ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : เฉลยคำตอบข้อสอบ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

เฉลยคำตอบข้อสอบ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

แชร์กระทู้นี้

คำเฉลยแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจวิชากฎหมาย ชุด กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
1.ตอบ ค.ประเทศฝรั่งเศส ในแรกเริ่ม ไทยใช้ประมวลกฎหมายแพ่งของฝรั่งเศสและสวิส เป็นหลักในการร่าง แต่หลังจากบังคับใช้ได้ปีเศษ ประมวลกฎหมายฉบับนั้นได้ถูกยกเลิกไป และประกาศใช้ใหม่ โดยเดินตามประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมันและญี่ปุ่นเป็นส่วนมาก ในส่วนที่เทียบเคียงมาจากประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศสก็ยังมีอยู่ประปราย
2.ตอบ ก.กรุงเทพเท่านั้น เพราะนายยุทธและนางสาวตู้เย็นมิได้จดทะเบียนสมรสกัน ผู้แทนโดยชอบธรรม คือ แม่เท่านั้น หลัก ผู้เยาว์ย่อมมีภูมิลำเนาตามผู้แทนโดยชอบธรรม ฉะนั้น เด็กหญิงมิ่ง จึงมีภูมิลำเนาตามแม่ คือ นางสาวตู้เย็น ที่กรุงเทพ เท่านั้น
3.ตอบ ง. 15 ตุลาคม พ.ศ.2555 เวลา 0.00น. หลัก บุคคลสามารถทำพินัยกรรมได้โดยสมบูรณ์ตามกฎหมาย เมื่อมีอายุ 15 ปีบริบูรณ์ จากสูตรการคำนวณอายุ(ดูหน้า 15 ประกอบ) จะได้คำตอบข้อ ง.
4.ตอบ ง.ผิดทั้งสองข้อ เพราะ  (1) ...ซึ่งได้ส่งมอบให้ในขณะทำสัญญาหรือภายหลังจากที่ได้ทำสัญญาแล้ว ทั้งนี้ มัดจำต้องให้ ขณะทำสัญญาเท่านั้น  (2) มัดจำศาลไม่มีอำนาจใช้ดุลยพินิจปรับลด แต่เบี้ยปรับนั้นกฎหมายได้ให้อำนาจศาลปรับลดได้
5.ตอบ ค.เงินฌาปนกิจ เพราะ กองมรดกของผู้ตายได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิและความรับผิดชอบต่าง ๆ ของผู้ตายในขณะผู้ตายมีชีวิตอยู่ ดังนั้นเงินฌาปนกิจจึงมิใช่กองมรดก
6.ตอบ ก.ค่าสินไหมทดแทน ส่วน ค่าเสียหาย มิได้ใช้ในกรณีการทำละเมิด แต่จะใช้ในกรณีอื่น เช่น การทำผิดสัญญา เป็นต้น
7.ตอบ ง.ข้อ(2)และ(3) เพราะ
(1)ผลมะม่วงที่ยังอยู่บนต้นมะม่วงเป็นดอกผลธรรมดา ทั้งนี้ ดอกผลธรรมดาต้องหลุดหรือขาดออกจากทรัพย์แม่แล้วเท่านั้น
(2)การได้ผลลำไยนั้น เป็นดอกผลธรรมดา ส่วนผลประโยชน์ที่ได้จากทรัพย์แม่(ต้นลำไย)นั้น คือ การใช้ผลลำไยกึ่งหนึ่งแทนค่าเช่า
(3)ไข่ไก่ เป็นดอกผลธรรมดา ซึ่งได้จากทรัพย์แม่ข้อนี้ชัดเจนดีแล้ว
8.ตอบ ข. ที่งอกริมตลิ่งย่อมเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเสมอ ข้อนี้กล่าวผิด เพราะ ที่งอก ชายตลิ่ง ผู้ซึ่งเป็นเจ้ากรรมสิทธิ์ในที่ดินแม่ซึ่งที่ดินที่งอกนั้นได้งอกออกมา ผู้นั้นจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในผืนดินที่งอกด้วย หากที่ดินชายตลิ่งที่มีผืนดินงอกออกมาเป็นกรรมสิทธิ์ของแผ่นดิน ผืนดินที่งอกนั้นก็ย่อมตกเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน
9.ตอบ ข.โมฆะ เพราะ การหมั้นนั้น ชายและหญิงจะทำการหมั้นกัน ต้องมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป หากฝ่าฝืนเกณฑ์เรื่องอายุมีผลเป็นโมฆะทุกกรณี
10.ตอบ ง. ค่าสินไหมทดแทน ส่วนข้อ ก. ข. และ ค. นั้นเป็นโทษบังคับในทางอาญา ซึ่งมี 5 สถาน ได้แก่ 1.ประหาร 2.จำคุก 3.กักขัง 4.ปรับ 5.ริบทรัพย์
11.ตอบ ง.บริษัทมหาชน เพราะ นิติบุคคลในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มี 5 ประเภท ได้แก่ 1.ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน 2.ห้างหุ้นส่วนจำกัด 3.บริษัทจำกัด 4.สมาคม 5.มูลนิธิ ส่วนบริษัทมหาชนจำกัดนั้น เป็นนิติบุคคลตามพ.ร.บ.บริษัทมหาชน พ.ศ.2535
12.ตอบ ง. เพราะข้อ ก.เป็นการเชิญชวน ไม่มีเจตนาผูกพันกัน
 ข้อ ข.และข้อ ค. เป็นนิติเหตุ (คืออะไร? พลิกดูหน้า22)
 ข้อ ง.การสั่งซื้อพิซซ่า เป็นการกระทำเพื่อผูกนิติสัมพันธ์ เกิดสัญญา จึงเป็นนิติกรรม
13.ตอบ ค.การสมรสกับคนวิกลจริต 
 ข้อ ก.มีผลเป็นโมฆียะ
 ข้อ ข.มีผลให้ความเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมและความเป็นบุตรบุญธรรมสิ้นสุดลง การสมรสสมบูรณ์
 ข้อ ง.คนเสมือนไร้ความสามารถ ทำการสมรสมีผลสมบูรณ์ กฎหมายมิได้ห้ามไว้
14.ตอบ ข.เรือนจำหรือทัณฑสถานที่ถูกจำคุกอยู่ (คำตอบชัดเจน ไม่ต้องอธิบาย)
15.ตอบ ค. สิทธิเก็บกิน สิทธิยึดหน่วง สิทธิจำนำ ทั้งหมดนี้เป็นสังหาริมทรัพย์ เพราะ สิทธิเก็บกินนั้น มีสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์(ทำการเก็บกินได้บนที่ดิน) กฎหมายจึงถือให้เป็นอสังหาริมทรัพย์ด้วย
16.ตอบ ข.มีสิทธิเมื่อมีสภาพบุคคล และใช้สิทธิได้บริบูรณ์เมื่อบรรลุนิติภาวะ เพราะ เมื่อเริ่มมีสภาพบุคคลสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายย่อมติดตัวมา ครั้นเติบโตเป็นผู้เยาว์ การทำนิติกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ซื้อปากกา ซื้ออาหารกล่อง1มื้อ หรือตามสมควร ย่อมทำได้ แต่กฎหมายจำกัดความสามารถในการทำนิติกรรมที่สำคัญบางประเภท เช่น การกู้ยืมเงิน การซื้อทรัพย์สินมีค่า เป็นต้น หากผู้เยาว์ทำลง นิติกรรมนั้นย่อมมีผลเป็นโมฆียะ โดยผู้แทนโดยชอบธรรมอาจบอกล้างได้
ฉะนั้น สิทธิที่ใช้ได้จริงไม่บริบูรณ์เมื่อผู้เยาว์ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
17.ตอบ ง.ผลไม้ ไข่ไก่ ไข่มุก ส่วนข้อ ก. ข. และ ค.นั้น ผิด เพราะ ค่าปันผล ค่าเช่า และกำไร เป็นดอกผลนิตินัย
18.ตอบ ค.ทำนิติกรรมเพราะถูกข่มขู่ ส่วนข้อ ก. ข. ง. มีผลเป็นโมฆะ(พลิกอ่านรายละเอียดหน้า20)
19.ตอบ ง.ให้เพื่อเป็นการกำหนดค่าเสียหายล่วงหน้า เพราะ มัดจำ คือ สิ่งที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งให้ไว้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง เป็นประกันว่าจะปฏิบัติตามสัญญา
20.ตอบ ง. เพราะหนี้เกิดได้โดย 1.นิติกรรม 2.นิติเหตุ ข้อ ก. ข. ค. เป็นนิติเหตุซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้
21.ตอบ ง. ส่วนข้อ ก.อัตราดอกเบี้ยสูงสุดสามารถเรียกได้ตามกฎหมาย คือ ร้อยละ15ต่อปี หรือ
 ร้อยละ 1.25 ต่อเดือน
 ข.กฎหมายกำหนดให้การกู้ยืมเงินเกินกว่า2พันบาทขึ้นไป ต้องทำหลักฐานเป็น
 หนังสือ จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้
 ค.หากสัญญาระบุอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด อัตราดอกเบี้ยนั้นเป็น
 โมฆะ ให้จ่ายเฉพาะเงินต้นเท่านั้น
22.ตอบ ก.ขณะทำการหมั้น กล่าวคือ ของหมั้นนั้น คือของที่ชายให้ไว้กับหญิงเพื่อยืนยันว่าจะสมรสกับหญิงนั้น โดยต้องให้ไว้ในขณะทำการหมั้น มิฉะนั้น ไม่ถือว่าเป็นของหมั้น และไม่เกิดการหมั้นขึ้น 
23.ตอบ ง.ไม่มีข้อถูก เพราะ ข้อ ก. ข. และ ค.ส่วนเป็นสินส่วนตัวทั้งสิ้น(ดูคำอธิบายหน้า29)
24.ตอบ ง.การสมรสเพราะถูกกลฉ้อฉล 
-ข้อ ก. และ ค. การสมรสนั้นเป็นโมฆะ
-ข้อ ข.ความเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมและความเป็นบุตรบุญธรรมสิ้นสุดลง การสมรสมีผลสมบูรณ์
25.ตอบ ก.ร้อยละ7.5 ต่อปี เพราะตามหลัก หากสัญญามิได้ระบุอัตราดอกเบี้ยไว้ ให้คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี กรณีนี้ สัญญาระบุให้คิดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามที่กฎหมายกำหนด 
จึงตอบ ร้อยละ7.5ต่อปี มิใช่ร้อยละ15ต่อปี เพราะอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวกฎหมายกำหนดเพดานสำหรับในกรณีที่สัญญามีการระบุอัตราดอกเบี้ยไว้
26.ตอบ ค.อัตราดอกเบี้ยขัดต่อกฎหมาย ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยเพราะเป็นโมฆะ แต่ต้องคืนเงินต้น เพราะกรณีดังกล่าว สัญญาระบุอัตราดอกเบี้ยไว้ร้อยละ 2 ต่อเดือน หรือคิดเป็น ร้อยละ24ต่อปี ดังนั้น เมื่อคิดอัตราดอกเบี้ยเกินกว่ากฎหมายกำหนด ดอกเบี้ยดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ กฎหมายไม่ให้คิดเลย ให้คืนเฉพาะเงินต้น
27.ตอบ ก.ได้ เพราะ เป็นทารกในครรภ์มารดาขณะบิดาตาย และภายหลังคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก เมื่อเด็กคลอดออกมาและหายใจ ย่อมมีสภาพบุคคลแล้ว ดังนั้น สิทธิและหน้าที่ต่าง ๆ ย่อมมีตามมาด้วย ดังนี้ สิทธิในการได้รับมรดกจากบิดา ย่อมเกิดขึ้น
28.ตอบ ข.โมฆียะ เพราะคนไร้ความสามารถทำนิติกรรมเป็นโมฆียะเสมอ แต่หากทำพินัยกรรมจะมีผลเป็นโมฆะเท่านั้น !!!
   29.ตอบ ค.เงินกองมรดกของนาย ก.มี 3 ล้านบาท มารดาได้ 1.5 ล้านบาท ภริยาได้ 3.5 ล้านบาท 
วิธีคิด 1.ให้หาทรัพย์สินทั้งหมดของผู้ตายก่อน โดยนาย ก.มีสินส่วนตัวจากพินัยกรรม 1 ล้านบาท
 และ มีสินสมรส อันเป็นรายได้ที่เกิดขึ้นระหว่างสมรส 4 ล้านบาท
-ตามกฎหมาย เมื่อการสมรสสิ้นสุดลง(หย่า/ตาย) ให้จัดการทรัพย์สินโดยนำสินสมรสแบ่งคนละกึ่งหนึ่ง ดังนั้น 4ล้านบาท ÷ 2 = 2ล้านบาท
ดังนั้น ทรัพย์สินทั้งหมดของนาย ก. เท่ากับ 2ล้าน + 1ล้าน = 3 ล้านบาท
 2.นำทรัพย์สินของผู้ตาย แบ่งให้ทายาทโดยธรรม ส่วนละเท่า ๆ กัน กรณีนี้มีทายาท 2 คน
 ได้ว่า 3 ล้าน ÷ 2 = 1.5 ล้านบาท
สรุป มารดาของนาย ก.ได้รับเงิน 1.5 ล้านบาท
 ภริยาของนาย ก. ได้รับเงิน 2ล้านบาท(จากการแบ่งสินสมรส) + 1.5ล้านบาท = 3.5 ล้านบาท
30.ตอบ ก. เพราะ รถยนต์ เป็นสังหาริมทรัพย์ สามารถครอบครองปรปักษ์ กำหนดเวลา 5 ปี ผู้ครอบครองปรปักษ์สังหาริมทรัพย์โดยสงบและเปิดเผย เป็นเวลา 5 ปี จึงได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้น กรณีดังโจทย์นายชินวัตรกลับจากต่างประเทศแล้วมาทวงรถยนต์คืน แต่ครั้นนายสนธิไม่ให้ ก็เฉย มิได้มีเจตนาหวงห้ามอีก ระหว่างระยะเวลา 5 ปีนายสนธิอ้างได้ว่าตนกระทำโดยสงบ และมิได้ ซ่อนเร้นการกระทำต่อเจ้ากรรมสิทธิ์ หมายความว่า ตนกระทำโดยเปิดเผย และเป็นระยะเวลา 5 ปี ดังนั้น ->  นายสนธิได้ซึ่งกรรมสิทธิ์ในรถยนต์
ระวัง!!! การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์จากการครอบครองปรปักษ์โดยสงบและเปิดเผย หากเป็น
 -สังหาริมทรัพย์ กำหนดเวลา 5 ปี
 -อสังหาริมทรัพย์ กำหนดเวลา 10 ปี
31.ตอบ ง.ไม่มีข้อใดถูก
(1)คนเสมือนไร้ความสามารถ อยู่ในความดูแลของผู้พิทักษ์ในการจัดการทรัพย์สินหรือนิติกรรมที่สำคัญเท่านั้น เรื่องภูมิลำเนา คนเสมือนไร้ความสามารถ มีความสามารถตามกฎหมายในการกำหนดภูมิลำเนาของตนได้
(2)บุคคลจะขอศาลสั่งให้ผู้ไม่อยู่เป็นคนสาบสูญได้ เมื่อ
 -ในเหตุปกติ ผู้นั้นหายตัวไปจากถิ่นที่อยู่โดยไม่มีใครรู้ว่ายังมีชีวิตอยู่หรือไม่ เป็นเวลา 5 ปี
 -ในเหตุพิเศษ เช่น เหตุการณ์ตึกเวิล์ดเทรดถล่ม คลื่นสึนามิ เรืออัปปาง และผู้นั้นหายตัวไปนับแต่อยู่ในเหตุการณ์ดังกล่าว เป็นเวลา 2 ปี
 เมื่อครบเงื่อนเวลาดังกล่าวแล้ว ผู้มีส่วนได้เสีย อาจขอให้ศาลสั่งผู้ไม่อยู่นั้น เป็นคนสาบสูญได้
สำหรับกรณีนางพจมารนั้น นายหมักต้องอ้างว่า นางพนมารหายตัวไปโดยไม่รู้ชะตากรรมเป็นเวลา 2 ปีแล้ว
(3)การหมั้น ไม่เป็นเหตุให้สามารถบังคับคู่หมั้นทำการสมรสกับตนได้ แต่หากฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้น
อีกฝ่ายอาจเรียกของหมั้นคืน และ อาจเรียกค่าทดแทนได้
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 
ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
1.ในการใช้กฎหมายนั้นจะต้องในบรรดากรณี ซึ่งต้องด้วยบทบัญญัติใดๆ แห่งกฎหมายตามตัวอักษรหรือตามความมุ่งหมายของบัญญัตินั้นๆ แต่หากในกรณีที่ไม่มีบทกำหนดที่จะยกมาปรับแก่คดีได้ เพื่อประกอบการพิจารณาและวินิจฉัยให้คดีนั้นเสร็จไปได้ จะต้องนำหลักการใดมาใช้เป็นลำดับแรก

ก. ให้วินิจฉัยนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น

ข. ให้วินิจฉัยคดีอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง

ค. ให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป

ง. นำหลักการใดมาใช้ก่อนหลังก็ได้

คำตอบ : ข้อ ก. เพราะเมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าไม่มีจารีตประเพณีเช่นว่านั้น ให้วินิจฉัยคดีอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงยิ่ง และถ้าบทกฎหมายเช่นนั้นก็ไม่มีด้วยให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป (ตาม ป. พ.พ. มาตรา 4)

2. ในกรณีที่บุคคลใดได้พิมพ์ลายนิ้วมือ แทนการลงลายมือชื่อ จะต้องทำอย่างไรจึงจะทำอย่างไรจึงจะทำให้การพิมพ์ลายนิ้วมือนั้นใช้แทนการละลายมือชื่อในเอกสารได้

ก. มีพยานลงลายมือชื่อรับเองหนึ่งคน

ข. มีพยานลงลายมือชื่อรับเองสองคน

ค.ไม่จำเป็นต้องมีพยานแก้ใช้แทน ลายมือชื่อได้

ง. นำหนังสือนั้นไปให้นายอำเภอรับรอง

คำตอบ : ข้อ ข. ลายพิมพ์นิ้วมือ แกงใด ตราประทับ หรือเครื่องหมายอื่นทำนองเช่น ว่านั้น ที่ทำลงในเอกสารแทนการลงลายมือชื่อ หากมีพยานลงลายมือชื่อรับรองไว้แล้วสองคนแล้วให้ถือเสมอกับลงลายมือชื่อ (ตาม ป.พ.พ. มาตรา 9)

3. บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์ และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุเท่าใด

ก. อายุ 17 ปี ข. อายุ 18 ปี

ค.อายุ 19 ปี ง. อายุ 20 ปี

คำตอบ : ข้อ ง. บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์ ปละบรรลุนิติภาวะ เมื่อมีอายุ 20 ปีบนิบูรณ์ แต่อาจบรรลุนิติภาวะได้ด้วยการสมรส

4. หากผู้เยาว์ทำนิติกรรม โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม ผลของนิติกรรมนั้นเป็นเช่นไร

ก. เป็นโมฆะ

ข. เป็นโมฆียะ

ค. บังคับได้เฉพาะผู้เยาว์เท่านั้น

ง. นิติกรรมนั้นก็ยังสมบูรณ์

คำตอบ : ข้อ ข. เนื่องจากผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใดๆ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน การใดๆที่ผู้เยาว์ได้ทำลงปราศจากความยินยอมเช่นนั้นเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น (ตาม ป.พ.พ. มาตรา 21)

5. การกระทำใดที่ผู้เสมือนไร้ความสามารถ ไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ก่อนก็สามารถทำได้

ก. นำทรัพย์สินไปลงทุน

ข. กู้ยืมหรือให้กู้ยืมเงิน

ค. บริจาคเงิน ซึ่งพอควรแก่ฐานานุรูป

ง. ให้เช่าสังหาริมทรัพย์ในระยะเวลาเกิน 1 ปี

คำตอบ : ข้อ ค. เพราะ คนเสมือนไร้ความสามารถนั้นต้องได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์ก่อนแล้วจึงจะทำการอย่างใดอย่างหนึ่งได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 34

6. นายจันทร์ ได้ไปเที่ยวจังหวัดภูเก็ต และได้หายสาบสูญไปจากเหตุคลื่นยักษ์สึนามิ ทายาทนายจันทร์จะร้องขอต่อศาลให้นายจันทร์เป็นคนสาบสูญ เพื่อที่จะได้ดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์มรดกได้ภายในระยะเท่าไหร่นับแต่นายจันทร์หายไป

ก. ภายในระยะเวลา หนึ่ง ปี

ข. ภายในระยะเวลา สอง ปี

ค. ภายในระยะเวลา สาม ปี

ง. ภายในระยะเวลา สี่ ปี

คำตอบ : ข้อ ข. ภายในระยะเวลา สอง ปี เพราะในกรณีที่เกิดสงคราม หรือพาหนะที่เดินทางอับปางหรือถูกทำร้ายหรือเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติขึ้น เป็นเหตุให้บุคคลนั้นอยู่ในอันตราย เช่นว่านั้นให้ลดระยะเวลาการร้องขอเหลือเพียงแค่ 2 ปี ( ตาม ป.พ.พ. มาตรา 61)

7. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช้นิติบุคคล

ก. ห้างหุ้นส่วนจำกัด

ข. บริษัท จำกัด

ค. ห้างหุ้นส่วนสามัญ

ง. ถูกทุกข้อ

คำตอบ : ข้อ ค. ห้างหุ้นส่วนสามัญ เพราะเป็นการตกลงร่วมลงทุนโดยมิได้จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจึงไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล

8. นิติบุคคลจะแสดงเจตนาทำนิติกรรมได้โดยวิธีใด

ก. ทำโดยนิติบุคคลเอง

ข. ทำโดยตัวแทนของนิติบุคคล

ค. ทำโดยลูกจ้างของนิติบุคคล

ง. ถูกทุกข้อยกเว้น คำตอบข้อ ค

คำตอบ : ข้อ ข. ทำโดยตัวแทนของนิติบุคคล ตาม ป.พ.พ. มาตรา 70 ความประสงค์ของนิติบุคคลย่อมแสดงออกโดยผู้แทนนิติบุคคล

9. นายอาทิตย์ ซึ่งเป็นตัวแทนของห้างหุ้นส่วนจำกัด ประกอบกิจการ ภัตตาคาร ได้ทำสัญญาให้นายจันทร์ กู้ยืมเงินซึ่งนอกเหนือวัตถุประสงค์ ของห้างหุ้นส่วนจำกัด เมื่อนายอาทิตย์สัญญา นายจันทร์จะฟ้องให้ใครรับผิดชอบได้บ้าง

ก. ฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด

ข. ฟ้องนายอาทิตย์

ค. ฟ้องกรรมการของห้างหุ้นส่วน

ง. ฟ้องได้ทั้ง ห้างหุ้นส่วนจำกัด ,นายอาทิตย์ และกรรมการของห้างหุ้นส่วนจำกัด

คำตอบ : ข้อ ข. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 76 วรรคสอง ถ้าความเสียหายแก่บุคคลอื่นเกิดจากการกระทำที่ไม่อยู่ในขอบวัตถุประสงค์หรืออำนาจหน้าที่ของนิติบุคคล บรรดาบุคคลดังกล่าวตามวรรคหนึ่งที่ได้เห็นชอบให้กระทำการนั้นหรือได้เป็นผู้กระทำการดังกล่าว ต้องร่วมกันรับผิดชอบใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ได้รับความเสียหายนั้น

10. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์

ก. บ้าน

ข. โรงงาน

ค.ดิน ซึ่งเจ้าของที่ดินขุดเอาไปขาย

ง. ถูกทุกข้อ

คำตอบ : ข้อ ค. เพราะดินเมื่อขุดขึ้นมาแล้ว ไม่ถือว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์ แต่เป็นสังหาริมทรัพย์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 139 อสังหาริมทรัพย์ หมายความว่า ที่ดินและทรัพย์อันติดกับมีลักษณะเป็นการถาวรหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นและหมายความรวมถึงทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับที่ดินหรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นด้วย

11. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นส่วนควบของรถยนต์

ก. เครื่องเสียงรถยนต์

ข. ล้อรถยนต์

ค. พวงมาลัยบังคับรถ

ง. ประตูรถ

คำตอบ : ข้อ ก. เครื่องเสียงรถยนต์ ไม่ถือว่าเป็นส่วนควบของรถเพราะถึงแม้ว่าไม่มีเครื่องเสียงรถก็สามารถขับเคลื่อนได้

ก. ค่าปันผล ขนสัตว์ ลูกวัว

ข. ผลไม้ ค่าเช่า น้ำยางพารา

ค. กำไร ลูกวัว มะพร้าว

ง. ผลไม้ ไข่ไก่ ไข่มุก

คำตอบ : ข้อ ง. เพราะ ผลไม้ ไข่ไก่ ไข่มุก เป็นดอกผลธรรมดาทั้งหมด ส่วนค่าปันผล ค่าเช่า กำไร เป็นดอกผลทางนิตินัย

13. การใดๆอันทำโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วด้วยสมัครใจ มุ่งโดยตรงต่อการผู้กนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สาน หรือระงับ ซึ่งสิทธิถือว่าเป้นการกระทำใด

ก. ละเมิด

ข. นิติกรรม

ค. การจัดการงานนอกสั่ง

ง. ประนีประนอมยอมความ

คำตอบ : ข้อ ข. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 149 นิติกรรม หมายความว่า การใดๆอันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยสมัครใจ มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อเปลี่ยนแปลง โอน สาน หรือระงับ ซึ่งสิทธิ

14. การกระทำใดต่อไปนี้เป็น โมฆียะ

ก. มิได้ทำให้ถูกต้องตามแบบบทที่กฎหมายกำหนด

ข. สำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม

ค. การแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่

ง. การใดมีวัตถุประสงค์อันเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย

คำตอบ : ข้อ ค. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 การแสดงเจตนา เพราะถูกข่มขู่เป็น โมฆียะ

15. ในการตีความการแสดงเจตนานั้น กฎหมายได้กำหนดให้คำนึงถึงสิ่งใดเป็นสำคัญ

ก. ตัวบุคคล

ข. จำนวนเงินที่ทำ

ค. เจตนาอันแท้จริง

ง. ลักษณะของสัญญา

คำตอบ : ข้อ ค. เพราะในการตีความการแสดเจตนานั้นให้เพ็งเล้งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้องสำนวนหรือตัวอักษร
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
(ข้อ 1)  กรณีตามปัญหามีหลักกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่เกี่ยวข้องและมีใจความสำคัญดังนี้ คือ                                                                                                                    

มาตรา ๒๑  ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใดๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน การใดๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทำลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา ๑๗๕  โมฆียะกรรมนั้น บุคคลต่อไปนี้จะบอกล้างเสียก็ได้                                                  

                  (๑)  ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้เยาว์ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่ผู้เยาว์จะบอกล้างก่อนที่ตนบรรลุนิติภาวะก็ได้ถ้าได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม

จากข้อเท็จพิเคราะห์แล้วเห็นว่าการที่เด็กชายหล่อซึ่งอยู่ในฐานะเป็นผู้เยาว์ซื้อสร้อยทองคำน้ำหนัก 15 กรัม ราคา 12,000 บาท โดยผู้แทนโดยชอบธรรมไม่รู้ ถือว่าผู้เยาว์ทำนิติกรรมใดๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน ตาม มาตรา 21

แต่ปัญหาข้อเท็จจริงปรากฎว่าเมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมได้รู้ถึงการกระทำของเด็กชายหล่อ ขณะเดียวกันพอดีราคาทองคำที่น้ำหนัก 15 กรัม ขึ้นเป็น 15,000 บาท ผู้แทนโดยชอบธรรมเลยชมเด็กชายหล่อว่าเก่ง รู้จักซื้อทองแล้วได้กำไรถือได้ว่าผู้แทนโดยชอบธรรมได้ให้ความยินยอมโดยปริยายแก่เด็กชายหล่อแต่การให้ความยินยอมดังกล่าวได้ให้ความยินยอมหลังจากที่เด็กชายหล่อทำนิติกรรมไปแล้วซึ่งการให้ความยินยอมจะต้องให้ความยินยอมก่อนหรือขณะกระทำนิติกรรมของผู้เยาว์ ดังนั้นจึงถือได้ว่าผู้เยาว์ได้ทำนิติกรรมลงไปปราศจากความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมผู้แทนโดยชอบธรรมจึงเป็นบุคคลที่บอกล้างโมฆียะกรรมได้ตามมาตรา 175

ต่อมาอีกหนึ่งเดือนราคาทองคำลดลงเหลือที่ ราคาต่อน้ำหนัก 15 กรัม คือ 10,000 บาทเมื่อนิติกรรมเป็นโมฆียะกรรมแล้วดังนั้นผู้แทนโดยชอบธรรมจึงมีสิทธิ์ที่จะบอกล้างสัญญาซื้อขายทองคำของเด็กชายหล่อได้

             สรุปผู้แทนโดยชอบธรรมมีสิทธิ์บอกล้างสัญญาซื้อขายทองคำของเด็กชายหล่อได้โดยผลของมาตรา 21 และมาตรา 175แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

(ข้อ 2)  กรณีตามปัญหามีหลักกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่เกี่ยวข้องและมีใจความสำคัญดังนี้ คือ                                                                                                                    

มาตรา ๑๔๙  นิติกรรม หมายความว่า การใดๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ

ตรา ๑๕๖  การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมเป็นโมฆะ

ความสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมตามวรรคหนึ่ง ได้แก่ ความสำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรม  ความสำคัญผิดในตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรมและความสำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม เป็นต้น

จากข้อเท็จพิเคราะห์แล้วเห็นว่าการที่นายเอกตั้งใจซื้อรถยนต์จากนายโทในราคา 1,200,000 บาท เลยเขียนจดหมายไปบอกนายโทถือได้ว่าทำนิติกรรมโดยการเสนอไปโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัครเพราะนายเอกตั้งใจจะซื้อรถยนต์จากนายโทในราคา 1,200,000  โดยมุ่งตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ ตามมาตรา 149

แต่ปัญหาข้อเท็จจริงปรากฎว่านายเอกเกิดความผิดพลาดเขียนตัวเลขผิด เป็น 1,500,000 บาท เมื่อนายโทได้รับจดหมายเลยตอบตกลงที่ราคา 1,500,000 บาท ซึ่งนายโทเห็นว่าเป็นราคาที่เหมาะสมแล้ว นายเอกอ้างว่าตนไม่มีเจตนาจะซื้อในราคา 1,500,000 บาท แต่ตั้งใจจะซื้อที่ราคา 1,200,000 บาทถือว่านายเอกแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมซึ่งเป็นเนื้อหาแห่งนิติกรรม ในเรื่องของราคารถยนต์ เมื่อนิติกรรมดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแล้วนิติกรรมนั้นย่อมตกเป็นโมฆะ ดังนั้นนิติกรรมดังกล่าวย่อมไม่มีผลผูกพันกับนายเอก

สรุป ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับนายเอกที่นายเอกไม่ผูกพันจดหมายดังกล่าวเพราะไม่มีเจตนาจะซื้อในราคาดังกล่าวโดยผลของมาตรา 156

(ข้อ3) นาย ก. ทำสัญญาปลดหนี้ให้กับ นาย จ. โดยมีเงื่อนไขให้นาย จ. ต้องยกรถยนต์ให้ น้องของตน คือนาย ข. เมื่อนาย ข. ทราบเรื่อง ก็เลยส่งจดหมายไปหานาย จ. เพื่อให้นาย จ.ยกรถให้ตน แต่นาย จ. ไปต่างจังหวัดไม่อยู่บ้านระหว่างนั้น นาย ก. และนาย ข. มีเรื่องทะเลาะกัน ทำให้นาย ก. ไม่พอใจ จึงต้องการ ยกรถให้นาย ค. แทนถามว่านาย ข. มีสิทธิได้รับรถหรือไม่ (โจทย์ประมาณนี้ครับ)
แนวคำตอบ
ม.374 ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งทำสัญญาตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกบุคคลภายนอกมีสิทธิจะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้โดยตรง สิทธิของบุคคลภายนอกย่อมเกิดขึ้นตั้งแต่เวลาที่แสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้น
ม.375 เมื่อสิทธิของบุคคลภายนอกได้เกิดขึ้นแล้ว คู่สัญญาจะระงับหรือเปลี่ยนแปลงสัญญานั้นภายหลังไม่ได้
ม.169 การแสดงเจตนาที่กระทำต่อบุคคลซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้า ให้ถือว่ามีผลนับแต่เวลาที่การแสดงเจตนานั้นไปถึงผู้รับการแสดงเจตนา ....

จากข้อเท็จจริง กรณีนี้นาย ก. และนาย จ. ตกลงทำสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก คือนาย ข. ดังนั้นนาย ข. จึงมีสิทธิในการเรียกให้นาย จ. ชำระหนี้คือยกรถยนต์ให้แก่ตน โดยนาย ข.ได้แสดงเจตนาด้วยวิธีการส่งจดหมาย การแสดงเจตนาที่ส่งไปจะมีผลเมื่อการแสดงเจตนานั้นไปถึงผู้รับเจตนาอีกฝ่ายหนึ่ง คำว่าไปถึงนั้นหมายความว่าได้ไปถึงที่หมายปลายทางคือไปถึงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง เช่นในการส่งไปรษณีย์ ทางราชการ คือเพียงบุรุษไปรษณีย์ไปส่งที่ตู้จดหมายของบ้านนั้นๆ ก็ถือว่าได้ส่งแล้ว ไม่จำเป็นที่คู่กรณีหรือผู้รับเจตนาต้องอ่านหรือรู้ข้อความที่ได้ส่งไป เพราะฉะนั้นการแสดงเจตนาของนาย ข. จึงถือว่าเป็นผลถึงแม้ว่านาย จ.จะไปต่างจังหวัดก็ตาม
ดังนั้นเมื่อนาย ข.แสดงเจตนาแล้ว สิทธิของนาย ข.ได้เกิดขึ้นแล้ว   นาย ก.หรือ นาย จ. ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อตกลงในสัญญาได้อีก
ตอบ นาย ข.จึงมีสิทธิเรียกให้นาย จ. ยกรถยนต์ให้แก่ตนได้


เฉลยกฎหมาย 41212 กฎหมายแพ่ง 2 ภาค2/2552

นาย ก จ้างนาย ข ขึ้นมะพร้าว โดยใช้ลิงของนาย ข เอง พอนาย ข เก็บมะพร้าวนาย ก เสร็จเรียบร้อยแล้ว
นาย ข มองเห็นมะพร้าวในสวนเพื่อนบ้านนาย ก ยังมีมะพร้าวเหลืออยู่ นาย ข เลยใช้ลิงของตัวเองขึ้นไปเก็บมะพร้าวเพื่อนบ้านของนาย กซึ่งต่อมา เพื่อนบ้านของนาย ก ได้มาพบเข้า เพื่อนบ้านนาย ก จึงได้เรียกร้องให้ นาย ก รับผิด ใช้ค่าเสียหาย ในฐานะนายจ้าง ได้หรือไม่อย่างไร

ตอบ     มาตรา ๔๒๐  ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
            มาตรา ๔๒๘  ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำ การงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง
    กรณีตามโจทย์ เป็นการที่ ข ทำละเมิดโดยตรงต่อเพื่อนบ้านนาย ก  โดยใช้ลิงเป็นเครื่องมือในการทำละเมิด ไม่เกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดจากสัตว์ที่เจ้าของ ผู้เลี้ยงผู้รับรักษาจะต้องรับผิดชอบตาม ม.433 แต่อย่างใด
   ส่วนความสัมพันธ์ ของนาย ก กับนาย ข ไม่ใช่นายจ้างกับลูกจ้าง แต่เป็นผู้ว่าจ้างทำของ กับ ผู้รับจ้างทำของ ซึ่งนาย ก จะต้องรับผิดก็ต่อเมื่อ เป็นคนสั่งให้ไปเก็บมะพร้าวของเพื่อนบ้าน  แต่นาย ก ไม่ได้สั่ง นาย ข เห็นว่าสวนเพื่อนบ้านนาย ก มีมะพร้าวเหลืออยู่ จึงใช้ลิงขึ้นไปเก็บเอง นาย ก จึงไม่ต้องรับผิดต่อเพื่อนบ้าน ในฐานะผู้ว่าจ้างแต่อย่างใด
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้