เทคนิคการสอบสัมภาษณ์ การสอบสัมภาษณ์
งาน (Job Interview) กระบวนการสุดท้าย ของการสมัครงาน ก็คือ การสอบสัมภาษณ์ หรือ "interview" ดังนั้น จึงอาจกล่าว ได้ว่าการสอบสัมภาษณ์ ถือเป็นกุญแจสำคัญ ในอันที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จ ของการสมัครงาน และในที่นี้ผู้เขียนได้รวบรวมคำถามและคำตอบ ที่พบเห็นอยู่บ่อยๆ ตามสากลนิยม และครอบคลุมหน่วยงานทุกสาขาวิชา ซึ่งโดยมากก็จะยึดคำถาม และคำตอบเหล่านี้เป็นหลักแทบทั้งสิ้น
คำนิยามของคำว่า "สัมภาษณ์" (Definition of interview)
คำว่า "interview" สืบความหมายมาจาก คำว่า "sight between" หรือ "view between" ดังนั้นคำว่า "interview" จึงมีความหมายว่า การพบกันระหว่างบุคคล 2 คน (หรืออาจมากกว่านี้ ในกรณีสัมภาษณ์หมู่) กล่าวคือระหว่างผู้สัมภาษณ์ (interviewer) และผู้ถูกสัมภาษณ์ (intervicwee) เพื่อ
เรียนรู้ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน อันจะเป็นประโยชน์แก่ทั้งผู้รับ (employer)และผู้สมัคร (candidate) หรือ (job applicant)
จุดมุ่งหมายของการสัมภาษณ์งาน (Purpose of the job interview) ถ้าผู้สมัครต้องการสอบสัมภาษณ์ให้ได้ดี ก็จำเป็นที่จะต้องเข้าใจ จุดมุ่งหมายของการสอบสัมภาษณ์ อย่าคิดแต่เพียงว่าการสอบสัมภาษณ์ คือการที่เราต้องไปนั่งตอบคำถามยากๆ ที่เกี่ยวกับตัวเราเองเท่านั้น ในทางตรงกันข้าม เราควรคิดว่าการสอบสัมภาษณ์ ก็คือการที่เราได้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยน ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ แก่ผู้ที่อาจจะเป็นเจ้านายของเราในอนาคต
กล่าวง่ายๆ การสอบสัมภาษณ์งาน ก็คือการที่เราได้มีโอกาสพูดคุย เพื่อโฆษณาขายตัวเองให้บริษัท (To sell yourself to the company) นั่นเอง และที่สำคัญ การสอบสัมภาษณ์มีประโยชน์ดังนี้ คือ
1. เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติ และความเหมาะสมกับงานของผู้สมัคร
(To judge the applicant's qualifications and suitability for the job.)
2. เพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้สมัคร ซึ่งจะเป็นประโยชน์ ต่อการตัดสินใจของเขา ก่อนการรับข้อเสนอเข้าทำงาน
(To provide the applicant with the information he needs to decide about the job.)
3. เพื่อทดสอบดูว่า ท่านมีความสนใจงาน ที่สมัครจริงหรือไม่ และนโยบายของบริษัท พร้อมทั้งโอกาส ที่จะได้เลื่อนตำแหน่ง เป็นที่สนใจของท่านจริงหรือไม่
(To find out if you will like the job you are applied for, whether the company's policies and prospects for promotion re attractive ehough for you to want the job.)
เคล็ดลับ "สัมภาษณ์งาน"
การสัมภาษณ์งาน ไม่ต่างอะไร กับการปีนเขานัก เพราะถ้าพลาดพลั้ง ขึ้นมาเมื่อใด หมายถึงหายนะเมื่อนั้น ถ้าปราศจากการเตรียมตัวที่ดี กำลังปีนๆ อยู่ก็อาจร่วงหล่นลงมาได้ง่ายๆ ต่อไปนี้ คือ เกร็ดการเตรียมตัว สำหรับการสัมภาษณ์งาน ที่คุณอาจมองข้ามไป
1. "ทำการบ้าน" มาก่อน
พนักงานบริษัทใหญ่รายหนึ่ง เล่าให้ฟังว่าเขา ถูกเรียกไปสัมภาษณ์งาน ก็เพราะบริษัทประทับใจ ที่เขาโทรไปสอบถามข้อมูล ของบริษัทก่อน การสัมภาษณ์ และเขาเป็น เพียงคนเดียว ที่ทำเช่นนั้น และเขาก็ได้งานในที่สุด
การทำการค้นคว้า หาข้อมูลอย่างเปิดเผย จะช่วยคุณได้มาก ในการสัมภาษณ์ เพราะเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่า คุณมีความสนใจ ในบริษัท หรือตำแหน่งนั้นๆ และสามารถทำให้คุณ เป็นผู้สมัครที่มีคุณสมบัติ ครบด้วยข้อมูลพื้นฐาน ที่คุณเตรียมไว้ คุณจะสามารถ ทำให้ประสบการณ์ และทักษะของคุณ มาบรรจบ กับสิ่งที่คุณรู้ว่า นายจ้างต้องการ
ในการเตรียมตัว เพื่อสัมภาษณ์งาน คุณควรใช้ประโยชน์ จากห้องสมุดร้านหนังสือ งานบริการนักศึกษาที่มหาวิทยาลัย และอินเทอร์เน็ต ให้เป็นประโยชน์ เพราะแหล่งข้อมูล เหล่านี้จะเป็นวิธีที่ดี ที่จะทำให้คุณได้มา ซึ่งข้อมูล ของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นเวบไซต์ของบริษัท หรือจากงานวิจัยของบุคคลอื่น
2. "โชว์ให้ดูแล้วเล่าให้ฟัง"
"show-and-tell" หรือ "โชว์ให้ดูแล้วเล่าให้ฟัง" เป็นเทคนิคประการหนึ่ง ที่สามารถหยิบมาใช้ ในการสัมภาษณ์งานได้ ทั้งนี้ เพราะการแสดง ให้เห็นตัวอย่างของทักษะ ที่คุณมีจะได้ผลดีกว่า การพูดคุยอย่างเดียว
วิธีการ "show-and-tell" ก็เช่นการนำเสนอรายงาน การทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การวิเคราะห์ทำนายผล และหนังสือรับรอง หรือประกาศนียบัตร และถ้าคุณไม่ได้อยู่ในตำแหน่ง ที่จะสามารถโชว์ "พอร์ทโฟลิโอ" ของคุณได้ คุณควรนำเอาประสบการณ์ที่ "จับต้องได้จริง" มาแสดงให้เห็น มีนายจ้างจำนวนมาก ที่ใช้เทคนิคการ "สัมภาษณ์โดยดูความประพฤติ" พวกเขาเชื่อว่าพฤติกรรม ที่ผ่านมาจะเป็นตัวบ่งชี้พฤติกรรม ในอนาคต ดังนั้น ถ้าคุณถูกถาม เกี่ยวกับทักษะทั่วไป จงยกตัวอย่าง ที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งจะช่วยให้คุณได้เปรียบ จากผู้สัมภาษณ์คนอื่น
3. ฝึกฝน! ฝึกฝน! ฝึกฝน! น่าแปลกใจที่ผู้สอบสัมภาษณ์ จำนวนมากชอบ "ด้นกลอนสด" ทั้งที่การไม่ฝึกฝน จะทำให้คุณรู้สึกเหมือน นักปีนเขามือเปล่า ที่ไม่มีเชือกไว้ป้องกัน การพลัดตก การเตรียมคำตอบไว้ ทำให้คุณได้เปรียบ เพราะคุณสามารถทดลอง หาประโยค และคำที่เหมาะสม ในขณะที่พูดออกไปดังๆ และการเตรียมคำตอบ ที่เป็นไปได้ ไว้ให้พร้อมจะช่วย ลดความตื่นเต้น และถ้อยคำที่ "สั่น" และรัวเร็วได้ คำและวลีอย่างเช่น "แบบว่า" "มันเป็นอะไรที่" และ "ประมาณนั้น" จะหายไป คำที่พูดเวลานึกอะไร ไม่ออกอย่าง "เอ่อ" และ "อ่า" ก็จะหายไปด้วยเช่นกัน และควรฝึกฝน จังหวะการหยุดด้วย เพราะจะช่วยให้คุณ แก้ปัญหาเหล่านี้ได้
4. เอาตัวคุณเองเป็นกรณีศึกษา
ทำไมคุณถึงควรได้งานนี้? คุณเป็นคนที่ดีที่สุด สำหรับงานนี้ นั่นคือเหตุผล!! คุณต้องเชื่อว่าคุณเป็นคนที่ดีที่สุด สำหรับงานนี้ หรือคุณไม่สามารถเชื่อมั่น คนอื่นได้มากกว่านี้ ก็จริงล่ะ ที่ว่าคุณอาจไม่มีประสบการณ์ ที่จำเป็นนั้นซะทั้งหมด แต่คุณก็ได้เข้าสัมภาษณ์แล้วไม่ใช่หรือ?
หลังจากคุณได้สาธยาย ทักษะเฉพาะด้านของคุณ ในระหว่างการสัมภาษณ์ บทสรุปของประเภท และลำดับขั้นของทักษะ และประสบการณ์จะทำให้ เป็นที่พอใจมากชึ้นไปอีก
"คุณสมชาย ตลอดระยะเวลา 10 ปีของประสบการณ์ ทางวิชาชีพของผม ผมได้แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำ ความสามารถเฉพาะด้าน และการพัฒนาลูกค้า ซึ่งผมเชื่อว่า คุณกำลังหาคนที่เหมาะสมอยู่ คุณจะรับผมไว้ทำงานได้ไหมครับ ผมจะพยายาม และฝ่าฟันจนกลายเป็น สมาชิกที่มีค่าคนหนึ่ง ของบริษัทครับ"
การ "ปีน" เพื่อไปให้ถึงจุดสูงสุดนั้น ไม่จำเป็นต้องพยายามอยู่คนเดียว อย่างโดดเดี่ยว ควรหาความช่วยเหลือ จากคนที่คุณเห็นว่า ให้คำแนะนำได้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็น ที่ปรึกษาผู้ดูแล อาจารย์ครูฝึกอาชีพ หรือเพื่อนร่วมงาน พวกเขาจะมีความสุข ที่คุณมองเขาเป็น "ทรัพยากรที่มีค่า" ด้วยสิ่งที่จำเป็น เช่น การฝึกซ้อม การวิจัย การ "โชว์แล้วเล่า" และความมั่นใจ แล้วการสัมภาษณ์ ก็จะไม่ทำให้คุณ กลัวเหมือนที่ผ่านมา
วิธีเอาตัวรอดจาก 9 คำถามสัมภาษณ์งาน
บ่อยครั้ง "คำถาม" ในการสัมภาษณ์ ก่อนรับเข้าทำงาน สร้างความตื่นเต้น จนหนุ่มสาวออฟฟิศ หลายคนสอบตก
"การสัมภาษณ์งาน" ช่วยให้บริษัทผู้จ้าง รู้จักพนักงานใหม่ ที่จะรับเข้ามาร่วมงาน ทั้งในด้านวิชาความรู้ ทัศนคติ ไปจนถึงลักษณะนิสัยส่วนตัว
ลองอ่านคำถามทั้ง 9 ข้อต่อไปนี้ พร้อมคำตอบ ที่มีไว้ให้ คุณรู้สึกอย่างไร กับคำตอบเหล่านั้น
1. เล่าเรื่องเกี่ยวกับตัวคุณ ให้พวกเราฟังหน่อย? ? "ผมมีประสบการณ์ ครอบคลุมด้านพัฒนา กลยุทธ์ทางการตลาดอย่างกว้างขวาง รวมทั้งตรวจสอบการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่"
? "ผมก็เป็นเหมือนกับมนุษย์ทั่วไป ที่เขาเป็นกันนั่นแหละครับ"
? "ผมเป็นแบทแมน!"
2. อะไรคือข้อเสียที่สุดในตัวคุณ
? "ผมเป็นคนค่อนข้างนิยมชมชอบ ความสมบูรณ์แบบ และมีความภาคภูมิใจในหน้าที่การงาน ที่ต้องรับผิดชอบอย่างมาก"
? "ผมอยู่นิ่งไม่เป็น ซนเหมือนลูกม้ายังไงยังงั้น"
3. เพราะเหตุใดคุณจึงตัดสินใจ ลาออกจากงานที่ทำอยู่เดิม ? "ความสามารถของผม มีมากกว่าตำแหน่งเดิม ที่บริษัทเสนอให้"
? "ผมมีปัญหาเล็กน้อยเกี่ยวกับข้อตกลงเรื่องการว่าจ้าง"
? "นโยบายการล้างมือที่นั่นเข้มงวดเกินไป"
? "เพื่อนร่วมงานที่นั่น ถามนู่นถามนี่มากเกินไป"
? "เดาได้เลย.....ว่าคุณไม่ได้อ่านหนังสือพิมพ์"
4. ถ้าคุณกับเจ้านายเกิดความตึงเครียด เรื่องการทำงานระหว่างกัน คุณจะจัดการอย่างไร ? "ผมเชื่อว่า การสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา จะช่วยคลี่คลายได้ทุกปัญหา"
? "ผมจะใช้นโยบายความสัมพันธ์ส่วนตัวเข้าช่วย"
5. คุณต้องการเงินเดือนเป็นค่าตอบแทนเท่าใด
? "ควรจะเทียบเคียงได้กับอัตราทั่วไปในปัจจุบัน"
? "ผมไม่ทราบ แล้วเท่าไหร่ล่ะ ที่คุณตัดสินใจมาทำงานให้กับที่นี่"
6. คุณเคยทำงานให้กับระดับผู้จัดการ ที่ยากในการทำงานด้วย หรือไม่ ? "โดยทั่วไป ผมมีลักษณะนิสัยที่เข้ากับคนอื่นๆ ได้ดี"
? "ก็เคยอยู่บ้าง แต่รับรองได้ คุณจะไม่ได้ยินข่าวคราวจากเขาแน่นอน"
7. คุณจะเสนอขาย "ที่เย็บกระดาษ" ตัวนี้ ให้กับลูกค้าอย่างไร
? "ควรจะรวบรวมการวิจัย ทางการตลาดให้มากๆ ก่อนเป็นอันดับแรก"
? "ยื่นข้อเสนอในสิ่งที่คนซื้อไม่สามารถปฏิเสธได้"
? "จ้างพนักงานแนะนำที่เป็นผู้หญิง ลูกค้าพร้อมจะเออออไปกับคนขายสวยๆ อยู่แล้ว"
8. ลองแสดงให้พวกเราเห็นถึงความมีอารมณ์ขันของคุณ
? "ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก ผมยังพอมองหารอยยิ้มได้ ในสถานการณ์นั้น"
? "ผมอยู่ตรงหน้าคุณแล้วไง... รึไม่มีใครมองเห็นผม"
? "ดึงนิ้วมือผมเล่นสิ"
9. ทำไมพวกเราจึงควรจ้างคุณ ? "ผมสามารถช่วยงานบริษัทคุณได้"
? "เพราะลึกๆ แล้ว คุณชอบผมน่ะสิ"
? "ไม่เอาน่า... คุณมักทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยากเสมอๆ เลยนะ"
คำตอบแรกของทุกคำถาม คือคำตอบที่สร้างทัศนคติในเชิงบวกในการสัมภาษณ์งาน หากวันใดที่คุณเดินเข้าไปสมัครงาน หรือเปลี่ยนงาน และได้ยินคำถามเหล่านี้ หวังว่าคำตอบของคุณ คงอยู่ในแดนบวก มากกว่าลบ
สิ่งที่ "ควรทำ" และ "ไม่ควรทำ" ในการสัมภาษณ์งาน
แม้ว่าผู้สัมภาษณ์งานแต่ละคน จะไม่ถามอะไรที่เหมือนกัน "เป๊ะ" แต่ก็ยังพอคาดเดาคำถาม ที่คุณต้องเผชิญได้ล่วงหน้า ดังนั้น ถ้าคุณกำลังมองหาหนทาง ที่จะเลื่อนตำแหน่งงานงาน โดยการโยกย้ายบริษัทใหม่ ก็จงทำการบ้านเพื่อเตรียมคำตอบที่ "ฉลาดๆ" ไว้ก่อน
ต่อไปนี้คือ
"คำถาม" ยอดนิยม และแนวทางในการ "ตอบ"
1. คุณให้คะแนนความสามารถของตัวคุณเองเท่าไรตั้งแต่ 1-10? อย่า ให้คะแนนที่ระบุเป็นตัวเลขลงไป โดยเฉพาะเลข 10 เพราะคุณจะกลายเป็นคนที่ "โอ้อวด" ทันที และคะแนน 7 หรือ 8 ก็จะทำให้คุณดูเหมือนขาดความมั่นใจ จง พูดว่าคุณจะฝ่าฟันไปให้ถึงระดับ 10 ทั้งเรื่องของชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวได้อย่างไร และเน้นย้ำว่าการทำอะไรให้ดีที่สุดนั้น "สำคัญ" สำหรับคุณเสมอ
2. อะไรคือจุดแข็งที่สุดของคุณ? อย่า จำกัดคำอธิบายของคุณด้วยคำตอบสั้นๆ เช่น "ผมเป็นคนทำงานหนักมาก" หรือ "ผมชอบทำงานเป็นทีม" จง ทำให้ผู้สัมภาษณ์เชื่อมั่นในตัวคุณ บอกอุปนิสัยส่วนตัวของคุณ จากนั้นรีบยกตัวอย่างเรื่องจริง เพื่อให้เห็นภาพสักหนึ่งหรือสองนาที โดยควรเตรียมไว้สักสอง หรือสามเรื่อง
3. คุณมองหา "อะไร" ในงานต่อไปของคุณ? อย่า พูดว่าคุณต้องการให้บริษัทให้อะไรแก่คุณ จง อธิบายว่าคุณต้องการอะไร ในแง่มุมที่ว่า "คุณ" สามารถให้อะไรแก่นายจ้างได้บ้าง ถ้าคุณกำลังมองหาการเพิ่มประสบการณ์ด้านการจัดการโครงการ คุณก็ควรอธิบายว่าคุณมีความเชี่ยวชาญในด้านนี้มาก่อน และคุณจะนำเอาความสามารถนี้มาช่วยได้อย่างไร และการทำงานนายจ้างที่จะสามารถช่วยให้สิ่งนี้เป็นจริงได้
4. คุณจะอยู่ตรงไหนใน 5 ปีข้างหน้า? อย่า พูดถึงแผนการของคุณเกี่ยวกับการกลับไปเรียน หรือการเริ่มต้นธุรกิจสอนดำน้ำบนเกาะ จง แสดงให้เห็นว่าคุณมีความมานะพยายามและมีหนทางที่จะไปถึงจุดหมายได้ แต่คุณไม่จำเป็นต้องเจาะจงลงไป คุณควรที่จะอธิบายว่าในเวลานี้คุณกำลังมองหา ความก้าวหน้าในอาชีพการงานอยู่ และคุณตระหนักดีว่ายังมีโอกาสอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เมื่อบริษัทได้เรียนรู้ตัวคุณมากขึ้น
5. คุณใช้เวลา 4 ปีที่ผ่านมา ในการทำหน้าที่เป็นคุณแม่ และแม่บ้านอย่างเต็มตัว ต่อไปนี้คุณจะสร้างความสมดุลระหว่างงานและลูกๆ ได้อย่างไร? อย่า พูดว่าลูกตัวน้อยๆ ของคุณเลี้ยงง่ายและน่ารักเพียงใด เพราะนั่นจะไม่ทำให้คุณ ได้รับความเชื่อมั่นจากนายจ้าง
จง บอกว่าลูกของคุณตอนนี้ ก็เติบโตขึ้น และกำลังอยู่ ในโรงเรียนเตรียมอนุบาล และคุณกำลังพกพาความกระตือรือร้น และความตื่นเต้น ที่จะได้กลับเข้ามาทำงานอีก
++++++++++ ต่อครับ +++++++++++
เทคนิคการสอบสัมภาษณ์
เทคนิค คือเรื่องพื้นฐาน ที่ทุกคนรู้อยู่แล้วแต่ละเลย ขาดการปรุงแต่ง นั่นคือความเชื่อมั่น สำรวม อดทน ตอบอย่างมีเหตุผล และฉลาดตอบ
สภาพแวดล้อมก่อนถึงวันสอบสัมภาษณ์เป็นสิ่งจำเป็น คุณควรนอนให้เต็มอิ่ม เริงร่ากับสิ่งที่คุณโปรดปราน อาจเป็นดูหนัง ฟังเพลงหรือทำอะไรก็ได้ที่ทำให้จิตใจสบาย หายกังวล เมื่อสิ่งเหล่านี้ไม่มี่ในจิตใจ ผลลัพธ์ที่ได้นั่นคือความมั่นใจในตนเอง ตอบได้หรือไม่ได้ขอให้ชัดเจน
ถ้าตอบได้ ก็จงตอบในคำถามด้วยเสียงดังฟังชัด ถ้าไม่ได้ก็จงตอบว่าไม่ได้ครับ อย่าอ้ำอึ้ง ตอบได้หรือไม่ได้ไม่ใช่คะแนน แต่บุคลิกที่แสดงออกในขณะนั้นต่างหากที่เป็นคะแนนการสำรวมตน
คุณควรสำรวม ระมัดระวังกริยาของตนเอง ตั้งแต่คุณก้าวเข้าไปในหน่วยงานนั้น วันสอบสัมภาษณ์ไม่จำเป็นต้องเอาใครไปให้กำลังใจ ระหว่างการสัมภาษณ์อย่าหลุกหลิก เหลียวซ้ายแลขวา หรืออาการใดๆ ก็ตามที่ส่อให้เห็นว่าบุคลิกภาพของคุณไม่ดี แต่ไม่ถึงกับเกร็ง ทำตัวตามสบายได้พอสมควร
สิ่งที่ควรปฏิบัติในการสอบสัมภาษณ์
1. ควร ศึกษารายาละเอียดของหน่วยงานก่อนเข้าสอบสัมภาษณ์ เพื่อที่จะได้มีเรื่องสนทนาขณะสัมภาษณ์และแสดงความสนใจหน่วย งานนั้น
2. ควร ไปให้ตรงเวลานัด โดยไปก่อนเวลาอย่างน้อย 10 นาที
3. ควร กรอกใบสมัครทุกช่อง ถึงแม้ข้อมูลบางอย่างจะมีในประวัติย่อแล้วก็ตาม ระวังคำถามลง เช่น ท่านมีนิสัยไม่ดีอะไรบ้าง ท่านเคยกระทำผิดและถูกจำคุกอะไรบ้าง
4. ควร นั่งรออย่างเรียบร้อย อย่าเดินเกะกะ ส่งเสียงเอะอะ หรือซุ่มซ่าม เตะโต๊ะเก้าอี้ อาจมีคนแอบคอยสังเกตกิริยาของท่านอยู่ขณะรอสัมภาษณ์ บางบริษัทให้รอนานเพื่อดูความอดทน
5. ควร ถามผู้สัมภาษณ์บ้างเกี่ยวกับงานที่จะทำว่าจะให้ทำที่ไหน ถ้าไม่ถามเลยอาจถูกว่าไม่มีความคิด แต่อย่าถามมากเกินไปจนน่ารำคาญ
6. ควร ใช้กิริยาวาจาให้สุภาพขณะตอบคำถาม ผู้สัมภาษณ์บางคนอาจใช้วิธีแหย่ให้โกรธเพื่อสังเกตปฏิกิริยา บางครั้งอาจใช้คำถามที่ดูถูก เพื่อสังเกตความรอบคอบและอดทน จงยิ้ม และกล้าบอกว่าไม่ใช่
7. ควร แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย ไม่พับแขนเสื้อทั้งแขนสั้นและแขนยาว ไม่ควรใส่กางเกงยีนส์สำหรับผู้ชาย และผู้หญิงควรจะนุ่งกระโปรง ผมไม่ควรให้และดูรกรุงรัง ผู้ชายต้องโกนหนวดเคราให้สะอาด เสื้อต้องรีดเล็บต้องตัด กระดุมเสื้อต้องติดให้ครบ ผู้ชายควรใส่ถุงเท้าและรองเท้าหนัง ไม่ควรใส่รองเท้ากีฬา ผู้หญิงไม่ควรใส่ตุ้มหูตุ้งติ้ง ไม่ควรดัดผม ทาเล็บสีดำ ? เขียว ไม่ควรใส่ชั้นในสีดำ
8. ควร ถามผู้สัมภาษณ์ตอนจบว่าเห็นเราเป็นอย่างไรบ้าง คำแนะนำตรงนี้จะได้ส่วนดีและความเห็นอกเห็นใจ
9. ควร มองหน้าผู้สัมภาษณ์ในเวลาที่พูดคุย อย่าหลบตา อย่าให้ตาลอยมองนอกห้อง มองโต๊ะ แคะเล็บ แคะขี้มูก ควรยิ้มแย้มแจ่มใสและอารมณ์ดี ถ้าจะไอควรใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปาก บางรายไอจนเสลดกระเด็นไปถูกผู้สัมภาษณ์ ทำให้สอบตกทั้งๆ ที่ส่วนอื่นดีหมด ควรทำธุระห้องน้ำให้เรียบร้อยก่อนเข้าห้องสัมภาษณ์ ไม่ควรสูบบุหรี่ทั้งก่อนและขณะสอบสัมภาษณ์แม้ผู้สัมภาษณ์จะยื่นให้ ควรเคาะประตูก่อนเข้าห้องสัมภาษณ์ ระมัดระวังอย่าลากเก้าอี้ ยกมือไหว้ทั้งมาและลา
10. ควร ถามว่าจะทราบผลการสัมภาษณ์ได้ทางใด เมื่อใดจะโทรศัพท์มาถามใครไดด้ไหม แล้วจดเอาไว้ติดตามผล
สิ่งที่ไม่ควรทำในการเข้าสอบสัมภาษณ์
1. ไม่ควร นัดสัมภาษณ์วันละหลายบริษัท เพราะอาจไปไม่ได้เนื่องจากต้องรอสัมภาษณ์หรือรถติด อย่างเก่งที่สุดคือนัดเช้าแห่งหนึ่ง และบ่ายอีกแห่งหนึ่งเท่านั้น
2. ไม่ควร แย่งพูด หรือถามคำถามมากจนน่าสงสัยว่างใครสัมภาษณ์ใครกันแน่
3. ไม่ควร ถามคำถามเกี่ยวกับวันหยุด กำหนดพักร้อน การสาย หรือการกลับก่อน เพราะเป็นการสร้างภาพพจน์ว่า ท่านชอบทำงานน้อย ๆ หนีงานเก่ง ไม่ควรถามเกี่ยวกับสห-ภาพแรงงาน หรือการสไตรค์นัดหยุดงาน
4. ไม่ควร ใส่แว่นกันแดด, เอามือปิดปากเวลาพูด หรือเอามือกุมบนตักแน่น ควรเอามือวางบนโต๊ะบ้างเพื่อแสดงความมั่นใจในตนเอง
5. ไม่ควร ประหม่า มือสั่น เท้าสั่น ถ้าตื่นเต้น ควรสูดหายใจลึกๆ หรือเดินไปห้องน้ำ แล้วบอกตัวเองว่าไม่ต้องกลัว ผู้สัมภาษณ์ไม่ใช่ยักษ์ใช่มารที่ไหน
6. ไม่ควร พูดโกหก เพราะผู้สัมภาษณ์แต่ละคนจับโกหกได้เก่งมาก
7. ไม่ควร พูดคำว่าไม่ทราบ นอกจากจนปัญญาจริงๆ
8. ไม่ควร ถามเรื่องเงินรายได้ จนกว่าผู้สัมภาษณ์จะพอใจในตัวเรา ส่วนมากผู้สัมภาษณ์จะบอกหรือถามมาเอง
9. ไม่ควร นินทาหรือด่านายเก่า เพราะเขาจะคิดว่าอีกหน่อยเขาก็คงโดนด่าจากท่านอีก หรือไม่ควรตอบวกวนยืดยาว แต่ก็อย่าให้ห้วนเกินไป อย่าลืมพูดคำว่า ครับ ? ค่ำ และขอบคุณ
10. ไม่ควร พาแฟน หรือพ่อแม่หรือเพื่อนไปสัมภาษณ์ด้วย เพราะผู้สัมภาษณ์จะมีความรู้สึกว่าท่านยังไม่โต
คำถามพื้นฐานในการสัมภาษณ์เข้าทำงาน
ในการสัมภาษณ์เข้าทำงาน ถ้าคุณรู้คำถามและได้เตรียมคำตอบไว้ก่อน คุณก็จะได้เปรียบเหนือคู่แข่งขันคนอื่น ยิ่งถ้าคุณมีโอกาสรู้มุมมองของผู้สัมภาษณ์และสามารถทำให้ผู้สัมภาษณ์ประทับใจในตัวคุณได้ โอกาสที่คุณจะได้รับเลือกเข้าทำงานที่เหมาะสมกับตัวคุณก็มีมากกว่า
1. โปรดเล่าให้เราฟังเกี่ยวกับตัวคุณ
2. ขอดูประวัติย่อได้ไหม
3. ช่วยบอกถึงเป้าหมายชีวิตของคุณในระยะสั้น/ระยะยาว
4. เพราะอะไรคุณจึงเลือกมาทำงานนี้
5. ช่วยบอกจุดแข็ง และจุดอ่อน ที่เกี่ยวกับการทำงานในตำแหน่งนี้
6. เพื่อนๆ หรือครูอาจารย์มองคุณว่าเป็นคนอย่างไร
7. การศึกษาที่ผ่านมาได้ช่วยเตรียมคุณให้เป็นคนอย่างไร
8. คุณอธิบาย/เครื่องวัดความสำเร็จของคุณอย่างไร
9. โปรดเล่าประสบการณ์ที่พึงพอใจหรือความสำเร็จที่ผ่านมาในชีวิตของคุณ
10. เพราะเหตุใดเราจึงสมควรรับคุณเข้าทำงาน
11. คุณมีคำถามบ้างไหม
ขอบคุณ
nithinan
นายกเว็บ ไทยโลคอลมีทครับ
----- ต่อมาครับ
ขั้นแรกที่เดินเข้าไปหากรรมการสอบสัมภาษณ์ ให้เริ่มจากการทำความเคารพ...
แล้วก็พูดว่า....
ผมชื่อนาย ............ ลำดับที่ ?.. เลขประจำตัวสอบ ??.
สมัครสอบตำแหน่ง??????. มารายงานตัวเพื่อสอบสัมภาษณ์ครับ
ดิฉันชื่อนาง/นางสาว ........... ลำดับที่ ?.. เลขประจำตัวสอบ ??.
สมัครสอบตำแหน่ง??????. มารายงานตัวเพื่อสอบสัมภาษณ์ค่ะ
***หมายเหตุ
ลำดับที่ .... คือลำดับที่เราสอบได้
เลขประจำตัวสอบ... เลขประจำตัวสอบของเราต้องจำให้ได้