แนวข้อสอบการบริการประชาชน
1. การบริการประชาชนให้เรียกว่า One – Stop – Service หมายถึง
ตอบ การบริการ ณ จุดเดียว ให้แล้วเสร็จ
2. บุคคลใดเป็นผู้รับผิดชอบในกิจการเฉพาะตำบล ที่ตนมีหน้าที่ประจำอยู่เช่นเดียวกับนายอำเภอ
ตอบ กำนัน
3. ปลัดอำเภอมีฐานะเป็น
ตอบ ผู้ช่วยเหลือนายอำเภอ
4. การบริการประชาชนในหน้าที่กรมการปกครอง มีอะไรบ้าง
ตอบ 1.การจัดเวรบริการประชาชน ณ ที่ว่าการอำเภอและกิ่งอำเภอ
2.การจัดหน่วยบริการอำเภอเคลื่อนที่
3.ปลัดอำเภอผู้รับผิดชอบประจำตำบล
4.การให้บริการประชาชน ณ ที่ทำการตำบล
5. รูปแบบใหม่ของการบริหารงานภาครัฐ
ตอบ 1)ลดขั้นตอนและความล่าช้า เพื่อเพิ่มความรวดเร็ว
2)ผู้รับบริการมีความสำคัญสูงสุด
3)ส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานมีอำนาจในการทำงานมากขึ้น
4)ตัดขั้นตอนการทำงานให้เรียบง่าย
6. การบริการราชการเพื่อประชาชนมีความหมายครอบคลุมเพียงใด
ตอบ การปฏิบัติงานของหน่วยงานตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับประชาชนในทุกกรณี ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่ประชาชนยื่นคำขอให้เจ้าหน้าที่ของรัฐดำเนินการ
7.ขอให้ยกตัวอย่างการบริการประชาชนในลักษณะที่ไม่ต้องมีคำขอ
ตอบ การบริการประชาชนในลักษณะที่ไม่ต้องมีคำขอ เป็นการบริการตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานนั้น เพื่อเป็นการให้บริการต่อสาธารณะ การให้ความอนุเคราะห์ และการให้สงเคราะห์ประชาชน เช่น การให้บริการของกรมประชาสงเคราะห์ต่อผู้ประสบภัยธรรมชาติ อาจกำหนดระยะเวลาของการเข้าไปช่วยเหลือประชาชน เมื่อได้รับทราบหรือได้รับแจ้งเหตุ
8. หน่วยงานของรัฐที่อยู่ในข่ายที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบนี้ ได้แก่หน่วยงานใดบ้าง
ตอบ หมายถึงส่วนราชการที่เป็นกระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเทียบเท่า กรม จังหวัด อำเภอ และคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย และหน่วยงานอื่นใด ของรัฐในต่างประเทศแล้ว ยังให้ความหมายรวมถึง -ราชการส่วนท้องถิ่น
–รัฐวิสาหกิจเฉพาะที่ตั้งขึ้น โดย พ.ร.บ. หรือ พ.ร.ฎ.
-หน่วยงานอื่นของรัฐ เช่น สนง.คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และ ธปท. เป็นต้น
-จนท. ที่ใช้อำนาจทำคำสั่งทางการปกครอง ตาม กม.ว่าด้วยวิธีการปฏิบัติราชการทางการปกครอง
9. คณะอนุกรรมการว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน ของหน่วยงานของรัฐประจำจังหวัด มีฐานะอย่างไร ใครเป็นผู้แต่งตั้ง และมีวาระการดำรงตำแหน่งอย่างไร
ตอบ คณะอนุกรรมการว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน ของหน่วยงานของรัฐประจำจังหวัด (ปปร.จังหวัด) เป็นคณะอนุกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นตามระเบียบ สร. จึงเป็นคณะอนุกรรมการที่ปฏิบัติหน้าที่ถาวรแต่งตั้ง โดย ผวจ. มีหน้าที่ช่วยเหลือ ปปร. ในการส่งเสริม สนับสนุน ติดตามและตรวจสอบ ให้หน่วยงานของรัฐในจังหวัด ปฏิบัติตามระเบียบ สร. และปฏิบัติตามที่ ปปร.มอบหมาย
10.งานบริการประชาชนที่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จในหนึ่งวันทำการ หน่วยงานของรัฐจะต้องประกาศระยะเวลาดำเนินการแล้วเสร็จในเรื่องนั้น ๆ ให้ประชาชนทราบหรือไม่
ตอบ ไม่ต้องออกระเบียบกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาปฏิบัติราชการ แต่หน่วยงานของรัฐจะต้องประกาศให้ประชาชนทราบว่าเมื่อประชาชนมารับบริการในเรื่องนั้นแล้ว จะสามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ภายในเวลาเท่าไร ซึ่งอาจกำหนดเป็นนาที ชั่วโมง ทั้งนี้เพื่อประชาชนจะได้ทราบล่วงหน้า
11. การกำหนดระยะเวลาในระเบียบกำหนดขั้นตอนฯ หน่วยงานของรัฐควรกำหนดเป็นวัน หรือวันทำการ
ตอบ วันทำการ
12. หน่วยงานของรัฐจะออกระเบียบกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน โดยกำหนดระยะเวลาเผื่อไว้ให้มากกว่าปกติ เช่น ควรจะเสร็จภายใน 2 วัน ก็กำหนดไว้ 5 วัน จะได้หรือไม่
ตอบ ระยะเวลาที่กำหนดจะต้องเป็นระยะเวลาที่ปฏิบัติงานนั้น ๆ จริง ๆ ไม่ควรกำหนดระยะเวลาเผื่อไว้
13. โดยกรณีของสภาพแห่งเรื่องแล้ว ไม่สามารถดำเนินการพิจารณาคำขอในเรื่องนั้น ๆ ให้แล้วเสร็จได้ภายในระยะเวลา 90 วัน จะออกระเบียบให้มีระยะเวลามากกว่า 90 วัน ได้หรือไม่
ตอบ ได้ แต่ต้องขออนุมัติต่อรัฐมนตรีในกรณีที่รัฐมนตรีหรือปลัดกระทรวงเป็นผู้ลงนามในระเบียบฯ หรืออนุมัติต่อปลัดกระทรวง กรณีที่อธิบดีเป็นผู้ลงนามในระเบียบก่อน
14. ใครเป็นผู้ลงนามในระเบียบกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของกรุงเทพมหานคร
ตอบ อาจเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปลัดกรุงเทพมหานคร หรือหัวหน้าหน่วยงานระดับอธิบดีหรือเทียบเท่าก็ได้
15. ผู้มีอำนาจลงนามในระเบียบกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน จะมอบอำนาจการลงนามในระเบียบ ให้ผู้อื่นลงนามได้หรือไม่
ตอบ มอบอำนาจได้ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
16. การบริการประชาชนในเรื่องที่มีหน่วยงานของรัฐหลายหน่วยงานเกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานในเรื่องนั้น ๆ หน่วยงานใดจะเป็นผู้รับผิดชอบในการออกระเบียบกำหนดขั้นตอน สำหรับคำขอในเรื่องนั้น ๆ
ตอบ หน่วยงานที่รับคำขอในเรื่องนั้น ๆ
17. การปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนในเรื่องใด ที่อยู่ในอำนาจของอธิบดีหรือปลัดกระทรวง แต่ได้มีการมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ หรือเจ้าหน้าที่ในส่วนภูมิภาคอื่น เป็นผู้มีอำนาจในการสั่งการในเรื่องนั้น ๆ ในพื้นที่รับผิดชอบได้ การออกระเบียบกำหนดขั้นตอนฯ ในเรื่องดังกล่าวนี้ จะต้องปรึกษาหารือกันก่อนหรือไม่
ตอบ ควรมีการปรึกษาหารือร่วมกันเพื่อความราบรื่นในการทำงาน และเกิดความเข้าใจร่วมกันในการปฏิบัติราชการต่อไป
18. กรณีหน่วยงานของรัฐคืนคำขอเพื่อแก้ไขให้ถูกต้องสมบูรณ์นั้น จะนับช่วงเวลาที่แก้ไขนั้นรวมอยู่ในระยะเวลาการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนหรือไม่
ตอบ ไม่นับ แต่ต้องระบุความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ของคำขอทั้งหมด และแจ้งให้ประชาชนทราบในคราวเดียว
19. การแจ้งผลให้ประชาชนผู้ยื่นคำขอทราบต้องทำเป็นหนังสือเสมอไปหรือไม่
ตอบ ต้องเป็นหนังสือเช่นเดียวกัน
20.ประชาชนได้รับประโยชน์อะไรจากระเบียบกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนนี้
ตอบ 1.ทราบขั้นตอนและระยะเวลา ที่ใช้ในการดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ทำให้สามารถวางแผนการดำเนินงานทางด้านธุรกิจได้ชัดเจน
2.ทราบเหตุผลและระเวลาที่หน่วยงานของรัฐขอขยายเพิ่มเติม กรณีที่เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
3.ทราบความไม่สมบูรณ์หรือไม่ถูกต้องทั้งหมดของคำขอในคราวเดียว ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐขอให้แก้ไขคำขอให้ถูกต้องสมบูรณ์ หรือในกรณีที่หน่วยงานของรัฐคืนคำขอ
4.ทราบเหตุผลโดยละเอียด ในกรณีที่ผลการพิจารณาออกมาในทางไม่สมประสงค์
5.สามารถร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ หรือต่อ ปปร. ได้ในกรณีที่เห็นว่าเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐไม่ปฏิบัติตามระเบียบ
21.แนวคิดเรื่องการบริการแบบเบ็ดเสร็จมีหลักการสำคัญอย่างไรบ้าง
ตอบ 1.กำหนดให้การบริการประชาชนอยู่ในองค์กรเดียวกัน/สถานที่เดียวกัน
2.เพิ่มอำนาจหน้าที่และกระจายกิจกรรม เพื่อบริการประชาชนให้แก่ศูนย์บริการของรัฐแบบครบวงจร
3.การกำหนดให้หน่วยงานจัดบริการประชาชนให้เสร็จสิ้นในคราวเดียว
4.การให้บริการในเรื่องต่าง ๆ มีความสัมพันธ์และผสมผสานอย่างเหมาะสม
5.ระยะเวลาที่ประชาชนใช้ในการติดต่อขอรับบริการน้อยที่สุด
6.ประชาชนได้รับความพอใจสูงสุดจากบริการของรัฐ
22. แนวคิดในการที่จะจัดบริการให้ทั่วถึงในทุกเรื่องที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน และเน้นที่ความสะดวกของผู้รับบริการเป็นสำคัญ โดยเป็นไปในลักษณะเชิงรุกคือแนวคิดใด
ตอบ การบริการเชิงรุกหรือแบบครบวงจร(PACKAGE - Service)
23. แนวคิดเรื่อง PACKAGE SERVICE มีหลักการสำคัญ ประกอบด้วย
ตอบ 1.ยึดการตอบสนองความต้องการจำเป็นของประชาชนเป็นเป้าหมาย People Oriented
2.ความรวดเร็วในการให้บริการ Acceleration
3.การให้บริการต้องเสร็จสมบูรณ์ Completion
4.ความกระตือรือร้นในการให้บริการ Keen
5.การให้บริการด้วยความถูกต้องตรวจสอบได้ Accountability
6.ความสุภาพอ่อนน้อม Gentle
7.ความเสมอภาค Equality
24. แนวคิด Smile – model มีหลักการอย่างไรบ้าง
ตอบ 1)Service mine คือมีจิตบริการประชาชน
2)Modern all the time คือรู้จักปรับวิธีการให้บริการที่ทันสมัยอยู่เสมอ
3)Intelligence in duty operation คือปฏิบัติการอย่างเชี่ยวชาญ ฉลาด รอบรู้
4)Listening to the people คือรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้รับบริการ
5)Equality for all คือเสมอภาคทุกคน
25. แนวคิดเรื่อง Reengineering เกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศใด โดยใคร
ตอบ เกิดขึ้นที่สหรัฐอเมริกา โดย Micheal Hammmer
สั่งซื้อที่
ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724 Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3 ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2
ธ.กสิกรไทย ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay
[font=arial ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า
ติดตามข่าวการสอบราชการที่ https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่ www.ข้อสอบงานราชการไทย.com