แนวข้อสอบบรรจุข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
(เกี่ยวกับกรุงเทพมหานคร)
1 กรุงเทพมหานคร เดิมเรียกกันว่า
- "เมืองบางกอก"
2 กรุงเทพมหานครมีลักษณะเป็นเขตการปกครอง
- ปกครองพิเศษ
3.ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 กำหนดให้กรุงเทพมหานครเป็น
- ทบวงการเมือง มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
4.มีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร มาจาก
- การเลือกตั้ง
5.มีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร และเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารงาน อยู่ในตำแหน่งตามวาระคราวละ
- 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง
6.ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร และเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารงานและมีการแต่งตั้ง
- ปลัดกรุงเทพมหานครร่วมบริหารงาน
7.การดำเนินงานมีสภากรุงเทพมหานครที่ได้รับเลือกตั้งโดยตรงทำงานร่วมด้วยผู้ว่าราชการคนปัจจุบัน คือ
8. ปลัดกรุงเทพมหานครคนปัจจุบันคือ
9.ตราของกรุงเทพมหานคร เป็น
- รูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ พระหัตถ์ทรงสายฟ้า
10.ต้นไม้ประจำกรุงเทพมหานคร คือ
- ต้นไทรย้อยใบแหลม (Ficus benjamina)
11.คำขวัญของกรุงเทพมหานคร
- ช่วยชุมชนแออัด ขจัดมลพิษ แก่ปัญหารถติด ทุกชีวิตรื่นรมย์
1 “ข้าราชการกรุงเทพมหานคร” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและ
แต่งตั้งให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนของกรุงเทพมหานคร
หรือจากเงินงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนของรัฐบาลที่ให้แก่กรุงเทพมหานครและกรุงเทพมหานคร
นำมาจัดเป็นเงินเดือนของข้าราชการกรุงเทพมหานคร
2“ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ” หมายความว่า
ข้าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งรับราชการในสังกัดกรุงเทพมหานคร แต่ไม่รวมถึงข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครและข้าราชการกรุงเทพมหานครในสถาบันอุดมศึกษา
3“ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร” หมายความว่า
(๑) ข้าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ หรือ
(๒) ข้าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์และให้หมายความรวมถึงข้าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งดำรงตำแหน่งที่มีหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ การบริหารการศึกษา และปฏิบัติงานอื่นในหน่วยงานการศึกษาของกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานครกำหนด
4“ข้าราชการกรุงเทพมหานครในสถาบันอุดมศึกษา” หมายความว่า
ข้าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาตามที่
คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานครกำหนด
5“บุคลากรกรุงเทพมหานคร” หมายความว่า ลูกจ้างกรุงเทพมหานครและพนักงานกรุงเทพมหานคร
6“ลูกจ้างกรุงเทพมหานคร” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานของกรุงเทพมหานครโดยได้รับค่าจ้างจากเงินงบประมาณหมวดค่าจ้างของกรุงเทพมหานครหรือจากเงินงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนของรัฐบาลที่ให้แก่กรุงเทพมหานครและกรุงเทพมหานคร
นำมาจัดเป็นค่าจ้างของลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
7“พนักงานกรุงเทพมหานคร” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้างโดยได้รับค่าตอบแทนจากเงินงบประมาณหมวดค่าตอบแทนของกรุงเทพมหานคร
8“หน่วยงานการศึกษา” หมายความว่า
(๑) สถานศึกษา
(๒) แหล่งการเรียนรู้ตามประกาศกรุงเทพมหานคร
(๓) ส่วนราชการอื่นตามประกาศกรุงเทพมหานคร
9 “สถานศึกษา” หมายความว่า
โรงเรียนหรือสถานศึกษาของกรุงเทพมหานครที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามประกาศกรุงเทพมหานคร
10“สถาบันอุดมศึกษา” หมายความว่า
สถาบันการศึกษาที่จัดการศึกษาระดับปริญญาของกรุงเทพมหานครตามประกาศกรุงเทพมหานคร
11“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
12 มาตรา ๕ ในกรณีที่มีกฎหมาย ประกาศ ระเบียบ หรือข้อบังคับใด ใช้บังคับเพื่อให้สวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้ใช้กฎหมาย ประกาศ ระเบียบ หรือข้อบังคับนั้นแก่ข้าราชการกรุงเทพมหานครด้วย โดยให้บรรดาคำว่า “ข้าราชการพลเรือน” หรือ “ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา” หรือ “ข้าราชการครู” หรือ “บุคลากรทางการศึกษา” หรือ “ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา” ที่มีอยู่ในกฎหมาย ประกาศ ระเบียบ หรือข้อบังคับนั้น หมายความถึง
“ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ” หรือ “ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร”
หรือ “ข้าราชการกรุงเทพมหานครในสถาบันอุดมศึกษา” แล้วแต่กรณีด้วย
13 มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
14 คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร มาตรา ๗ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร” เรียกโดยย่อว่า “ก.ก.” ประกอบด้วย
15 มาตรา ๘ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม
ดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์
(๓) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๔) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษ
สำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๕) ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ
(๖) ไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ
หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(๗) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
(๘) ไม่เป็นกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง
หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
(๙) ไม่เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกสภาเขตกรุงเทพมหานคร
16 มาตรา ๙ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนข้าราชการกรุงเทพมหานคร
มีวาระการดำรงตำแหน่งคราว
- ละสี่ปี
17 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อประธานกรรมการ
(๓) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา ๘
18 ให้มีคณะอนุกรรมการสามัญประจำกรุงเทพมหานคร เรียกโดยย่อว่า
- “อ.ก.ก. สามัญข้าราชการ” เพื่อเป็นองค์กรบริหารทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานครดังต่อไปนี้
19 คณะอนุกรรมการสามัญข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ เรียกโดยย่อว่า
- “อ.ก.ก. สามัญข้าราชการสามัญ”
20 คณะอนุกรรมการสามัญข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
กรุงเทพมหานคร เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.ก. สามัญข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา”
21 คณะอนุกรรมการสามัญข้าราชการกรุงเทพมหานครในสถาบันอุดมศึกษา
เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.ก. สามัญข้าราชการอุดมศึกษา”
22.ให้มีคณะอนุกรรมการสามัญประจำหน่วยงานกรุงเทพมหานคร เรียกโดยย่อว่า
“อ.ก.ก. สามัญหน่วยงาน” โดยออกชื่อหน่วยงานนั้น เพื่อเป็นองค์กรบริหารทรัพยากรบุคคลของ
หน่วยงานกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ตามที่ ก.ก. กำหนด
23 หน่วยงานใดที่ ก.ก. ยังมิได้กำหนดให้มี อ.ก.ก. สามัญหน่วยงาน ให้ อ.ก.ก.
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ทำหน้าที่ อ.ก.ก. สามัญหน่วยงานนั้น โดยให้หัวหน้าหน่วยงานนั้น
เป็นอนุกรรมการเพิ่มขึ้นด้วย
24 ให้นำมาตรา ๑๔ มาใช้บังคับแก่การประชุมของ อ.ก.ก. สามัญข้าราชการและ อ.ก.ก. สามัญหน่วยงาน โดยอนุโลมมาตรา ๑๖ อ.ก.ก. สามัญข้าราชการสามัญ ประกอบด้วย
(๑) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
25 ให้ผู้ทรงคุณวุฒิและข้าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งได้รับ
การคัดเลือกตามมาตรา ๑๖ มาตรา ๑๘ มาตรา ๒๐ และมาตรา ๒๒ มีวาระการดำรงตำแหน่ง
- คราวละสองปี
26 ให้มีสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครเรียกโดยย่อว่า
- “สำนักงาน ก.ก.” มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
27 คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมกรุงเทพมหานคร มาตรา ๒๙ ให้มีคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานครคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า
- “ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร”
28 มาตรา ๓๐ ผู้จะได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานครต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบห้าปี
(๓) มีคุณสมบัติอื่นอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(ก) เป็นหรือเคยเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการ
กรุงเทพมหานคร คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน คณะกรรมการข้าราชการครู คณะกรรมการ
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย
คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา หรือคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ
(ข) เป็นหรือเคยเป็นกรรมการกฤษฎีกา
(ค) รับราชการหรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
หรือเทียบเท่า หรือตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองชั้นต้น
(ง) รับราชการหรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีอัยการพิเศษ
ประจำเขต หรือเทียบเท่า
(จ) รับราชการหรือเคยรับราชการในตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
หรือเทียบเท่าตามที่ ก.ก. กำหนด
(ฉ) เป็นหรือเคยเป็นผู้สอนวิชาในสาขานิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์
เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือวิชาที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินในสถาบันอุดมศึกษา
และดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ แต่ในกรณีที่ดำรงตำแหน่ง
รองศาสตราจารย์ต้องดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี
29. ให้มีคณะกรรมการคัดเลือกกรรมการ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร
ประกอบด้วย
ตอบ……… ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประธาน รองประธานศาลฎีกาที่ได้รับมอบหมาย
จากประธานศาลฎีกาหนึ่งคน กรรมการ ก.ก. ผู้ทรงคุณวุฒิหนึ่งคนซึ่งได้รับเลือกโดย ก.ก. และ
ให้หัวหน้าสำนักงาน ก.ก. เป็นกรรมการและเลขานุการให้คณะกรรมการคัดเลือกมีหน้าที่คัดเลือกบุคคลผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๓๐จำนวนห้าคน
30 ข้าราชการกรุงเทพมหานครมี ๓ ประเภท คือ
(๑) ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ
(๒) ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร
(๓) ข้าราชการกรุงเทพมหานครในสถาบันอุดมศึกษา
31 ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
ก. คุณสมบัติทั่วไป
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี
33 พระราชกฤษฎีการะเบียบข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๐เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๒ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
34 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีการะเบียบข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๕๐”
35 ให้บรรดาอำนาจหน้าที่ของ ก.ค.ศ. และ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาเป็นอำนาจหน้าที่ของ ก.ก.
มาตรา ๕ ตำแหน่งข้าราชการครูกรุงเทพมหานครมี ๓ ประเภท ดังต่อไปนี้
ก. ตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่เป็นผู้สอนประจำในสถานศึกษาของกรุงเทพมหานคร
ข. ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาของกรุงเทพมหานคร
ค. ตำแหน่งศึกษานิเทศก์
36 ตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่เป็นผู้สอนประจำในสถานศึกษาของกรุงเทพมหานครได้แก่ตำแหน่ง
ดังต่อไปนี้
(๑) ครูผู้ช่วย
(๒) ครู
(๓) อาจารย์
(๔) ผู้ช่วยศาสตราจารย์
(๕) รองศาสตราจารย์
(๖) ศาสตราจารย์
37 ตำแหน่งใน (๑) และ (๒) จะมีในสถานศึกษาใดก็ได้ ส่วนตำแหน่งใน (๓) ถึง (๖) ให้มีใน
สถานศึกษาที่สอนระดับปริญญา
(๓) อาจารย์
(๔) ผู้ช่วยศาสตราจารย์
(๕) รองศาสตราจารย์
(๖) ศาสตราจารย์
38 ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาของกรุงเทพมหานคร ได้แก่ตำแหน่งดังต่อไปนี้
(๑) รองผู้อำนวยการ
(๒) ผู้อำนวยการ
(๓) ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่ ก.ก. กำหนด
39 ตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการให้การศึกษาซึ่งไม่สังกัดสถานศึกษาของกรุงเทพมหานคร
ได้แก่ตำแหน่งดังต่อไปนี้
(๑) ศึกษานิเทศก์
(๒) ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่ ก.ก. กำหนด
40 ให้ตำแหน่งข้าราชการครูกรุงเทพมหานครดังต่อไปนี้ เป็นตำแหน่งที่มีวิทยฐานะ
ได้แก่
(๑) ครูชำนาญการ
(๒) ครูชำนาญการพิเศษ
(๓) ครูเชี่ยวชาญ
(๔) ครูเชี่ยวชาญพิเศษ
41. ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา มีวิทยฐานะดังต่อไปนี้
(๑) รองผู้อำนวยการชำนาญการ
(๒) รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
(๓) รองผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ
(๔) ผู้อำนวยการชำนาญการ
(๕) ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
(๖) ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ
(๗) ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญพิเศษ
42 ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ มีวิทยฐานะดังต่อไปนี้
(๑) ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ
(๒) ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ
(๓) ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ
(๔) ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญพิเศษ
43 ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่ ก.ก. กำหนดให้มีวิทยฐานะ
มาตรา ๗ ให้ตำแหน่งข้าราชการครูกรุงเทพมหานครดังต่อไปนี้ เป็นตำแหน่งทางวิชาการ
(ก) อาจารย์
(ข) ผู้ช่วยศาสตราจารย์
(ค) รองศาสตราจารย์
(ง) ศาสตราจารย์
44 การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร ให้ผู้มีอำนาจดังต่อไปนี้เป็นผู้
มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ และตำแหน่งซึ่งมีวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ เมื่อได้รับความเห็นชอบจาก ก.ก. แล้ว
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้มีอำนาจ
สั่งบรรจุและให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยนำเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อนำความกราบบังคมทูล
46 การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่เป็นผู้สอนประจำในสถานศึกษาของ
กรุงเทพมหานครตามมาตรา ๕ ก. (๑) ถึง (๔) ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาของกรุงเทพมหานคร
ตามมาตรา ๕ ข. ตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการให้การศึกษาซึ่งไม่สังกัดสถานศึกษาของ
กรุงเทพมหานครตามมาตรา ๕ ค. ตำแหน่งซึ่งมีวิทยฐานะชำนาญการและตำแหน่งซึ่งมีวิทยฐานะ
ชำนาญการพิเศษ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง โดยความเห็นชอบจาก
ก.ก.