสถาปนิก ไปเป็นสามัญสถาปนิกเท่านั้นนะครับ)
๑.) มีผลงานเป็นงานออกแบบอย่างเดียวไม่น้อยกว่า ๓ ผลงาน หรืองานออกแบบ ๒ ผลงาน และงานอำนวยการก่อสร้าง ๓ ผลงาน (ความตามข้อ ๗ ในข้อบังคับ กส. ลว. ๖ มิถุนายน ๒๕๓๒)
๒.) การคิดผลงานถ้าทำคนเดียวถือว่าเป็น ๑ ผลงาน (100%) ถ้าเป็นการทำหลายคน (รับผิดชอบหลายคน) หัวหน้าทีมคิดเป็น .๖๐ ผลงาน (60%) ส่วนผู้ช่วยหรือผู้ร่วมงานได้ .๔๐ ผลงาน (40%) ถ้ามีผู้ช่วยหลายคน ก็เฉลี่ยเจ้าตรงสี่สิบเปอร์เซ็นต์นี้ไปเท่าๆกัน เช่นมีผู้ช่วยห้าคน ก็เฉลี่ยคนละ = 40/5 = 8% (ข้อ ๑๐ ในข้อบังคับเดียวกัน)
๓.) หลักฐานที่ต้องจัดเตรียม ก็อยู่ในข้อบังคับดังกล่าว และกระจายอยู่ตามประกาศอื่นๆ (เช่นในหนังสือหน้า ๘๕, ๘๗, ๗๗, ๘๙, ๙๐, ๙๑, ๙๒ เป็นต้น)
๔.) หลักฐานทางด้านการอำนวยการก่อสร้าง ปรากฎอยู่ในหน้าที่ ๙๒ ตามประกาศ กว. กส. เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๓๒ ซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับคุณ tintin ก็คือ ต้องมีสำเนาของเอกสาร ๕ อย่างคือ "เอกสารแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการก่อสร้าง, สัญญาก่อสร้าง, แผนการดำเนินการก่อสร้าง, รายงานการก่อสร้าง, สรุปผลงานก่อสร้าง)
๕.) ตอนที่ผมขอเลื่อนประเภท ก็เวียนหัวดีเหมือนกัน เมื่อทำเอกสารเสร็จแล้ว ได้มอบเอกสารทั้งหมดที่จัดทำขึ้นให้สมาคมสถาปนิกสยามฯ เพื่อให้ศึกษาเป็นตัวอย่างกัน ว่าต้องทำอย่างไรบ้าง หวังว่าตอนนี้ยังคงอยู่ที่สมาคมฯ ถ้ายังอยู่คุณ tintin ก็อาจจะสนใจไปเปิดดูได้นะครับ (แล้วห้ามยิ้มเยาะผลงานผมก็แล้วกันนะครับ)
ข้อแนะนำส่วนตัวให้ฐานะสถาปนิกที่ต้องกินฝุ่นอยู่หน้าสนามด้วยกัน ในกรณีของคุณ tintin ที่อาจกำลังรู้สึกว่าอนาคตอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงนั้น ผมว่าตอนนี้ที่สำคัญที่สุดก็คือการเก็บรวมเอกสารไว้ ให้คนเขาเซ็นลงนามไว้ ถ่ายรูปเอาไว้ (อย่างน้อย ภายนอก ๒ ภาพ ภายใน ๑ ภาพ) รวมๆที่คุณ tintin บอกก็อาจจะได้งานอำนวยการก่อสร้าง สัก สามชิ้นแล้ว จึงเหลืองานออกแบบอีก ๒ ชิ้น ในกรณีที่เจ้านายไม่ลงนามให้ (ไม่ว่าด้วยเหตุใด) อย่าโมโหไปชกปากเขา แต่ไปให้สถาปนิกผู้ออกแบบ หรือวิศวกรผู้ออกแบบ หรือเจ้าของโครงการลงนามแทน ก็น่าจะเป็นหลักฐานอย่างหนึ่งได้
ส่วนงานออกแบบที่บอกว่ามีอยู่ชิ้นเดียวนั้น น่าจะลองไปหาดูดีๆกระมังครับ น่าจะมีอีกก็ได้ ไม่จำเป็นที่ต้องเป็นอาคารเป็นหลังๆก็ได้ ขอเพียงแต่เป็นงานออกแบบ ได้ก่อสร้างจริง (โดยมีการขออนุญาตก่อสร้าง) เขาก็นับทั้งนั้นครับ
แนะนำให้เริ่มเสียตั้งแต่วันนี้ครับ หากยังมีข้อขัดข้องประการใด กรุณาอย่าเกรงใจที่จะเขียนถามลงมาในที่นี้ ถ้าผมไม่ทราบหรือไม่สามารถจะค้นให้ได้ตามเอกสารต่างๆ จะติดต่อสอบถามอนุกรรมการที่พิจารณาบางท่าน (ซึ่งผมรู้จักเป็นส่วนตัวเช่น พี่เลก็ มล.ภูมรีรัตน์ หรือคุณสรศักดิ์ axis เพื่อนำความมาแจ้งครับ หากมันยากจริงๆ ก็จะให้เบอร์โทรศัพท์ไปติดต่อกันเองได้ครับ)
ตอนนี้ผมกำลังรนณรงค์ให้มีการสอบให้หมด หมายความว่า ใครที่เป็นวุฒิ (เช่นตัวผม) หรือสามัญสถาปนิก ให้มีการทดสอบความรอบรู้ทั้งหมด ไม่ใช่สอบแต่น้องๆภาคีเท่านั้น แตรู้สึกว่าท่านกรรมการ กส. (ซึ่งเป็นวุฒิ) จะไม่เห็นด้วย ...แต่หากวันไหนท่านเห็นด้วย คุณ tintin ก็เลยต้องโดนจับทดสอบ ...อย่าว่ากันนะครับ เพราะคนที่เดินไปข้างๆคุณก็คือตัวผมเอง ...ที่จะต้องสอบเหมือนกัน
ประกิตติ (26/03/42)
ผมค่อนข้างเป็นห่วงคุณ tintin ครับ ดูแล้วอนาคตของบริษัทคงไม่ค่อยน่าเชื่อถือ สังเกตได้จากบุคลากรที่ทำงานในบริษัทมา 10 กว่าปียังใช้สรรพนามถึงบริษัทว่า "มัน" แต่เท่าที่บรรยายมา คุณน่าจะมีผลงานพอที่ขอปรับวุฒิได้นะครับ น่าอิจฉาคุณที่มีโอกาสเรียนต่อ ช่วงที่ไม่มีใครสนใจเรียนกัน อาจารย์ที่ปรึกษาตอนผมทำ thesis เคยชวนไปเรียน รับรองว่าจบแน่ถ้าเวลาเรียนครบ แต่ช่วงนั้น บ้าน ที่ทำงาน โรงเรียน ไกลกันเหลือเกิน แถมช่วงนั้นเพิ่งจะมีลูกเล็กๆ เลยไม่ได้เรียน ยังเสียดายมาจนทุกวันนี้ เห็นน้องๆลาไปเรียนกัน ผมรู้สึกอิจฉาทุกที แต่ก็สนับสนุนเต็มที ยิ่งช่วงนี้งานไม่มากนัก หนักไปทางพัฒนาคนดีกว่า
สำหรับท่านผู้รู้ ผมขอข้อมูลเพิ่มเติมครับ ผลงานที่ใช้ขออนุญาตมีกำหนดระยะเวลาหรือเปล่าครับ เช่นต้องเป็นผลงานที่ทำไว้ไม่เกินกี่ปี ผมทำงานราชการไม่ค่อยทราบความเป็นไปของภายนอก งานที่ทำก็ไม่ต้องไปขออนุญาติที่ไหน ที่เคยขออนุญาตก็มีแต่บ้านเล็กบ้านน้อย เลยไม่ได้สนใจจะปรับวุฒิ แต่สงสัยคราวนี้คงต้องเอาจริงสักหน่อย กลัวต้องไปสอบพร้อมพี่ยอดเยี่ยม