แนวข้อสอบ นโยบาย สินเชื่อ ธกส.
1.ข้อใดไม่ใช่ทิศทางนโยบายสำคัญของ ธ.ก.ส.
ก. นโยบายพัฒนาระบบกลุ่มลูกค้าและเครือข่ายโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง
ข. นโยบายสนับสนุนสินเชื่อเชิงรุก
ค. สร้างโครงข่ายข้อมูลสนับสนุนอย่างเป็นระบบ
ง. นโยบายเร่งพัฒนาขีดความสามารถองค์กร
ตอบ ข้อ ค.สร้างโครงข่ายข้อมูลสนับสนุนอย่างเป็นระบบ
2.ข้อใดคือ ค่านิยมขององค์กร ธ.ก.ส.
ก. การมีส่วนร่วม (Participation: P) ของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย
ข. ความสำนึกในหน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงาน (Accountability: A)
ค. ความเคารพและให้เกียรติต่อตนเองและผู้อื่น (Respect: R)
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ข้อ ง. ถูกทุกข้อ
3. ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน ธ.ก.ส. น้อมนำปรัชญาใดมาบริหารงาน
ก.เศรษฐกิจพอเพียง ข. การบริหารจัดการที่ดี
ค. ความรับผิดชอบต่อสังคมและองค์กร ง. การสร้างธนาคารเพื่อการเรียนรู้
ตอบ ก. เศรษฐกิจพอเพียง
4. ข้อใดคืองบประมาณค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามแผนงานสำคัญที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มากที่สุดของ ธ.ก.ส.
ก. สนับสนุนสินเชื่อเพื่อเป็นทุนแก่ภาคชนบทในการดำเนิน กิจกรรมสร้างมูลค่าเพิ่ม
ข. การจัดการบริหารคุณภาพหนี้ตามศักยภาพของเกษตรกร
ค. การเพิ่มมูลค่าผลผลิตด้วยกลยุทธ์ธุรกิจเครือข่ายชุมชน
ง. จัดตั้งและดำเนินธุรกิจบริษัทในเครือ ธ.ก.ส
ตอบ ข้อ ข. การจัดการบริหารคุณภาพหนี้ตามศักยภาพของเกษตรกร
5. ข้อใดคืองบประมาณค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามแผนงานสำคัญที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์น้อยที่สุด ของ ธ.ก.ส.
ก. สนับสนุนสินเชื่อเพื่อเป็นทุนแก่ภาคชนบทในการดำเนิน กิจกรรมสร้างมูลค่าเพิ่ม
ข. การจัดการบริหารคุณภาพหนี้ตามศักยภาพของเกษตรกร
ค. การเพิ่มมูลค่าผลผลิตด้วยกลยุทธ์ธุรกิจเครือข่ายชุมชน
ง. จัดตั้งและดำเนินธุรกิจบริษัทในเครือ ธ.ก.ส
ตอบ ข้อง. จัดตั้งและดำเนินธุรกิจบริษัทในเครือ ธ.ก.ส
6.ข้อใดไม่ใช่โครงการลงทุนที่สำคัญของ ธ.ก.ส.
ก. โครงการพัฒนา ระบบธุรกิจหลัก
ข. โครงการพัฒนา ระบบธุรกิจเสริม
ค. โครงการปรับปรุงระบบบัญชีการเงิน
ง. โครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูล
ตอบ ข้อ ข. โครงการพัฒนา ระบบธุรกิจเสริม
7. ธ.ก.ส.ตระหนักดีว่าการบริหารสิ่งใดเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการประกอบ ธุรกิจธนาคาร
ก. บริหารลูกค้า ข. บริหารผลิตภัณฑ์
ค. บริหารความเสี่ยง ง. บริหารองค์กร
ตอบ ข้อ ค. บริหารความเสี่ยง
8. ข้อใดหมายถึง “ครอบครัว” ตาม พระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรพ.ศ. ๒๕๐๙
ก. บุตรของเกษตกร ข. บิดาของเกษตรกร
ค. มารดาของเกษตรกร ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ข้อ ง. ถูกทุกข้อ
9.เพื่อเป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ใด มาตรา ๗ (๔) ธนาคารจึงประกาศให้ทราบ ว่าธนาคารมีข้อบังคับและระเบียบ เพื่อให้มีผลเป็นการทั่วไปต่อเอกชนที่เกี่ยวข้องมี
ก. พ.ศ. 2540 ข. พ.ศ. 2541
ค. พ.ศ. 2542 ง. พ.ศ. 2543
ตอบ ข้อ ก. พ.ศ. 2540
10.พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ ฉบับที่ 5 คือข้อใด
ก. ว่าด้วยหุ้น
ข. ว่าด้วยการรับฝากเงิน
ค. ว่าด้วยการให้เกษตรกรกู้เงินระยะสั้นและระยะปานกลางสำหรับการเกษตร
ง. ว่าด้วยเงินสงเคราะห์ในกรณีผู้จัดการ พนักงาน หรือ ลูกจ้างตาย
ตอบ ข้อ ข. ว่าด้วยการรับฝากเงิน
11.เปิดตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ เป็นมาตรการของนโยบายการเงินด้านใด
ก. เครื่องมือควบคุมการเงิน ข. เครื่องมือในการควบคุมด้านราคา
ค. เครื่องมือในการควบคุมด้านคุณภาพ ง. รูปแบบนโยบายการเงิน
ตอบ ข้อ ก. เครื่องมือควบคุมการเงิน
12. ธนาคารกลางมักประกาศเพิ่มอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย เพื่อชะลอมิให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อเข้าสู่ระบบเพิ่มขึ้น ในกรณีใด
ก. ในกรณีเงินเฟ้อ ข. ในกรณีเงินฝืด
ค. ในกรณีเงินเฟ้อหรือเงินฝืด ง. ถูกทั้งข้อ ก และ ข
ตอบ ก. ในกรณีเงินเฟ้อ
13. ธนาคารประกาศซื้อหลักทรัพย์คืนจากท้องตลาด เพื่อเพิ่มการหมุนเวียนของปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ เป็นการเปิดซื้อขายตลาดหลักทรัพย์ในกรณีใด
ก. ในกรณีเงินเฟ้อ ข. ในกรณีเงินฝืด
ค. ในกรณีเงินเฟ้อหรือเงินฝืด ง. ถูกทั้งข้อ ก และ ข
ตอบ ข. ในกรณีเงินฝืด
14. ธนาคารกลางจะลดอัตราดอกเบี้ยที่คิดกับธนาคารพาณิชย์ เมื่อธนาคารพาณิชย์มากู้ยืม เพื่อกระตุ้นให้ธนาคารพาณิชย์เร่งปล่อยสินเชื่อเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ในกรณีใด
ก. ในกรณีเงินเฟ้อ ข. ในกรณีเงินฝืด
ค. ในกรณีเงินเฟ้อหรือเงินฝืด ง. ถูกทั้งข้อ ก และ ข
ตอบ ข. ในกรณีเงินฝืด
15. ข้อใดคือ รูปแบของนโยบายการเงิน
ก. นโยบายการเงินแบบเข้มงวด ข. นโยบายเงินตึงตัว
ค. นโยบายเงินคล่องตัว ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ข้อ ก. นโยบายการเงินแบบเข้มงวด
16.หากธนาคารกลางเห็นว่าในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ระบบเศรษฐกิจมีปริมาณเงินและสินเชื่อมากเกินไป สภาพคล่องในตลาดเงินมีมากธนาคารจะต้องทำให้สภาพคล่องในตลาดลดลง โดยใช้มาตรการสำคัญใด
ก. เปิดให้มีการขายหลักทรัพย์ ข. เพิ่มอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย
ค. เพิ่มอัตราดอกเบี้ย ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
17.เพื่อลดแรงจูงใจธนาคารพาณิชย์ในการขอกู้เงินจากธนาคารกลาง คือมาตรการใด
ก. เปิดให้มีการขายหลักทรัพย์ ข. เพิ่มอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย
ค. เพิ่มอัตราดอกเบี้ย ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ค. เพิ่มอัตราดอกเบี้ย
18. ผลของการดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด ทำให้สภาพคล่องในตลาดลดลง อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น การกู้ยืมทำได้ยากมากขึ้น ต้องเสียต้นทุนการกู้ยืมสูงขึ้น จึงเรียกนโยบายนี้ว่าอะไร
ก. นโยบายการเงินแบบเข้มงวด ข. นโยบายเงินตึงตัว
ค. นโยบายเงินคล่องตัว ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ข้อ ข. นโยบายเงินตึงตัว
19. Expansion Money Policy หมายถึงนโยบายใด
ก. นโยบายการเงินแบบเข้มงวด ข. นโยบายเงินตึงตัว
ค. นโยบายเงินคล่องตัว ง. นโยบายการเงินแบบขยายตัว
ตอบ ข้อ ง. นโยบายการเงินแบบขยายตัว
20. ผลของการดำเนินนโยบายการเงินแบบขยายตัว จึงทำให้สภาพคล่องมีสูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยลดลง การกู้เงินทำได้สะดวกขึ้น จึงเรียกนโยบายดังกล่าวว่าเรียกว่าอะไร
ก. นโยบายการเงินแบบเข้มงวด ข. นโยบายเงินตึงตัว
ค. นโยบายเงินคล่องตัว ง. นโยบายการเงินแบบขยายตัว
ตอบ ข้อ ค. นโยบายเงินคล่องตัว
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบตำแหน่งปฎิบัติงานด้านพัฒนาธุรกิจ ธ.ก.ส. ใหม่ล่าสุด