ถาม – ตอบ
ภาษีอากร
*****************
1. สิทธิของผู้เสียภาษี ได้แก่ตอบ 1 การผ่อนชำระภาษี
2 การยื่นอุทธรณ์คัดค้านการประเมินภาษี
3 ขอทุเลาการชำระภาษีอากรโดยจัดให้มีหลักประกันการชำระหนี้ภาษีอากรค้าง
4 ของดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีอากร
5 ขอคัดเอกสารหรือขอสำเนาเอกสาร
2. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมีหน้าที่ตามกฎหมายโดยสรุปดังนี้
ตอบ 1.ยื่นแบบฯ และเสียภาษีอากรที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องและครบถ้วน
2. ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรและจดทะเบียนภาษีตามที่กฎหมายกำหนดแล้วแต่กรณี และหากมีการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญจะต้องแจ้งแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง
3. จัดทำเอกสารหลักฐาน และบัญชีใดๆตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ ใบรับ ใบส่งของ ใบกำกับภาษีบัญชีรายได้ รายจ่าย งบการเงิน บัญชีพิเศษ ฯลฯ แล้วแต่กรณี
4. ให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงานเมื่อได้รับหนังสือเชิญพบ หรือหนังสือขอให้ยื่นเอกสาร หรือหลักฐานใดๆ เพื่อประกอบในการเสียภาษีอากร ตลอดจนปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงาน
5. ชำระภาษีตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินภายในกำหนดเวลา หากมิได้ชำระภาษีหรือชำระไว้ไม่ครบถ้วนเจ้าพนักงานมีสิทธิยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร เพื่อนำไปชำระหนี้ภาษีได้โดยไม่ต้องฟ้องศาล
6. การไม่ปฏิบัติตามกฎหมายภาษีอากร นอกจากต้องรับผิดทางแพ่งแล้ว ยังต้องรับผิดทางอาญาอีกด้วย
3. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือตอบ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไปหรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด
โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปuรายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนดภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไปสำหรับผู้มีเงินได้บางกรณีกฎหมายยังกำหนดให้ยื่นแบบฯ เสียภาษีตอนครึ่งปี สำหรับรายได้
ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงครึ่งปีแรกเพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีที่ต้องชำระและเงินได้บางกรณี กฎหมายกำหนดให้ผู้จ่ายทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ที่จ่ายบางส่วนเพื่อให้มีการทยอยชำระภาษีขณะที่มีเงินได้เกิดขึ้นอีกด้วย
4. ใครมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ตอบ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้แก่ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมาโดยมีสถานะ อย่างหนึ่งอย่างใด
ดังนี้
1) บุคคลธรรมดา
2) ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
3) ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
4) กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
5) วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนเฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ
หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
5. เมื่อมีเงินได้เกิดขึ้นแล้วผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องทำอะไรบ้างตอบ 1.ขอมีเลข และบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี ภายใน 60วัน นับแต่วันที่มีเงินได้เกิดขึ้น กรณีเป็นผู้มีเงินได้
ที่ไม่มีเลขประจำตัวประชาชน ได้แก่ เป็นคนต่างด้าว หรือกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
เว้นแต่ ผู้มีเงินได้ ที่มีเลขประจำตัวประชาชน สามารถใช้ เลขประจำตัวประชาชน แทนเลขประจำตัว ผู้เสียภาษีอากรได้ โดยไม่ต้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรอีก2.ผู้มีเงินได้ที่มีภูมิลำเนา อยู่ในกรุงเทพมหานคร อาจยื่นคำร้อง ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ทั้ง 30 แห่ง หรือ สำนักสรรพากรพื้นที่ สาขา(อำเภอ)ทุกแห่งสำหรับในต่างจังหวัด ยื่นคำขอได้ที่สำนักงานสรรพากร พื้นที่ (จังหวัด) และสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (อำเภอ) ทุกแห่ง แล้วแต่กรณี
3.ยื่นแบบแสดงรายการ ปกติปีละ 1 ครั้ง เงินได้ ของปีใด ก็ยื่นแบบฯ ภายใน วันที่ 31 มีนาคมของปีถัดไป เว้นแต่ เงินได้ บางลักษณะ เช่น การให้เช่า ทรัพย์สิน เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เงินได้จาก การรับเหมา เงินได ้จากธุรกิจ การพาณิชย์ เป็นต้น จะต้องยื่นแบบฯ ตอนกลางปี สำหรับเงินได้ ที่เกิดขึ้นใน 6 เดือนแรกภายใน เดือนกันยายน ของทุกปี
6. เงินได้อะไรบ้างที่ต้องเสียภาษีตอบ ตามกฎหมายเงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เรียกว่า "เงินได้พึงประเมิน"หมายถึง เงินได้ของบุคคลใดๆ
หรือหน่วยภาษีใดข้างต้นที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคมถึง 31 ธันวาคม ของปีใดๆ หรือเงินได้ ที่เกิดขึ้นในปีภาษีได้แก่
1. เงิน
2. ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน ที่ได้รับจริง
3. ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน
4. เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้
5. เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกำหนด
7. เงินได้อันเป็นเหตุให้ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีมาจากแหล่งใดบ้าง
ตอบ แหล่งที่มาของเงินได้ซึ่งแบ่งเป็นเงินได้จากแหล่งในประเทศและนอกประเทศ เงินได้จากแหล่งต่างๆ
นี้จะต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ ให้พิจารณา ดังนี้
1. เงินได้เกิดจากแหล่งในประเทศ หมายถึง เงินได้ที่เกิดขึ้นหรือเป็นผลสืบเนื่องจากมี
1.1 หน้าที่งานที่ทำในประเทศไทย หรือ
1.2 กิจการที่ทำในประเทศไทย หรือ
1.3 กิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือ
1.4 ทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย (ดอกเบี้ย เงินปันผล ค่าเช่า ฯลฯ
* เงื่อนไข ผู้มีเงินได้เกิดจากแหล่งในประเทศนี้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามที่ประมวลรัษฏากร
กำหนดไว้เสมอเว้นแต่จะมีข้อยกเว้นตามกฎหมาย ทั้งนี้
ไม่ว่าเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วนั้น จะจ่ายในหรือนอกประเทศ
และไม่ว่าผู้มีเงินได้นั้นจะเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยหรือไม่ก็ตาม)
2. เงินได้เกิดจากแหล่งนอกประเทศไทย หมายถึง
เงินได้ที่เกิดขึ้นหรือเป็นผลสืบเนื่องจากมี
2.1 หน้าที่งานที่ทำในต่างประเทศ
หรือ
2.2 กิจการที่ทำในต่างประเทศ หรือ
2.3 ทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ
* เงื่อนไข ผู้มีเงินได้เกิดจากแหล่งนอกประเทศในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วจะต้องเสียภาษีเงินได้ในประเทศไทยก็ต่อเมื่อเข้าองค์ประกอบทั้ง 2 ประการ
ดังต่อไปนี้
(1) ผู้มีเงินได้เป็น ผู้อยู่ในประเทศไทย ในปีภาษีนั้นชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะเวลา รวมทั้งหมดถึง 180 วัน และ
(2) ผู้มีเงินได้ นำเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีนั้นด้วยในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาบางกรณี
ถ้าเกี่ยวข้องกับบุคคลของบางประเทศที่มี อนุสัญญาภาษีซ้อน* หรือความตกลงเพื่อป้องกันการเก็บภาษีซ้ำซ้อนกับประเทศไทยจำเป็นต้องพิจารณาถึงความ
ตกลงหรืออนุสัญญาว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยได้ทำความตกลงไว้ด้วย
8. การชำระภาษีด้วยวิธีใดบ้าง
ตอบ 1. ชำระด้วยเงินสด
2. ชำระด้วยบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ได้เฉพาะที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตกรุงเทพมหานคร (โดยผู้ถือบัตรอิเล็กทรอนิกส์เป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียม)
2.1 บัตรเครดิต ธนาคารกรุงไทย (KTC) ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ธนาคารกสิกรไทย (KBANK)
2.2 บัตร TAX SMART CARD ของธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทยและธนาคารกรุงไทย3. ชำระด้วยเช็คหรือดราฟต์
3.1 เช็คที่ชำระต้องเป็นเช็ค 4ประเภท ได้แก่
(1) เช็คธนาคารแห่งประเทศไทย(เช็คประเภท ก.)
(2) เช็คที่มีธนาคารค้ำประกัน(เช็คประเภท ข.)
(3) เช็คที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่าย(เช็คประเภท ค.)(4) เช็คที่ผู้มีหน้าที่ชำระเงินภาษีอากรเป็นผู้เซ็นสั่งจ่าย
และใช้ชำระโดยตรง (เช็คประเภท ง.)
การใช้เช็คประเภท ง. ให้ปฏิบัติดังนี้
(ก) กรณีใช้ชำระภาษีในกรุงเทพมหานคร และในจังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการจังหวัดสมุทรสาคร (เฉพาะอำเภอเมืองสมุทรสาคร และอำเภอกระทุ่มแบน)
จังหวัดนครปฐม (เฉพาะอำเภอสามพราน)
และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (เฉพาะอำเภอบางปะอิน)
ต้องเป็นเช็คของธนาคาร หรือสาขาธนาคาร ซึ่งตั้งอยู่ใน
ท้องที่ใดท้องที่หนึ่งข้างต้นเท่านั้น
(ข) กรณีใช้ชำระภาษีในจังหวัด
(อำเภอ) อื่นนอกจาก (ก) ให้ใช้ได้เฉพาะกรณีที่เปิดบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคารหรือ
สาขาธนาคารซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดท้องที่อันเป็นภูมิลำเนาเท่านั้น
3.2 การสั่งจ่ายเช็คหรือดราฟต์ ให้ขีดคร่อมและสั่งจ่ายดังนี้(1) ในกรุงเทพมหานครให้สั่งจ่าย “กรมสรรพากร” กับขีดฆ่าคำว่า“ผู้ถือ” ออก
(2) ในต่างจังหวัด(ก) กรณียื่นแบบ
ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91
และชำระภาษีที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา หรือธนาคารด้วยเช็คประเภท ง. ให้สั่งจ่ายแก่ “กรมสรรพากร” ถ้าเป็นเช็คประเภท ก. ข. ค. ให้ติดต่อสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
(ข) กรณียื่นแบบ
ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91
และชำระภาษีที่ธนาคาร
- กรณียื่นแบบฯ ที่ ธนาคารกรุงไทย ให้สั่งจ่าย “กรมสรรพากร” และขีดฆ่าคำว่า “ผู้ถือ” ออก
- กรณียื่นแบบฯ ที่ ธนาคารอื่น ๆ นอกเหนือ จาก
ธนาคารกรุงไทย ให้สั่งจ่าย
“สรรพากรอำเภอ..... (ระบุชื่ออำเภอ)” และขีดฆ่าคำว่า
“ผู้ถือ” ออก
4. ชำระด้วยธนาณัติ
9. ภาษีเงินได้นิติบุคคล คือตอบ ภาษีอากรประเภทหนึ่งที่บัญญัติไว้
ในประมวลรัษฎากร จัดเก็บจากเงินได้ของบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบเจ้าพนักงานสรรพากรปฏิบัติงาน กรมสรรพากร
รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ
- ความรู้เกี่ยวกับกรมสรรพกร
- แนวข้อสอบเกี่ยวกับภาษีอากรและกรมสรรพกร
- ความรู้เกี่ยวกับภาษีอากร
- แนวข้อสอบเก่า กรมสรรพากร
- การใช้อังกฤษที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
- ถาม- ตอบ ความรู้เกี่ยวกับภาษีอากร
- ความรู้เกี่ยวกับภาษีอากร
- แแนวข้อสอบเกี่ยวกับภาษีอากร ชุดที่ 1
- แนวข้อสอบเกี่ยวกับภาษีอากร ชุดที่ 2
- แนวข้อสอบภาษาต่างประเทศ _ภาษาอังกฤษ
- สรุปสาระสำคัญของประชาคมอาเซียน
- แนวข้อสอบ ข่าว และเหตุการณ์ปัจจุบัน การเมืองเศรษฐกิจและ สังคม
สั่งซื้อที่
ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724 Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3 ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2
ธ.กสิกรไทย ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay
ผลงานการสอบได้ของลูกค้า
ติดตามข่าวการสอบราชการที่ https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่ www.ข้อสอบงานราชการไทย.com